วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE <p> วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (Journal of Science and Science Education: JSSE) หมายเลข<strong> ISSN (Print) และ 2697-410X (Online)</strong> เป็นวารสารที่จัดทำโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) หรือบทความวิชาการ (Review articles) ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (ซึ่งหมายรวมถึงเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษา และคณิตศาสตร์ศึกษา) และด้านวิทยาศาสตร์ (โดยเน้นเป็นวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี) ทั้งบทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ โดยลักษณะของบทความที่จะนำเสนอเพื่อขอลงตีพิมพ์ในวารสารจะต้องมีสาระที่น่าสนใจ เป็นงานที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย และต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน (original article) ทั้งนี้ ทุกบทความจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการจากคณะผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขาวิชา (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน ตั้งแต่วารสารปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เป็นต้นมา ผลงานที่ได้รับการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารจะต้องมีสาระน่าสนใจ เป็นงานที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย และต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน</p> <p> อนึ่ง <strong>วารสาร JSSE จัดอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศึกษา (Main subject categories: Social Sciences) สาขาวิชาสังคมศึกษา (Subject areas: Social Sciences)</strong> <strong>และอยู่ในสาขาวิชาย่อยด้านการศึกษา (Sub-subject: Education) นอกจากนี้ ยังมีสาขาวิชาย่อยเพิ่มเติมอีก 4 สาขาวิชาย่อยในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Main subject categories: Physical Sciences) ได้แก่ (1) เคมีทั่วไป (2) คอมพิวเตอร์ทั่วไป (3) คณิตศาสตร์ทั่วไป และ (4) ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ทั่วไป</strong></p> <p> ทั้งนี้ วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษามีกำหนดเผยแพร่บทความปีละ 2 ฉบับหรือเล่ม โดยเล่มที่ 1 เป็นเผยแพร่บทความระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน และเล่มที่ 2 เผยแพร่บทความระหว่าง กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (Publication Charge)</strong></p> <p>วารสารได้ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ (Article Processing Charge) บทความละ 1,500 บาท โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้เฉพาะบทความต้นฉบับที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการวารสาร ก่อนที่จะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทั้งนี้ มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการดำเนินการบทความตั้งแต่ วารสารปีที่ 6 พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป</p> <p><strong>ทั้งนี้ การชำระค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าบทความดังกล่าวจะได้รับการเผยแพร่ใน JSSE แต่อย่างใด ดังนั้น บทความที่จะได้รับการเผยแพร่ใน JSSE จะต้องผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตามปกติ</strong></p> th-TH <p>วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร</p> <p><strong>แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)</strong></p> <p>ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้<br />1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component &gt; Article Text<br />2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component &gt; Other</p> <p>ดาวน์โหลด <strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1OJN4lWx_wUF0OdXT5D2tgLakSl_OhOxm/view?usp=sharing">ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)</a></strong></p> [email protected] (รศ.ดร.ศักดิ์ศรี สุภาษร) [email protected] (อมรรัตน์ วะสุรีย์) Fri, 15 Dec 2023 09:08:35 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 6E Learning ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/268319 <p>การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 6E Learning ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา 2)เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 6E Learning ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 26 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา เรื่อง ผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ จำนวน 7 แผน จำนวน 20 ชั่วโมง 2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 3) แบบสอบถามเจตคติของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 6E Learning ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยและการเทียบกับเกณฑ์คุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 6E Learning ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน เพิ่มขึ้นจากระดับพอใช้ (1.98) เป็นระดับดี (2.52) 2)นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 6E Learning ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.20)</p> วุฒิชัย ภูดี, ชิดชนก สมปิตะ, อดุลย์ บุตรดีวงษ์, เทวิน วดีศิริศักดิ์, เกศรา อุดมเดชาเวทย์, ทัศนีย์ อุทัยแสน Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/268319 Fri, 02 Feb 2024 00:00:00 +0700 อรรถประโยชน์ของการเรียนในรูปแบบออนไลน์ช่วงวิกฤตโควิด-19 ของนักศึกษาปริญญาตรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/269217 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาองค์ประกอบปัจจัยของอรรถประโยชน์ในการเรียนในรูปแบบออนไลน์ช่วงวิกฤติโควิด-19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 307 คน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยมีเครื่องมือวัดเป็นแบบสอบถาม จำนวน 20 ข้อ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ ได้ผลการวิจัยพบว่า อรรถประโยชน์ในการเรียนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบปัจจัยทั้งหมด 4 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านเศรษฐกิจ (2) ด้านสังคม (3) ด้านการเรียนการสอน และ (4) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน</p> ภุชงค์ แพรขาว; อังกูร หวังวงศ์ชัย, วรวิช โดมทอง, ศิรินทร์ทิพย์ เปียคง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/269217 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมรรถนะรีโอโลยีอาหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับอุตสาหกรรมอาหาร ของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/264960 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารเรื่อง รีโอโลยีอาหาร หรือ วิทยาศาสตร์การไหล เพื่อนำผลสำรวจมาออกแบบการจัดการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะเชิงรุก และเพื่อวัดและประเมินการใช้รีโอโลยีอาหาร ในอุตสาสาหกรรมอาหาร กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารเรื่อง รีโอโลยีอาหาร 2) รายละเอียด รายวิชาหลักการวิเคราะห์อาหาร รายวิชาการเตรียมฝึกสหกิจศึกษา และสหกิจศึกษา และ 3) แบบประเมินสมรรถนะรีโอโลยีอาหาร จำนวน 15 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย เทียบกับเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานที่อุตสาหกรรมอาหารต้องการ ผลการวิจัย พบว่า อุตสาหกรรมอาหารต้องการสมรรถนะรีโอโลยี 3 ด้าน ได้แก่ 1) หลักการและการใช้งานเครื่องมือวัดรีโอโลยี 2) การอ่านผลและการแปลผลการวัดรีโอโลยี และ 3) การประยุกต์พัฒนางานอาหารด้วยรีโอโลยี ดังนั้น การออกแบบการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะจากเกลียววิจัยเชิงปฏิบัติการจีงแบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นพื้นฐาน หลักการวิเคราะห์เน้นทฤษฎีและหลักการวัดรีโอโลยี 2) ขั้นฝึกทักษะ การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้ผู้เรียนได้นำหลักรีโอโลยีมาควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร และ 3) ขั้นประยุกต์ นักศึกษาทำโครงงานสถานประกอบการที่มีหลักการรีโอโลยีเกี่ยวข้อง สมรรถนะเชิงรุกของผู้เรียนรีโอโลยีในระดับขั้นพื้นฐานและขั้นฝึกฝนมีการพัฒนาขึ้น และสถานประกอบการประเมินการนำรีโอโลยีของนักศึกษาไปประยุกต์ใช้ในโครงงานสถานประกอบการในระดับ B (ดี) โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดสมรรถนะรีโอโลยีขั้นพื้นฐาน (𝑥̅= 3.54) ขั้นฝึกฝน (𝑥̅= 3.44) และขั้นประยุกต์ ((𝑥̅= 3.82) ดังนั้น ผู้ใช้บัณฑิตในอุตสาหกรรมอาหารมีบทบาทในการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบัณฑิตเพื่ออุดมศึกษานำออกแบบการจัดการเรียนรู้พัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษา</p> นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/264960 Fri, 15 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาความยึดมั่นผูกพันในการเรียนซึ่งมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องกราฟของฟังก์ชันกำลังสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/270017 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความยึดมั่นผูกพันในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องกราฟของฟังก์ชันกำลังสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิซาคณิตศาสตร์ เรื่องกราฟของฟังก์ชันกำลังสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค Think-Talk-Wite ร่วมกับ โปรแกรม GeoGebra กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 43 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค ThinkTalk-Wite ร่วมกับ โปรแกรม GeoGebra ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลความยึดมั่นผูกพันในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องกราฟของฟังก์ชันกำลังสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องกราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> นวมินทร์ จันทร์ศรีราช, วรรณพล พิมพะสาลี Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/270017 Fri, 05 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียร่วมกับบทเรียนโปรแกรม เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/265591 <p>หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่การจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนสู่การเรียนออนไลน์เป็นหลัก ทำให้เกิดปัญหาการถดถอยทางการเรียนรู้ มาตรการฟื้นฟูปัญหาส่วนหนึ่ง คือ การส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นรายบุคคล การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ลดข้อจำกัดของการมาหรือไม่มาเรียนในชั้นเรียน การใช้บทเรียนโปรแกรมจึงมีความเหมาะสมในการนำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ โดย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียร่วมกับบทเรียนโปรแกรม เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี โดยใช้แนวคิดสามเหลี่ยมเคมี (Chemistry triplet) 2) เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับบทเรียนโปรแกรมเรื่องปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลต่อระดับพัฒนาการของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ต่อสื่อมัลติมีเดียร่วมกับบทเรียนโปรแกรม เรื่องปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบกับสื่อมัลติมีเดียร่วมกับบทเรียนโปรแกรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับบทเรียนโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนโปรแกรม เรื่องปฏิกิริยาเคมี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83/78.83 ซึ่งสามารถยอมรับได้เกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการทดสอบหลังเรียน ( <em>=14.20, SD=3.57</em>) สูงกว่าก่อนเรียน ( <em>=6.14, SD=3.30</em>) ค่าเฉลี่ยร้อยละคะแนนพัฒนาการมีค่าเท่ากับ 56.43 ระดับพัฒนาการอยู่ในระดับสูง และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนโปรแกรมนี้ในระดับมาก ( <em>=4.27, SD=0.66</em>)</p> สิวกร ศรีบุตตา, อัมพร วัจนะ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/265591 Fri, 15 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายผ่านกลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาแบบไร้รอยต่อ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/270064 <p>สมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ถูกยอมรับว่าเป็นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่สำคัญของการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียนอันจะนำผู้เรียนไปสู่การประสบผลสำเร็จในการรู้วิทยาศาสตร์ได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความก้าวหน้าของสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อในบริบทที่เป็นการผสานร่วมระหว่างการเรียนรู้แบบเป็นทางการ (ในชั้นเรียน) และไม่เป็นทางการ (นอกชั้นเรียน) ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนากลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อดังกล่าวและทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 23 คน เป็นระยะเวลา 400 นาที โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยกลวิธีดังกล่าวของนักเรียนโดยใช้แบบวัดวัดการสร้างคำอธิบายวิทยาศาสตร์แบบอัตนัย และแบบสอบถามวัดแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการคำนวณหาค่าความก้าวหน้าทางการเรียนรู้แบบที่เป็น Normalized Gain ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าของสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ครบถ้วนทั้ง 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ คำกล่าวอ้าง ประจักษ์พยาน และการให้เหตุผล และมีความก้าวหน้าในแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ครบถ้วนทั้ง 5 ด้านย่อย ได้แก่ ความจูงใจภายใน การตัดสินใจด้วยตนเอง ประสิทธิภาพของตนเอง ความจูงใจในการทำงาน และความจูงใจในผลการเรียน หลังจากที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ในกลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อของการวิจัยในครั้งนี้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถสร้างความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ในมิติผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็นสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งกลวิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสามารถที่จะเป็นอีกแนวทางใหม่ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียนและเป็นบริบทของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กลวิธีใหม่สำหรับครูผู้สอนในระดับโรงเรียนได้</p> ขวัญจิรา ชัยมูล, กรชวัล ชายผา, นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/270064 Fri, 05 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/265921 <div><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (</span>1)<span lang="TH">เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์&nbsp;</span>70/70 &nbsp;(2)</div> <div><span lang="TH">เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล (</span>E.I.)&nbsp;<span lang="TH">ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน </span>(3)&nbsp;<span lang="TH">เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ </span>70 (4)&nbsp;<span lang="TH">เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับและการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ </span>70 (5)&nbsp;<span lang="TH">เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเกมกระดาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ </span>2&nbsp;<span lang="TH">โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ ภาคเรียนที่ </span>2&nbsp;<span lang="TH">ปีการศึกษา </span>2565&nbsp;<span lang="TH">จำนวน </span>19&nbsp;<span lang="TH">คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (</span>Cluster Random Sampling)&nbsp;<span lang="TH">เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (</span>1)&nbsp;<span lang="TH">แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน จำนวน </span>15&nbsp;<span lang="TH">แผน (</span>2)&nbsp;<span lang="TH">แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ </span><span lang="TH">แบบปรนัยเลือกตอบ จำนวน </span>20&nbsp;<span lang="TH">ข้อ&nbsp;</span>(3)&nbsp;<span lang="TH">แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทาง แบบอัตนัยจำนวน </span>3&nbsp;<span lang="TH">ข้อ&nbsp;</span>(4)&nbsp;<span lang="TH">แบบวัดความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน&nbsp;</span><span lang="TH">สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ </span>t-test for One Sample<span lang="TH">ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ (</span>1<span lang="TH">) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน มีประสิทธิภาพ (</span>E1/E2 )&nbsp;<span lang="TH">ตามเกณฑ์&nbsp;</span>88.63/78.93 (2<span lang="TH">) ดัชนีประสิทธิผล (</span>E.I.)&nbsp;<span lang="TH">ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน มีค่าเท่ากับ </span>0.4061&nbsp;<span lang="TH">แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ </span>40.61 (3<span lang="TH">) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน คิดเป็นร้อยละ </span>78.93&nbsp;<span lang="TH">ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ </span>70&nbsp;<span lang="TH">ที่ระดับนัยสำคัญ .</span>05 (4<span lang="TH">) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (</span>PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน คิดเป็นร้อยละ </span>81.73&nbsp;<span lang="TH">ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ </span>70&nbsp;<span lang="TH">ที่ระดับนัยสำคัญ .</span>05&nbsp;<span lang="TH">(</span>5<span lang="TH">)&nbsp;</span>นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)&nbsp;<span lang="TH">ร่วมกับเกมกระดาน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ผลสรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ </span>4.69&nbsp;<span lang="TH">อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด</span></div> อัจฉราภรณ์ อัศวภูมิ, นงลักษณ์ วิริยะพงษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/265921 Fri, 15 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของการเสริมสร้างแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในบริบทชุมชนชนบทโดยใช้กลวิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบไร้รอยต่อ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/270100 <p>แรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่ การเรียนรู้แบบไร้รอยต่อเป็นกลวิธีการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อช่องว่างการเรียนรู้ให้มีความหมายและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียนรู้เช่นนี้นั้นเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้และเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบไร้รอยต่อผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมาร์ตโฟนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 45 คน โดยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 3 ของโรงเรียนภาครัฐแห่งหนึ่ง นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบไร้รอยต่อเป็นระยะ 300 นาที และเก็บรวบรวมข้อมูลแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ประเด็น ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้านย่อย ได้แก่ ความจูงใจภายใน (IM) ความจูงใจในอาชีพ (CM) การตัดสินใจด้วยตนเอง (SDT) ประสิทธิภาพของตนเอง (SEC) และ ความจูงใจในผลการเรียน (GM) โดยที่นักเรียนถูกประเมินแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนกับกลวิธีดังกล่าว ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้การวิเคราะห์สถิติทดสอบทีสำหรับกลุ่มอิสระ (Independent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า มิติย่อยด้าน IM, CM, SDT, และ SEC ของแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ยกเว้นด้าน GM เท่านั้นที่มีผลตรงกันข้าม และพบว่านักเรียนกลุ่มนี้มีการพัฒนาด้าน IM และ CM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การใช้วิธีการเรียนรู้ที่สืบเสาะแบบไร้รอยต่อโดยใช้เทคโนโลยีสมาร์ตโฟนช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ในมิติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญ</p> นราธิป ฮุยนอก, กรชวัล ชายผา, นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/270100 Fri, 05 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบแคริโอไทป์และเฮเทอโรมอร์ฟิซึมของตำแหน่งนิวคลีโอลาร์ ออร์แกไนเซอร์ ระหว่างแมวไทยสีสวาดและแมวสายพันธุ์ต่างประเทศอเมริกัน ชอร์ตแฮร์ ในสกุลเฟลิส (Genus Felis) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/268324 <p>การศึกษาเปรียบเทียบแคริโอไทป์และเฮเทอโรมอร์ฟิซึมของตำแหน่งนิวคลีโอลาร์ ออร์แกไนเซอร์ระหว่าง แมวไทยและแมวสายพันธุ์ต่างประเทศ ในสกุลเฟลิส (Genus <em>Felis</em>) เตรียมโครโมโซมโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์ลิมโฟไชต์ วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีแบบโครโมโซมมาตรฐานและเทคนิคการย้อมแถบโครโมโซมแบบเอ็นโออาร์ ผลการศึกษาพบว่าแมวไทยและแมวสายพันธุ์ต่างประเทศมีจำนวนโครโมโซมแบบดิพลอยด์เท่ากับ 38 (2n=38) และจำนวนแขนโครโมโซมพื้นฐาน (fundamental number, NF) เท่ากับ 72 ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แคริโอไทป์แบ่งตามขนาดและรูปร่างโครโมโซมแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (A-F) และพบเครื่องหมายโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นกระเปาะ (satellite) ที่ส่วนปลายแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 1 ในกลุ่ม E หรือโครโมโซมคู่ที่ 14 ทั้งในแมวไทยและแมวสายพันธุ์ต่างประเทศ ในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการย้อมแถบโครโมโซมแบบเอ็นโออาร์ ตรวจพบตำแหน่งเอ็นโออาร์บริเวณโครโมโซมคู่ที่ 1 ในกลุ่ม E ในแมวทั้งสองสายพันธุ์ โดยแมวทั้งสองสายพันธุ์นี้มีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์เท่ากันและมีรูปแบบแคริโอไทป์มีความคล้ายคลึงกันมาก แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างพันธุกรรมในระดับโครโมโซมของแมวไทยและแมวสายพันธุ์ต่างประเทศอยู่ในสภาพอนุรักษ์สูง แต่อย่างไรก็ตามตรวจพบความแปรผันของปริมาณการติดสีซิลเวอร์ ไนเตรต ที่ตำแหน่งเอ็นโออาร์แตกต่างกันในแต่ละตัวอย่างที่ศึกษา ความผันแปรทางพันธุกรรมที่ เกิดขึ้นนี้ส่งผลทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์ในวงศ์ฟีลิดีมากขึ้น</p> กาญจนาพร ศรชัย, ถาวร สุภาพรม, ณิชารัตน์ สวาสดิพันธ์, อรัญญา พิมพ์มงคล, วาริณี พละสาร, สุทธนา ปลอดสมบูรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/268324 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 วิธีทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/269250 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโมเดลทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับการนำไปเพิ่มประสิทธิภาพของโมเดล 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกและเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบดั้งเดิมในการทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย โครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Network) หน่วยความจำระยะยาว-ระยะสั้น (Long Short-Term Memory) แรนดอมฟอเรสต์ (Random Forest) นาอีฟเบย์ (Naive Bayes) และซัพพอร์ทเวกเตอร์แมทชีน (Support Vector Machine) กลุ่มตัวอย่างทดสอบ คือ ข้อมูลนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561-2564 จำนวน 4,479 คน การสร้างโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องแบบดั้งเดิมและการเรียนรู้เชิงลึกใช้ 11 คุณลักษณะ ได้แก่ คำนำหน้าชื่อ โรงเรียน ประเภทผู้สมัคร และเกรดรายวิชา 8 รายวิชา ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างโมเดลทั้งสอง พบว่า โมเดลการเรียนรู้เชิงลึกมีประสิทธิภาพดีกว่าโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องแบบดั้งเดิม จึงทำการศึกษาหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า โมเดลที่ดีที่สุดคือโครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชันโดยมีค่าความถูกต้องสูงถึงร้อยละ 64.68 และหน่วยความจำระยะยาว-ระยะสั้นมีสภาพเป็น overfitting ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการนำไปใช้งาน สรุปได้ว่า โมเดลโครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชันเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับระบบทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัย</p> พัทธดนย์ จัยสิน; สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน; ไพชยนต์ คงไชย Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/269250 Fri, 02 Feb 2024 00:00:00 +0700