วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU
<p> คณะสังคมศาสตร์ ได้จัดทำวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (Journal of Social Sciences Mahamakut Buddhist University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนนิสิต นักศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย และอื่น ๆ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการ และการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์แก่สถาบัน คณะ และสาธารณะต่อไป</p> <p> ทั้งนี้ วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผ่านการรับทราบจากสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 12/2560 ระเบียบวาระที่ 4 (4.4) เรื่อง ที่เสนอเพื่อทราบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2560</p>
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
th-TH
วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2587-0033
-
การส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/273059
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมสำหรับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ครบทุกมิติ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สามารถขับเคลื่อนโลกสมัยใหม่และผลักดันให้เกิดการพลิกโฉมประเทศ สร้างสังคมไทยให้ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ การส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียนให้เกิดความยั่งยืนจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลทำให้การบริหารสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีแนวทาง 3 ขั้นตอน หรือ 3Ps Model ดังนี้ 1) การเตรียมการ (Pre-Pare) คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การตัดสินใจ การสร้างเป้าหมายร่วมกัน 2) การดำเนินการ (Process) คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่เน้น 2.1) การส่งเสริมบทบาท ของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนในด้านพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู และ 2.2) การสนับสนุนภาคีเครือข่ายและสังคมให้มีส่วนร่วมจัดสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียน และ 3) การประเมินผล (Performance) คือ <strong><br /><br /></strong>การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงานว่าบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาต่อไป ทั้งนี้จะนำประโยชน์ไปสู่การพัฒนาคุณธรรมให้กับผู้เรียน อีกทั้งสถานศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาการบริหารสถานศึกษาต่อไป</p>
ณัฐกฤตา บุตรแพ
จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์
ละมุล รอดขวัญ
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
153
172
-
องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษายุคเปลี่ยนผ่านดิจิทัล
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/272902
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษายุคเปลี่ยนผ่านดิจิทัล ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจหรือภารกิจของสถานศึกษาทางด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารงานทั่วไป ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหลัก หรือให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร เพื่อให้การบริหารสถานศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน คือ 1) การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน คือ 1.1) การยอมรับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง 1.2) การเข้าถึงเทคโนโลยี 1.3) การเสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 1.4) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูและการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน และ 2) การบริหารการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 6 ด้าน คือ 2.1) การกำหนดนโยบาย 2.2) การเสริมสร้างพัฒนาภาวะผู้นำ 2.3) การสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง 2.4) การส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2.5) การจัดการความรู้ในสถานศึกษา และ 2.6) การทำงานเป็นเครือข่าย นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษาควรขับเคลื่อนการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในอนาคต โดยเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ <strong><br /><br /></strong>ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาในยุคเปลี่ยนผ่านดิจิทัลมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการในอนาคตอย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งควรบริหารเพื่อส่งเสริม สนับสนุน การจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากการรับรู้ และร่วมมือของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาทั้งหมด เพื่อสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความร่วมมือและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด</p>
ศศิธร บุตรเมือง
เฉลิมพล มีชัย
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
173
193
-
ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/268233
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสำรวจความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำนวน 284 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong><strong>: </strong>1. ระดับความคิดเห็นความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวม อยู่ในระดับสูง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านเคารพกติกา รองลงมาคือ ด้านเคารพสิทธิผู้อื่น ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านรับผิดชอบต่อสังคม 2. ระดับความคิดเห็นความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำแนกตามสาขาที่เรียน 2.1 ด้านเคารพกติกา โดยรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาโท) รองลงมาคือ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาโท) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาเอก) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ 2.2 ด้านเคารพสิทธิผู้อื่น โดยรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาโท) รองลงมาคือ สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาเอก) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ (ปริญญาโท) และสาขาวิชารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ 2.3 ด้านรับผิดชอบต่อสังคม โดยรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาโท) รองลงมาคือ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาโท) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ (ปริญญาโท) และสาขาวิชารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ <br />3. แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด สรุปได้ดังนี้ ด้านการเคารพกติกา พบว่า ควรส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ทุกคนต้องยอมรับผลของการละเมิดกติกา เคารพกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายจะทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้ ด้านการเคารพสิทธิของผู้อื่น พบว่า บุคคลทุกคนควรยอมรับและปฏิบัติตามมติของคนส่วนใหญ่หรือเสียงข้างมากในสังคม แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยก็ตาม ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า การแก้ปัญหาใดๆ ของนักศึกษาไม่ควรเรียกร้องผู้อื่นมาแก้ปัญหาให้ การแก้ปัญหาสังคมที่ดีควรเริ่มจากตัวนักศึกษาเอง โดยการไม่เป็นฝ่ายเริ่มก่อปัญหา การกระทำใดๆ ของนักศึกษาเอง ย่อมส่งผลดีหรือไม่ดีต่อสังคมและส่วนรวมได้ในที่สุด</p>
พระครูปลัด สุริยะ ชวนปญฺโญ (ศรีสุระ)
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
1
15
-
แบบจำลองการพัฒนาตลาดการค้าปลีกริมน้ำ เพื่อการพึ่งพาตนเองของพื้นที่ริมคลองลาดพร้าวโดยชุมชนมีส่วนร่วม
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/271819
<p>ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่า ชุมชนต่างๆ นั้นมีศักยภาพทางการผลิตสินค้าตลอดจนบริการ อย่างไรก็ตามพบว่า การดำเนินการดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน อันเนื่องมาจากปัญหาด้านการจัดจำหน่าย ทั้งนี้ หนึ่งในหลายวิธีที่จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้คือ การจัดตั้งตลาดโดยการรวมตัวกันของสมาชิกในชุมชนที่มีศักยภาพในการผลิต เพื่อทำให้เกิดเป็นสถานที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตามในการจัดตั้งตลาดได้นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐที่ดูแลตลาด เช่น เทศบาล สำนักงานเขต เป็นต้น โดยข้อกำหนดกล่าวถึง ลักษณะแผงค้า ทางเท้า ที่จอดรถ ห้องน้ำ บริเวณทิ้งสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องกับชัยภูมิที่ตั้ง ศักยภาพชุมชนและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ งานวิจัยเรื่องการสำรวจทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาตลาดค้าปลีกริมน้ำของชุมชนริมคลองลาดพร้าว พบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการจัดตั้งตลาดได้ จึงนำมาสู่งานวิจัยเพื่อพัฒนาแบบจำลองการพัฒนาตลาดการค้าปลีกริมน้ำเพื่อการพึ่งพาตนเองของพื้นที่ริมคลองลาดพร้าวโดยชุมชนมีส่วนร่วมกรุงเทพมหานคร โดยแบบจำลองดังกล่าวมีการพัฒนามาจากการศึกษาศักยภาพชุมชน และ<br /><br />ความต้องการผู้บริโภคเป็นฐาน ซึ่งมีข้อค้นพบว่าปัจจัยพื้นฐานในการจัดตั้งตลาดควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 11 ประการ ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการสร้างแบบจำลองตามองค์ประกอบดังกล่าวที่สอดรับกับข้อบังคับการจัดตั้งตลาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการนำไปใช้ในการนำเสนอต่อหน่วยงานรัฐเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป และยังใช้เป็นแบบจำลองต้นแบบในการพัฒนาตลาดชุมชนและตลาดค้าปลีกริมน้ำอื่น ๆ ได้อีกด้วย </p>
ธมลวรรณ ธีระบัญชร
มณฑล จันทร์แจ่มใส
สุรางค์รัตน์ แสงสี
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
16
34
-
มาตรการการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันอาชญากรรม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/272176
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันอาชญากรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 <br />2) เพื่อศึกษาทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการป้องกันอาชญากรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) เพื่อศึกษามาตรการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันอาชญากรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วย จากเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง ชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 118 นาย ผู้บังคับบัญชาระดับผู้กำกับการ – รองผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 นาย และประชาชนในชุมชนท่าเตียน โดยเป็นการสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันอาชญากรรมแต่ละสายงานมีความแตกต่างกันออกไปจึงมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อแตกต่างกัน โดยเฉพาะสายงานป้องกันปราบปราม สายงานสอบสวน และสายงานสืบสวน 2) ทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการป้องกันอาชญากรรม กลุ่มตัวอย่าง มีระดับความคิดเห็นสายงานป้องกันปราบปราบ ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 4.16 สายงานอำนวยการ ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 4.06 สายงานจราจร ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 4.06 สายงานสอบสวน ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 4.24 และสายงานสืบสวน ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 4.14 <br />3) มาตรการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันอาชญากรรม กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นประเด็นด้านการประสานงาน ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 3.90 ด้านการบังคับบัญชา ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 3.81 ด้านการสื่อสาร ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 3.93 และด้านอุปกรณ์ ระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 3.94</p> <p> </p>
พรรณนิภา น้อยพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
35
53
-
อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และผลรวมที่มีต่อการปฏิบัติตนตามประมวล จริยธรรมตำรวจ
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/270454
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพทั่วไปของตัวแปรซื่อสัตย์สุจริต กล้ายืนหยัดสิ่งถูกต้อง มุ่งผลสัมฤทธิ์ ความเที่ยงธรรม และจริยธรรมตำรวจ และ 2. อิทธิพลของซื่อสัตย์สุจริต กล้ายืนหยัดสิ่งถูกต้อง มุ่งผลสัมฤทธิ์ ความเที่ยงธรรมที่มีต่อจริยธรรมตำรวจ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชนที่ใช้บริการบนสถานีตำรวจนครบาลจำนวน 180 คน ใช้การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ทางตรง ทางอ้อมและผลรวม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการบันทึกสนามกับประชาชนที่ใช้บริการบนสถานีตำรวจนครบาลจำนวน 9 ราย ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 พบว่าประชาชนมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 56.1) เห็นว่าตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยแสดงออกถึงการมีจริยธรรมตำรวจในระดับสูง ส่วนผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 พบว่า ตัวแปรซื่อสัตย์สุจริตมีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม และผลรวมมากที่สุดต่อการปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ</p>
พิชศาล พันธุ์วัฒนา
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
54
72
-
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/272741
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อหาแนวการยกร่างโปรแกรม และตรวจสอบยืนยันโปรแกรมด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ซึ่งมี 4 Module ประกอบด้วย ทรัพยากรดิจิทัลเพื่อการศึกษา การเรียนการสอนบูรณาการดิจิทัล การเรียนรู้และประยุกต์ใช้ดิจิทัล และ การสื่อสารและมีส่วนร่วมอย่างมือ ผลการประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น 5 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก </p>
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
73
89
-
บทบาทและคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ ในระบอบประชาธิปไตย
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/271898
<p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บทบาทนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (2) ประเมินคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย และ (3) เสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทและคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในระดับบริหารและปฏิบัติงาน นักการเมือง นักวิชาการ และคนรุ่นใหม่ที่มีช่วงอายุอยู่ใน Gen-Z จำนวน 24 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความแบบพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตยพบว่า การเมืองในสังคมไทยกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านสู่การเมืองหน้าใหม่ โดยกลุ่มคน Gen Z กำลังเติบโตเป็นกลุ่มฐานเสียงสำคัญในอนาคต คนรุ่นใหม่จึงอยากเห็นนักการเมืองไทยที่เลือกมานั้นยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย นำเสนอนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ทั้งการพัฒนาโครงการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้าการลงทุน ควบคู่ไปกับการสร้างสังคมที่ยุติธรรมแลเท่าเทียมกัน (2) คุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึง<br /><br />ประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ต้องมีความรู้ความสามารถ ด้านภาษา เทคโนโลยี มีทักษะการสื่อสารที่ดี บุคลิกภาพที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้าถึงง่าย ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในสัจจะวาจาที่ให้ไว้กับประชาชน และ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทและคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ ประชาชนจะใช้ภาพลักษณ์ทางการเมืองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกนักการเมือง นักการเมืองยุคใหม่จึงต้องดูแลทุกข์สุขให้ประชาชน และมีทัศนคติที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและมีความทันสมัยต่อสภาวการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม </p>
นันทพงศ์ ตันติยวุฒิ
กมลพร กัลยาณมิตร
สถิตย์ นิยมญาติ
ชูชีพ เบียดนอก
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
90
114
-
การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ กรุงเทพมหานคร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/271897
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ และ (3) เสนอแนวทางการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ จำนวน 21 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการสรุปความแบบพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตโซนกลุ่มกรุงเทพเหนือ กรุงเทพมหานครนั้น ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น จึงมีการจัดโครงการส่งเสริมอาชีพฯ ตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยมีการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาทักษะฝีมือผู้สูงอายุทั้งระยะสั้นและระยะยาว ได้ใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดัน<br /><br />การจ้างงานผู้สูงอายุให้มากขึ้น มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ สร้างแรงกระตุ้นแก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนให้มีการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ตลอดจนความช่วยเหลือการทำตลาดออนไลน์ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ 2) ปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ พบว่า จากสภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่เสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่งผลต่อทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีในทิศทางลบ ทำให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับโอกาสในการจ้างงาน ในขณะที่ผู้สูงอายุเองก็ปลีกตัวออกห่างจากสังคม ไม่ยอมกลับเข้าสู่ระบบการทำงาน และ <br />3) แนวทางการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ ได้แก่ ควรเริ่มจากการเสริมสร้างความแข็งแรงด้านสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อห่างไกลโรค เพิ่มมาตรการในการสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการทำงาน</p>
พิรรรยาย์ พูลเกิด
กมลพร กัลยาณมิตร
สถิตย์ นิยมญาติ
ชูชีพ เบียดนอก
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
115
139
-
ปัญหา และ อุปสรรค ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการต่อปัญหาการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทหุ่นจำลองจากภาพยนตร์การ์ตูน : กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/view/271126
<p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทหุ่นจำลองจากภาพยนตร์การ์ตูน รวมไปถึงปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการต่อปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทหุ่นจำลองจากภาพยนตร์การ์ตูนและหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทหุ่นจำลองจากภาพยนตร์การ์ตูน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการได้แก่ สัมภาษณ์เชิงลึกและ วิจัยเชิงเอกสาร เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทหุ่นจำลองจากภาพยนตร์การ์ตูนคือการขายบนอินเตอร์เน็ตและร้านค้า ในส่วนปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการต่อการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ประเภทหุ่นจำลองจากภาพยนตร์การ์ตูนคืออุปสรรคที่มาจากตัวกฎหมายลิขสิทธิ์กล่าวคือเป็นความผิดส่วนตัวต้องมีการแจ้งความร้องทุกข์ก่อนจะดำเนินคดีตามกฎหมายได้และกฎหมายลิขสิทธิ์มีความล้าสมัย รวมไปถึงการที่กฎหมายลิขสิทธิ์มีเนื้อหาซับซ้อนยากแก่การเข้าใจจึงทำให้หลายๆคนไม่เข้ากฎหมายลิขสิทธิ์จึงลงมือขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ อีกทั้งยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพราะต้นทุนต่ำกำไรเยอะและที่สำคัญขาดการบังคับใช้กฎหมาย โดยแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มีดังนี้ 1.แก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ให้เป็นความผิดต่อรัฐ <br />2.โรงเรียนปลูกฝังในเรื่องของการเคารพสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อให้เด็กและเยาวชนโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีรู้จักควบคุมตนเองจะได้ไม่ขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง 3.การที่ประชาชนให้ความร่วมมือกับตำรวจในการประสานงานแจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อพบเห็นการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นไปตามหลักทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ตำรวจ 4. บังคับใช้กฎหมายให้สาสมกับความผิด</p>
ลภัสวัฒน์ วรทัพพ์ศิริ
ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรม
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2024-06-30
2024-06-30
7 1
140
152