https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/issue/feed วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 2024-03-08T00:00:00+07:00 ผศ.ดร.วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล iscjournal@chonburi.spu.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการที่มุ่งเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยครอบคลุมเนื้อหาด้านบริหารธุรกิจ ด้านการบริหารปฏิบัติการ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการท่องเที่ยว ด้านการบัญชี ด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสาร และด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มุ่งเน้นการประยุกต์ศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ</strong></p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/269350 ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลเอกชน 2024-01-04T10:49:17+07:00 กิจพร ป้อมสนาม kijpornpomsanam@gmail.com จำลอง โพธิ์บุญ kijporn.pom@stu.nida.ac.th วิสาขา ภู่จินดา kijporn.pom@stu.nida.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และปัจจัยที่มีผลต่อระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควต้า จำนวน 9 โรงพยาบาล จากนั้นใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกผู้รับบริการโรงพยาบาล จำนวน 405 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Samples <em>t</em>-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลเอกชนที่มีระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงสูงที่สุด คือ โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กกับขนาดกลาง และโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางกับขนาดใหญ่ มีระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร มีระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สูงกว่าโรงพยาบาลเอกชนในปริมณฑล ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประกอบด้วย ความคาดหวังของผู้รับบริการ การปฏิบัติตามกฎหมาย การมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงพยาบาล</p> 2024-03-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/269911 การพัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยห้องดาต้าเซ็นเตอร์ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง 2024-01-20T06:21:13+07:00 นรินทร์ พนาวาส narin.pa@chonburi.spu.ac.th <p>งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตรวจสอบการจ่ายกระแสไฟฟ้า และระบบตรวจวัดอุณหภูมิภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง 2) เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนข้อมูลการแสดงผลระบบไฟฟ้าดับ และอุณภูมิมีค่าสูงกว่ามาตราฐานภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ ผ่านระบบแจ้งเตือนไลน์ 3) เพื่อวัดประสิทธิภาพของชุดระบบเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมห้องดาต้าเซนเตอร์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถรับทราบปัญหา และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดและอุณภูมิมีค่าสูงกว่ามาตราฐานภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ ผ่านระบบแจ้งเตือนไลน์ และ 4) เพื่อวัดประสิทธิภาพของชุดระบบเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมห้องดาต้าเซนเตอร์</p> <p> ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถรับทราบปัญหา และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของเครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์เครือข่าย และข้อมูลสารสนเทศ ภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ เพื่อคุณภาพการให้บริการ ลดระยะเวลาในการกู้คืนระบบของศูนย์ข้อมูล ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 และผลการประเมินคุณภาพจากผู้ใช้งานระบบอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ระบบสามารถใช้งานได้จริงภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/268623 การปรับปรุงกระบวนการตรวจรับสินค้า ด้วยวิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2024-01-05T09:14:46+07:00 นวพล เกษมธารนันท์ nawapon-1991@hotmail.com คุณากร เศรษฐโสภณ nawapon.ka@chonburi.spu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตรวจรับสินค้า วิเคราะห์ปัญหา และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสุ่มตรวจนับ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการตรวจรับสินค้าภายในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ซึ่งได้แก่ แผนภูมิก้างปลาหรือแผนผังสาเหตุและผล ในการวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจรับสินค้า (Goods received) โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามพนักงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ข้อมูลความถี่ในการเกิดปัญหาการรับสินค้าไม่ตรงกับคำสั่งซื้อ และความถี่ในการพบวัตถุดิบไม่ครบจำนวนในกระบวนการผลิต จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการใหม่ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยสูตรและตารางสำเร็จรูปจาก Krejcie &amp; Morgan (1970, pp. 607-610) โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการใหม่นี้ช่วยให้สามารถคัดกรอง หรือตรวจพบสินค้าไม่ครบจำนวนได้เพิ่มขึ้น 19.17% และลดปัญหาที่ฝ่ายผลิตพบวัตถุดิบไม่ตรงกับฉลากสินค้าได้ 25.64% การปรับปรุงกระบวนการตรวจรับสินค้าใหม่นี้ สามารถลดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงได้เสนอต่อแผนกตรวจรับสินค้าเพื่อนำไปใช้งานจริงในบริษัทกรณีศึกษา หลังจากแผนกตรวจรับได้นำวิธีการปรับปรุงไปใช้งานจริงพบว่า สามารถคัดกรองสินค้าไม่ครบจำนวน และลดปัญหาที่ฝ่ายผลิตพบวัตถุดิบในกล่องไม่ครบจำนวนได้จริง จึงกำหนดเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Instruction: WI)</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/268499 แบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง 2024-01-04T06:59:27+07:00 พรชุลีย์ พิสุทธิ์บริบูรณ์ pornchuleep@gmail.com ชลธิศ ดาราวงษ์ chonlatis@gmail.com อนุรักษ์ เรืองรอบ anurug@yahoo.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับอิทธิพลของแบรนด์นายจ้างที่มีต่อความผูกพันขององค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง จำนวน 410 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบ (Convenience sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ <em>t</em>-test ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า แบรนด์นายจ้างมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง ได้แก่ บรรยากาศการทำงานที่สร้างสรรค์ การอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทนและสวัสดิการ จริยธรรม และความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม และความสมดุลระหว่างการทำงาน และชีวิต</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/269633 การพัฒนาที่ยั่งยืนและแนวโน้มในอนาคตของการรีไซเคิลขยะเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเขตหวงผู่ นครเซี่ยงไฮ้ 2024-01-04T07:40:38+07:00 ลี่ ซิ่วเมิง chairat@g.swu.ac.th สินีนาถ เลิศไพรวัน chairat@g.swu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในเขตหวงผู่ นครเซี่ยงไฮ้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019-2023 โดยในการศึกษานี้จะศึกษาเฉพาะขยะรีไซเคิลที่เกิดจากขยะในครัวเรือนในเขตหวงผู่ นครเซี่ยงไฮ้ เท่านั้น บทความนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งประกอบด้วยวิธีเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพ โดยทำการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อทำการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการคัดแยกขยะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์วรรณกรรม เพื่อค้นหาว่า การคัดแยกขยะ มีผลกระทบอย่างไรต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา มีการคัดแยกขยะในครัวเรือนในเมืองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น วัสดุรีไซเคิลในเขตหวงผู่ นครเซี่ยงไฮ้ ส่วนใหญ่เป็นเศษกระดาษ เศษโลหะ และขยะพลาสติก คิดเป็นประมาณ 80% ของขยะทั้งหมด ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิล และเอื้อต่อการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการลดของเสีย การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรซ้ำ และการรีไซเคิล โดยในการศึกษาครั้งนี้ เราได้สรุปความสำคัญทั้งในทฤษฎีและในทางปฏิบัติของการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลขยะในเขตหวงผู่ และระบุข้อจำกัดและข้อบกพร่อง รวมถึงหาแนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืนและแนวโน้มในการรีไซเคิลขยะเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเขตหวงผู่ นครเซี่ยงไฮ้</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/268586 การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียด ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2024-01-09T11:49:03+07:00 วรันธร อรรคปทุม varantorn.a@rbru.ac.th นิศากร หวลจิตร์ nisakorn99@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 1-3 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และโปรแกรมชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent-Sample, <em>t</em>-test และ Paired-Sample <em> t</em>-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ได้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> ผลการทดสอบสมติฐานพบว่า นักศึกษาที่ได้รับชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มีความสามารถในการจัดการความเครียดเพิ่มขึ้น และนักศึกษาที่ได้รับชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มีความสามารถในการจัดการความเครียดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/269860 การศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมทางโลจิสติกส์สำหรับชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติด้วยกระบวนวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น : กรณีศึกษา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 2024-01-04T07:07:52+07:00 วัชระ วัธนารวี watchara.wat@crru.ac.th ขวัญเรือน สินณรงค์ k.sinnarong@hotmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมทางโลจิสติกส์สำหรับชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ด้วยกระบวนวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พื้นที่ใน 8 ตำบล ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และประชาชน ผู้นำชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่เป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทรัพยากรของพื้นที่จากงานภาคสนาม GPS Logger แบบบันทึกข้อมูลในการประชุมกลุ่ม และแบบลงคะแนนสำหรับกรรมการ</p> <p> <strong>ผลการวิจัยมีดังนี้</strong></p> <p> เมื่อใช้เทคนิคการเลือกทำเลที่ตั้งด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น ตามเกณฑ์ขั้นต้นระดับที่ 1 ได้พื้นที่เป้าหมาย 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเวียง ตำบลครึ่ง และตำบลบุญเรือง จากนั้นเมื่อออกสำรวจพื้นที่ภาคสนาม และการประชุมกลุ่ม เพื่อนำข้อมูลพิจารณาตามการถ่วงน้ำหนักตามเกณฑ์ ระดับที่ 2 พบว่า ตำบลเวียง พื้นที่ที่เหมาะสมในการเป็นชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติในอำเภอเชียงของมากที่สุด คือ ตำบลเวียง ซึ่งได้คะแนนถ่วงน้ำหนักสูงสุด 4.74 คะแนน ส่วนตำบลครึ่ง 4.59 คะแนน และตำบลบุญเรือง 4.57 คะแนน ตามลำดับ</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/268368 การประเมินศักยภาพและความต้องการของผู้มาเยือน ต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมน้ำตกโตนงาช้าง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา 2024-01-09T08:44:16+07:00 สถาวิทย์ สุวรรณรัตน์ sathawitku@gmail.com พิชิต ลำใย fforpcl@ku.ac.th อุษารดี ภู่มาลี usaradee.ph@ku.ac.th <p>เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำตก และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติได้รับความนิยมค่อนข้างน้อย ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อประเมินศักยภาพเส้นทางศึกษาธรรมชาติและการสื่อความหมายธรรมชาติเดิม โดยการใช้แบบวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวตามศักยภาพของพื้นที่และตามหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ 2) เพื่อประเมินความต้องการการใช้ประโยชน์เส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยการเก็บรวบรวมแบบสอบถามของผู้มาเยือนทั้งหมด 473 คน จากวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ 1 พบว่า เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมน้ำตกโตนงาช้างจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทกึ่งพัฒนา และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับศักยภาพของแหล่งนันทนาการปานกลาง และวัตถุประสงค์ข้อ 2 พบว่า ผู้มาเยือนสนใจกิจกรรมการเดินป่าศึกษาธรรมชาติเพียงร้อยละ 24.95 โดยผู้มาเยือนที่เคยใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ให้ความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุดต่อการจัดการเส้นทางศึกษาธรรมชาติในปัจจุบัน 3 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นให้นักเรียนรู้ ศึกษาธรรมชาติได้สัมผัสและใกล้ชิดกับธรรมชาติเท่ากับ 4.51 ด้านการจัดทำเส้นทางเป็นเส้นทางเหมาะแก่การเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติเท่ากับ 4.12 และด้านป้ายสื่อความหมาย ป้ายสื่อความหมายช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติเท่ากับ 4.04 สำหรับผลการวิจัยในครั้งนี้หน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยดำเนินการปรับปรุงการสื่อความหมาย พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบนเส้นทาง และมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อทำให้กิจกรรมการเดินป่าศึกษาธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้น และผู้มาเยือนได้เรียนรู้ศึกษาธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/269653 กลยุทธ์การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต้ง ในเมืองเฉิงหยาง เขตซานเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน 2024-01-09T14:26:18+07:00 หนิง กุ้ยซิง chairat@g.swu.ac.th พิชัย สดภิบาล chairat@g.swu.ac.th <p>องค์ประกอบและคุณสมบัติของโบราณวัตถุและความสามารถในการกำหนดแนวคิดที่เหมาะสม คือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของการศึกษา ผ่านการผสมผสานองค์ประกอบต่าง ๆ ของโบราณวัตถุ เข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และดำเนินการศึกษาตามแนวคิด “ยิ่งคุ้มครองได้เร็ว ยิ่งฟื้นฟูได้เร็ว” บทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต้ง ในเมืองเฉิงหยาง เขตซานเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ต้ง ในเมืองเฉิงหยาง เขตซานเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทำการวิเคราะห์คุณค่าของภูมิทัศน์วัฒนธรรม สร้างแบบจำลองการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม หลักการจัดการ และตัวชี้วัดการจัดการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมการวิจัยแบบสหวิทยาการ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สืบทอดวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยการสำรวจในกลุ่มประชากรเป้าหมาย และจัดระเบียบข้อมูลให้อยู่ในรูปแผนภูมิ และใช้วิธีการดิจิทัลในการจัดการฐานข้อมูล ผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชาวตง ในเมืองเฉิงหยาง เขตซานเจียง มีความสำคัญทั้งในทางปฏิบัติและทางทฤษฎีบางประการ ทำให้สามารถสร้างฐานข้อมูลการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมโดยใช้หลักการควบคุมแบบผกผัน (Inversion of control) การใช้ระบบดิจิทัล ทำให้ได้แนวทางการบริหารจัดการแบบ “ไตรภาคี” ระหว่างรัฐบาล ชุมชน และบริษัท รวมถึงการสร้างระบบดัชนีชี้วัดกลยุทธ์การจัดการตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ความร่วมมือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต้ง ในเมืองเฉิงหยาง เขตซานเจียง และติดตามผลการจัดการวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/270085 การวิเคราะห์ข้อบกพร่องของการให้บริการของโรงแรมสีเขียว ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน 2024-01-17T06:37:44+07:00 อัศวิน แสงพิกุล slu3522@yahoo.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์เสียงสะท้อนเชิงลบของลูกค้าที่เคยใช้บริการของโรงแรมสีเขียว โดยจำแนกออกเป็นแผนกสำคัญของโรงแรม เช่น ห้องพัก แผนกต้อนรับส่วนหน้า 2) เพื่อวิเคราะห์เสียงสะท้อนเชิงลบของลูกค้าที่เคยใช้บริการของโรงแรมสีเขียว โดยจำแนกออกตามมิติคุณภาพการบริการ 5 ด้าน (SERVQUAL) และ 3) เพื่อวิเคราะห์เสียงสะท้อนเชิงลบของลูกค้าที่เคยใช้บริการของโรงแรมสีเขียว โดยจำแนกออกเป็นเสียงสะท้อนเชิงนามธรรม (Subjective feedback) และเสียงสะท้อนเชิงรูปธรรม (Objective feedback) งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากโรงแรมสีเขียวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 23 แห่ง จากแหล่งข้อมูล Trip Advisor และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) เพื่อนำเสนอข้อมูล</p> <p> <strong>ผลการวิจัย พบว่า </strong></p> <p> 1) เสียงสะท้อนเชิงลบ (ข้อพบพร่อง) ส่วนใหญ่ของโรงแรมสีเขียวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับห้องพักแขกมากที่สุด รองลงมา คือ แผนกต้อนรับส่วนหน้า และการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ตามลำดับ</p> <p> 2) เสียงสะท้อนเชิงลบด้านห้องพักส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับมิติคุณภาพการบริการในด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ (Assurance) ในขณะที่แผนกต้อนรับส่วนหน้า มีข้อบกพร่องในด้านการตอบสนองลูกค้ามากที่สุด (Responsiveness) ส่วนแผนกอาหารและเครื่องดื่ม มีข้อบกพร่องในด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ (Assurance)</p> <p> 3) หากวิเคราะห์เสียงสะท้อนเชิงลบในลักษณะของเชิงนามธรรมและเชิงรูปธรรมพบว่า เสียงสะท้อนเชิงรูปธรรม (Objective feedback) มักมีลักษณะเป็นข้อความยาว มีการพรรณนาหรือระบุเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงของข้อบกพร่องในการให้บริการลูกค้า ซึ่งมีข้อมูลที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ มากกว่าเสียงสะท้อนเชิงนามธรรม (Subjective feedback) ที่มักมีลักษณะเป็นข้อความสั้น ๆ โดยส่วนใหญ่มาจากอารมณ์หรือความรู้สึกของลูกค้า มากกว่าข้อเท็จจริง งานวิจัยในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการของโรงแรมสีเขียวต่อไป</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/268587 รูปแบบการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับชาวตะวันออกกลางในประเทศไทย: บุคลากรทางสุขภาพควรตระหนัก 2024-01-10T10:27:38+07:00 กริช อึ้งวิฑูรย์สถิตย์ pichakkg68@gmail.com จรินทร์ เจริญศรีวัฒนกุล pichakkg68@gmail.com พิชา คนกาญจน์ pichakkg68@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้แก่ชาวตะวันออกกลางที่พำนักและท่องเที่ยวในประเทศไทย ปกติชาวตะวันออกกลางที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือหน่วยงานต้นสังกัด ในการตรวจสุขภาพหรือการรักษาพยาบาลจะเดินทางมารับบริการจากสถานพยาบาลในประเทศไทย เพราะความเชื่อมั่นที่มีต่อการตรวจรักษา และการให้บริการทางการแพทย์ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลไทยที่ถูกกว่าประเทศแถบตะวันตกและอเมริกา กลายเป็นแรงดึงดูดและจูงใจให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่วนใหญ่นิยมเดินทางเข้ามาในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิภาคตะวันออกกลางมีภูมิอากาศร้อนจัด และมีความชื้นสูง จึงหนีจากสภาพอากาศดังกล่าวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2561 ประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชาวตะวันออกกลาง 2,553.81 ล้านบาท อย่างไรก็ตามมีผลการศึกษาถึงอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพและรูปแบบการท่องเที่ยงเชิงสุขภาพ เช่น ความแตกต่างทางด้านภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาและวิถีการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะผู้เขียนจึงมีความสนใจที่จะศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์รูปแบบของการบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแก่ชาวตะวันออกกลางให้สอดคล้องกับบริบท สภาพปัญหาและความต้องการปัจจุบัน ทำการศึกษาด้วยวิธีการทบทวนเอกสาร วิเคราะห์ และสังเคราะห์เนื้อหา นำเสนอผลสรุปในรูปแบบบทความทางวิชาการ จากผลการศึกษาพบว่า 1) ควรจัดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยเน้นภูมิปัญญาไทย 2) การจัดฝึกอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์ และล่ามแปลภาษา 3) การส่งเสริมให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การสร้างเสริมสุขภาพในระบบท่องเที่ยว 4) การจัดเตรียมความพร้อมของเครื่องมือแพทย์และยารักษาโรค และ 5) การสนับสนุนให้จัดตั้งร้านอาหารฮาลาล ทั้ง 5 ประเด็น เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ISCJ/article/view/269011 การประยุกต์ใช้ BCG MODEL กับธุรกิจให้บริการโรงแรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในยุคปกติใหม่ได้อย่างยั่งยืน 2024-01-05T09:04:15+07:00 ธันยนันท์ สมบูรณ์รัตนโชค khaimuk.tunyanun@gmail.com ชัยณรงค์ ชัยจินดา chainarong.ch@chonburi.spu.ac.th <p>บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนมีความมุ่งหมายที่จะนำเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้ BCG Economy Model กับธุรกิจให้บริการโรงแรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนขึ้นในธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่สำคัญและสามารถสร้างรายได้ให้กับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเป็นจำนวนมาก และถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยภายหลังวิกฤตการณ์โควิด 19 โดยผู้เขียนได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงแนวคิด BCG Economy Model รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจให้บริการโรงแรม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมากที่สุด โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการประยุกต์ใช้ BCG Economy Model กับธุรกิจให้บริการโรงแรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดที่มีความเข้มข้นสูงในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งการดำเนินธุรกิจให้บริการโรงแรมในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ผลกระทบจากสงคราม รวมไปถึงภัยคุกคามจากโรคร้ายอุบัติใหม่ที่ยากจะควบคุม กลายเป็นสิ่งที่ท้าทายของผู้ประกอบการที่ต้องต่อสู้ฝ่าฝันเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งการประยุกต์ ใช้ BCG Economy Model กับธุรกิจให้บริการโรงแรมจะมุ่งเน้นเศรษฐกิจใน 3 ด้าน คือ 1) เศรษฐกิจชีวภาพที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ 2) เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และ 3) เศรษฐกิจสีเขียวที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และจะต้องมีการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมใน 3 ด้าน คือ 1) การหาโอกาสเพิ่มรายได้ จับเทรนด์ใหม่ให้ทันและปรับตัวให้เร็ว 2) ความสามารถในการบริหารต้นทุน และ 3) การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก (Resilience)</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี