https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/issue/feed วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน 2023-12-04T00:00:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ ศรีแสง [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนเป็นวารสารการท่องเที่ยวชั้นนำที่เพิ่มพูนความเข้าใจที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเน้นตีพิมพ์งานวิจัยเชิงแนวคิดทฤษฎี หรือแนวคิดเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยกระบวนการวิจัยที่เข้มข้นในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และ/หรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหรือที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงบทความวิชาการ หรือบทวิจารณ์หนังสือทางด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหรือในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สำหรับนักวิจัย นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับแรก มกราคม – มิถุนายน และฉบับสอง กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN 2730-2911 (Print) </strong></p> <p><strong>ISSN 2730-3322 (Online)</strong></p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/263585 การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านพองหนีบ (ชทพ.) ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 2023-08-10T06:13:55+07:00 ไทยโรจน์ พวงมณี [email protected] ณศิริ ศิริพริมา [email protected] คชสีห์ เจริญสุข [email protected] <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการท่องเที่ยวบ้านพองหนีบ ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านพองหนีบ ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เก็บข้อมูลมีดังนี้ กลุ่มการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น สำนักงานองค์กรพัฒนาพิเศษเพื่อการท่องเที่ยว (อพท) ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สื่อมวลชน นักวิชาการท่องเที่ยว สมาคมการท่องเที่ยว เครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวจำนวน 31 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การประชุมและแบบประเมินผลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือเชิงคุณภาพตรวจสอบหาค่าความเหมาะสมของประเด็นคำถาม ส่วนแบบประเมินหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) บ้านพองหนีบมีการจัดการท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ระยะแรกเริ่มต้นด้วยตนเอง ต่อมามีภาครัฐและสถาบันการศึกษาเข้าไปสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยว จุดแข็งของหมู่บ้านคือการอยู่ตามแนวอุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ป่าและการพัฒนาโฮมสเตย์ กลุ่มต้องการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของกลุ่ม และ 2) ผลการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านพองหนีบพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้านองค์กรชุมชน และด้านการจัดการ</p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/265120 รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียง บ้านวังหิน ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2023-08-07T15:12:03+07:00 วิรัตน์ ทองแก้ว [email protected] กมลทิพย์ จันทร์หอม [email protected] นิภา ลายไทย [email protected] รัศมีธรรม หมายประสงค์พุฒิ [email protected] อรวรรณ ภูจอมเงิน [email protected] จารุมนต์ เกิดพิพัฒน์ [email protected] นินท์รพัทธ พรหมฤทธิ์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถี พอเพียงบ้านวังหิน ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน จำนวน 20 คน มีวิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบลูกโซ่ และแบบเจาะจง ใช้เครื่องมือวิจัยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสำรวจเชิงพื้นที่ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจเชิงพื้นที่ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 2) ศึกษาและเสนอแนะรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน จำนวน 12 คน มีวิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ใช้เครื่องมือวิจัย คือข้อคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มย่อย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่าศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน มีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือการทำนาไร่ และนาปรัง เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงผึ้ง การเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงปลาดุก ข้าวยำคำเดียว ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าและปลาดุกแดดเดียว เชื้อราไตรโคเดอมา เครื่องผสมดินปลูก และมีรูปแบบกิจกรรม ได้แก่ ฐานเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และฐานปุ๋ยมูลไส้เดือน กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหินที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมรากดิน กิจกรรมดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ กิจกรรมสลัดโรลร้า และ กิจกรรม Walk Rally วิถีเกษตร</p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/261380 รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสวนปราง 2023-08-09T13:09:36+07:00 สิญาธร นาคพิน [email protected] ยกสมน เจ๊ะเฮง [email protected] สิทธิพรรณ ชิตินทร [email protected] ธนาวิทย์ บัวฝ้าย [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชนบ้านสวนปราง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น ชาวบ้าน และกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน ใช้การอภิปรายกลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ารูปการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชนบ้านสวนปราง ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของชุมชนทั้งในแง่ขององค์ประกอบการท่องเที่ยว (4A) และการจัดการการท่องเที่ยว (2M2S) 2) การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย 3) การพัฒนาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การพัฒนาที่พักแรม การพัฒนาอาหารพื้นถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย และ 4) การปฏิบัติและประเมินผล ผลการวิจัยจะเกิดประโยชน์ต่อ“ท่องเที่ยวโดยชุมชน” ในการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวให้แตกต่างอย่างสร้างสรรค์และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวหรือผู้เยี่ยมเยือนได้ต่อไป</p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/266231 การเชื่อมโยงการขนส่งนักท่องเที่ยวระยะทางสุดท้ายระหว่าง สนามบินนานาชาติภูเก็ตและโรงแรมในภูเก็ต 2023-08-07T15:42:05+07:00 ปัญญา สำราญหันต์ [email protected] บูรพา ดำรงวัฒนโยธิน [email protected] สุพจน์ รุ่งเจริญ [email protected] <p><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">การขนส่งในระยะทางสุดท้ายสำหรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินนานาชาติภูเก็ตไปยังโรงแรม</span></span> <span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">มีความสำคัญต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0"> 1) </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ศึกษาแนวทางในการเชื่อมต่อระยะสุดท้ายระหว่างสนามบินนานาชาติภูเก็ตไปยังโรงแรม </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">2) </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้รถร่วมกันในการเดินทางด้วยเงื่อนไขด้านระยะทาง เวลา และค่าใช้จ่าย และ</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0"> 3) </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">เสนอแนวคิดการนำหลักการเดินทางด้วยรถร่วมกันเพื่อปรับปรุงบริการการเชื่อมต่อระยะสุดท้าย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ </span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">โดยใช้ข้อมูล</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ตำแหน่งที่ตั้งแบบละติจูด (</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">Latitude </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">และลองจิจูด</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"> <span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">(</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">Longitude) </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ราคาค่าที่พัก และยอดการรีวิวของโรงแรม ที่พัก ที่เก็บรวบรวมจากเว็บไซต์จองที่พัก และดึงข้อมูลแบบออนไลน์ด้วยชุดคำสั่ง </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">Instant Data Scraper</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0"> เพื่อทำการวิเคราะห์</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">แก้ปัญหาการจัดเส้นทางขนส่งโดยวิธีแบบประหยัด</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0"> ด้วย</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">โปรแกรม </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">VRP Spreadsheet Solver </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ผลการวิจัย</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">พบ</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ว่า</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"> <span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">1) </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">การจัดการ</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">แบ่งรถตู้โดยสาร</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ควรแบ่ง</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ออกเป็นสองคันต่อรอบเพื่อปฏิบัติตามข้อจำกัดด้านเวลาในการขับขี่</span></span> <span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">และควบคุมระยะเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อความพึงพอใจและปลอดภัย </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">2) </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ผลจากการจัดเส้นทางด้วยหลักการแบบประหยัดตามเงื่อนไขด้านระยะทาง และเวลาที่กำหนด ช่วยลดระยะเดินทางรวมได้ร้อยละ 77.80 ซึ่งแสดงถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพที่สำคัญ </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">3) </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ผลด้าน</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ต้นทุนขนส่ง การโดยสารรถร่วมกันนั้น</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">มีความ</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">คุ้มค่ากว่าเมื่อ</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">เปรียบ</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">เทียบกับการเดินทางคนเดียว โดยกรณีที่นักท่องเที่ยวแยกกันเดินทาง 10 ราย จะมีค่าขนส่งเฉลี่ย 4,</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">376.41</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0"> บาทต่อรอบการเดินทาง หากใช้รถร่วมกัน 1 คัน มีต้นทุนขนส่งเฉลี่ย 613.43 บาทต่อรอบการเดินทาง และหากใช้รถร่วมเดินทาง 2 คัน จะมีต้นทุนเฉลี่ย </span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="EN-US" xml:lang="EN-US" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">1,060.72</span></span><span class="TextRun SCXW8757856 BCX0" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="auto"><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0"> บาทต่อรอบการเดินทาง ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">เพื่อ</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">เพิ่มประสิทธิภาพการบริการขนส่งในระยะทางสุดท้ายสำหรับนักท่องเที่ยวจากศูนย์กลางสถานีขนส่งไปยังโรงแรมได้</span><span class="NormalTextRun SCXW8757856 BCX0">ต่อไป</span></span><span class="EOP SCXW8757856 BCX0" data-ccp-props="{&quot;201341983&quot;:0,&quot;335551550&quot;:13,&quot;335551620&quot;:13,&quot;335559731&quot;:539,&quot;335559739&quot;:0,&quot;335559740&quot;:240}"> </span></p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/264740 อำนาจละมุน (Soft Power) ที่สะท้อนในธุรกิจการประกวดนางงาม : การใช้มุมมองทางสังคมและธุรกิจวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงอำนาจละมุน 2023-08-07T16:36:55+07:00 พรชณิตว์ แก้วเนตร [email protected] <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และอิทธิพลของพลังอำนาจละมุนต่อสังคมและเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ผ่านการศึกษาข้อมูลจากธุรกิจการประกวดนางงาม โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง (Interview) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวนรวม 20 คน ได้แก่ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม บุคลากรในวงการบันเทิง ผู้กำหนดนโยบายด้าน Soft Power และนักวิชาการ วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) จากผลการศึกษาพบว่าธุรกิจการประกวดนางงามได้สะท้อนลักษณะของอำนาจหนึ่งที่ผู้คนจำนวนมากไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่า “อำนาจละมุน (Soft Power)” ผ่านการสื่อสารในรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงและชักจูงกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การโน้มน้าว เชิญชวน เสริมสร้างทัศนคติ สร้างค่านิยมใหม่ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบุคคลและสังคม ผ่านผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจความงาม ทั้งนี้ Soft Power มีบทบาทสำคัญมากขึ้นจากการที่ธุรกิจการประกวดนางงามได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดของการประกวดเพื่อความงามเป็นการค้นหาผู้หญิงที่มีความสวยและความฉลาด มีแนวคิดในเชิงปฏิรูปสังคมและพัฒนาตนเอง ผู้ที่ชื่นชอบการประกวดนางงามอาจไม่รู้ตัวและรับรู้ได้ถึงอำนาจนี้ว่ามีผลกระทบต่อตนเองและสังคมอย่างไร นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่สามารถเห็นได้ชัดในเชิงปริมาณ โดยธุรกิจการประกวดนางงาม สามารถใช้ Soft Power เพื่อสร้างธุรกิจต่อเนื่องและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก</p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/263870 การท่องเที่ยวแกลมปิ้ง : มิติใหม่ของการพัฒนาการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 2023-08-07T17:44:55+07:00 กุลแก้ว คล้ายแก้ว [email protected] คณิต เขียววิชัย [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ ที่มา นิยาม ความหมายและแนวคิดของการท่องเที่ยวแกลมปิ้งสู่มิติใหม่ของการพัฒนาการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 ด้วยองค์ความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่อง สมดุล ปลอดภัยและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) การท่องเที่ยวแกลมปิ้ง เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต คำว่า แกลมปิ้ง มาจากคำว่า Glamorous หมายถึง ความหรูหรา ผสมกับคำว่า Camping ที่หมายถึง ที่พักแบบกางเต็นท์ ทว่าเมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้คำใหม่ที่เรียกว่า “Glamping” และอ่านได้ว่า “แกลมปิ้ง” หมายถึง ที่พักเต็นท์กระโจม ที่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา ภายในมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้บริการ เมื่อนำมาผสมกับคำว่า การท่องเที่ยว (Tourism) ทำให้มีคำใหม่เกิดขึ้นที่ใช้นิยมกันอย่างแพร่หลายและใช้ว่า การท่องเที่ยวแกลมปิ้ง (Glamping Tourism or Glamping in Tourism) ซึ่งมีลักษณะมุ่งเน้นให้บริการที่พักแรมโดยอยู่บนพื้นฐานการจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกลุ่มทุกวัย ร่วมกับการใช้ฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว ปัจจุบันแกลมปิ้งมีหลากหลายประเภทให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้บริการ ในช่วงแรกแกลมปิ้งเริ่มต้นขึ้น เมื่อประมาณ ค.ศ.1100 ถูกใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราวของชาวมองโกล ซึ่งสามารถถอดและประกอบได้ เคลื่อนย้ายไปมาได้อย่างสะดวก ต่อมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่พักแรมชั่วคราวในสงคราม เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองทางการทูตและการเมือง เป็นที่พักแรมสำหรับกิจกรรมสันทนาการล่าสัตว์ป่า รวมถึงเป็นที่พักแรมชั่วคราวในการเดินทางของกลุ่มชาวมุสลิมอิหร่านและชาวมุสลิมออตโตมัน และในท้ายที่สุดได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบในทวีปแอฟริกา แกลมปิ้งไม่เพียงแต่เป็นที่พักแรมเท่านั้นแต่ยังเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่สะท้อนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนทัศน์ใหม่ในพัฒนาการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้เป็นที่พักแนวใหม่สู่สายตานักท่องเที่ยวจึงทำให้แกลมปิ้งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและแพร่หลายไปทั่วโลก</p> <p> </p> 2023-12-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน