วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD <p>วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนเป็นวารสารการท่องเที่ยวชั้นนำที่เพิ่มพูนความเข้าใจที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเน้นตีพิมพ์งานวิจัยเชิงแนวคิดทฤษฎี หรือแนวคิดเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยกระบวนการวิจัยที่เข้มข้นในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และ/หรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหรือที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงบทความวิชาการ หรือบทวิจารณ์หนังสือทางด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหรือในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สำหรับนักวิจัย นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับแรก มกราคม – มิถุนายน และฉบับสอง กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN 2730-2911 (Print) </strong></p> <p><strong>ISSN 2730-3322 (Online)</strong></p> th-TH <p>ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</p> jstd@dusit.ac.th (Associate Professor Dr. Panarat Srisaeng) jstd@dusit.ac.th (Aj. Sariya Prasertsud) Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สนามบินอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/265451 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวร่วมมือกันพัฒนาสนามบินภายในพื้นที่ของชุมชนให้เกิดการผสมผสานอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่สายตานักท่องเที่ยวเพื่อสอดคล้องกับรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสกัดประเด็นจากข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารบทวิเคราะห์วรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า สนามบินเป็นอุตสาหกรรมบริการด้านการขนส่งทางอากาศที่รวดเร็วและสะดวกสบาย และส่งผลดีต่อการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนของการท่องเที่ยว สนามบินเปรียบเสมือนประตูบ้านที่ให้การต้อนรับและถ่ายทอดเอกลักษณ์ท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยวได้เกิดความประทับใจแรก และสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามผ่านทางสนามบินได้ ซึ่งการพัฒนาสนามบินด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1.บทบาทสนามบินกับการท่องเที่ยว 2.การท่องเที่ยวอัตลักษณ์ท้องถิ่น 3.สนามบินกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงวิชาการที่สำคัญ สามารถเพิ่มศักยภาพและพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้เป็นสนามบินที่คงไว้ด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาการท่องเที่ยวอัตลักษณ์ท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ สามารถคาดการณ์และชี้แนะแนวทางในการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ของประเทศได้อย่างยั่งยืน และยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินอาเซียนได้ตามเป้าหมายของประเทศอย่างมีประสิทธิผล</p> ธันยพัฒน์ อินทรทัพพ์ , ภาคภูมิ พันปี, วินิตา หงส์วรพิพัฒน์ , ชนาภา นิโครธานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/265451 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเสริมสร้างการท่องเที่ยวผ่านการบริหารร้านกาแฟ: กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา, ประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/268571 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการร้านกาแฟเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยา โดยมุ่งเน้น 1) การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านกาแฟจำนวน 20 ร้าน รอบกว๊านพะเยา เก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (46.25%) ช่วงอายุ 25–29 ปี (36.25%) และทำงานในบริษัทเอกชน (53.5%) นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการร้านกาแฟที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น (47.25%) และเน้นร้านที่ใช้เมล็ดกาแฟเฉพาะ (65%) โดยมีระดับความพึงพอใจสูงสุดในด้านความหลากหลายของเครื่องดื่มและขนม (ค่าเฉลี่ย = 3.97, SD = 0.862) รองลงมาคือบาริสต้าที่ได้รับการรับรองหรือรางวัล (ค่าเฉลี่ย = 3.89, SD = 0.821) และบรรยากาศร้าน (ค่าเฉลี่ย = 3.86, SD = 0.793) ในส่วนของผู้ประกอบการ พบว่าปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการ ได้แก่ การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวย เช่น การระบายอากาศและการจัดพื้นที่ใช้สอย การทำให้ร้านเป็นจุดหมายปลายทางที่โดดเด่น การพัฒนากระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ การสนับสนุนเส้นทางสายกาแฟ และการยกระดับมาตรฐานการคั่วกาแฟ งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการร้านกาแฟในสองมิติ ได้แก่ การพัฒนาร้านกาแฟและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกาแฟในจังหวัดพะเยา</p> วารัชต์ มัธยมบุรุษ, พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/268571 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาวัดประดู่พัฒนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/268072 <p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาศักยภาพของวัดประดู่พัฒนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างรูปแบบในการรองรับนักท่องเที่ยวตามศักยภาพแต่ละด้านของวัด และเพื่อพัฒนาวัดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พระภิกษุที่จำพรรษาในวัด จำนวน 5 รูป นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยววัด จำนวน 300 คน และชาวบ้านในชุมชนรอบวัด จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของวัดที่มีความโดดเด่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ประกอบด้วย 1) ศักยภาพด้านกายภาพ ได้แก่ ธรรมชาติของผิวดิน ทิศทางลม 2) ศักยภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน ที่จอดรถ ห้องน้ำ สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 3) ศักยภาพด้านทรัพยากรของวัดที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ได้แก่ เจ้าอาวาส โบราณสถาน 4) ศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมของวัดที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมได้ ได้แก่ กิจกรรมสวดมนต์วันพระทุกวันอาทิตย์ วันสารทเดือนสิบ ซึ่งองค์ประกอบที่อยู่ในศักยภาพทั้ง 4 ด้าน จะเป็นข้อมูลในการสร้างรูปแบบเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว จากการศึกษาวิจัยทำให้ค้นพบสูตรที่ใช้หาปริมาณเพื่อการปรับปรุงปัจจัยด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นสูตรที่ง่ายต่อการนำไปคำนวณและสามารถนำไปใช้พัฒนาวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1) สูตร WANACH1 N = (SxV)/A 2) สูตร WANACH2 N = S/A และ 3) สูตร WANACH3 Q = N – V</p> วนัชพร จันทรักษา Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/268072 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการรุ่นเยาว์บนฐานการเรียนรู้ในโรงเรียน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/270967 <div> <p class="2"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ </span>1<span lang="TH">)</span> <span lang="TH">ศึกษา<a name="_Hlk57308418"></a>ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ 2) <a name="_Hlk57309887"></a>ศึกษารู</span><span lang="TH">ปแบบ</span><span lang="TH">การเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการรุ่นเยาว์</span><span lang="TH">3) </span><a name="_Hlk57310184"></a><span lang="TH">ทดลองใช้รู</span><span lang="TH">ปแบบ</span><span lang="TH">การเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์</span><span lang="TH"> และ 4) </span><span lang="TH">ประเมินผลและถอดบทเรียนรู</span><span lang="TH">ปแบบ</span><span lang="TH">การเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการรุ่นเยาว์บนฐานการเรียนรู้ในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา</span><span lang="TH">ของจังหวัดกาญจนบุรี </span><span lang="TH">กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 384 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบประเมินต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา</span> <span lang="TH">และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในการเสริมสร้างทักษะอาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) <s>รู</s></span><span lang="TH">ปแบบ</span><span lang="TH">การเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์</span><span lang="TH">ใช้ </span><strong>“</strong>E-SKILLS Model<strong>”</strong><span lang="TH"> ประกอบด้วย </span><span lang="TH">1) </span>E- Entrepreneur 2<span lang="TH">) </span>S-Skills for Learning <span lang="TH">3) </span>K-Knowledge Sharing <span lang="TH">4) </span>I-Inspiration<span lang="TH"> 5)</span> L-Leadership <span lang="TH">6) </span>L-Learning for Life<span lang="TH"> และ 7)</span> S-Self- Developing<span lang="TH"> 3) ผลการทดลองใช้รู</span><span lang="TH">ปแบบ</span><span lang="TH">การเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ พบว่าคะแนนก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในระดับมาก และ 4) การถอดบทเรียนพบว่าได้เพิ่มประสบการณ์และรูปแบบการสร้างผู้ประกอบการ สามารถนำมาสร้างงาน สร้างรายได้ การทำงานเป็นทีม การเล่าเรื่องสินค้าในชุมชนของตนเอง ฝึกออกแบบการขายสินค้า ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก ผลิตและขายสินค้าได้</span></p> </div> นรินทร์ สังข์รักษา, สวรรยา ธรรมอภิพล, ปริญญา ปั้นสุวรรณ, นภสร นีละไพจิตร Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/270967 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/267788 <p style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาและสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี 3) จัดกลุ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี มีการทำวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และแบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในการดำเนินงานเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้ประกอบการ เกษตรกร ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ได้ข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่ และกลุ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี จากการวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 40 แห่ง พบว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในกลุ่มศักยภาพระดับดีมากจำนวน 5 แห่ง กลุ่มศักยภาพระดับดีจำนวน 7 แหล่ง กลุ่มศักยภาพระดับปานกลางจำนวน 9 แห่ง และกลุ่มศักยภาพระดับควรปรับปรุงจำนวน 19 แห่ง โดยเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบหลักของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พบว่าศักยภาพการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีคะแนนสูงที่สุดคือ 16.26 คะแนน รองลงมาได้แก่ ศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีคะแนน 14.58 คะแนน ถัดมาคือศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีคะแนน 12.79 คะแนนส่วนศักยภาพการให้บริการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีค่าคะแนนต่ำสุดคือ 12.22 คะแนน ทั้งนี้ภาพรวมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 55.85 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับศักยภาพที่ควรปรับปรุง</p> ดุจตะวัน กันไทยราษฎร์, เธียรรัตน์ ฉัตรภัทรพล , เตชิตา ภัทรศร, ศริญา ประเสริฐสุด, พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/267788 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 การถอดบทเรียนความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/273429 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจข้อมูล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การนำไปต่อยอดเชิงธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ระหว่างปี 2560 – 2564 2) เพื่อถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อได้แนวทางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความยั่งยืน โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา เป็นวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรวม 30 กลุ่ม ใน 10 อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรีได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ใช้ระเบียบวิธีวิจัย คือ การศึกษาเอกสาร เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็น ใช้แบบสำรวจ การถอดบทเรียน และการประชุมแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลและข้อเสนอแนะ โดยการสังเคราะห์เนื้อหาด้วยการจัดหมวดหมู่และจัดลำดับ ประเมินหาแนวทางพัฒนาความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ชุมชน <span style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาพบว่า </span><span style="font-weight: 400;">1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น มีศักยภาพความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ศักยภาพสูง ปานกลางและน้อย 2) กลุ่มที่มีศักยภาพสูง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญด้านมาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้า พึ่งพาตนเองมีความเข้มแข็งผลวิจัยสามารถเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์โดยให้สอดคล้องกับการวิจัยและบริการวิชาการ ใน SDU Direction ข้อที่ 1.4 การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งสำหรับพื้นที่เป้าหมายและชุมชน </span></p> วรานี เวสสุนทรเทพ , มานิดา เชื้ออินสูง , นวลศรี สงสม, มนฤทัย ศรีทองเกิด , มานะ เอี่ยมบัว Copyright (c) 2024 วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/273429 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700