วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD
<p>วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนเป็นวารสารการท่องเที่ยวชั้นนำที่เพิ่มพูนความเข้าใจที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเน้นตีพิมพ์งานวิจัยเชิงแนวคิดทฤษฎี หรือแนวคิดเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยกระบวนการวิจัยที่เข้มข้นในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และ/หรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหรือที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงบทความวิชาการ หรือบทวิจารณ์หนังสือทางด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหรือในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สำหรับนักวิจัย นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับแรก มกราคม – มิถุนายน และฉบับสอง กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN 2730-2911 (Print) </strong></p> <p><strong>ISSN 2730-3322 (Online)</strong></p>โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตth-THวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน2730-2911<p>ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</p>Digital Marketing for Sports Tourism in Suphanburi Province
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/270825
<p>The study dives into the dynamics of digital marketing for sports tourism in Thailand's Suphanburi Province, with the goal of analyzing the environment and contextual elements. By combining qualitative and quantitative approaches, the study assesses both the drivers and challenges of digital marketing in this domain. Insights from in-depth interviews with 20 stakeholders, ranging from policymakers to practitioners, and survey responses from 400 tourists contribute to the qualitative and quantitative data sets, respectively. Content analysis reveals an increasing vibrancy in Suphanburi's sports tourist marketing, which draws on the city's rich tapestry of cultural and gastronomic diversity. The data creates a picture of travelers who prefer digital channels for travel information, indicating a propensity for direct digital engagement via websites, social media influencers, and mobile marketing. A six-fold digital marketing strategy emerges, advocating for fostering a digital mindset among stakeholders, creating holistic customer journeys, identifying the unique demands of sports tourists, making astute media channel selection, implementing strategic content distribution, and conducting rigorous outcome analysis using digital analytics tools.</p>Pornchanit Kaew-nate
Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-262024-05-2661123ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชน กรณีศึกษาตลาดต้องชม
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/267527
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชน กรณีศึกษาตลาดต้องชม ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผู้ประกอบการในตลาดต้องชมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการค้าจำนวน 400 คน คำนวณจากสูตรแบบไม่ทราบประชากรที่แน่นอน และเพิ่มอีกร้อยละ 0.13 ทำการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็นแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ 1) สุ่มหยิบรายชื่อจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค 2) สุ่มหยิบรายชื่อตลาดต้องชมของจังหวัดที่ถูกสุ่ม 3) สุ่มแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามให้แก่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 5 แห่งจนครบถ้วนแล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ตัวแปรการสื่อสารการตลาดซึ่งอยู่ในกระบวนการสื่อสารตามแบบจำลองของ Berlo ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ส่งสาร ด้านข้อความ ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านผู้รับสาร ส่งอิทธิพลต่อความยั่งยืนของตลาดต้องชมในอนาคต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความยั่งยืนของตลาดต้องชมได้ ร้อยละ 69 (R<sup>2</sup> =0.69) เมื่อพิจารณาขนาดของอิทธิพลจากค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยปรับมาตรฐาน (Beta) พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดมีอิทธิพลต่อความยั่งยืน มากที่สุด คือ ด้านผู้รับสาร (Beta=0.38) รองลงมาได้แก่ ด้านช่องทางการสื่อสาร (Beta=0.21) ด้านผู้ส่งสาร (Beta=0.20) และด้านข้อความ (Beta=0.19) ตามลำดับ</p>เมตตา ปราบสุธามานา ปัจฉิมนันท์
Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-262024-05-26612435ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/266459
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยว จังหวัดน่าน จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกำหนดตัวอย่างโดยอาศัยความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t- test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เปรียบเทียบค่าความแตกต่างรายคู่ โดยใช้ Least Significant Difference (LSD) และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน มีระดับการตัดสินใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ รองลงมา ด้านบุคคล และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวที่มีสถานภาพด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวในจังหวัดน่านแตกต่างกัน ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเมืองรอง จังหวัดน่าน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.28 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 8.00 (R<sup>2</sup> = 0.08) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลงานวิจัยที่ได้พบว่าสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใช้ในการวิเคราะห์นโยบายและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้</p>พิมพวรรณ สุ่มขำ
Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-262024-05-26613654การพัฒนานวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยวชุมชนวิถีปกติใหม่โดยการประสานพลังของชุมชน: บ้านห้วยมาลัย จังหวัดกาญจนบุรี
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/266735
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนการท่องเที่ยวของชุมชนห้วยมาลัย 2) พัฒนากิจกรรมนวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยววิถีปกติใหม่โดยการประสานพลังของชุมชน และ 3) พัฒนากลไกการประสานพลังชุมชนเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 6 ฝ่าย ได้แก่ ตัวแทนโรงเรียนบ้านห้วยมาลัย 5 คน ตัวแทนชุมชน 5 คน ตัวแทนภาครัฐ 4 คน ตัวแทนภาคเอกชน 4 คน ตัวแทนสถาบันการศึกษา 2 คน และตัวแทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 22 คน คัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐานและการทดสอบที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ต้นทุนการท่องเที่ยวของชุมชนห้วยมาลัยและชุมชนเชื่อมโยงมีความหลากหลายน่าสนใจ ประกอบด้วย 1) มีทุนวัฒนธรรมและทรัพยากรที่หลากหลาย 2) มีเส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับชุมชนห้วยมาลัย 5 โซนหลัก คือ โซนตัวเมืองและท่าม่วง โซนเขื่อนศรีนครินทร์และแม่น้ำแควใหญ่ โซนไทรโยค โซนบ้านอีต่อง และโซนสังขละบุรี 3) มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายตามบริบทของพื้นที่ 4) มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมแต่บางจุดต้องปรับปรุง และ 5) มีการบริการห้องพักที่หลากหลาย 2. กิจกรรมนวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยวชุมชนแบบปกติใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยการประสานพลังของชุมชน ชื่อ “นวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยวชุมชนวิถีปกติใหม่” โดยฝ่ายมหาวิทยาลัยเป็นผู้นำกิจกรรม และหลังจากที่เยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมพบว่ามีความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีคุณสมบัติเป็นเยาวชนผู้นำเที่ยวและมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. กลไกการประสานพลังชุมชน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติการ สังเกตผล สะท้อนผล และร่วมกันรับผลประโยชน์ของชุมชน</p>โชคชัย ดวงแก้วอภิเดช ช่างชัยวินัย พูลศรีสุมิตร สุวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-262024-05-26615568Luxury Community-Based Tourism: The Enhancement of Local Experiences in Phuket
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/264157
<p>Community-based tourism has benefited from a direct economic impact on families, socioeconomic enhancements, and sustainable lifestyle diversification in 7 local communities in Phuket. This academic article aims to present and analyze major local communities in Phuket. This article provides a detailed analysis of Luxury Community-Based Tourism, Tourist Luxury Experiences and their enhancement to become luxury community-based tourism in Phuket. Community-based tourism in Phuket must empower its concepts to reach new targets of tourists, especially to engage luxury tourists. By focusing on locally and independently owned participation in local communities, 7 community-based tourism sites in Phuket have enhanced their standards to provide exclusivity, authenticity, and enjoyment to create cultural and spiritual experiences for new targets of tourists. At the same time, these communities can create products and services that are environmentally conscious, sustainable, and socially responsible in the area. However, community-based tourism in Phuket should consider more closely customized and individualized based on the needs and motivations of tourists. High-priced tourist products and high-quality services should be provided to encourage luxury tourism establishments in the area.</p>Benjamaporn ChumnancharSirinpa Wongsaroj
Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-262024-05-26616983Strengthen Thai Airline Industry Competitiveness in AEC-China Market: A Better Position Post Pandemic
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/265681
<p>The effects of the COVID-19 pandemic were felt throughout many industries in Thailand, but certainly one of the most heavily affected was the airline industry. Since this was not an issue seen only in Thailand but throughout all of Southeast Asia and the rest of the world, it creates a major opportunity for Thailand to push forward and possibly take a larger stake in the airline industry within the AEC-China market while recovery is happening. Therefore, this article aims to explore the effective strategies, policies, and practices used by airlines as a vital tool for their business survival and competitiveness and to propose some implications that could help strengthen the Thai airline industry's competitiveness in the AEC-China market after the pandemic. This article found that Thai airlines should expand their hub and spoke system in cooperation with the airport authorities, implement the ASEAN Single Aviation Market (ASAM) system and airline alliances, allow larger airline and legacy airlines within Thailand to focus more directly on long-haul international passenger and cargo transportation, open up smaller carriers within the country to increase their domestic and short-haul route numbers, and lastly, place an emphasis on passengers who travel to Thailand for medical tourism by finding ways to enter partnerships with some of the hospitals, which has the potential for incredible outcomes. Thus, it is hoped that the implications suggested in this article will help increase Thai airlines’ competitiveness in the AEC-China market and recover from post-pandemic issues.</p>Thanapol InprasertkulAngkana Thanomkiat
Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-262024-05-26618494