@article{วรพงศ์พัชร์_ม่วงหมี_ปัญญาสุพัฒน์_ลิ้มเลิศฤทธิ์_หาญณรงค์_2022, title={การบริหารความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์}, volume={5}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/260442}, DOI={10.14456/jsmt.2022.2}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหารจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่สัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหารในสถานการณ์โควิค19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้ประชากรทั้งหมดคือ บุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหาร จำนวน 35 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหาร   ที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการทำงาน เงินเดือนและค่าตอบแทนต่างกัน ทำให้ความเครียดในการทำงานโดยภาพรวมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยด้านการทำงาน ด้านค่าตอบแทนสวัสดิการและความมั่นคงในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านสภาพในการทำงาน ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านโครงสร้างและบรรยากาศในองค์กร ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านสัมพันธภาพในการทำงาน ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> </p>}, number={2}, journal={วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน}, author={วรพงศ์พัชร์ ณฐาพัชร์ and ม่วงหมี ชัยวิชญ์ and ปัญญาสุพัฒน์ รัชนก and ลิ้มเลิศฤทธิ์ ธิติพงศ์ and หาญณรงค์ สุกัญญา}, year={2022}, month={พ.ย.}, pages={11–21} }