https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/issue/feed
วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2023-01-15T06:53:27+07:00
พระมหาสุรไกร ชินพุทฺธิสิริ
jssmbu1@gmail.com
Open Journal Systems
<p> คณะสังคมศาสตร์ ได้จัดทำวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (Journal of Social Sciences Mahamakut Buddhist University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนนิสิต นักศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย และอื่น ๆ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการ และการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์แก่สถาบัน คณะ และสาธารณะต่อไป</p> <p> ทั้งนี้ วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผ่านการรับทราบจากสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 12/2560 ระเบียบวาระที่ 4 (4.4) เรื่อง ที่เสนอเพื่อทราบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2560</p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/261462
ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา
2023-01-09T16:11:55+07:00
สุวัฒนพงษ์ ร่มศรี
sornortom@gmail.com
สาธกา ตาลชัย
sornortom@gmail.com
<p>ความสำคัญขององค์การสถานศึกษานั้นเปรียบเสมือนเป็นแก่นหลักของการพัฒนาประเทศ เป็นรากฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ เพราะหากว่าคนไร้ซึ่งความรู้ความสามารถแล้วประเทศชาติมีแต่จะมุ่งหน้าไปสู่ทางที่มืดบอด การที่จะสร้างคนที่ดีมีคุณภาพยอดเยี่ยมและทันต่อโลกยุคปัจจุบันได้นั้น ต้องอาศัยองค์การสถานศึกษาเป็นสำคัญอันดับแรก สถานศึกษาเป็นที่ให้ความรู้ ให้คนได้มีแนวคิดทันต่อสถานการณ์ได้ ในสถานศึกษาจึงควรให้ความสำคัญที่ต้องเลือกผู้นำที่มีความสามารถอย่างแท้จริง มีภาวะผู้นำที่ผู้ตามสามารถเข้าถึงได้อย่างไร้ขอบเขตจำกัด เช่นนี้จึงจะสามารถสร้างคนที่มีคุณภาพเพื่อประเทศชาติได้อย่างแท้จริง มีคนดีคนเก่งคนฉลาดยิ่งมาก ประเทศชาติยิ่งมีความเจริญมากขึ้นตามสืบไป </p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/261337
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยในยุคชีวิตวิถีใหม่
2022-12-13T16:45:01+07:00
พระณัฐวุฒิ พันทะลี
pantalee200134go@gmail.com
พระมหาวิรุธ วิโรจโน
pantalee200134go@gmail.com
สุขพัฒน์ อนนท์จารย์
pantalee200134go@gmail.com
อาทิตย์ แสงเฉวก
pantalee200134go@gmail.com
พระเดชา นามวงษา
pantalee200134go@gmail.com
วีรนุช พรมจักร์
pantalee200134go@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยในยุควิถีใหม่ ซึ่งความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีมานานและเป็นปัญหาเรื้อรังที่สะท้อนถึงความแตกต่างในการเข้าถึงชีวิตที่มีคุณภาพรวมถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงที่รัฐจัดให้ด้วย ยิ่งในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชี้อโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก “ยุค New normal” เป็นแนวทางที่หลาย ๆ คนจะต้อง<br /><br />ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากที่เคยออกจากบ้านเพื่อไปทำงานไปโรงเรียนต้องหันมาทำทุกอย่างที่บ้าน ทำให้เกิดช่องว่างของรายได้และทรัพย์สิน ส่งผลกระทบระยะยาวไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคม อย่างไรก็ตามวิกฤตครั้งนี้ได้ทำให้ประชาชนจำนวนมากได้หันมามองเห็นปัญหาของความเหลื่อมล้ำและได้มีประสบการณ์ตรงกับระบบสวัสดิการของรัฐ ซึ่งอาจทำให้ทัศนคติของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เอื้อต่อการผลักดันนโยบายการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย วิกฤตครั้งนี้อาจเป็นโอกาสที่ดีในการลงมือผ่าตัดโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่และปัญหาเรื้อรังที่มีอยู่แล้วในคราวเดียวกัน เพื่อสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมกันและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้น</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/253383
ชุดผ้าเมืองล้านนา: การศึกษาพัฒนาการเครื่องแต่งกายพื้นเมือง และการใช้ภาพแทนตัวตนของคนภาคเหนือ
2022-12-01T14:09:55+07:00
ชัยวัฒน์ ปะสุนะ
chaiwatpasuna@gmail.com
<p>บทความนี้ศึกษาพัฒนาการเครื่องแต่งกายพื้นเมือง และการใช้ภาพแทนตัวตนของคนภาคเหนือ แนวคิดในการศึกษาสัมพันธ์กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้วิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์ ศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นหลักฐานชั้นปฐมภูมิและหลักฐานทุติยภูมิ วัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ประการ ได้แก่ การศึกษาเครื่องแต่งกายดั้งเดิมของชาวล้านนา การศึกษาจุดเริ่มต้นของชุดผ้าเมืองและอิทธิพลทางความคิดเมืองจากเชียงใหม่ การศึกษาพัฒนาการของชุดผ้าเมืองแต่ละช่วงสมัย และการศึกษาบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อชุดผ้าเมือง ผลการศึกษาพบว่าชุดผ้าเมืองถือกำเนิดในช่วงทศวรรษ 2500 จากชุดหม้อห้อมมาสู่ชุดผ้าเมือง โดยปรับรูปแบบจากความเห็นพ้องของสมาชิกในสังคม<br /><br />ภาคเหนือ บทความนี้จึงนำไปสู่ความเข้าใจการศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมพื้นถิ่น และพลวัตของเครื่องแต่งกายของคนในภาคเหนือ</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/260030
วิเคราะห์พรรคการเมืองไทยภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน
2022-12-13T16:50:12+07:00
อเนก สุขดี
political.psru@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พรรคการเมืองไทยภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ว่ามีเจตนารมณ์และสาระสำคัญเกี่ยวกับพรรคการเมืองอย่างไร โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารแล้วนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและทำการศึกษาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีสาระสำคัญและเจตนารมณ์ที่ดีในการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง โดยเริ่มต้นจากสมาชิกพรรคที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาททางการเมืองอย่างกว้างขวางในการดำเนินกิจกรรมกับพรรคการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสร้างประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองและให้<br /><br />เสรีภาพแก่ประชาชนในการร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามอุดมการณ์ที่มีร่วมกันภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ตาม ยังมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปัจจุบันในบางประเด็นที่ยังมีปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากมีความคลุมเครือ และไม่สอดคล้องกับบริบทหรือสภาพความเป็นจริงของสังคมโดยเฉพาะเรื่องการดำเนินการของพรรคการเมืองในการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เป็นต้น ดังนั้น รัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันพิจารณาและหาแนวทางในการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้ถูกต้องและเป็นธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ต้องการพัฒนาพรรคการเมืองไทยให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความมั่นคงและเข้มแข็งต่อไป</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/257312
THAI PUBLIC SERVICE IN RELATION OF RHODES’S GOVERNANCE APPROACH
2022-12-01T13:52:36+07:00
Panapa Chintaradeja
ppppanapa@gmail.com
<p>This study presents a discussion of the approach of governance as the term came to be used since the 1980s and the 1990s and the way to employ the concept of governance which has been adapted from Rhodes (1996 and 2017) by concerning only five separated uses of ‘governance’ and how to implement them in terms of Thai public service by including: 1) as the minimal state 2) as corporate governance 3) as the new public management 4) as good governance 5) as self-organizing network. In sum, the analysis with Rhodes’s governance approach in terms of Thai public service is founded that despite how much the world has changed, the central government still plays a crucial role in maintaining control over and managing public services in Thai public administration system.</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/262321
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทีมกีฬาตะกร้อหญิงในการแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
2022-12-01T14:36:14+07:00
กฤชญา พุ่มพิน
kritchaya.p@rumail.ru.ac.th
<p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จของทีมกีฬาตะกร้อหญิงในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยแห่งความสำเร็จของทีมกีฬาตะกร้อหญิงในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย การดำเนินการวิจัยในระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการบรรยายข้อมูลแบบอุปนัยและตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า ส่วนการวิจัยในระยะต่อมาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และหมุนแกนองค์ประกอบด้วยวิธีวาริแมกซ์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทีมกีฬาตะกร้อหญิงมีทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านศักยภาพของนักกีฬา ปัจจัยด้านนโยบายและ<br /><br /></p> <p><br />การสนับสนุน ปัจจัยด้านจิตวิทยาการกีฬา ปัจจัยด้านการบริหารและการจัดการทีม และปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางแห่งความสำเร็จในการฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬาตะกร้อหญิงแห่งประเทศไทย ซึ่งนำมาพัฒนาเป็นข้อคำถามได้ทั้งหมด 26 ข้อ และ 2) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าข้อคำถาม 26 ข้อ สามารถสกัดองค์ประกอบได้ 5 องค์ประกอบ คือ (1) องค์ประกอบปัจจัยภายใน (2) องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักกีฬา (3) องค์ประกอบสิ่งอำนวยความสะดวก (4) องค์ประกอบการบริหารและการจัดการทีม (5) องค์ประกอบปัจจัยภายนอก แต่ละองค์ประกอบมีค่า Eigenvalue มากกว่า 1 และทุกองค์ประกอบสะสมความแปรปรวนที่อธิบายได้รวมร้อยละ 72.923</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/261419
ความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองขวาง จังหวัดตราด
2022-12-13T16:40:25+07:00
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
dr.thiwat@gmail.com
อรอนงค์ พงษ์กลาง
dr.thiwat@gmail.com
มธุรส สกุลทอง
dr.thiwat@gmail.com
ปวันรัตน์ ทรงนวน
dr.thiwat@gmail.com
พัทธกฤษฏิ์สมจิตพันธโชติ อนุรุทธ์หรรษานนท์
dr.thiwat@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจสื่อการเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองขวางโดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 30 คน ในการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ครั้งนี้ใช้โปรแกรมยูนิตี้ในการจัดทำโดย แบ่งฟังก์ชัน<br /><br />การทำงานเป็น 3 เมนูหลัก ได้แก่ เมนูสแกนเมนูแนะนำ เมนูสาธิต และสื่อการเรียนรู้นี้ใช้ควบคู่กับหนังสือเออาร์ เรื่องระบบสุริยะ ตามวัตถุประสงค์ข้างต้นผู้พัฒนาได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่องระบบสุริยะ บนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เพื่อให้สื่อมีผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ข้างต้น จึงมีการนำสื่อการเรียนรู้ให้ผู้ใช้งานประเมินความพึงพอใจแล้วนำมาวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้ใน การหาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ เรื่องระบบสุริยะ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม ผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.13 ตามสมติฐานที่ผู้พัฒนา ได้ตั้งไว้ข้างต้น</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/261404
#MeToo กับการเคลื่อนไหวทางสังคมของสตรีนิยมสากล
2022-12-13T16:42:48+07:00
สมชัย แสนภูมี
somchai.saen@vru.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวทางสังคมของสตรีนิยมสากลกับการเคลื่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ผ่านการติด #MeToo โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศผ่าน #MeToo และ 2) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติการทางวาทกรรมของ #MeToo โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบวิจัยเอกสาร</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สตรีนิยมสากลเคลื่อนไหวการต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศด้วยการติด #MeToo นับล้านครั้งผ่านสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการใช้ยุทธวิธีการต่อสู้แบบใหม่ผ่านการปฏิบัติการทางวาทกรรมหรือการใช้ภาษาอันมีความสอดคล้องกับกระบวนทัศน์สตรีนิยมคลื่นลูกที่ 4 ซึ่งสามารถท้าทายบรรทัดฐานดั่งเดิมที่เน้นสังคมชายเป็นใหญ่ นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวยังสามารถปลดปล่อยการถูกกดทับจากพันธนาการของแนวคิดชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตย และสามารถรื้อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมให้มีความสมดุลระหว่างเพศมากยิ่งขึ้น #MeToo ยังเป็นภาคปฏิบัติการของวาทกรรมที่มุ่งช่วงชิงพื้นที่บนโลกเสมือน เพื่อสร้างผลสะเทือนในโลกแห่งความเป็นจริง และยังเป็นความพยายามสร้างความยุติธรรมทางสังคมในระดับโลก (Global social justice) หรือคุณค่าสากลเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นสำหรับทุกเพศ</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/261255
การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ
2022-12-13T16:54:55+07:00
บุญเพ็ญ สิทธิวงษา
boonpeng.sit@neu.ac.th
อาทิตย์ แสงเฉวก
Artit.Saengchawek@gmail.com
กนกอร บุญมี
boonpeng.sit@neu.ac.th
<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคายและบึงกาฬ จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ <br /><br /><br />กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.37) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสนับสนุน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.11 S.D.=.37) ด้านการส่งเสริม อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.08 S.D.=.17) และด้านการประสานงาน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.01 S.D.=.68) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำX<sub>4</sub> ด้านการประเมินผลX<sub>3</sub> ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425 และ .278 ตามลำดับ3) ควรมีการส่งเสริมที่พักที่ให้นักท่องเที่ยวและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถดึงดูดด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมจากประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น วิทยุ แผ่นพับ โฆษณา อย่างครบวงจร ทั้งมีแก้ไขปัญหาโดยร่วมมือกับชุมชน และให้หน่วยงานรัฐเข้ามาส่งเสริมในการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมพร้อมทั้งให้หน่วยงานท้องถิ่นส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผ่านภาคีเครือข่ายอย่างครบวงจร จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการประสานงานอย่างจริงจัง โดยให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจประสานงานถ่ายทอดความรู้กับนักท่องเที่ยวเรื่องต่างๆ โดยการสร้างความประทับใจด้วยความพึงพอใจ ความเอาใจใส่และความต้องการของนักท่องเที่ยวในการบริการประสานงานด้านต่างๆ ให้คำแนะนำจากหน่วยภาครัฐอย่างจริงจัง และภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาทในการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและจัดหาเอกสารและสิ่งของที่จําเป็นทั้งงบประมาณที่ใช้ในการดําเนินงานในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแบบมีส่วนร่วม</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/261197
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่ โคกหนองนาโมเดลในจังหวัดอุดรธานี
2022-12-13T16:57:32+07:00
บุญเพ็ญ สิทธิวงษา
boonpeng.sit@neu.ac.th
พระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร
boonpeng.sit@neu.ac.th
อาทิตย์ แสงเฉวก
Artit.Saengchawek@gmail.com
พร้อมพล สัมพันธโน
boonpeng.sit@neu.ac.th
มนตรี รอดแก้ว
boonpeng.sit@neu.ac.th
ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์
boonpeng.sit@neu.ac.th
<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคายและบึงกาฬ จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ <br /><br /><br />กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.37) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสนับสนุน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.11 S.D.=.37) ด้านการส่งเสริม อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.08 S.D.=.17) และด้านการประสานงาน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.01 S.D.=.68) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำX<sub>4</sub> ด้านการประเมินผลX<sub>3</sub> ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425 และ .278 ตามลำดับ3) ควรมีการส่งเสริมที่พักที่ให้นักท่องเที่ยวและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถดึงดูดด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมจากประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น วิทยุ แผ่นพับ โฆษณา อย่างครบวงจร ทั้งมีแก้ไขปัญหาโดยร่วมมือกับชุมชน และให้หน่วยงานรัฐเข้ามาส่งเสริมในการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมพร้อมทั้งให้หน่วยงานท้องถิ่นส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผ่านภาคีเครือข่ายอย่างครบวงจร จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการประสานงานอย่างจริงจัง โดยให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจประสานงานถ่ายทอดความรู้กับนักท่องเที่ยวเรื่องต่างๆ โดยการสร้างความประทับใจด้วยความพึงพอใจ ความเอาใจใส่และความต้องการของนักท่องเที่ยวในการบริการประสานงานด้านต่างๆ ให้คำแนะนำจากหน่วยภาครัฐอย่างจริงจัง และภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาทในการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและจัดหาเอกสารและสิ่งของที่จําเป็นทั้งงบประมาณที่ใช้ในการดําเนินงานในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแบบมีส่วนร่วม</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/261194
การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุดรธานี
2022-12-13T16:59:55+07:00
อาทิตย์ แสงเฉวก
artit.sea@mbu.ac.th
บุญเพ็ญ สิทธิวงษา
artit.sea@mbu.ac.th
สุขพัฒน์ อนนท์จารย์
artit.sea@mbu.ac.th
วีรนุช พรมจักร์
artit.sea@mbu.ac.th
วิระยา พิมพ์พันธ์
artit.sea@mbu.ac.th
<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดเก็บภาษี <br />2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารการจัดเก็บภาษี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี ผู้วิจัยใช้รูปการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปร<br /><br />แบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยคัดเลือกและจําแนกข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ จัดทําบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนําข้อมูลไปเขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.12 S.D.=.31) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ อยู่ในระดับ ปานกลาง <br />( =3.10 S.D.=.34) ด้านบริการสาธารณะ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.19) และด้านประสิทธิผล อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.00 S.D.=.69) ตามลำดับ 2) ปัจจัยการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี (โดยรวมทุกด้าน) ได้แก่ ด้านหลักอำนวยความสะดวก (X<sub>4</sub>) ด้านหลักความประหยัด (X<sub>3</sub>) ด้านหลักความเป็นธรรม (X<sub>1</sub>) ค่าสัมประสิทธิ์ (B) ของตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 3 ตัวแปรมีค่าเท่ากับ .420, .276 และ .041 ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี ต้องจัดเก็บจะต้องเป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีน้อยที่สุดและค่าใช้จ่ายในการเก็บภาษีต่ำที่สุด ตลอดจนการชำระภาษีที่เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถชำระได้หลากหลาย ควรมีความเชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน และในบางครั้งการรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากหน่วยงานอื่นหรือข้อมูลที่มีอยู่ไม่ถูกต้องจึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินภาษี แต่ก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้หากได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง <br />จากอัตราภาษีและฐานที่นำมาคำนวณภาษีในการจัดเก็บภาษีในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ประกอบกับการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่มีความแตกต่าง เนื่องจากลักษณะของทรัพย์สินในท้องถิ่นซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและในตัวเมืองเป็นพื้นที่ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นอัตราภาษีที่จัดเก็บและฐานภาษีจึงสมควรที่จะใช้อัตราที่แตกต่างกัน</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/260143
การบริหารจัดการขยะภายในแผนกห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
2022-12-13T17:07:34+07:00
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
dr.thiwat@gmail.com
กรทอง กบสกุล
dr.thiwat@gmail.com
ชาญวิทย์ อิสรลาม
dr.thiwat@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการคัดแยกและส่งกำจัดขยะติดเชื้อได้อย่างถูกวิธี 2) เพื่อแก้ไขปัญหาและจัดการขยะติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) เพื่อส่งเสริมวินัยและความรับผิดชอบต่อสังคม 4) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากขยะติดเชื้อ 5) เพื่อสร้างรายได้จากขยะรีไซเคิล เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบรายงาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการศึกษาและแก้ไขการกำจัดขยะติดเชื้อเพื่อส่งเสริมวินัยความรับผิดชอบต่อสังคม และเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากขยะ วิธีการศึกษาคือ 1) แบบบันทึกรายงานขยะติดเชื้อ 2) แบบ<br /><br /><br />รายงานปริมาณขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้ <br />มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของขยะ, การคัดแยก และการกำจัดขยะติดเชื้อแต่ละชนิด 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกรคัดแยกขยะ นำไปกำจัดและวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อของขยะติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ 3) พบว่าน้อยลง หรือ แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย 4) พบว่าโอกาสการแพร่กระจายเชื้อจากขยะติดเชื้อลดน้อยลง 5) พบว่าสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ขยะรีไซเคิลภายในแผนก</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/260047
การปรับตัวและการธำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มแนวคิดในชุมชนมุสลิมเกาะยาวน้อย
2022-12-13T17:15:50+07:00
ธนโชติ ประหยัดทรัพย์
thanachot.khok@gmail.com
อับดุลรอนิง สือแต
thanachot.khok@gmail.com
<p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวและการธำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มแนวคิดในชุมชนมุสลิมเกาะยาวน้อย ท่ามกลางบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ค้นคว้าจากเอกสารและภาคสนามโดยใช้เทคนิค วิธีการวิจัยทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาติพันธุ์วรรณาเป็นระยะเวลา 6 เดือน ใช้กระบวนการการเก็บข้อมูล 4 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ต่อมาใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีส่วนให้เกิดการปรับตัวและการธำรงอัตลักษณ์ในเกาะยาวน้อยประกอบด้วย 4 ช่วงเวลา ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวคิดทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มศูฟียฺ กลุ่มญะมะอะฮฺ ตับลีฆ และกลุ่มสะละฟียฺ ทั้งนี้กลุ่มศูฟียฺถือ<br /><br /><br />เป็นกลุ่มที่ถูกยอมรับมากที่สุดในชุมชนมุสลิมเกาะยาวน้อย การปรับตัวหลังจากอิสมาแอล โรมินทร์ หรือปะหลางแอเสียชีวิตคือการที่มุ่งเน้นในการจัดกิจกรรมทางศาสนาที่ปะหลางแอสั่งเสียไว้ และมีการปรับตัวในเรื่องหนังสือที่ใช้สอน โดยใช้หนังสืออาหรับเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ใช้หนังสือมลายูยาวีร่วมเหมือนสมัยปะหลางแอยังมีชีวิตอยู่ ส่วนกลุ่มญะมะอะฮฺ ตับลีฆ เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่ ส่งผลให้การดำเนินงานต่าง ๆ ต้องจำกัดอยู่ในบริเวณมัสยิดบ้านท่าเขา และเป็นเรื่องยากที่กลุ่มญะมะอะฮฺ ตับลีฆจะธำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มในพื้นที่ และในส่วนของกลุ่มสะละฟียฺ ภายหลังจากก่อตั้งสถานศึกษา และได้มีการปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยและตั้งอยู่บนฐานของการมีศีลธรรมที่ดีงาม การปรับตัวดังกล่าวไม่เพียงแต่ยกระดับกลุ่มสะละฟียฺให้เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมกับชุมชนเท่านั้น แต่ยังป้องกันความขัดแย้งที่อาจจะเกิดในประเด็นที่มีการยึดทัศนะนักวิชาการที่แตกต่างกัน</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/258468
การพัฒนาสื่อดิจิทัลและการพัฒนาโลโก้ข้าวไรซ์เบอรี่ วิสาหกิจชุมชนโครงการข้าวไรซ์เบอรี่จังหวัดนครปฐม ตำบลห้วยพระ จังหวัดนครปฐม
2022-12-01T13:22:49+07:00
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
dr.thiwat@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโครงการข้าวไรซ์เบอรี่ จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางด้านการพัฒนาสื่อการตลาดดิจิทัลและด้านพัฒนา โลโก้ทาง Facebookของผู้บริโภค (Gen Zและ Babyboom ) 3) เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ทางช่องทางออนไลน์และเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ่านสื่อดิจิทัลแอพพลิเคชั่นรูปแบบการนำเสนอผ่าน Facebook (Gen Z และ Baby Boom) เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริโภคที่พบสื่อประชาสัมพันธ์ ข้าวไรซ์เบอรี่และน้ำมันรำข้าวที่มาจากการคำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง 300 ตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสารและวรรณกรรม มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) พบว่าผลิตภัณฑ์มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพที่ได้รับแต่ขาดประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) พบว่าGen Z พึงพอใจการพัฒนาสื่อการตลาดดิจิทัลทาง Facebook ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.50 และรวมมากที่สุดเป็นระดับแรกของด้านการจัดทำสื่อข้อมูลข่าวสารเนื้อหาต่างๆ มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.56 และ Gen B พึงพอใจการพัฒนาสื่อการตลาดดิจิทัลทาง Facebook ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.74 และรวมมากที่สุดเป็นระดับแรกของ ด้านการจัดทำสื่อ คือ QR CORDมีค่าเฉลี่ย 4.85 3) พบว่า (Gen Z) มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด เรื่องแอพพลิเคชั่น Facebook ในด้านรูปแบบการนำเสนอวีดีโอ และการเข้าถึงPage Facebook เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อกับผู้ใช้ PageFacebook และพบว่า (Gen B : Generation BabyBoom) มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด เรื่องแอพพลิเคชั่น Facebook ในด้านรูปแบบการนำเสนอภาพอินโฟกราฟฟิก และการสแกน QR CORD ที่สามารถสะดวกต่อการสั่งซื้อสินค้าสะดวกมากยิ่งขึ้น</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/248581
การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 สำหรับธุรกิจให้บริการที่พักแรม ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษตาก
2021-07-19T18:00:08+07:00
ธนัญญา วันตา
jeab151127@gmail.com
วรรณิกา สินธรสวัสดิ์
jeab151127@gmail.com
นงลักษณ์ จิ๋วจู
jeab151127@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สำหรับธุรกิจให้บริการที่พักแรมในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษตาก กลุ่มตัวอย่าง คือ ธุรกิจให้บริการที่พักแรมในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษตาก จำนวน 102 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสรุปผลเชิงเหตุเชิงผลในรูปแบบบรรยายและการทดสอบสมมติฐานทางเดียว โดยใช้สถิติ Binomial Test</p> <p> </p> <p> </p> <p> จากการศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของธุรกิจให้บริการที่พักแรม จากสถานการณ์การเกิดโรคระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ภาพรวมผลกระทบทางเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 ด้าน โดย ภาพรวมด้านรายได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.28 โดย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากประเภทและขนาดของธุรกิจไม่เหมือนกัน จึงส่งผลให้รายได้ของธุรกิจจากสถานการณ์การเกิดโรคระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้น บางธุรกิจมีรายได้ลดลงจากเดิมหรือไม่มีรายได้ในช่วงการเกิดโรคระบาด COVID-19 ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจในด้านค่าใช้จ่าย มีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.98 เรื่องที่มีผลกระทบมากที่สุดคือ การจ่ายค่าจ้างแรงงานพนักงาน รองลงมาคือการจ่ายค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาความปลอดภัย การจ่ายหนี้สินและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากเดิม</p>
2022-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย