วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS <p>วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ( Journal of Social Innovation and Mass Communication Technology) ISSN 2822-0463 (Online) รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ ด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา บริหารธุรกิจ การเมือง จิตวิทยา ศิลปวัฒนธรรม นิเทศศาสตร์ สื่อสารการตลาด เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ดิจิทัลคอนเทนท์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกำหนดออก 3 ฉบับต่อปี<strong> ฉบับที่ 1</strong> [มกราคม – เมษายน] <strong>ฉบับที่ 2</strong> [พฤษภาคม - สิงหาคม] และ <strong>ฉบับที่ 3</strong> [กันยายน - ธันวาคม] โ<em><strong>ดยบทความทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2-3 คน แบบ Double Blind Peer Review</strong></em></p> th-TH sandusit.13@gmail.com (ดร.สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล) sandusit.13@gmail.com (รัชชนก แพทย์นิมตร) Tue, 22 Oct 2024 21:35:33 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/271789 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแนวทางพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย ประเมินคุณภาพการออกแบบแนวทางพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยรวมถึงสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการออกแบบแนวทางพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยใช้รูปแบบการใช้สถิติเชิงพรรณากลุ่มตัวอย่างเป็นชาวบ้านที่มีอายุระหว่าง 45-59 ปี จำนวน 20 คน ในชุมชนบ้านร้อง ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ผลงานการออกแบบแนวทางพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยในรูปแบบสามมิติ แบบประเมินคุณภาพและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจในแนวทางพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> สามารถออกแบบแนวทางพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยที่ทุกคนสามารถใช้งานได้สะดวก มีขนาดและพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานและมีพื้นที่รองรับวัสดุ อุปกรณ์ที่เพียงพอเหมาะสม ส่วนผลการประเมินคุณภาพในการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญทางสถาปัตยกรรมอยู่ในระดับที่มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 และผลการสัมภาษณ์ความพึงพอใจในการออกแบบจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่าในภาพรวมพึงพอใจอยู่ในระดับที่มากที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.72 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54</p> กิตติกุล ศิริเมืองมูล, กาญจนา ปะทะนมปีย์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/271789 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268082 <p>การวิจัยเรื่องการเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนใน จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการชุมชนในการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการเล่าเรื่อง (Storytelling) เพื่อศึกษาเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ดที่สามารถนำมาสู่การสร้างการเล่าเรื่อง (Storytelling) และสร้างสรรค์การเล่าเรื่อง (Storytelling) ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น ด้วยภาษาจีนและภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกบ้านดงทรายงาม ตำบลหนองขุ่นใหญ่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> การเล่าเรื่องผ่านบรรจุภัณฑ์และช่องทางการสื่อสารยังไม่มีความหลากหลาย ขาดเนิ้อหาการเล่าเรื่องที่เชื่อมโยงถึงที่มา ความหมายผลิตภัณฑ์ ที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ความต้องการของผู้ประกอบการ คือ การออกแบบเนื้อหาในการเล่าเรื่อง ผ่านการนำเสนอช่องทาง บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย การวิจัยครั้งนี้ได้คัดสรรเรื่องราวในการเล่าเรื่อง จากเรื่องที่โดดเด่น เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และเนื้อหาที่จะสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคด้วยภาษาอังกฤษและภาษาจีน ได้แก่ ความเป็นมาของหมู่บ้าน/กลุ่ม ชื่อแบรนด์ “ทอรุ้ง”ความหมายของลวดลาย กระบวนการการผลิต การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ผ่านสื่อวีดิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบรรจุภัณฑ์ และเผยแพร่ในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์</p> มณีนุช ฉวีวงศ์, หยกขาว สมหวัง, สุขสันต์ ทับทิมหิน Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268082 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุข ของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268308 <p>การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้สูงอายุในชุมชมคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสื่อสำหรับเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุในชุมชมคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี สำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป ของจังหวัดนนทบุรี ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของตารางและบรรยายเชิงพรรรณา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60 – 65 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพโสด สถานภาพทางเศรษฐกิจ ฐานะปานกลาง สภาวะด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพปกติไม่มีโรคประจำตัว มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหว จากทางโทรทัศน์ หรือทางอินเตอร์เน็ต ช่องทางการรับชมสื่อ แอพพลิเคชันไลน์ ความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับ แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุ โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ มีความคิดเห็นว่า การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุ ทำให้สามารถได้รับความรู้และเข้าใจได้ง่าย ด้านการผลิตและเทคนิคในการนำเสนอ มีความคิดเห็นว่า สื่อที่นำเสนอควรมีความยาวระหว่าง 3 – 5 นาที ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ มีความคิดเห็นว่า การนำเสนอข้อมูลเรื่องการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุ ในรูปแบบแอนิเมชัน ทำให้ผู้สูงวัยเข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้</p> <p> ความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับ การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเกลือ เอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความสุขจากการเข้าร่วมกิจกรรม มีความคิดเห็นว่า ชอบทำกิจกรรมกับสังคม ด้านความสุขจากการช่วยเหลือผู้อื่น มีความคิดเห็นว่า มีการให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่น ด้านความสุขอันเกิดจากการตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง มีความคิดเห็นว่า เป็นคนที่มีทัศนคติและแนวคิดที่ดีต่อตนเอง ด้านความสุขอันเกิดจากการมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี มีความคิดเห็นว่า มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ</p> วรัญญา เดชพงษ์, ขจรจิตร์ ธนะสาร, นริศรา ไม้เรียง Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268308 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 แบบจำลองผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวต่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนน ในจังหวัดนครปฐม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268829 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการจัดการนวัตกรรม โลจิสติกส์สีเขียว และผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาอิทธิพลของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม <br />3) พัฒนาแบบจำลองผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 264 ตัวอย่าง ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวัดค่ากลางของข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis – CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model – SEM)</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> 1) ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม ให้ความสำคัญกับตัวแปรตามกรอบแนวคิด ประกอบด้วย การจัดการนวัตกรรม โลจิสติกส์สีเขียว และผลการดำเนินงานของธุรกิจ พบว่า ทุกด้านมีระดับ<br />ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการจัดการนวัตกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ ผลการดำเนินงานของธุรกิจ และโลจิสติกส์สีเขียว ตามลำดับ</p> <p> 2) ผลวิเคราะห์การศึกษาอิทธิพลการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม พบว่า การจัดการนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อโลจิสติกส์สีเขียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 นอกจากนี้การจัดการนวัตกรรมยังมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และการจัดการนวัตกรรมยังมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจผ่านโลจิสติกส์สีเขียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ของโลจิสติกส์สีเขียวมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยโลจิสติกส์สีเขียวสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อการจัดการนวัตกรรมและผลการดำเนินงานของธุรกิจ ได้ร้อยละ 69.20 และการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียว สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ร้อยละ 54.60</p> <p>3) แบบจำลองผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวต่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีมาก (ค่าสถิติ Chi square/df=0.8324, P-value=0.5395, RMSEA=0.000, GFI=0.996, AGFI=0.978)</p> สุพัชรี สุปริยกุล, ธันย์ ชัยทร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/268829 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 การลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อจากการพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร กรณีศึกษา บริษัทเอบีซี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/271631 <p>งานวิจัยนี้จัดทำเพื่อศึกษากระบวนการจัดการคำสั่งซื้อเดิมของกรณีศึกษาบริษัท เอบีซี และเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อโดยการสร้างระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร และเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ในองค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ ระยะเวลาดำเนินการของธุรกรรมในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อจากรายงานผลการดำเนินงานการผลิตและบริหารงานคลังสินค้า เดืือน มกราคม 2567 จำนวนทั้งสิ้น 149 คำสั่งซื้อ ใช้ผังก้างปลา การวิเคราะห์ด้วยหลักการทำงาน ECRS (การกำจัด, การรวมกัน, การจัดใหม่, การทำให้ง่าย) การออกแบบผังงาน และแผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลและการสร้างระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร เป็นเครื่องมือวิจัยและวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาด้วยความถี่และร้อยละ</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p> ปัจจุบันบริษัทกำลังประสบปัญหาความล่าช้าในกระบวนการคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง จากการไม่เชื่อมต่อของข้อมูลเแต่ละแผนกใช้ระบบที่แยกกัน ของระบบควบคุมการผลิตและสินค้าคงคลัง และระบบบัญชีสำเร็จรูป เมื่อข้อมูลไม่ได้เชื่อมต่อกัน เกิดการทำงานซ้ำซ้อนและไม่สอดคล้องกัน เกิดความล่าช้าในการสื่อสารข้อมูลและการทำงานที่ซ้ำซ้อน สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อคือ การขาดการเชื่อมโยงกันของระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในบริษัท จึงมีการวิเคราะห์และออกแบบระบบโดยแผนภาพการไหลของข้อมูล มีผู้ที่เกี่ยวข้องต่อระบบ 8 ส่วน ได้แก่ ลูกค้า ฝ่ายขาย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการบัญชีและการเงิน ฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายผลิต ฝ่ายขนส่ง ได้นำหลักการ ECRS เพื่อลดความสูญเปล่าได้ถึง 20 ขั้นตอน จึงเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อจากการสร้างแบบจำลองระยะเวลาดำเนินการในการปรับปรุงระยะเวลาในการกระบวนการ 263.30 นาที เหลือ 137.30 นาที ลดลง 129.57 นาทีต่อคำสั่งซื้อ คิดเป็นร้อยละ 47.94 ต่อคำสั่งซื้อ เมื่อนำมาใช้จริงจำนวนคำสั่งซื้อที่ล่าช้าก่อนปรับปรุง 75 คำสั่งซื้อ เหลือ 4 คำสั่งซื้อ ลดลง 71 คำสั่งซื้อ คิดเป็นร้อยละ 94.67 ในขณะที่ระยะเวลาความล่าช้าคำสั่งซื้อก่อนปรับปรุง 1,964 นาที เหลือ 37 นาที ลดลง 1,927 นาที คิดเป็นร้อยละ 98.12</p> คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/271631 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/263782 <p>งานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 (3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดาย กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดาย , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ , แบบทดสอบทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบ ทีแบบกลุ่มเดี่ยว ( One-Sample T-Test)</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p> ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.17/88.33 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ย รีคอร์ดเดอร์ตาม แนวคิดโซลตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 แบ่งได้เป็น 2 ตอนดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนรู้เรื่องการเป่า ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูง กว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 , ทักษะการเป่าขลุ่ย รีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ที่อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ปณิธาน ศรีประเสริฐ, นภาภรณ์ ธัญญา, ศิลปชัย บูรณพานิช Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/263782 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 EXPERIMENTAL COMPARATIVE STUDY ON THE COMBINATION OF LACQUER ART AND CERAMICS https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/266680 <p>The purpose of this study is to 1) analyze adhesive firmness, chromatic, temperature comparative and material process characteristics of the combination of lacquer art and ceramics, 2) compare the expressive power of lacquer and pottery in terms of texture from the context of their development, understand the artistic characteristics of the combination of lacquer art and ceramics, and 3) through the case analysis of the application of lacquer in ceramic restoration, understand the artistry and practicability of the combination of lacquer art and ceramics. The study employed a comprehensive experimental approach using X-ray Diffraction (XRD), X-ray Fluorescence (XRF), Scanning Electron Microscopy (SEM), and Energy Dispersive X-ray Spectroscopy (EDX) techniques. Through these methods, a systematic comparison of the properties of lacquer and ceramic cross-layers was conducted, with a focus on the adhesion strength and peel resistance of the two materials. The research provides a solid scientific basis for understanding and improving lacquer-ceramic combination products, which aligns with the growing demand for innovative products in the traditional cultural and creative industries.</p> <p><strong>The results of the research found that:</strong></p> <p>1) This study can correctly grasp the disintegration information of the combination of lacquer and ceramics, and provide a more powerful scientific basis for the research of lacquer and ceramics protection.</p> <p>2) By changing the physical properties of lacquer, the timeliness of lacquer and pottery creation can be improved.</p> <p>3) The study finds distinct impacts on enhancing the adhesion between paint and pottery by analyzing the composition and structure of different adhesives.</p> Lingyun Cheng, Pensiri Chartniyom Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/266680 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 THESIS WRITING EVALUATION STANDARDS FOR MUSIC PERFORMANCE THESIS COURSE AT SHENYANG NORMAL UNIVERSITY, CHINA https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/267993 <p>The objectives of this research were: 1) to study thesis standards for music performance, and 2) to write evaluation standards for music performance thesis courses. Use the research and development process: To consult relevant literature on the musical research rules, to analyze 118 music performance professional theses from 2016 to 2021, and to create a guidebook for music thesis writing of the Department of Ethnic Music of the School of Drama and Art of Shenyang Normal University, research between 2021 and 2022. Analyze data with basic statistics.</p> <p> <strong>The results revealed that: </strong></p> <p> 1) The assessment content of the ten items reveals that their scores range from 5 to 20, with an approximate average score of 10 points.</p> <p> 2) The evaluation standards for the music performance thesis course, focusing on studying music practice and basic music analysis. The researcher applied the recommendations from the assessment results to improve the results of the assessment of accuracy and consistency at the 0.91 level for 28 items of music graduation thesis evaluation standard.</p> Wang Xu, Pramote Danpradit Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/267993 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 A SOLFEGGIO EXERCISE BOOK FOR MUSIC STUDENT’S AT SHANXI ARTS VOCATIONAL COLLEGE, SHANXI TAIYUAN https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/267994 <p>The purposes of this study were: 1) to study the folk and western melody for solfeggio exercise, and 2) to create the solfeggio exercise book for music students at Shanxi Vocational Art College. The research uses qualitative research to conduct in – depth interview. 5 experts were used to create a Solfeggio exercise book with 14 chapters, a teaching period of 14 weeks, and as a sample, a sample was tested using a practice test for 36 second-year students. Use analysis with descriptive analysis and basic statistics. Data was collected between March 2022 and June 2023.</p> <p> <strong>The results of the research found that:</strong></p> <p> 1) The singing and hearing ability in solfeggio with experts and study documents. Discovers that learners should learn the following contents principles: (1) Rhythm practice, (2) Pitch practice (scales), (3) Melodic memory (solfeggio pedagogy), (4) Folk melody solfeggio, and (5) Homework or practice.</p> <p> 2) The solfeggio exercise book, with a total of 14 units, including rhythm, pitch singing, listening and recognition 14 solfeggio exercises, with 180 minutes of teaching time per week.</p> Guo Lei , Pramote Danpradit Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/267994 Tue, 19 Nov 2024 00:00:00 +0700 THE AESTHETIC FORM OF DANCE OF LISU NATIONALITY “A CHI MU GUA” https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/269610 <p>The aim of this study is to conduct an in-depth examination of the aesthetic characteristics of the Lisu dance “Achimu Gua”. The study subjects primarily include Lisu dance inheritors, expert scholars, and performers, and qualitative data analysis is performed through methods such as interviews, observations, and literature research.</p> <p><strong>The research findings: </strong></p> <p>Reveal a close correlation between the aesthetic form of the Lisu dance “Achimu Gua” and the behaviors of goats. The dancers vividly replicate the leaping, running, and bounding characteristics of goats through coordinated movements and postures. While demonstrating a high level of technical proficiency, the dancers also convey emotions of celebration and resilience in the face of challenges, reflecting the intimate connection between aesthetic form and emotions. The dance's dynamic forms include actions like squatting, swaying, turning, and shoulder-touching, presented in diverse formations and performance styles, enhancing the liveliness and interactivity of the dance. The aesthetic form is closely intertwined with the culture and historyof the Lisu people. This connection reinforces the cultural significance of the dance, reflecting the values and traditions of the Lisu people. This study will contribute to a deeper understanding of the aesthetic form of the Lisu dance "Achimu Gua" and the rich relationship between aesthetic form and cultural connotations. It provides valuable insights for the preservation, inheritance, and cross-cultural dissemination of Lisu dance.</p> Xie li, Manissa Vasinarom, Jin Qiu Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/269610 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700