วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU <p>วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ISSN 2286-8658) ได้จัดทำขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สนใจ ได้เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์อื่นๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการสรรค์สร้างความรู้ นำสู่สังคม และเพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการ งานวิจัยและบทความวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและนักวิชาการ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน)</p> th-TH <p>บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง</p> thitima@g.lpru.ac.th (Assoc.prof.Thitima Khunyotying) res_journal@hotmail.com (Mr. Likir Siri) Sat, 29 Jun 2024 15:35:36 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/273538 admin Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/273538 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ส่วนท้าย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/273539 admin Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/273539 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/269366 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 220 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.874 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</p> ไชยวัฒน์ อกตัน, ดวงพร อุ่นจิตต์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/269366 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยของกลุ่มแม่บ้านชุมชน หมู่บ้านการเคหะ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/271073 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยของกลุ่มแม่บ้านชุมชนหมู่บ้านการเคหะ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) ทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย และ 4) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางธุรกิจ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วัตถุประสงค์ที่ 1 ใช้การสนทนากลุ่มกับกลุ่มแม่บ้านที่เป็นประชากรทั้งหมด 15 คน การทดลองในห้องปฏิบัติการกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 30 คน วัตถุประสงค์ที่ 2 ใช้แบบสอบถามกับผู้บริโภคมะพร้าวเสวย 400 คน วัตถุประสงค์ที่ 3 – 4 ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มแม่บ้านที่เป็นประชากรทั้งหมด 15 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สินค้าควรพัฒนาในเรื่องการทำบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นแบบถุงซิปล็อค มีตราสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม และการทดสอบรสชาติที่จะจัดจำหน่ายได้มากขึ้น และผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 มีความพึงพอใจสูตร B ซึ่งมีความหวานมาก 2) การทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสูตร B ในภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96) โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องตราสินค้ามีความสวยงาม (ค่าเฉลี่ย 4.28) รองลงมาคือ บรรจุภัณฑ์สวยงาม (ค่าเฉลี่ย 4.24) รสชาติหวาน อร่อย (ค่าเฉลี่ย 4.22) ตามลำดับ 3) การถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการทำแผนธุรกิจ (Business Model Canvas) ให้แก่ กลุ่มแม่บ้านชุมชนหมู่บ้านการเคหะฯ พบว่ากลุ่มแม่บ้านมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำแผนธุรกิจ และประยุกต์มาเขียนเป็นแผนธุรกิจมะพร้าวเสวยได้ 4) การวิเคราะห์ต้นทุนรวมต่อการผลิตพบว่า การผลิต 1 ครั้ง 3,300 บาท ซึ่งจะได้มะพร้าวเสวย 150 ถุง ราคาถุงละ 35 บาท มีรายได้ 5,250 บาท มีกำไรสุทธิต่อการผลิต 1 ครั้ง 1,950 บาท ดังนั้นการผลิต 100 เม็ด ของทางกลุ่มจะได้ผลตอบแทนพอดีกับการขายต่อครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบแทนพบว่า มีอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 37.14 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 5 ถุง ค่าขาย ณ จุดคุ้มทุน 175 บาท จำหน่ายได้ทั้งหมด 50 ถุง/สัปดาห์ สามารถจำหน่ายได้มากกว่าจำนวนตามจุดคุ้มทุน</p> เพ็ญศรี ยวงแก้ว, พัตราภรณ์ อารีเอื้อ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/271073 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และสังคมที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/272346 <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน 2) ศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์และปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายระหว่างผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านประชากรศาสตร์จำนวน 12 ด้าน และปัจจัยด้านสังคมจำนวน 3 ด้าน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 400 คน แบ่งเป็นผู้สูงวัยชาวไทย 200 คน ที่อาศัยในประเทศไทย และผู้สูงวัยชาวจีน 200 คน ที่อาศัยในประเทศจีนใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression) เพื่อพยากรณ์และเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน</p> <p> จากการศึกษาพบว่าผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีนมีพฤติกรรมการใช้จ่ายใกล้เคียงกัน คือ มีการใช้จ่าย 4 ประเภท ใน 5 อันดับแรกเหมือนกัน คือ ค่าอาหาร/เครื่องดื่ม ค่าเงินออม ค่าเงินลงทุน และค่าท่องเที่ยว/บันเทิง สำหรับการศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายพบว่าระดับรายได้ต่อเดือนส่งผลเชิงบวกต่อค่าใช้จ่ายเกือบทุกประเภท ยกเว้นค่าเล่าเรียนที่ปัจจัยด้านรายได้ไม่ส่งผลทั้งผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านสังคมมีเพียงปัจจัยเดียว คือด้านทัศนคติที่ส่งผลเชิงลบต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยเฉพาะชาวจีนในด้านค่าอาหาร/เครื่องดื่ม และด้านค่ารักษาพยาบาล/ยา ผลการวิจัยนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้สูงวัย</p> เพียรใจ โพธิ์ถาวร, พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/272346 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลของการพัฒนาสื่อโดยใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จังหวัดอุดรธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/271202 <p><strong> </strong>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาสื่อ โดยใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินประเภทหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 50 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพ จำนวน 1 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.98 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้พิการทางการได้ยิน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.90 สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อพรรณนาข้อมูลพื้นฐาน คือ เพศ อายุ และระดับการศึกษา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังทำการทดลอง และ Wilcoxon Rank-Sum test ทดสอบการกระจายของข้อมูลด้วยสถิติ Shapiro wilk test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 27 คน (ร้อยละ 54) และเพศหญิง จำนวน 23 คน (ร้อยละ 46) อายุเฉลี่ย 14.2 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 คน (ร้อยละ 36) รองลงมาคือกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17 คน (ร้อยละ 34) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างในช่วงก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ทั้งด้านการจดจำ การทำความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การประเมิน และด้านการสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังการทดลอง โดยใช้สื่อเทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพ แตกต่างจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </p> ศรินญา นิยมวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/271202 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ ในการใช้พาณิชย์สังคมของธุรกิจผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/270979 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการใช้พาณิชย์สังคมของธุรกิจผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลความสำเร็จในการใช้พาณิชย์สังคมของธุรกิจผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร โดยใช้แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการธุรกิจผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนคร ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ตามสัดส่วนอำเภอของจังหวัดสกลนคร 18 อำเภอ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 640 คน</p> <p> ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลคือ χ2=1178.361, df=246, χ2/df=4.79, P-value=.175, CFI=.971, TLI=.959, RMSEA=.030, SRMR =.041 และผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อม พบว่าปัจจัยแฝงความคาดหวังถึงประสิทธิภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน ความคาดหวังในความพยายามการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้ ปัจจัยแฝงอิทธิพลของสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้ ปัจจัยแฝงสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้งาน</p> สิริพาพร ยืนสุข, จีระนันต์ เจริญรัตน์, เด่นชัย สมปอง Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/270979 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/269999 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น 2) เพื่อประเมินการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ทั้งหมด 63 คน ใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน จากการศึกษาพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้นภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยรวม 2.30 โดยมีทรัพยากรทางการเกษตรอินทรีย์มีศักยภาพมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 ส่วนการตลาดเกษตรอินทรีย์ การบริการท่องเที่ยว การรองรับของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวม 3.70 โดยมีด้านสิ่งดึงดูดใจมีความสำคัญต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.30 ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ด้านความสะดวกในการเดินทาง ด้านการบริการที่พัก อยู่ในระดับมาก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง กำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น พบว่า 1) กำหนดการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์อย่างเหมาะสม 2) กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ให้สอดคล้องกับทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยว 3) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ให้สอดคล้องกับทรัพยากรในทุกฤดูการผลิต โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง</p> <p> ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น 1) พัฒนาด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์ ด้านการบริการท่องเที่ยว ด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 2) การจัดการด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านกิจกรรม ด้านความสะดวกในการเดินทาง และด้านที่พักเป็นปัจจัยสำคัญที่นําไปสู่การมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์</p> อนาภรณ์ วงค์สถาน, ยุทธการ ไวยอาภา, กีรติ ตระการศิริวานิช, กวินรัตน์ อัฐวงศ์ชยากร Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/269999 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700