https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/issue/feed วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 2024-07-02T00:24:52+07:00 ดร.สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล sandusit.13@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ( Journal of Social Innovation and Mass Communication Technology) ISSN 2822-0463 (Online) รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ ด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา บริหารธุรกิจ การเมือง จิตวิทยา ศิลปวัฒนธรรม นิเทศศาสตร์ สื่อสารการตลาด เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ดิจิทัลคอนเทนท์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกำหนดออก 3 ฉบับต่อปี<strong> ฉบับที่ 1</strong> [มกราคม – เมษายน] <strong>ฉบับที่ 2</strong> [พฤษภาคม - สิงหาคม] และ <strong>ฉบับที่ 3</strong> [กันยายน - ธันวาคม] โ<em><strong>ดยบทความทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2-3 คน แบบ Double Blind Peer Review</strong></em></p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/270173 ระบบนิเวศการเรียนรู้ของนักเรียนกับภาวะความพร้อมการศึกษาไทย 2024-02-17T22:19:23+07:00 ธีระ ราชาพล popey2516@gmail.com <p> “ระบบนิเวศทางการเรียนรู้” เป็นแนวทางการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในระบบการศึกษา ทำให้ระบบการเรียนรู้มีความเป็นพลวัตรและมีความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ มากขึ้น เสมือนระบบนิเวศของธรรมชาติที่แต่ละหน่วยต่างเกื้อหนุนส่งเสริมระหว่างกันอย่างเป็นระบบ การศึกษาไทยมีการตื่นตัวและจัดเตรียมความพร้อมรับมือการเรียนการสอนออนไลน์ทั้งในส่วนของระบบการเรียน ครูผู้สอนและนักเรียน ซึ่งต้องยอมรับว่าระบบการศึกษาไทยยังมีความไม่พร้อมและยังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการเรียนรู้ 5ด้าน 1.คน(People) 2.เนื้อหา (Content) 3.เทคโนโลยี (Technology) 4.ข้อมูล (Data) และ 5.การกำกับดูแล (Governance) ยังไม่รวมการเข้าถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงทักษะการสอนและทักษะการเรียนรู้ ไม่ได้มีทั่วถึงทุกโรงเรียนหรือผู้เรียนทุกคน</p> <p>การจัดการศึกษาตามวิถีใหม่ (New Normal) เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดครั้งใหญ่ที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ระบบการเรียนออนไลน์จะต้องยืดหยุ่นขึ้น เพื่อพร้อมรับมือหรือปรับเปลี่ยนไปตามสภาพปัญหาหรือตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษาที่ปรับเปลี่ยน เพื่อสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาให้รองรับกับพฤติกรรมของผู้เรียนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ทันท่วงทีและสร้างระบบการศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2024-07-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/267823 IMPROVING STOCK INVESTMENT DECISION WITH ARTIFICIAL NEURAL NETWORK 2023-11-01T15:15:00+07:00 Aekkachai Nittayagasetwat jirojresearch@gmail.com Jiroj Buranasiri jirojresearch@gmail.com <p>Artificial neural network (ANN) is used for providing investment decisions to investors but are not yet widespread in the Thai stock market because of doubts about the effectiveness of such techniques and the market efficiency level, which makes trading data unable to be used to predict the future direction of stock prices. Thus, this study aims to explore the effectiveness of using artificial neural networks to improve investment decisions and to prove the efficiency of the Stock Exchange of Thailand by testing the accuracy of investment decision recommendations from such techniques. The independent variables of this research are from data from the previous day, which are typically used in technical analysis, including price, trading value, returns, the existence of holiday after trading, and returns of the Dow Jones Index, which represents foreign investment. The reason for using these data is that they reflect the information on demand and supply in stock trading, and the domestic stock exchange and foreign stock exchanges publicly disclose them. The results of the study support the feasibility of using ANN to provide decision advice to investors. The recommendations were correct up to 70% and showed that the Stock Exchange of Thailand was not able to meet the assumption of low pricing efficiency.</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268415 คุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์และเนื้อหาที่มีคุณค่าที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้า (บริการ) ด้านสุขภาพ และความงาม ของผู้ติดตามเจเนอเรชัน X และ Y ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2023-10-21T18:18:58+07:00 ขจรจิตร์ ธนะสาร khajornjit_th@rmutto.ac.th <p>The objectives of this research are 1) to study the important level of influencer attributes and valuable content about products (services) in health and beauty according to followers’ opinions of Generation X and Y, 2) to study purchase intention of health and beauty products (services) of followers of Generation X and Y, and 3) to study influencer attributes and valuable content that affect purchase intention of health and beauty products (services) of followers of Generation X and Y. This study applied Explanatory Sequential Design. The sample consisted of Generation X aged 41-56 years and Generation Y aged 28-45, totaling 385 people, and key informants were Generations X and Y following 10 health and beauty influencers. Data were collected in Bangkok and Metropolitan areas. The researcher chose to use the Mixed methods research method using the explanatory sequential design research. The statistics used in descriptive data analysis were percentage, mean and standard deviation, and statistics used in inferential data analysis were one-way variance statistics and linear regression analysis, and content analysis presented in an analytical description format.</p> <p><strong>The results of the research found that:</strong></p> <p>The results of the study found that the majority of the sample were female, aged between 28-32 years, working as employees of private companies/employees. They held a bachelor's degree and were married. The research hypothesis found that the credibility, expertise, attractiveness, and attention of influencers are factors that influence purchase intention of health and beauty products (services) of followers of Generation X and Y with statistical significance at the level of 0.05 and the content that is useful, accessible, clear and easy to understand and has good value is a factor influencing purchase intention of health and beauty products (services) of followers of Generation X and Y with statistical significance at the level of 0.05, and key informants found that trustworthiness affects the choice to follow influencers. It also makes the services offered reliable as well. Influencers must have expertise, especially the information presented must have references. Relevance did not influence the choice to follow. Only some people follow them because they are of the same gender and understand their needs better. In the caring aspect, it is enough to respect your followers' opinions. Useful content is very necessary. It also results in making those services have good value. Content that is unclear and difficult to understand often affects purchase intention. The majority of followers still choose to follow influencers. It is caused by their own content personality and some consider the presentation of new content to increase purchase intention.</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/265163 ปัจจัยที่แสดงถึงเอกลักษณ์ในภาพยนตร์ของ สมโพธิ แสงเดือนฉาย 2023-11-20T21:42:31+07:00 นนทยา ณ สงขลา nontayanasongkhla@gmail.com บรรจง โกศัลวัฒน์ nontayanasongkhla@gmail.com ปัทมวดี จารุวร nontayanasongkhla@gmail.com สุชาติ โอทัยวิเทศ nontayanasongkhla@gmail.com เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว nontayanasongkhla@gmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เอกลักษณ์ในการสร้างงานในภาพยนตร์ของสมโพธิ แสงเดือนฉาย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ในการสร้างงานภาพยนตร์ของสมโพธิ แสงเดือนฉาย โดยศึกษาช่วงชีวิตของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก, ช่วงเริ่มเรียนรู้การสร้างภาพยนตร์ จนถึงช่วงสร้างภาพยนตร์ โดยศึกษาเอกลักษณ์ในการสร้างตัวละครและเทคนิคพิเศษของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ที่สร้างชื่อเสียง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purbability Sampling) ได้แก่ ผลงานภาพยนตร์ของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ทั้งหมด 17 เรื่อง โดยคัดเลือกภาพยนตร์ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตามเกณฑ์ โดยมีจำนวนทั้งหมด 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้ 1. พ.ศ. 2516 ท่าเตียน 2. พ.ศ. 2517 ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ 3. พ.ศ. 2517 หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ 4.พ.ศ. 2528 กิ้งก่ากายสิทธิ์ และรับรางวัลต่าง ๆ ผู้วิจัยคำนึงถึง 1.ประโยชน์เชิงวิชาการหรือเชิงปฏิบัติเนื่องจาก การวิจัยนี้เป็นเป็นกรณีศึกษา (Case Study) ซึ่งมุ่งศึกษาวิเคราะห์ชีวิตและผลงานของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ซึ่งเก็บเกี่ยวสิ่งที่ผ่านเข้ามาในประสบการณ์ชีวิตจนสามารถนำมาเป็นแนวทางสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้แนวคิดในการสร้างภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาจมาจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตของผู้กำกับท่านนั้น ๆ 2. ประโยชน์เชิงวิชาการ ความรู้จากการศึกษากรณีสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นการเพิ่มพูนข้อมูลในการศึกษาในวงการประวัติภาพยนตร์ไทย</p> <p> ผลการวิเคราะห์พบว่า เอกลักษณ์ในภาพยนตร์ลักษณะความเป็นแฟนตาซี จากภาพยนตร์ทั้ง 4 เรื่องโดยมีความมหัศจรรย์ เวทมนตร์ และเรื่องเหนือธรรมชาติ ความเป็นแฟนตาซีจากนิทานท้องถิ่น เป็นฉากของโลกจริงแต่มีการเกิดของสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ เช่น สัตว์พูดได้ ตัวละครที่ดัดแปลงจากจากนิทานท้องถิ่น และมีการใช้เทคนิคพิเศษ โทคุซัทสึ ภาพยนตร์ที่แสดงด้วยมนุษย์จริงหรือละครโทรทัศน์ที่ใช้เทคนิคพิเศษสร้างฉากบ้านเมืองขนาดเล็กเพื่อใช้ในการถ่ายทำ เป็นการสร้างภาพเทคนิคพิเศษ ประเภทของการสร้างภาพเทคนิคพิเศษ การจําลองฉากหรือตัวละครแบบย่อส่วน หรือถ่ายทําวัตถุที่มีขนาดแตกต่างจากวัตถุจริง ด้วยการสร้างการ เคลื่อนไหวให้ดูสมจริงร่วมกับนักแสดง และใช้เอฟเฟกต์ระเบิด สะเก็ดไฟ เพื่อเพิ่มความสมจริง ปัจจัยภายใน ในการสร้างงานของสมโพธิ ประกอบไปด้วย ความเชื่อในพระพุทธศาสนา เชื่อในคำสอนทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว สนใจในวรรณคดีและเรื่องเล่าตำนานต่าง ๆ จึงพบเห็นเรื่องราวในภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับนิทาน ตำนานเรื่องเล่า ความดีความชั่ว ความเสียสละ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมความเชื่อของไทย ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการสร้างงานของสมโพธิคือ การเติบโตในครอบครัวที่ดำเนินกิจการด้านการถ่ายภาพ เข้าเรียนวิทยาลัยในสาขาถ่ายภาพ มีโอกาศศึกษาดูงานทางด้านเทคนิคภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ลักษณะงานของสมโพธิมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม เรื่องเล่า ความเชื่อแบบไทย และการใช้เทคนิคกลไก การจำลองฉากแบบละครญี่ปุ่น</p> <p> สรุปเอกลักษณ์ที่ปรากฏในภาพยนตร์ของสมโพธิ มาจากปัจจัยภายในตั้งแต่ยังเด็กที่ไปศึกษาที่วัดจึงมีความเชื่อเรื่องพระพุทธศาสนา เวทย์มนตร์ เรื่องเหนือธรรมชาติ และความชอบในการถ่ายภาพและการดูหนังกลางแปลง ปัจจัยภายนอกมาจากการศึกษาที่มีแรงผลักดันมาจากปัจจัยภายในที่ถูกปลูกฝังมา ทำให้สมโพธิ ให้ความสนใจในเรื่องของการถ่ายภาพและภาพยนตร์ อีกทั้งได้เรียนรู้เทคนิคการถ่ายทำจากญี่ปุ่น ทำให้มีเอกลักษณ์ทางด้านเทคนิคการสร้างฉากจำลอง การจำลองพร๊อบ การสร้างชุดยางคาแรคเตอร์ มีการเล่าเรื่องที่สนุกสนาน มีความเป็นแฟนตาซี แต่เมื่อเทคโนโลยีทางด้านเอฟเฟ็กต์แอนิเมชั่นมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น โครงเรื่องที่ซ้ำเดิมไม่แปลกใหม่ทำให้ มีการใช้ฟุตเทจเดิมนำมาตัดต่อใหม่ ทำให้การสร้างงานในลักษณะจำลองฉากจึงเป็นที่สนใจน้อยลง</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268339 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้โดรนเพื่อการทำนาของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่จังหวัดปทุมธานี 2024-01-11T09:49:55+07:00 เศรษฐมณี ถิลา setthamani8@gmail.com ชัยวัฒน์ อุตตมากร setthamani8@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้โดรนเพื่อการทำนาของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่จังหวัดปทุมธานี เป็นการการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปร ที่มีการให้ค่าเป็นตัวเลขและใช้วิธีการทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างเป็น เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 329 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสอบถามแบบปลายปิด จำนวน 63 ข้อ วัด 7 ปัจจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน รวมถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร และพิสูจน์สมมติฐานงานวิจัย</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>การยอมรับและการใช้งานจริงของเทคโนโลยีในภาคการเกษตร มีปัจจัยจากทัศนคติและการตั้งใจในการใช้งาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ภายในปัจจัยดังกล่าวยังมีตัวชี้วัดสำคัญคือ 1) ความเหมาะสมของงานและเทคโนโลยี (Task Technology Fit) ตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดคือประโยชน์ที่รับรู้จากเทคโนโลยี ตามด้วยลักษณะของเทคโนโลยีและลักษณะงาน 2) ปัจจัยภายนอก (External Environment) ตัวชี้วัดที่มีผลต่อมากที่สุดคือราคา สิ่งอำนวยความสะดวก กฎหมาย และความรู้ 3) อิทธิพลทางสังคม (Social Influence) ตัวชี้วัดที่ส่งผลมากที่สุดในด้านนี้คือการทดลองใช้งานเทคโนโลยี การตื่นรู้ การสนใจ และการประเมินผลเทคโนโลยี การวิจัยนี้มีประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในภาคการเกษตร โดยสร้างทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีให้เกิดการยอมรับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 (นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ, 2563) ของรัฐบาล จากการวิจัยนี้พบว่าการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีต่อการทำนาไม่มีความสัมพันธ์กับการตั้งใจในการใช้งานและพบว่าทัศนคติของเกษตรกรจะเลือกใช้เทคโนโลยีง่ายต่อการใช้งาน ไม่ซับซ้อน ราคาเหมาะสม และได้รับการทดลองใช้งานแล้ว</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/262109 FACTORS INFLUENCING TEACHING PERFORMANCE IN HONGQI MIDDLE SCHOOL: AN APPLICATION OF INQUIRY-BASED TEACHING MODE IN CLASSROOM TEACHING 2023-09-30T22:03:07+07:00 Li Li knowledge.biw@gmail.com Natthapol Nuengchompoo knowledge.biw@gmail.com <p>This research aims to study the level of inquiry-based teaching in the classroom and to compare inquiry-based teaching in the classroom classified by personal factors. The population of teachers in junior middle school is 71. The sample consisted of 60 teachers at Hongqi Middle School and used a simple random sampling method. Data was collected through a questionnaire, and data analysis was performed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. And hypothesis testing used a t-test and an F-test at a statistical significance level of.05.</p> <p><strong>The results showed that:</strong></p> <p>Personal attribute factors such as age and operational experience can influence teaching performance using inquiry-based teaching differently. It affects inquiry-based teaching in the classroom in the field of opening to learning differently at the statistically significant .01 and .00 levels, respectively. Respondents aged 21–30 years old had different opinions on inquiry-based teaching in the classroom compared to respondents aged between 31–40 and 41–50 years old. In terms of operational experience, respondents with a long time to work can have different opinions on inquiry-based teaching in the classroom. Respondents with working experience under 5 years will be different from those with 5–10 years and more than 10 years or more.</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268327 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศิลปินไทยในการตัดสินใจลงขายผลงานศิลปะดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT 2024-04-03T10:26:42+07:00 ใบไม้ แก้วเผือก baimaikhawpheak@gmail.com จิโรจน์ บุรณศิริ jiroj@citu.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจลงขายผลงานศิลปะดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ NFT ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากศิลปินไทยที่เคยลงขายผลงานศิลปะดิจิทัล 400 ราย </p> <p>พฤติกรรมการขาย NFT ที่แตกต่างกันจะแสดงตามกลุ่มตัวอย่างที่จัดหมวดหมู่ตามปัจจัยทางประชากรศาสตร์ เช่น อาชีพ เมื่อพูดถึงด้านการตลาด การขาย NFT จะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันสามประการเกี่ยวกับราคาและคุณลักษณะต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการขาย NFT โดยเฉพาะจะแตกต่างกันไปในแง่ของความถี่ในการขายเฉลี่ยต่อเดือน ประเภทของ NFT ที่มีจำหน่าย และกลยุทธ์การกำหนดราคา แพลตฟอร์มออนไลน์จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ นโยบายความปลอดภัย และนโยบายภาครัฐ ซึ่งแต่ละปัจจัยมีส่วนทำให้เกิดประสบการณ์การขายที่โดดเด่นไปตามแต่ละกลุ่ม ปัจจัยทางจิตวิทยา รวมถึงลักษณะบุคลิกภาพ จะมีบทบาทในการกำหนดพฤติกรรมการขายต่อ NFT ด้วย ในขณะที่กระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการขายงานศิลปะดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขาย NFT ได้รับอิทธิพลจากข้อมูลประชากร การตลาด ปัจจัยทางจิตวิทยา และอิทธิพลภายนอก ส่งผลให้เกิดประสบการณ์ที่หลากหลายในทุกขั้นตอน</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/265205 การเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ 2024-04-03T10:52:20+07:00 ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ tarapong4077@gmail.com กฤษณนันท์ นันจรูญ tarapong4077@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาการเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ และแนวคิดใหม่เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ การวิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้เขียนใช้วิธีการสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวแทนของผู้สูงอายุที่เกษียณอายุจากราชการแล้วจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 30 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่ม A ผู้สูงอายุที่เกษียณอายุจากราชการแล้วจำนวน 25 คน และกลุ่ม B นักวิชาการที่ทำงานวิจัยทาง ด้านผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุหลังเกษียณจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ทางด้านร่างกาย คือร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ 2. ทางด้านจิตใจ คือการยอมรับสภาพทางจิตใจของตัวเอง เช่นมีความมั่นใจในตัวเอง การมองโลกในด้านบวกเสมอ 3. ระดับความอิสระของบุคคล คือการที่ผู้สูงอายุมีความอิสระทางด้านการเงินไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น 4. ทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม คือการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ๆ ในสังคมบ้าง การได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยกว่าเรา 5.ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน คือการที่ผู้สูงอายุมีบ้านที่อยู่อาศัยปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ การคมนาคมสะดวก นอกจากนี้ยังเป็นแนวคิดใหม่ด้วยการแสดงเป็นภาพพบว่า ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นประกอบด้วยหลังคาบ้านที่แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เสาทั้ง 4 ของบ้าน หมายถึง 1) การมีความสุขทางด้านจิตใจ 2) การมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ผู้สูงอายุสามารถแสดงพฤติกรรมที่ตนปรารถนาได้ 3) สิ่งแวดล้อมที่เป็นเป้าหมายคือ มีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีเพื่อนบ้านและครอบครัวที่ดีพร้อมเกื้อหนุน และอยู่ใน วัฒนธรรมของผู้สูงอายุด้วยกันที่เข้าใจซึ่งกันและกัน 4) การรับรู้คุณภาพชีวิต คือการมีความพึงพอใจ ทั้งจิตใจและ ความสามารถในการทำหน้าที่การงาน และเสาเข็มคือการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่นสวัสดิการรักษาพยาบาล การสร้างที่อยู่อาศัย และได้รับเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือน</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/270674 การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก 2024-04-04T15:39:10+07:00 บุญเสริม วัฒนกิจ watanakit_boon@hotmail.com ศิริพร บุรีวงษ์ watanakit_boon@hotmail.com อุทัย หวังพัชรพล watanakit_boon@hotmail.com พูลพงศ์ สุขสว่าง watanakit_boon@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทของหุ่นจำลอง วัสดุที่ใช้ และกายวิภาคในการพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก 2) วิเคราะห์ประเภทของหุ่นจำลอง วัสดุที่ใช้และกายวิภาค 3) พัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก และ 4) ประเมินคุณภาพหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก ด้านการใช้งาน และด้านคุณค่าทางความงาม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาหุ่นจำลอง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์ จำนวน 3 ท่าน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ (Purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบไบโนเมียล (Binomial Test)</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p> หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอกที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพทั้งในด้านการใช้งาน (Function) และด้านคุณค่าทางความงาม (Aesthetic) อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.00 ทั้ง 2 ด้าน และผลการทดสอบด้วยสถิติทดสอบไบโนเมียล (Binomial Test) พบว่า มีสัดส่วนของผู้เชี่ยวชาญที่เห็นว่าหุ่นจำลองมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน สำหรับฝึกผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก มากกว่าร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-07-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน