@article{สีเขียว_นาสารีย์_2022, title={การจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1}, volume={5}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/256862}, DOI={10.14456/jsse.2022.34}, abstractNote={<p>การจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรก (Infusion) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้หนึ่งที่สามารถสอดแทรกเนื้อหาอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน สามารถนำมาใช้ได้ผลในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้นักเรียนมีโอกาสได้สังเกต ทดลอง และสรุปผลเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง ดังนั้น ในบทความนี้จึงได้นำเสนอตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ตามแนวทางของ Llewelly (2005) ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นการสำรวจและค้นหา 3) ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป 4) ขั้นการขยายผลความรู้ และ 5) ขั้นการประเมินผล ผ่านกิจกรรม “ไข่เยี่ยวม้าทองคำ” โดยใช้คำถามที่ว่า “ไข่เยี่ยวม้าที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาดมีสีดำและมีความเค็มแตกต่างกันออกไปหรือไม่ และความเค็มนั้นถูกลำเลียงเข้าไปในไข่ได้อย่างไร มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ไข่เค็มไม่เท่ากัน แล้วถ้าต้องการให้ไข่เยี่ยวม้ามีสีเหลืองทองสามารถทำได้อย่างไร ใช้หลักการใดบ้าง จงอธิบาย” จากรูปแบบของกิจกรรมเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสังเกต สืบค้น รวบรวมข้อมูล ทำงานร่วมกันเป็นทีม ปฏิบัติการทดลอง เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายและเชื่อมโยงสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้แล้วนำเสนอผลจากการเรียนรู้อย่างมีเหตุผลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และจากกิจกรรมการจัดการเรียนรู้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการแพร่ของสารมากขึ้นจากการได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบคำตอบด้วยตนเอง นอกจากนี้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ยังทำให้นักเรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการสื่อสาร สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ การทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับครูผู้สอนในการนำแนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพัฒนานักเรียนต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE)}, author={สีเขียว นภัทร and นาสารีย์ น้ำเพชร}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={322–331} }