https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/issue/feed วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2023-12-28T21:17:48+07:00 Assoc.prof.Thitima Khunyotying [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ISSN 2286-8658) ได้จัดทำขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สนใจ ได้เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์อื่นๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการสรรค์สร้างความรู้ นำสู่สังคม และเพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการ งานวิจัยและบทความวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและนักวิชาการ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน)</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/268570 การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2023-12-06T15:29:24+07:00 ธิติสุดา สุวรรณหงษ์ [email protected] ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ [email protected] <p><strong> </strong>ทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย เป็นทักษะพื้นฐานที่ต้องการในโลกศตวรรษที่ 21 โดยจะส่งเสริมทักษะผ่านกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมหลักประจำวันที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยนั้นเกิดทักษะการอ่าน - เขียน ทักษะการวางแผน ทักษะการคิดแบบสร้างสรรค ทักษะการมีเหตุผล และทักษะการตัดสินใจ ผ่านการจัดกิจกรรมการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ กิจกรรม Sorting, เกมฝึกลำดับเรื่องราว, เกมบัตรคำสั่ง และเกมต่อเลโก้ ซึ่งจะใช้ในรูปแบบการเล่นและกิจกรรมประจำวัน เช่น กิจกรรมเกม นิทาน ท การเคลื่อนไหว บทเพลง เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และการทำงานอย่างเป็นระบบดีขึ้นด้วยตนเอง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/268567 การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโปรแกรมเวิร์ดวอล 2023-12-06T15:01:20+07:00 ปัณฑิตา เวียงนนท์ [email protected] ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ [email protected] <p> การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดวอล เป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ การสร้างเกมคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมเวิร์ดวอล เช่น เกมหาคู่ตัวเลขไทย และตัวเลขอารบิก การจับคู่รูปร่าง การเรียงลำดับตัวเลข เกมการฝึกทักษะการนับ การใช้โปรแกรมเวิร์ดวอล เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เน้นการเรียนรู้ที่สนุกสนานและประสบการณ์ที่กระตุ้นความสนใจให้กับเด็ก การใช้โปรแกรมเวิร์ดวอลเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสามารถทำได้ โดยการสร้างกิจกรรมเกมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ สร้างเกมการศึกษาที่มีการใช้ความคิดเชิงตรรกะ การนับเลข การจำแนก การเปรียบเทียบ หรือการเรียงลำดับ เพื่อช่วยในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โปรแกรมเวิร์ดวอล สามารถสร้างเกมการศึกษาที่สวยงามและน่าสนใจ ทำให้เด็กมีความสนใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และฝึกฝนทักษะพื้นฐานอย่างสนุกสนานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> <p> โดยการใช้โปรแกรมเวิร์ดวอล เป็นเว็ปไซด์ที่ดีทำให้ครูสามารถสร้างสื่อการสอนประเภทออนไลน์ หรือหากนักเรียนไม่พร้อมสามารถพิมพ์เป็นใบงานได้ แต่ข้อจำกัดสามารถสร้างได้ครั้งละ 5 กิจกรรม ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานควรออกแบบกิจกรรมให้หลากหลาย โดยโปรแกรมเวิร์ดวอลมีรูปแบบของเกมการศึกษาให้เลือกมากถึง 18 แบบ ยกตัวอย่างเช่น แบบทดสอบ, เกมหาคู่, การเรียงลำดับกลุ่ม, คำสลับอักษร หรือค้นหาคำ เป็นต้น</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/269224 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประสบปัญหาทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเขตพื้นที่สหกรณ์ที่ 7 2023-12-20T16:37:06+07:00 ณิภาวรรณ ชุ่มวงค์ [email protected] ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์ [email protected] <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแม่นยำของแบบจำลอง Altman’s (1983) <br />Z-score กับกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อ<br />การประสบปัญหาทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยทดสอบอัตราส่วนทางการเงินตามแบบจำลอง Altman’s (1983) Z-score ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน<br />ต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรสะสมต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี<br />ต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนมูลค่าตลาดของส่วนของผู้ถือหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินรวม ระหว่างปี พ.ศ.2562 - 2565 จำนวน 705 ตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูลจากงบการเงิน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการทดสอบ Independent t-test เพื่อวิเคราะห์ถึงแตกต่างของอัตราส่วนทางการเงิน 4 อัตราส่วน พบว่า แบบจำลอง Altman’s (1983) Z-score สามารถพยากรณ์สหกรณ์ฯ ที่ประสบปัญหาทางการเงิน โดยได้ค่าความถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 53.99 และอัตราส่วนที่สามารถบ่งชี้ถึงปัญหาทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรสะสมต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีต่อสินทรัพย์รวม <br />และอัตราส่วนมูลค่าตลาดของส่วนผู้ถือหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินรวม ผลวิจัยนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประเมิน และควบคุมรักษาระดับอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามมาตรฐานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/261521 ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเทคนิคการปรึกษา แบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางอารมณ์ ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านไผ่ล้อมสามัคคี จังหวัดจันทบุรี 2022-11-15T10:43:31+07:00 ปวีณ์กร แผ่นพงษ์ศิลป์ [email protected] จิระสุข สุขสวัสดิ์ [email protected] นิธิพัฒน์ เมฆขจร [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางอารมณ์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง และ (2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านไผ่ล้อมสามัคคี จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งหมด 86 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 43 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 43 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเทคนิคการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (2) ชุดสนเทศ และ (3) แบบวัดความฉลาดรู้ทางอารมณ์ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเทคนิคการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้ทางอารมณ์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) สูงกว่าก่อนการทดลอง และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้ทางอารมณ์หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/263762 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม จังหวัดเลย 2023-06-19T15:04:15+07:00 สุวนันท์ เขียวเพชร [email protected] ขวัญเพชร ไสยันต์ [email protected] ยุทธพงษ์ นาคโสภณ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม จังหวัดเลย 2) เพื่อนำไปทดลองสอนและหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม จังหวัดเลย จำนวน 161 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากห้องเรียนที่มีแผนการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 25 คน </p> <p>การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยขั้นตอนที่ 1 เป็นการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก นำไปเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ในการประเมินหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) ขั้นตอนที่ 2 นำไปทดลองสอน โดยหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก ได้จัดทำแผนการเรียนรู้ แบบทดสอบระหว่างเรียน 1, 2 และข้อสอบหลังเรียน ทำการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ การสอน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0<em>.</em>95 มีความสอดคล้องกับค่า IOC ตั้งแต่ 0<em>.</em>67<em> - </em>1<em>.</em>00 ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงใช้ได้</li> <li>การหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้ามจำนวน 25 คน จากคะแนนของแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน มีประสิทธิภาพที่ 75.2/79.6 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ดังนั้นสื่อนวัตกรรมกระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติกที่สร้างขึ้นนั้น สามารถนำไปใช้ในการสอนในโรงเรียนได้</li> </ol> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/263105 การพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีไทยอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร บ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย 2023-01-09T11:11:10+07:00 อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง [email protected] เกษราพร ทิราวงศ์ [email protected] วัฒนา วณิชชานนท์ [email protected] นฤพนธ์ เลิศกาญจนาพร [email protected] พิรานันท์ จันทาพูน [email protected] <p> การพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีไทยอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร บ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพแนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์รองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 2) เพื่อพัฒนาโฮมสเตย์รองรับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) โดยสุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากชุมชนบ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน เก็บข้อมูลด้วยการจัดประชุมเสวนา และแบบสอบถาม พบว่า การวิเคราะห์ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวและที่พักโฮมสเตย์ของผู้ให้ข้อมูลบ้านคุกพัฒนา อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชุมชนมีศักยภาพด้านโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับที่สามารถพัฒนาคุณภาพได้ ผลการวิจัยได้พัฒนาโฮมสเตย์บ้านคุกพัฒนา จำนวน 14 หลังคาเรือน นอกจากนี้ได้ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการการท่องเที่ยวและโฮมสเตย์บ้านคุกพัฒนา จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง พบว่า มีระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการท่องเที่ยวและโฮมสเตย์บ้านคุกพัฒนา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96</p> <p> จากผลการวิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานโฮมสเตย์ควรทำงานร่วมกับชมรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เนื่องจากมีความเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและรายการนำเที่ยวร่วมกัน การให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความสะอาดของบ้านพักโฮมสเตย์ ควรนำอาหารพื้นบ้านมาเป็นรายการอาหารเฉพาะถิ่น มีความโดดเด่นด้วยการสื่อความหมายคุณค่าภูมิปัญญา เพิ่มทักษะการสื่อสาร ออนไลน์และให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ อีกทั้งการอนุรักษ์ภาษาถิ่นและเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศ สำหรับการพัฒนาโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวสู่สากล</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/269777 บทบรรณาธิการ 2023-12-28T20:59:46+07:00 ลิขิต ศิริ [email protected] 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/269778 ส่วนท้าย 2023-12-28T21:03:05+07:00 ลิขิต ศิริ [email protected] 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง