TY - JOUR AU - สิทธิศาสตร์, พัชรวรรณ AU - กะตะศิลา, เกวรินทร์ AU - บาททอง, วิภาดา AU - มะเดื่อ, ยุวธิดา AU - สมบัติวงศ์, พิศาล PY - 2022/06/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ศักยภาพด้านพลังงานของถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมง JF - วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) JA - J. Sci. & Sci. Educ. VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ DO - 10.14456/jsse.2022.23 UR - https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/257273 SP - 202-214 AB - <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตถ่านอัดแท่งและประเมินประสิทธิภาพการใช้งานของถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่ง (<em>Delonix regia</em> (Bojer ex Hook.) Raf.) และฝักมะค่าโมง (<em>Afzelia xylocarpa</em> (Kurz) Craib) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนโดยนำฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงมาเผาให้เป็นถ่าน แล้วจึงนำมาบดให้เป็นผง ผสมผงถ่านกับกาวแป้งเปียก (กิโลกรัม ต่อ ลิตร) 3 อัตราส่วน คือ 1:1, 1.5:1 และ 2:1 แล้วอัดให้เป็นแท่ง จากนั้นนำไปทดสอบคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงของถ่านอัดแท่งโดยใช้วิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐาน ASTM และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ความร้อนด้วยการทดสอบต้มน้ำ ผลการศึกษาพบว่าถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงในทุกอัตราส่วนมีค่าความชื้นและค่าความร้อนผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และพบว่าถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงที่อัตราส่วน 2:1 แสดงคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงได้ดีที่สุด โดยมีค่าความชื้นและการปล่อยสารระเหยน้อยที่สุด และพบว่าให้ค่าคาร์บอนคงตัวและค่าความร้อนสูงที่สุดอีก ถ่านอัดแท่งที่อัตราส่วน 2:1 ยังแสดงค่างานและค่าประสิทธิภาพการใช้ความร้อนสูงที่สุด ในระหว่างกระบวนการเผาไหม้ ถ่านอัดแท่งทั้งสองชนิดในทุกอัตราส่วนยังติดไฟได้ดี ไม่แตก ไม่ประทุ ไม่มีควันขณะใช้งาน ดังนั้นถ่านอัดแท่งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงที่อัตราส่วน 2:1 จึงมีความเหมาะสมที่สุดในการเลือกนำมาใช้เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เนื่องจากใช้กาวแป้งเปียกในปริมาณน้อย แต่ได้ปริมาณของถ่านอัดแท่งมากที่สุด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงและประสิทธิภาพการใช้ความร้อนสูงที่สุด ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงในการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากฝักหางนกยูงฝรั่งและฝักมะค่าโมงไปผลิตเป็นถ่านอัดแท่งทดแทนถ่านไม้เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มในครัวเรือน</p> ER -