วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT <p>สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 119 หมู่ที่ 9 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม และนายทะเบียนสมาคม จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับจดทะเบียน แต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด ตามมาตรา 85 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ดังต่อไปนี้<br />1.นาย จิณณวัตร ปะโคทัง นายกสมาคม<br />2.นาย นพรัตน์ ชัยเรื่อง อุปนายก<br />3.นาย ไชยา ภาวะบุตร อุปนายก<br />4.นาย วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ อุปนายก<br />5.นาย เอกรินทร์ สังข์ทอง กรรมการ<br />6.นายรชฏ สุวรรณกูฏ กรรมการ<br />7.นายสุเมธ งามกนก กรรมการ<br />8.นายสาธร ทรัพย์รวงทอง กรรมการ<br />9.นายพรเทพ รู้แผน กรรมการ<br />10.นางรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ กรรมการและปฏิคม<br />11.นายพูนชัย ยาวิราช กรรมการและเหริญญิก<br />12.นายจักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก<br />13.นางจารุวรรณ พลอยดวงรัตน์ กรรมการและเลขาธิการ<br />14.นางชยากานต์ เรืองสุวรรณ นายทะเบียนและผู้ช่วยเลขาธิการ</p> <p><br /><strong>คณะกรรมการบริหารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย 2564<br /></strong>1.รองศาสตราจารย์ ดร.จิณณวัตร ปะโคทั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี นายกสมาคม<br />2.ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ นักวิชาการอิสระ ที่ปรึกษา<br />3.ศาสตราจารย์ ดร.สมาน อัศวภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ปรึกษา<br />4.อาจารย์ ดร.พรรณี สุวัตถี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ปรึกษา<br />5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนชัย ยาวิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อุปนายก<br />6.รองศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุปนายก<br />7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ ชัยเรื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อุปนายก<br />8.รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร อุปนายก<br />9.รองศาสตราจารย์ ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรรมการ<br />10.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชฏ สุวรรณกูฏ มหาวิทยาลัยนครพนม กรรมการ<br />11.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ รู้แผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กรรมการ<br />12.รองศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ งามกนก มหาวิทยาลัยบูรพา กรรมการ<br />13.รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ กรรมการและปฏิคม<br />14.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยากานต์ เรืองสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กรรมการและเหรัญญิก<br />15.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก<br />16.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรรมการและเลขานุการ<br />17.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นายทะเบียนและเลขานุการ </p> th-TH [email protected] (รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง ) [email protected] (รศ.ดร.รัตนะ ปัญญาภา) Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบและการพัฒนารูปแบบโดยการวิจัยในการบริหารการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/269871 <p>รูปแบบเป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้เป็นสื่อกลางแทนมโนทัศน์เชิงทฤษฎี หรือการออกแบบวิธีการปฏิบัติงานที่มุ่งยกระดับประสิทธิผลการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะที่ตัวทฤษฎี หรือวิธีปฏิบัติงานเหล่านั้นอาจจะไม่เป็นรูปแบบด้วยตัวเอง แต่โดยโครงสร้างของแนวคิดของทฤษฎีหรือวิธีการปฏิบัติงานเหล่านั้นก็จะสามารถพัฒนาต่อให้เป็นรูปแบบเชิงทฤษฎี หรือการปฏิบัติงานได้ คล้ายกับโปรแกรมใช้งาน ของเวอร์ชันคอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆ นั่นเอง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงการพัฒนารูปแบบก็จะหมายถึงการพัฒนาตัวแบบเชิงทฤษฎี หรือวิธีการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามบทความนี้มุ่งนเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานมากกว่ารูปแบบเชิงทฤษฎี โดยบทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบ การพัฒนารูปแบบ การตรวจสอบรูปแบบ และบทสรุป ผลการศึกษาที่ปรากฏในบทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาหลักดังนี้ เรื่องแรกคือแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบ ซึ่งมีสองประเด็นย่อยคือความหมายและองค์ประกอบของรูปแบบ เรื่องที่สองเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบโดยวิธีการวิจัย ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนย่อยคือวิถีทัศน์ในการวิจัย และการออกแบบการวิจัย ส่วนเรื่องสุดท้ายคือการประเมินรูปแบบ ซึ่งจะนำเสนอแนวทางในการประเมินรูปแบบ รายละเอียดของสาระทั้งหมดจะได้นำเสนอต่อไป</p> สมาน อัศวภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/269871 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270788 <p style="font-weight: 400;">ในยุคปกติใหม่นี้ การบริหารสถานศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สถานศึกษาสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่มุ่งเน้นไปที่การรับฟังและปรับปรุงตามความต้องการของผู้เรียนและสถานศึกษาเอง โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และการให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผล เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษาไปอย่างยั่งยืนในอนาคต บทความนี้นำเสนอกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ มุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้สถานศึกษาสามารถปรับตัวและดำเนินการต่อไปในสภาวะที่ผันผวนของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะต่อการเรียนรู้ และการสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยี และวิธีการสื่อสารใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการจัดการศึกษา เน้นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ โดยมุ่งเน้นที่หลักการสนับสนุนการเรียนรู้แบบสัมพันธ์ และการเรียนรู้ออนไลน์ การสนับสนุนและพัฒนาทีมครู การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการทรัพยากรดิจิทัลและประสบการณ์การเรียน และการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลในนักเรียนและครู เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการและสถานการณ์ปัจจุบันของผู้เรียน</p> นิตยา หงษ์ขุนทด, บรรจบ บุญจันทร์, อริสา นพคุณ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270788 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267745 <p>วิจัยเรื่องภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่สามารถทำนายการดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 มีค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ที่ 0.993 ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการกระตุ้นทางปัญญา สามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้</p> <p> = .050+.430(X<sub>2</sub>)+.319(X<sub>4</sub>)+.254(X<sub>3</sub>)</p> <p> = .415(X<sub>2</sub>)+.357(X<sub>4</sub>) +.251(X<sub>3</sub>)</p> จารุวรรณ วงษ์เกษกรณ์, ทินกร พูลพุฒ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267745 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลทางวิชาการ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267630 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิผลทางวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลทางวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 306 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 38 คน และครูผู้สอน จำนวน 268 คน จากสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.992 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) คิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลทางวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงมาก ( = 0.845) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> จันทรัสม์ มีลาภ, สมาน อัศวภูมิ, จำเริญ อุ่นแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267630 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268010 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรและประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ศึกษากระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ความเชื่อมั่น(สัมประสิทธิแอลฟ่า) 0.97 เก็บข้อมูลด้วยจากผู้บริหารและครูของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 285 คน นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ และสร้างสมการถดถอย จากนั้นสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจำนวน 5 คน เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรทุกด้านอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และกระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้แก่ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา(X<sub>1</sub>) การวางแผนการใช้หลักสูตร(X<sub>2</sub>) การนำหลักสูตรไปใช้(X<sub>3</sub>) และการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล(X<sub>4</sub>) โดยได้สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเป็น Y = 0.319X<sub>3</sub> +0.336X<sub>2</sub> + 0.128X<sub>4</sub> + 0.122X<sub>1</sub> และมีค่าสัมประสิทธิการทำนายร้อยละ 63.70 แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดทำหลักสูตร ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตร ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ และด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล รวมทั้งสิ้น 10 แนวทาง</p> ณัฐวัชร โตสัจจะ, จุลดิศ คัญทัพ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268010 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268018 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2)เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึก กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุทธสิริโสภา จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึก 2)แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 - 0.67 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20 – 0.65 และค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.83 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบตกผลึกเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test แบบ ไม่เป็นอิสระต่อกัน ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1)ความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัด การเรียนรู้แบบตกผลึกหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ75อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2)ความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกอยู่ในระดับมากที่สุด</p> อดิเทพ แสนวัง, วิไล พลพวก Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268018 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268043 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองหอย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 – 0.79 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.34 – 0.79 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p> พัชรีภรณ์ ตรีบุญเมือง, วิไล พลพวก Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268043 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการฝึกปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267784 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลัง เรียน 2) ศึกษาทักษะการฝึกปฏิบัติกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 โสกคูณ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.32 - 0.59 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 - 0.67 และค่าความเชื่อมั่น 0.87 3) แบบประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ ผลการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน RAI = 0.83 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของ แฮร์โรว์ เรื่อง ดนตรีสากลขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012. ผลการศึกษาทักษะการฝึกปฏิบัติ วิชาดนตรี เรื่อง ดนตรีสากลขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ศักดิ์ชัย ศรีจูมพล, สมชาย พาชอบ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267784 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือ โดยใช้กิจกรรมวอร์คแรลลี่ ของครูโรงเรียนวัดปากคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267624 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนวัดปากคู 2) พัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือของครูโรงเรียนวัดปากคู และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือของครูโรงเรียนวัดปากคู โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด ดำเนินการ 1 วงรอบและใช้รูปแบบกิจกรรมวอร์คแรลลี่ในการฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดปากคูจำนวน 9 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาจำนวน 8 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.50-1.00 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจจำนวน 40 ข้อมีค่าความยากง่าย 0.50-0.75 ค่าอำนาจจำแนก 0.50-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 แบบประเมินสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือจำนวน 20 ข้อมีอำนาจจำแนก 0.40 - 0.95 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 15 ข้อมีค่าอำนาจจำแนก 0.27-0.94 และค่าความเชื่อมั่น 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนวัดปากคู การวางแผนการจัดกิจกรรมยังไม่ครบถ้วนตามหลักสูตร ยังไม่มีการขอตั้งกองลูกเสืออย่างเป็นทางการ ครูมีทักษะการปฏิบัติในเรื่องของพิธีการที่ไม่ชัดเจนและยังไม่มีการดำเนินการเรื่องของการเงินลูกเสือ 2) ผลการพัฒนาสมรรถนะการ บริหารงานลูกเสือในโรงเรียน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 36.67 สูงกว่าก่อนการอบรม มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 12.56 และทักษะการปฏิบัติงานลูกเสือโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.12 อยู่ในระดับมาก และ 3) ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานลูกเสือโดยใช้กิจกรรมวอร์คแรลลี่ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.29 อยู่ในระดับมาก</p> ทวีศักดิ์ จันทะโสม , บรรจง เจริญสุข, สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267624 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมในการสานสัมพันธ์ประชาคมดูแลรักษาสายคลองชุมชนสองฝั่ง คลองพระพิมลราชา อำเภอบางบัวทอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268380 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนในการประสานงานความร่วมมือและรักษาคุณภาพน้ำในคลองพระพิมลราชา 2) ส่งเสริมและผลักดันองค์กรชุมชนให้สร้างสรรค์นวัตกรรมในการฟื้นฟูและดูแลคุณภาพน้ำผ่านเทคโนโลยีที่เหมาะสม และ 3) เพื่อสนับสนุนชุมชนในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนริมคลอง และประชาชนสามารถเรียนรู้ถึงประโยชน์ของการบำรุงรักษาคลองอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการประเมินการสังเกตแบบมีส่วนร่วมภาคสนาม กลุ่มเป้าหมายคือนักวิจัยชาวบ้านจากผู้นำชุมชนเป็นอาสาสมัคร ได้ข้อมูลที่รวบรวมจากแบบฟอร์มสังเกตการณ์ ให้เราทำการวิเคราะห์เนื้อหาของกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพประกอบกับข้อมูลที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพขององค์กรชุมชนในการร่วมมือเพื่อรักษาคุณภาพน้ำ ผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนรวมทั้งองค์กร/หน่วยงานในพื้นที่ ได้รับศักยภาพในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ แนวคิดในตนเอง คุณลักษณะและแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันเพื่อรักษาคุณภาพน้ำ ชุมชนได้พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อฟื้นฟูและดูแลคุณภาพน้ำในคลองพระพิมลราชา ได้แก่ บ่อดักไขมัน และถังรักษ์โลก นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อรักษาคลองเช่น ชุมชนมีประเพณีการแข่งเรือและเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มรายได้</p> สมชัย พุทธา, หมิงซุน เซี่ย, หลี่ เชาหยุน, หวง เซียงยุย, เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร, จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์, ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง, ประพันธ์ แก้วคำ, จิราณีย์ พันมูล Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268380 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267637 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการบริหารจัดการขยะ 2) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ และ3) ประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ โดยดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด มี 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล ดำเนินการ 1 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูจำนวน 25 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสัมภาษณ์สภาพของปัญหาจำนวน 13 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.50-1.00 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.47-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.25-0.75 มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 แบบประเมินผลการปฏิบัติการ จำนวน 31 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.38-0.98 มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 และแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.36-0.90 มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการจัดการขยะของโรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 มีปริมาณขยะมาก ขาดระบบในการจัดการขยะที่ดี ขาดการคัดแยกขยะ ขาดถังขยะสำหรับการจัดการขยะที่ดี เพราะครูและบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการจัดการขยะ 2) การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะด้วยชุดฝึกปฏิบัติการ 3อาร์ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ และกิจกรรมสำนักงาน 3อาร์ คือ การลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ ผลการพัฒนาพบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 31.28 สูง กว่าก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 14.08 และการบริหารจัดการขยะของครูตามหลัก 3อาร์ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับ มาก ทำให้ปริมาณขยะลดลง 118.70 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 80.69 และ3) ผลการประเมินการปฏิบัติการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะของโรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.11 อยู่ในระดับมาก</p> อนุสรณ์ หว่างดอนไพร , บรรจง เจริญสุข, สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267637 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษา ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268371 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ขับเคลื่อนภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 3) เพื่อศึกษาถึงการยอมรับของชุมชนต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของชุมชนของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล ในฐานะผู้เป็นแบบอย่างของผู้บริหารการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการบำนาญ ตัวแทนชุมชนในพื้นที่ที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 และบุคลากรสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้ร่วมงานและมีปฏิสัมพันธ์กับ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล ที่นำมาใช้ในการบริหารงาน คือ การยึดหลัก การครองตน ครองคน และครองงาน ส่วนปัจจัยที่ขับเคลื่อนภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล พบว่า มี 7 ปัจจัย คือ 1) ความยุติธรรม 2) การแบ่งปันอำนาจ 3) การมุ่งเน้นการดูแลบุคลากร ใส่ใจดูแล ให้ความช่วยเหลือ 4) การแนะแนวด้านจริยธรรม 5) การใส่ใจความยั่งยืน 6) การชี้แจงบทบาท และ 7) ความซื่อสัตย์ และด้านการยอมรับของชุมชนต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของชุมชนของ ดร.บุศรินทร์ นาคอุบล คือ การมีน้ำใจ เป็นกันเอง เข้าถึงง่าย และไม่ถือตัว</p> ดอกแก้ว มะโนมัย, จีราภา ใหมรักษ์, ณัฏฐกรณ์ สงนุ้ย, ณภัทรชานัณค์ วิทยาพล, มาลินี ทองเรือง, จีราภรณ์ ใหมรักษ์, ลลิตา ว่องพิทักษ์, ปรมาพร บุญศิริ, กัญญ์วริศดา แก้วแกม, คชพล คชพลายุกต์, นวรัตน์ ไวชมภู Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268371 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพารา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268516 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพารา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตผล และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านพาราจำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบทดสอบ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกการนิเทศ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูในโรงเรียนบ้านพาราทำได้น้อย เนื่องจากครูขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) การพัฒนาสมรรถนะครูด้วยวิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศการจัดการเรียนรู้ พบว่า การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ย 4.24 อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ย 4.16 อยู่ในระดับมาก และการนิเทศการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.47 อยู่ในระดับมาก และ 3) ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจหลังอบรมเชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.77 คะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรมเท่ากับ 21.89 มีค่าเฉลี่ยทักษะการจัดการเรียนรู้ 4.46 อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะครู 4.16 อยู่ในระดับมาก</p> อารัญ เบ็ญอ้าหมาด, บรรจง เจริญสุข, สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268516 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268654 <div><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span>1)&nbsp;<span lang="TH">ศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ </span>21&nbsp;<span lang="TH">ของผู้เรียน</span><span lang="TH">ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา </span>2)&nbsp;<span lang="TH">ศึกษาปัจจัยการบริหาร</span><span lang="TH">ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา&nbsp;</span>3)&nbsp;<span lang="TH">ศึกษาปัจจัยการบริหาร</span><span lang="TH">ที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ </span>21&nbsp;<span lang="TH">ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู</span><span lang="TH">ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำนวน </span>346&nbsp;<span lang="TH">คน ได้มาโดยการสุ่ม</span><span lang="TH">แบบชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นภูมิ แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ </span>21&nbsp;<span lang="TH">ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</span><span lang="TH">แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า </span>1)&nbsp;<span lang="TH">ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ </span>21&nbsp;<span lang="TH">ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก&nbsp;</span>2)&nbsp;<span lang="TH">ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ </span>21&nbsp;<span lang="TH">ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก </span>3)&nbsp;<span lang="TH">ปัจจัยการบริหารด้านภาวะผู้นำและด้านการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชามีอิทธิพลร่วมกันต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ </span>21&nbsp;<span lang="TH">ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาอย่างมีนัยสำคัญ</span><span lang="TH">ทางสถิติที่ระดับ </span>0<span lang="TH">.</span>01&nbsp;<span lang="TH">ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ </span>0<span lang="TH">.</span>668&nbsp;</div> กรกมล แถบเงิน, บรรจบ บุญจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268654 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267875 <p>การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกโดย เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 298 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางของเครชซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบกำหนดคำตอบให้เลือก และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาแบบ t-test, F-test และการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 แบ่งออกเป็น 10 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกระตุ้นวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษากระตุ้นวิสัยทัศน์ร่วมกันบุคลากร เพื่อตกย้ำ หรือทบทวนความคิดในการมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร2) ด้านการสร้างพลังเชิงบวก ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างหลักการทั้งเชิงบวก เชิงรุกและสร้างการยอมรับ สร้างความเชื่อมั่น สร้างขวัญกำลังใจ 3) ด้านการมีวิญญาณของความเป็นเด็ก ผู้บริหารสถานศึกษามีเข้าใจความเป็นเด็ก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโลกในแง่ดี 4) ด้านการสร้างความเข้าใจกับคน Gen ใหม่ (Generation Y) ผู้บริหารในอนาคตจะต้องมีทักษะการสื่อสารที่ช่วยให้คนทำงานรุ่นเก่าสามารถแบ่งปันประสบการณ์ และความรู้ให้กับคนทำงานรุ่นใหม่ 5) ด้านการเป็นผู้นำแบบจิตวิญญาณ ผู้บริหารสถานศึกษามีค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมที่เป็นแรงจูงใจ ส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง 6) ด้านการสร้างความรู้ใหม่ และทำลายความรู้เก่า ผู้บริหารมีความสามารถในการเรียนรู้ โดยสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ 7) ด้านการเร่งสร้างวัฒนธรรมความสุขของสถานศึกษา ผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมความสุขที่ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการทำงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเกิดผลดีกับบุคลากร และส่งผลดีต่อสถานศึกษา 8) ด้านการใช้ทักษะด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารสถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย และดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9) ด้านความฉลาดในการบริหารสถานศึกษาท่ามกลางความหลากหลาย ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดกฎ ระเบียบ กติกาขององค์กร มองเห็นได้ถึงความลึกซึ้งของปัจเจกบุคคล 10) ด้านการสร้างฐานของการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้บริหารสถานศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพลเมืองของโลกมีแนวคิดที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติความสัมพันธ์การแลกเปลี่ยนและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตามลำดับ<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></p> สุภาวดี ศรีมูลผา , ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/267875 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านความฉลาดทางดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268459 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาครูด้านความฉลาดทางดิจิทัล เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาครู และเพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาครู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงาน รวม 160 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า PNI<sub>modified</sub> และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาครูด้านความฉลาดทางดิจิทัล โดยสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น 3 อันดับแรก คือ การรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ การรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ และการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณที่ดี กลยุทธ์การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาความรู้ด้วยตัวเองด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาการรู้เท่าทันและการรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ด้วยการฝึกปฏิบัติ ด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้วยการฝึกอบรม ด้านกลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายดิจิทัล ด้วยการนิเทศแบบมีส่วนร่วม และด้านกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นต้นแบบด้านดิจิทัลด้วยการให้การปรึกษาแนะนำ ส่วนผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาครู พบว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก</p> กำเพลิง พันธุ์ดี, วินัย ทองภูบาล, สมาน อัศวภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268459 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268460 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ เพื่อประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 278 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNI<sub>modified</sub> และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น 3 อันดับแรก คือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ความเป็นมืออาชีพทางดิจิทัล และการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล ด้านการพัฒนาความคิดรวบยอด การพัฒนาตนเองรายบุคคล และด้านการพัฒนาการรับข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อน ส่วนผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก</p> ณัฐวุฒิ ธีรปรเมศวร์, วินัย ทองภูบาล, สมาน อัศวภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/268460 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270791 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาชุมช้าง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22-0.69 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.42-0.72 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MATสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบ 4 MAT อยู่ในระดับมาก</p> กุลนาถ อ่อนพรม, วิไล พลพวก Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270791 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270754 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 333 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของโคเฮน (Cohen) จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .987 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01</p> พิงค์ฒิฉัตร เมธาธารณ์กุล , อำนวย ทองโปร่ง Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270754 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาของโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าตอนศูนย์ที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270702 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าตอนศูนย์ที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 113 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเลือกโดยใช้สูตรสำเร็จรูปของ Taro Yamane โดยเลือกวิธีการแบบการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวน 84 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาล มีแนวปฏิบัติดังนี้ (1) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง (2) การสร้างเสริมประสิทธิภาพ/การพัฒนา (3) การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะ (4) การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ (5) การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ (6) การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรม 3) แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยใช้หลักธรรมาภิบาล มีแนวทางดังนี้ (1) ต้องสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคลากรอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม (2) ต้องสร้างเสริมประสิทธิภาพ/การพัฒนาตามหลักธรรมาภิบาล (3) ต้องส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะด้วยความชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้ (4) ต้องมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ (5) ต้องมีการส่งเสริมและกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ (6) ต้องมีการส่งเสริมวินัย คุณธรรม และจริยธรรม</p> รุ่งจุรี กำลังรัมย์, ไพรภ รัตนชูวงศ์, พูนชัย ยาวิราช Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270702 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270659 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์และความต้องการ 2) พัฒนากลยุทธ์ 3) ประเมินแผนกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 205 คน ครูผู้สอน จำนวน 410 คน รวม 615 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามละแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์เชิงพรรณนา <strong>ผลการวิจัย พบว่า<br /></strong>1<strong>.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">สภาพปัจจุบันที่พึ่งประสงค์และความต้องการการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า โรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร มีกลยุทธ์ในการบริหารบริหารงานวิชาการ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลและการสร้างเครือข่ายพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่คาดหวังของการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับค่าความต้องการ ค่ามากกว่า 0.30 อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ทุกข้อ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">2.การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้กลยุทธ์ 4 ด้าน คือ </span>1) กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) กลยุทธ์เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์การพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ <br /><span style="font-size: 0.875rem;">3.การประเมินรูปแบบกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> กัญภัทสิทณี เพชรรัตน์, จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์, ชัยฤทธิ์ แสงสว่าง, กฤษดา ผ่องพิทยา Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270659 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการ์ดเกมกลยุทธ์ (Strategy Card Game) รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย 2 ห้วยคล้า (พรหมดิเรกอนุสรณ์) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270147 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการ์ดเกมกลยุทธ์ (Strategy Card Game) รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 โดยนักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย 2 ห้วยคล้า (พรหมดิเรกอนุสรณ์) จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการ์ดเกมกลยุทธ์ (Strategy Card Game) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณท้ายวงจร และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนจำนวน 15 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ย 28.43 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 71.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนจำนวน 15 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 22.62 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้</p> ณัฐกฤตา ใจห้าว , มณฑา ชุ่มสุคนธ์ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270147 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐานในมุมมองของผู้บริหารสถานศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270840 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและข้อเสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน โดยใช้การสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในมุมมองของผู้บริหาร 1) การพัฒนาสมรรถนะครูมีความสำคัญจำเป็น จึงควรพัฒนาครูทั้งระบบ โดยเริ่มพัฒนาครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการถ่ายทอดให้กับนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2) สมรรถนะที่สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 คือ จิตวิญญาณความเป็นครู อันดับที่ 2 คือการปฏิบัติงานครูอย่างมืออาชีพ อันดับที่ 3 มี 4 ข้อคือใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ศิลปะการใช้สื่อ อำนวยการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูคือ การบูรณาการสมรรถนะครูควบคู่กับงานประจำของครูพี่เลี้ยงเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับนักศึกษาครูต่อไป</p> ธิดารัตน์ จันทะหิน, สุพัตรา โคตะวงค์, ธิฎารัตน์ รุจิราวินิจฉัย, ปริญา ปริพุฒ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270840 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270540 <p>การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารและระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 320 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหาร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงเท่ากับ .944 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการบริการที่ดี ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจ และด้านการทำงานเป็นทีม โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์แปรปรวนของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 90.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> อิชยา มุขรักษ์, นันทิยา น้อยจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270540 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270681 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ดำเนินการ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียน และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียน ประชากรได้แก่ ผู้บริหารและคณะครู จำนวน 252 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 161 คน จำแนกได้ดังนี้ 1) โรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี (บ้านวังกะ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกเป็น ผู้บริหาร 4 คน ครู 83 คน รวม 87 คน 2) โรงเรียนบ้านเทอดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำแนกเป็น ผู้บริหาร 5 คน ครู 83 รวม 88 คน 3) โรงเรียนบ้านเข็กน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำแนกเป็น ผู้บริหาร 4 คน ครู 73 รวม 77 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คนโดยแบ่งกลุ่มความเชี่ยวชาญออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พิเศษบนภูเขา กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนโยบายการบริหารการศึกษาพื้นที่พิเศษบนภูเขา กลุ่มที่ 3 ผู้มีผลงานด้านวิชาการ งานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พิเศษบนภูเขา และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 30 คน ซึ่งซึ่งต้องเป็นมีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา และมีประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา 10 ปีขึ้นไป 2) ผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษหรือโรงเรียนในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลจากค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แบบผู้ร่วมงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา รูปแบบมีความถูกต้องและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก</p> ปุณณพัฒน์ ธนเดโชเดช , สุวดี อุปปินใจ , พูนชัย ยาวิราช Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270681 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270725 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา เปรียบเทียบและหาแนวทางพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 285 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ร้อยละ จัดลำดับ และการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 โดยรวมและรายด้าน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ มนุษย์สัมพันธ์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ การคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า 3.1) เขตพื้นที่การศึกษาควรจัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้บริหารสถานศึกษา 3.2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมความร่วมมือ สนับสนุนระหว่างหน่วยงานภายนอกเพื่อการจัดการศึกษา 3.3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมอบหมายงานที่ท้าทายให้ตรงความสามารถของแต่ละคน 3.4) เขตพื้นที่การศึกษาควรจัดอบรมพัฒนาและให้ความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 3.5) เขตพื้นที่การศึกษาควรจัดอบรมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความสามารถในการสร้างทีมงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมกำหนดเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลง</p> วุฒิศักดิ์ คำมา, ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270725 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/269888 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อ ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียน พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ จำนวน 37 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงานและครูโรงเรียนละ 4 คน รวมจำนวนทั้งหมด 259 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNI<sub>modified</sub> และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน ได้แก่ การบริหารสถานศึกษา การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง กรอบแนวคิดองค์ประกอบการเป็นองค์การสมรรถะสูง ได้แก่ การบริหารสถานศึกษาที่มีสมรรถนะสูง บุคลากรที่มีสมรรถนะสูง และระบบนิเวศที่มีสมรรถนะสูง โดยสภาพปัจจุบันโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.44) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลักคือ พลิกโฉมการบริหารจัดการที่มีสมรรถนะสูงสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง พัฒนาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง และยกระดับระบบนิเวศที่มีสมรรถนะสูงสู่การเป็นองค์การสมรรถนะ โดยมีกลยุทธ์รองจำนวน 10 กลยุทธ์ และ 29 แนวทางการดำเนินงาน ส่วนผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง พบว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> </p> <p> </p> ปนัดดา ทีบัวบาน, สุภาพ ผู้รุ่งเรือง, ศิริ ถีอาสนา Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/269888 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270782 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียน และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 370 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมิน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้ดัชนี PNI <sub>modified </sub>และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชื่อคือ รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน สำหรับการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ดังนี้ 1) ระดับที่เป้าประสงค์ถูกกำหนด 2) กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ 4) ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจ 5) ธรรมชาติของโครงสร้าง 6) การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม 7) ลักษณะของภาวะผู้นำ และ 8) แบบภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง</p> วศินี แสงศรีจันทร์ , ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์ , สุวดี อุปปินใจ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270782 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270640 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ข้อคำถามมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67– 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.981 และ 0.982 แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภาพรวมพบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น พบว่า หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน มีค่าดัชนีมากที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการบริหารมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 1) จัดโครงสร้างงานที่เอื้อต่อการกระจายอำนาจ พร้อมรับยุคดิจิทัล ครอบคลุมทุกภาคส่วน สร้างความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 2) สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม ใช้เทคโนโลยีเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วม 3) ส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชน สร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของการจัดการศึกษา สร้างคู่มือการบริหารงานแต่ละฝ่าย 4) ศึกษาบริบทของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถบริหารได้สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน 5) พัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมบทบาทของบุคลากร พัฒนาระบบสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน ตรวจสอบได้ พร้อมเผยแพร่อย่างโปร่งใส เป็นไปตามมาตรฐาน</p> ศุภลักษณ์ สานา, ไพรภ รัตนชูวงศ์, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270640 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270133 <p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครู จำนวน 142 คน นักเรียน จำนวน 350 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึก 3) แบบทดสอบ และ 4) แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่น ค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจัดลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านทีมร่วมมือรวมพลัง และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามลำดับ 2) ผลการสร้างรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) การดำเนินการ (5) การประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า (1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยภาพรวมมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับสูง และหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า (2.1) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า (4.1) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> วันเพ็ญ วงษ์จันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/270133 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700