https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/issue/feed
วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
2024-12-14T10:55:04+07:00
รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง
jinawatara@hotmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)<br />Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand (JAPDEAT) </strong><br /><strong>ISSN <span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">3027-8813 </span>(Online)</strong></p> <p>สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 119 หมู่ที่ 9 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม และนายทะเบียนสมาคม จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับจดทะเบียน แต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด ตามมาตรา 85 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ดังต่อไปนี้<br />1.นาย จิณณวัตร ปะโคทัง นายกสมาคม<br />2.นาย นพรัตน์ ชัยเรื่อง อุปนายก<br />3.นาย ไชยา ภาวะบุตร อุปนายก<br />4.นาย วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ อุปนายก<br />5.นาย เอกรินทร์ สังข์ทอง กรรมการ<br />6.นายรชฏ สุวรรณกูฏ กรรมการ<br />7.นายสุเมธ งามกนก กรรมการ<br />8.นายสาธร ทรัพย์รวงทอง กรรมการ<br />9.นายพรเทพ รู้แผน กรรมการ<br />10.นางรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ กรรมการและปฏิคม<br />11.นายพูนชัย ยาวิราช กรรมการและเหริญญิก<br />12.นายจักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก<br />13.นางจารุวรรณ พลอยดวงรัตน์ กรรมการและเลขาธิการ<br />14.นางชยากานต์ เรืองสุวรรณ นายทะเบียนและผู้ช่วยเลขาธิการ</p> <p><br /><strong>คณะกรรมการบริหารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย 2564<br /></strong>1.รองศาสตราจารย์ ดร.จิณณวัตร ปะโคทั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี นายกสมาคม<br />2.ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ นักวิชาการอิสระ ที่ปรึกษา<br />3.ศาสตราจารย์ ดร.สมาน อัศวภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ปรึกษา<br />4.อาจารย์ ดร.พรรณี สุวัตถี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ปรึกษา<br />5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนชัย ยาวิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อุปนายก<br />6.รองศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุปนายก<br />7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ ชัยเรื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อุปนายก<br />8.รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร อุปนายก<br />9.รองศาสตราจารย์ ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรรมการ<br />10.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ มหาวิทยาลัยนครพนม กรรมการ<br />11.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ รู้แผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กรรมการ<br />12.รองศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ งามกนก มหาวิทยาลัยบูรพา กรรมการ<br />13.รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ กรรมการและปฏิคม<br />14.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยากานต์ เรืองสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กรรมการและเหรัญญิก<br />15.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก<br />16.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรรมการและเลขานุการ<br />17.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นายทะเบียนและเลขานุการ </p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/274660
รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา
2024-08-21T12:04:55+07:00
พิมพ์ปวีณ์ นิธิจิรชาติ
p.pimpawee513@gmail.com
ธานี เกสทอง
pimpawi.2513@gmail.com
วรกฤต เถื่อนช้าง
pimpawi.2513@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักไตรสิกขา การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสานวิธี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 เพื่อสร้างรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 เพื่อประเมินรูปแบบผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักไตรสิกขา พบว่า 1) ด้านความพอเพียงตามหลักไตรสิกขา มี 6 แนวทาง 2) ด้านความกตัญญูตามหลักไตรสิกขา มี 6 แนวทาง 3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ตามหลักไตรสิกขา มี 6 แนวทาง 4) ด้านความรับผิดชอบตามหลักไตรสิกขา พบว่า มี 6 แนวทาง และ 5) ด้านอุดมการณ์ คุณธรรมตามหลักไตรสิกขา พบว่า มี 6 แนวทาง และผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักไตรสิกขา ทุกด้าน แยกได้ดังนี้ ความถูกต้อง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นประโยชน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/274336
รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว
2024-09-06T15:27:05+07:00
ไพฑูรย์ แจ่มพันธ์
lknaja25@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาบุคลากร 2) สร้างรูปแบบฯ 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ และ 4) ประเมินรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว จำนวน 66 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนา และระดับพฤติกรรมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ และการประเมินระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/273699
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านฮ่องขาดหนองตะเคียน
2024-07-20T15:36:13+07:00
ทวีศักดิ์ล สังวัง
thunyakarn.p@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านฮ่องขาดหนองตะเคียน มีการดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการ การสร้างรูปแบบ การทดลองใช้รูปแบบ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูล 30 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการศึกษาแนวทาง 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบรูปแบบ 12 คน การทดลองใช้รูปแบบ 11 คน และการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ 11 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย 1) ความต้องการจำเป็น โดยภาพรวมทุกด้าน พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติการ ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ด้านการวางแผน และด้านการตัดสินใจ 2) องค์ประกอบของรูปแบบ มี 5 องค์ประกอบ หลักการ วัตถุประสงค์ข วิธีดำเนินการ 4) การประเมินผล และ5) เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ปีการศึกษา 2566 ร้อยละคะแนนเฉลี่ยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2565 และ4)ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ โดยภาพรวมและจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> </p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/273693
The รูปแบบการบริหารการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สู่เป้าหมายผลลัพธ์คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม
2024-07-20T15:40:49+07:00
ขวัญจิรา จำปา
khuan277@gmail.com
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สู่เป้าหมายผลลัพธ์คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ ฯ โดยการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางจากการสังเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน สรุปผล 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ ฯ ด้านความถูกต้องและความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ กับครู จำนวน 20 คน 4) ประเมินรูปแบบ ฯ กับครู จำนวน 20 คน และผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเครือข่ายในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน 49 คน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ได้รูปแบบใหม่คือ รูปแบบการบริหารการนิเทศภายในเชิงรุก PPOERE เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สู่เป้าหมายผลลัพธ์คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ ประกอบด้วย 3.1) ปัจจัยนำเข้า 3.2) กระบวนการนิเทศภายในเชิงรุก 3.3) ผลผลิต องค์ประกอบที่ 4 แนวทางการประเมินผล และองค์ประกอบที่ 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ผลการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปของรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบ ฯ ดังนี้ 1) การประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารการนิเทศภายใน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) คุณภาพผู้เรียน 3 ด้าน ในปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 ได้แก่ 3.1) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3.2) ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในระดับดีขึ้นไป ทุกสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 3.3) ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในระดับดีขึ้นไป การประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ ครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีความคิดเห็นในการยอมรับได้ของรูปแบบ ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p><strong> </strong></p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272803
รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
2024-06-26T14:33:10+07:00
วันดี พรหมมา
wandeepromma@gmail.com
อุดมพันธ์ พิชญ์ประเสริฐ
api_vandee@hotmail.com
จำเริญ อุ่นแก้ว
Itsaranuwat08@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีการดำเนินการเป็นสามระยะ คือ การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา การสร้างรูปแบบ และการประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูล 603 คน จาก 402 โรงเรียน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการศึกษาแนวทางพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา 9 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบรูปแบบ 10 คน และในการประเมินรูปแบบ 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สาระสำคัญของ 5 องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีการดำเนินการของรูปแบบ ต้องคำนึง 3 หลักการ คือ หลักการพัฒนาครู หลักการรู้ดิจิทัล และหลักการบริหารในยุคดิจิทัล 4) การประเมินผลของรูปแบบโดยวัดผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบ และ5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ คือ การการดำเนินการตามรูปแบบ และการนำรูปแบบไปใช้</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272543
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2024-07-10T11:40:24+07:00
พณณกร การินทร์
pannakon.k@ubru.ac.th
ธิดารัตน์ จันทะหิน
Thidarat.c@ubru.ac.th
ชวนคิด มะเสนะ
Chuankid.m@ubru.ac.th
<p>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน 2)ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 16 คน ครูผู้สอน จำนวน 159 คน รวมทั้งสิ้น 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และการวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์แบบ Pearson ผลการวิจัยพบว่า1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3)ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272310
ภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
2024-05-07T19:30:31+07:00
วิศรุต ตันสมรส
witsarut.t@kkumail.com
บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์
bunpet@kku.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.932 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการประสานความร่วมมือ 2) องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) ภาวะผู้นำแบบประสานพลังส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูง ได้แก่ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (X<sub>2</sub>) ด้านการพัฒนาวิชาชีพ (X<sub>5</sub>) ด้านการทำงานเป็นทีม (X<sub>3</sub>) ด้านการปรับตัว (X<sub>1</sub>) และด้านการประสานความร่วมมือ (X<sub>4</sub>) สามารถร่วมกันพยากรณ์องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ได้ร้อยละ 75.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแสดงสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Zy’ = 0.254(ZX<sub>2</sub>) + 0.233(ZX<sub>5</sub>) + 0.197(ZX<sub>3</sub>) + 0.165(ZX<sub>1</sub>) + 0.148(ZX<sub>4</sub>)</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272278
แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
2024-05-03T20:20:10+07:00
พรภวิษย์ บาทขุนทด
phonphawit.max@gmail.com
บรรจบ บุญจันทร์
banjobbun21@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ด้านความก้าวหน้า ผู้บริหารควรให้ความเสมอภาค การทำงานตามนโยบายของโรงเรียน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ผู้บริหารควรกระตุ้นให้ครูรู้สึกมีคุณค่า เกิดความภูมิใจในตนเอง ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง ให้ครูทำงานอย่างมีอิสระด้านเงินเดือน ผู้บริหารควรจัดให้มีกองทุนประจำโรงเรียน ขอสวัสดิการบ้านพักจากหน่วยงานต้นสังกัด ด้านลักษณะของงาน มีการประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียด จัดสรรงบประมาณให้ตรงกับลักษณะงานของครู ด้านการปกครองบังคับบัญชา ผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ครูปฏิบัติตามวุฒิการศึกษา ทักษะ และประสบการณ์ ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้บริหารควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เป็นบุคคลที่ยืดหยุ่นไม่ยึดกฎและระเบียบมากเกินไป ด้านสภาพการทำงาน ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม จัดอบรมให้ครูและนักเรียนมีทักษะการดูแลตนเองเพื่อให้เกิดความปลอดภัย</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272233
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
2024-05-01T12:09:19+07:00
กิจธนาพัฒน์ ศรีสุวรรณ์
kitthanapatsrisuwan@gmail.com
สุรางคนา มัณยานนท์
surangkana.manyanon@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 149 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 138 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.62 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และข้อคำถามปลายเปิด มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) อยู่ระหว่าง .47 - .76 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ 2) ข้อเสนอแนะการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้ (1) ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครองผู้นำท้องถิ่น มีส่วนร่วมกำหนดพันธกิจของโรงเรียน (2) ผู้บริหารควรจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และผู้เรียน ให้มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริง (3) ผู้บริหารควรเน้นย้ำให้ครูนำผลการนิเทศการสอนมาปรับปรุงการเรียนการสอน (4) ผู้บริหารควรติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนให้รู้ว่านักเรียนมีทักษะด้านต่าง ๆ และ อยู่ระดับใด เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา แก้ไขปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล และ (5) ผู้บริหารควรส่งเสริมกิจกรรม PLC ให้ครูได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ</p> <p><strong> </strong></p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272157
แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
2024-05-23T08:20:27+07:00
สุพิชชา มหิพันธ์
65d0101217@nrru.ac.th
บรรจบ บุญจันทร์
Banjobbun21@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 331 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie and Morgan กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นภูมิในการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน ด้านความพึงพอใจในการทำงาน ได้แก่ การเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงาน กำหนดและวางแผนร่วมกัน จัดสรรบุคลากรให้เหมาะสม สร้างขวัญและกำลังใจ ด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ได้แก่ สถานศึกษาต้องกำหนดมาตรการความปลอดภัย ซ่อมแซมอาคาร ติดตั้งกล้องวงจรปิด ด้านสุขภาพแข็งแรง ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมการออกกำลังกาย สร้างขวัญและกำลังใจ การนิเทศภายในโรงเรียน และให้มีพัฒนาการในการปฏิบัติงาน ด้านความสุขของครอบครัว ได้แก่ การจัดกิจกรรมสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรและครอบครัว และด้านความสุขทางสังคม ได้แก่ ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลและหลักพรหมวิหาร 4 มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กร และสร้างมาตรการการอยู่ร่วมกันในองค์กร</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272156
แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
2024-05-23T11:32:29+07:00
พีรพล ชำนาญกุล
aof12062540@gmail.com
บรรจบ บุญจันทร์
banjobbun21@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 335 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นภูมิในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน 2) การเปรียบเทียบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ด้านกายภาพ คือ สถานศึกษาควรมีการกำหนดนโยบายและโครงการ เกี่ยวกับการจัดแหล่งเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย เพียงพอต่อความต้องการ ด้านวิชาการ คือ สถานศึกษาควรมีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการพัฒนาตนเอง ในด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา จัดสรรสื่อให้เพียงพอและเหมาะสม ด้านสัมพันธภาพ คือ สถานศึกษาควรจัดให้มีการประชุมบุคลากรเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยใช้กระบวนการ PLC และในการมอบหมายงานแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละบุคคล และด้านการบริหารจัดการ คือ กำหนดโครงการปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี มีการระดมทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272136
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
2024-04-30T22:35:15+07:00
ณัฐภัค ภักดีณรงค์
nattapakpakdeenarong@gmail.com
บรรจบ บุญจันทร์
banjobbun21@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 322 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 3) ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ และด้านวัฒนธรรมองค์กร มีอิทธิพลร่วมกันต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างด้านเหล่านี้กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 1 เป็น .808 และด้านเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 65.2 โดยมีสมการถดถอย ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน </p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272125
แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกหนองคาย
2024-05-11T19:29:42+07:00
วสันต์ พินิจมนตรี
wasan.pi@kkumail.com
วัลลภา อารีรัตน์
Wasan.pi@kkumail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ใช้รูปแบบการวิจัยวิธีวิจัยแบบผสมผสานแบบแผนเชิงอธิบาย ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 290 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น การวิจัยระยะที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารศถานศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความปลอดภัยและรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และการรู้สิทธิในโลกดิจิทัล 2. สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการรู้ดิจิทัล 3. ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ในภาพรวมพบว่า ค่า PNI<sub>Modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.086 ถึง 0.117 ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการรู้ดิจิทัล (PNI<sub>Modified</sub>= 0.117) 4. แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา (1) ด้านการรู้ดิจิทัล ผู้บริหารพัฒนาตนเองและครู ให้มีรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กำหนดวิสัยทัศน์มุ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัล (2) ด้านการสื่อสารดิจิทัล พัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ในการใช้เทคโนโลยีสื่อสารให้มีคุณภาพ และสร้างเครือข่ายกับผู้ปกครองและชุมชน พัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารและโครงสร้างอินเตอร์เนตให้เกิดความเสถียรภาพ มั่นคง และปลอดภัย (3) ด้านอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล เลือกใช้แพลทฟอร์มเพื่อแสดงออกอัตลักษณ์ทางดิจิทัลของสถานศึกษา ครู และนักเรียนให้เหมาะสม จัดทำนโยบายและมาตรจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ เพื่อความปลอดภัย เป็นปัจจุบัน และเป็นระบบ (4) ด้านการรู้สิทธิ์บนโลกดิจิทัล และ ความปลอดภัยและรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ผู้บริหารจัดทำคู่มือเสริมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและจริยธรรมในการใช้สื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ปลูกฝังเจตคติที่ดีในการใช้สิทธิในโลกดิจิทัล พัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบดิจิทัล ในการบริหารสถานศึกษาให้ใช้งานสะดวก และมีความปลอดภัย</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/272075
แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก
2024-05-25T10:28:35+07:00
วิทวัส หาหอม
wittawathahom10@gmail.com
ประจบ ขวัญมั่น
krujob69@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 210 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (2) ปัญหาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พบมากที่สุด คือ สถานศึกษาไม่มีกรอบหรือเครื่องมือในการประเมินตนเองอย่างชัดเจนเป็นของตนเองในการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา (3) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า 1) ควรมีการวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษาโดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและหลากหลายช่องทาง 2) ควรชี้แจงเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดทำแผนปฏิบัติการหรือแผนงบประมาณของสถานศึกษาให้รับทราบอย่างทั่วถึง 3) ควรมีการกำหนดแผนงาน โครงการ ตัวชี้วัด ของกิจกรรมให้สอดคล้องกับประเด็นพิจารณาและมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนดและประกาศใช้ 4) ควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนามาตรฐานการศึกษาและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 5) ควรกำหนดมาตรการการติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ชัดเจน 6) ควรมีการรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาให้หน่วยงานต้นสังกัดและสาธารณชนรับทราบอย่างทั่วถึงและหลากหลายช่องทาง</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271982
ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้: กรณีศึกษาที่ BTIS
2024-06-21T13:35:53+07:00
Kanjana Homnan
kanhomnan2008@gmail.com
ไพโรจน์ ด้วงนคร
pairoj.dua@crru.ac.th
ประเวศ เวชชะ
em_prawet_w@crru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ภายในโรงเรียน การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่กรณีศึกษาที่ Britisih Thai International School at Chiangkham – Phayo (BTIS) โดยจะตรวจสอบการใช้งานการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ การวิจัยใช้วิธีการผสมผสานโดยใช้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ดังนี้ นักเรียน 19 คน ครู 11 คน และผู้บริหาร 2 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. AI ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และกำหนดนโยบายการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2. ความท้าทายและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ AI ในการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการศึกษา 3. การพัฒนากรอบการทำงานสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีและความพึงพอใจของชุมชนโรงเรียน สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดองค์ความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับบทบาทของ AI ในการจัดการเชิงกลยุทธ์ และผลกระทบต่อการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษา</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271965
Miss แนวทางการพัฒนาการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
2024-05-03T21:07:53+07:00
อุไรวรรณ วงศรีเฮ้า
aomkuch204@gmail.com
กานต์ เนตรกลาง
kant.n@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติงานในสถานศึกษาจำแนกตามประสบการณ์ทำงานและแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 123 คน และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบบง่ายโดยการจับสลาก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1.การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติงานในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2.ผลการเปรียบเทียบการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติงานในสถานศึกษา โดยภาพรวมจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3.แนวทางการพัฒนาการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติงานในสถานศึกษา มีการศึกษานโยบายให้ถ่องแท้ เข้าใจ ตั้งแต่นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวง นโยบายของสพฐ.กำหนดแนวทางร่วมกันประชุมร่วมกัน มีการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ผู้บริหารจำเป็นต้องมีทัศนคติที่ดีต่อนโยบายมีการวิเคราะห์องค์กร แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผน สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน มีการถ่ายทอดการใช้คู่มือเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและร่วมกันทำงานเป็นทีม มีการสื่อสารสร้างทัศนคติที่ดี สร้างความเข้าใจจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานยอมรับ กำหนดปฏิทินมีการกำกับเป็นระยะๆ เมื่อเริ่มปฏิบัติงานก็มีการนิเทศ ตรวจเยี่ยม เพื่อดูปัญหา อุปสรรค รับฟังปัญหา ช่วยแก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำ ส่งเสริมปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงานมีความก้าวหน้าและเป็นไปตามแผนงาน</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271879
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
2024-04-27T19:05:43+07:00
รักชนก กุดนอก
maris_nana@hotmail.com
กานต์ เนตรกลาง
65D0101214@nrru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 351 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.94 และมีค่าความความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องพัฒนาในด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล โดยยอมรับฟังความคิดเห็น และกระตุ้นให้บุคลากรใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการรู้ดิจิทัล ต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และตระหนักถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้านการสื่อสารดิจิทัล การใช้เทคโนโลยี และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้านความเป็นมืออาชีพทางดิจิทัล โดยการระดมทรัพยากร รวมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล โดยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม สร้างระบบสารสนเทศที่ดี</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271809
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนิสิตสาขาการบริหารการศึกษา
2024-04-09T20:00:15+07:00
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ
rungchatchadaporn@tsu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนิสิตสาขาการบริหารการศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 รายวิชา ทฤษฎีและแนวคิดการบริหารการศึกษา จำนวน 2 ห้องเรียน 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนิสิตสาขาการบริหารการศึกษาประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ชื่อว่า “PAOR Model” มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผน ปฏิบัติตามแผน การสังเกต และการสะท้อนผล และนำรูปแบบไปใช้ระดับประสิทธิผลหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พบว่านิสิตมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012 ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจาณรญาณ ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และนิสิตมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271238
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดคล่องของนักศึกษาครุศาสตร์ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต
2024-03-12T09:38:21+07:00
สุวิมล นาเพีย
n.suwimol@sskru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีจุดมุงหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดคล่องของนักศึกษาครุศาสตร์ ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดคล่องของนักศึกษาครุศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่กำลังศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดคล่อง และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมสําหรับการนําไปใชประกอบดวย 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 1 การบริหารสมอง ขั้นที่ 2 การกระตุ้นการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การสำรวจและค้นหา ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์ผลงาน ขั้นที่ 5 การนำเสนอผลงาน และ ขั้นที่ 6 การประเมินผล ผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดคล่อง พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271128
ความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
2024-04-01T20:06:41+07:00
อภิญญา ฮมแสน
familyjaab@gmail.com
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
Dr.sikan1@gmail.com
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
vijittra.v@snru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 276 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ซึ่งแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .941 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .770 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมากและมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามเพศ โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามตำแหน่งครู และจำแนกตามความรับผิดชอบในการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านลักษณะงานที่ทำ (PNI_<sub>modified</sub>= 0.234) ด้านการได้รับการยอมรับ (PNI_<sub>modified</sub>= 0.223) ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน(PNI_<sub>modified</sub>= 0.214) ด้านความสำเร็จในการทำงาน (PNI_<sub>modified</sub>= 0.201) และด้านความรับผิดชอบ (PNI_<sub>modified</sub>= 0.190) 4. แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านความรับผิดชอบ</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271039
ความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
2024-04-05T20:20:24+07:00
นภัสมน สุขจร
napatsamon.pgs61@gmail.com
สุมัทนา หาญสุริย์
sumattana.h@snru.ac.th
ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
ruejeab@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 366 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .990 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สภาพที่เป็นจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า สภาพที่เป็นจริง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม ด้านการมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ 4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมจากการศึกษาโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ พบว่าควรพัฒนาทั้ง 5 ด้าน</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271030
การศึกษาวัฒนธรรมการใช้ภาษาในการตั้งชื่อต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล
2024-03-09T15:20:53+07:00
ชรัณ โภคสกลวาณิช
thee.thee1014@gmail.com
อธิชาติ บุญญยศยิ่ง
athichart59@gmail.com
<p>การวิจัย เรื่อง การศึกษาวัฒนธรรมการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล และการจัดลำดับความสำคัญลักษณะในการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อ ต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตบ้านด่านเก่า เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 364 คน และวิธีการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ คือ ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เข้าไปสอบถามกับประชาชนในเขตบ้านด่านเก่า โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้รับจะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเป็นร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่ จะเป็นผู้หญิง คิดเป็นร้อยละ 95.33 และผู้ชาย คิดเป็นร้อยละ 4.67 จะมีอายุ 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.64 รองลงมา จะอายุ 36 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.37 และสุดท้าย จะอายุ ไม่เกิน 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 1.92 จะนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 94.51 รองลงมา ศาสนาคริสต์ คิดเป็นร้อยละ 4.12 และสุดท้าย จะนับถือศาสนา อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.27 จะมีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 70.88 รองลงมา อาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 15.93 และสุดท้าย อาชีพอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.27 จะมีสถานภาพแต่งงานแล้ว คิดเป็นร้อยละ 75.55 รองลงมา โสด คิดเป็นร้อยละ 11.81 และสุดท้าย แยกกันอยู่ คิดเป็นร้อยละ 4.12 มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 44.51 รองลงมามัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 26.37 และสุดท้าย สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 และพยัญชนะ ก-ฮ ในชื่อ ที่ชอบที่สุด เมื่อเรียงสำดับพยัญชนะ ก-ฮ 3 ลำดับแรก โดยให้เหตุผลหลักๆ ว่า เป็นพยัญชนะตัวแรกในชื่อ เป็นพยัญชนะตัวแรก แสดงถึงความเป็นที่ 1 เป็นอักษรที่เชื่อว่าจทำให้โชตดี ทำให้ชื่อมีความหมายชัดเจนขึ้น มีความอิสระ และยิ่งใหญ่ ซึ่งทำให้เห็นว่าประชาชนในเขตบ้านด่านเก่านับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ยังมีความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อมงคล ซึ่งตรงกันข้ามกับหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชนไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงาย 2) การจัดลำดับความสำคัญลักษณะในการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อ ต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล ในการตั้งชื่อฯ 3 ลำดับแรก พบว่า ลำดับที่ 1 คือ การตั้งชื่อที่มุ่งความหมายในทางที่ดีเป็นมงคลแก่ชีวิต แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้รู้ หรือ นักปราชญ์ มีทรัพย์สินเงินทองหรือมีความเจริญก้าวหน้า ลำดับที่ 2 คือ การตั้งชื่อให้คล้องจองกันระหว่าพี่น้อง เพื่อแสดงถึงความไพเราะของภาษา และแสดงถึง ความผูกพันธ์ระหว่างพี่น้อง ลำดับที่ 3 คือ การตั้งชื่อโดยการนำอักษรของชื่อพ่อและแม่มารวมกัน เพื่อแสดงถึงความรักความผูกพัน ระหว่างพ่อ แม่และลูก ซึ่งทำให้เห็นว่าประชาชนในเขตบ้านด่านเก่านับถือศาสนาพุทธ เชื่อว่าการใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อจะทำให้เป็นมงคลแก่ชีวิต เช่น เป็นคนเก่ง มีทรัพย์สินเงินทอง และคล้องจองกับพ่อแม่และพี่น้องเพื่อแสดงถึงความไพเราะ และผูกพันระหว่างพี่น้อง</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270696
แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
2024-03-22T12:55:28+07:00
กิติยาภรณ์ พลนิกาย
gifted2524@gmail.com
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
Chayakan@rmu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 321 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 26 คน และครู จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of item Objective Congruence : IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามสภาพปัจจุบันอยู่ระหว่าง 0.35 – 0.85 และค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์อยู่ระหว่าง 0.38 – 0.89 ค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.95 และสภาพพึงประสงค์เท่ากับ 0.95 ระยะที่ 2 ขั้นที่ 1 แนวทางและประเมินการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินแนวทาง ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเรียงลำดับจากสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านเทคนิควิธี(PNI<sub>Modified</sub> = 0.52) ด้านมนุษย์(PNI<sub>Modified</sub> = 0.46) ด้านวิสัยทัศน์(PNI<sub>Modified</sub> = 0.42) และด้านความคิดรวบยอด(PNI<sub>Modified</sub> = 0.37) 2) แนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษามี 25 แนวทาง 2.1) ด้านเทคนิควิธี 8 แนวทาง 2.2) ด้านมนุษย์ 7 แนวทาง 2.3) ด้านวิสัยทัศน์ 5 แนวทาง 2.4) ด้านความคิดรวบยอด 5 แนวทาง</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270899
ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี
2024-04-03T06:25:20+07:00
มิ่งขวัญ ญาติธรรม
mingkhuan1985@gmail.com
สายันต์ บุญใบ
sayan101@hotmail.com
รัชฎาพร งอยภูธร
rut.pim203@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบความสัมพันธ์และหาแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษา ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 238 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และครูผู้สอน จำนวน 218 คน จาก 20 สถานศึกษา โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งคุณภาพของแบบสอบถามประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .729 - .811 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .910 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .817 - .923 และค่าความเชื่อมั่นเมื่อ เท่ากับ .938 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA), และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (r<sub>xy</sub> = .863) 5. แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี มีดังนี้ 5.1 แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพ มี 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการวางแผน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณและด้านการประเมินผล 5.2 แนวทางพัฒนาประสิทธิผล มี 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการศึกษาต่อเนื่องและด้านการศึกษาตามอัธยาศัย</p>
2024-12-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270923
The ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
2024-03-05T14:52:48+07:00
สุพรรณ พรมภา
suphantiy@gmail.com
ไชยา ภาวะบุตร
chaiya9979@hotmail.com
ธวัชชัย ไพใหล
tawatchai25040103@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา เปรียบเทียบความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของเครจซี่ มอร์แกน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 321 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 64 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ 64 คน และครูผู้สอน 193 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าคุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .486 – .807 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .985 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .587 - .882 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .976 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .549 – .817 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .975 และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า F-test การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 5. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ผลการวิเคราะห์หาค่าอำนาจพยากรณ์ มีค่าอำนาจพยากรณ์ 5 ด้าน พบว่า มี 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และอีก 1 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ที่วิเคราะห์สรุปเป็นแนวทางพัฒนามี 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมีจินตนาการ และด้านการมีความยืดหยุ่น</p>
2024-12-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270927
THE ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
2024-03-09T13:57:27+07:00
เยาวลักษณ์ เอกพิมพ์
yaowalak5159@gmail.com
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
Dr.sikan1@gmail.com
บดินทร์ นารถโคษา
Romklao2505@hotmail.com
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และหาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน ตามตารางของ Krejci & Morgan สุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .426-.859 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .975 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .384-.823 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .946 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ลักษณะที่เปิดสอนและขนาดของโรงเรียน ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามลักษณะที่เปิดสอนและขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามลักษณะที่เปิดสอนและขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง 4) แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ประสิทธิภาพ 3 ด้าน คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการพัฒนาหลักสูตร ประสิทธิผล 3 ด้าน คือ คุณภาพผู้เรียน สถานศึกษา และความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน</p>
2024-12-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270671
แนวทาง แนวทางในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
2024-03-14T13:37:50+07:00
ประทีป ทาริยะวงศ์
theskaepy@gmail.com
ประจบ ขวัญมั่น
pruettipol.ethesis@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและเปรียบเทียบสภาพของการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลจำแนกตามประสบการณ์ การปฏิบัติงานและขนาดโรงเรียน 2) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้จําแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ครูผู้สอน จำนวน 80 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และคำนวณ จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร คนผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ มีความเชี่ยวชาญ ทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา จำนวน 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.986 เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าที(t-test) การทดสอบค่าF(F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ข้อที่มีค่าร้อยละมากสุด ผู้ปกครองไม่ได้ให้ความสำคัญในด้านการติดต่อทางกลุ่มออนไลน์ เช่น Live, Facebook หรือ แอพพลิเคชั่นที่เหมาะสม กับสถานศึกษา ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ การปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนพบว่า ไม่แตกต่างกัน มีข้อแนวทาง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดเป็นนโยบายหรือจุดเน้นของสถานศึกษาในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศ ให้แต่ละกลุ่มงานต้องจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสม</p>
2024-12-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270950
แนวทางการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence Era)
2024-02-28T20:30:44+07:00
ปาณิศา ปาระมี
paramee.pns@gmail.com
ประเวศ เวชชะ
prawet.wet@crru.ac.th
ไพรภ รัตนชูวงศ์
captpairop@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based participatory research : CBPR) ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้ 1) การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ออกแบบการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานประเภทลำดับต่อเนื่องเชิงอธิบาย (Explanatory sequential) 2) เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation-Influence Control : AIC) ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ต้องมีการประเมินสภาวการณ์ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ การกำหนดแผนงานโครงการ และการกำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์ ซึ่งได้กำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์ตามแนวตามทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ทั้ง 4 มิติ ภายใต้ทฤษฎีการบริหาร Balance Scorecard (BSC) มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพกระบวนการ มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากร มิติทั้ง 4 มิติแสดงถึงความเชื่อมโยงนำไปสู่ความสำเร็จ การบรรลุเป้าประสงค์ และการบรรลุวิสัยทัศน์ของการบริหารจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence Era)</p>
2024-12-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270682
ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2024-02-14T15:50:38+07:00
สุภาดา นากลางดอน
supada.02.2540@gmail.com
วิไล พลพวก
wilsupervisor@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้การเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมชั้นประถมศึกษาปีที่6ตามเกณฑ์80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่6ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม และ3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิชญพิชญ์ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีภาคเรียนที่1ปีการศึกษา2565จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2565 จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง0.23–0.69 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.32– 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ที่มีต่อจัดการเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> และการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> เท่ากับ 82.37/83.01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยที่เรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ที่มีต่อจัดการเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271008
ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก ต่อความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการเขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2024-03-09T14:51:50+07:00
ทิพธัญญา บุญมาพล
thipthanya7244@gmail.com
วิไล พลพวก
thipthanya7244@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนแบบร่วมมือแบบCIRC เสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิกเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือแบบCIRCเสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบCIRCเสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนสะอาดผดุงศิลป์ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRCเสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26 – 0.67และ ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20 – 0.65 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียววัดหลังเรียน (One Sample t –test) และแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t – test)</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270894
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารอาชีวศึกษา
2024-03-05T14:41:13+07:00
ราชกิจ พรหมชาติ
rachkaipromchat@gmail.com
ทนง ทองภูเบศร์
thanong.tho@rmutr.ac.th
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย
Puttanakulchai.wee@rmutr.ac.th
<p>บทความวิชาการเรื่องนี้ มุ่งนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีสำคัญต้องเน้นการสร้างวัฒนธรรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่สนับสนุนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง โดยการสร้างความเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การสร้างทัศนคติที่ดีในทีมงาน และการใช้เทคโนโลยีและคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมจะช่วยให้วิทยาลัยเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างวัฒนธรรมองค์ประกอบการที่สนับสนุนนวัตกรรม การสนับสนุนการพัฒนาทักษะและความสามารถในการนำเสนอแนวคิดใหม่ การสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการท้าทายและการลองผิด และพัฒนาทักษะการนำ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาควรมีเพื่อนำวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศและสร้างสถานศึกษาที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมนำไปสู่การสร้างและสนับสนุนนวัตกรรมและความเป็นเลิศในวิทยาลัยอาชีวศึกษา โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์ประกอบการที่สนับสนุนนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาทักษะและความสามารถในการนำเสนอแนวคิดใหม่ สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการท้าทายและการลองผิด และพัฒนาทักษะการนำ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาควรมีความพร้อมในการนำวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศและสร้างสถานศึกษาที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/271037
METAVERSE: การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง
2024-04-05T20:27:22+07:00
จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์
dr.chaparun@gmail.com
วันทนีย์ สุนทรสิงห์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
Pepsi99966@gmail.com
ชาญ คำภิรแปง
dr.chaparun@gmail.com
<p>ปัจจุบันการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง ได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งบทความ Metaverse (เมตาเวิร์ส) : การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง มีวัตถุประสงค์ เพื่อการฝึกทักษะและนำมาใช้แบบ hybrid (ไฮบริด) ที่ผสมผสานทั้งในห้องเรียน ออนไลน์ และผนวกเข้ากับสื่อสังคมออนไลน์ โดย Metaverse (เมตาเวิร์ส) และเพื่อเข้ามาพลิกบทบาทของการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตรที่เน้นภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎีด้วยเทคโนโลยี AR และ VR การเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด จุดเด่นของ Metaverse (เมตาเวิร์ส) มาใช้ในการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ช่วยให้ผู้เรียนสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บุคคลทั่วไป ได้มีการพัฒนา และปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ก้าวไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด</p>
2024-12-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.)