วารสารการจัดการการท่องเที่ยว นันทนจิตและจิตบริการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTHM th-TH วารสารการจัดการการท่องเที่ยว นันทนจิตและจิตบริการ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTHM/article/view/251220 <p>การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยค้ำจุนที่มีผลความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 165 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยจูงใจมีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกและอยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา&nbsp; เมื่อพิจารณารายด้าน ซึ่งสามารถเรียงลำดับความสำคัญตามค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย พบว่า ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูง และพบว่า <br>ปัจจัยค้ำจุนมีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูงมาก แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อพิจารณารายด้าน ซึ่งสามารถเรียงลำดับความสำคัญตามค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย พบว่า ปัจจัยค้ำจุนด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ปัจจัยค้ำจุนด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ปัจจัยค้ำจุนด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ในระดับสูง ปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง</p> วารุณี เกิดก่อวงษ Copyright (c) 2021 วารสารการจัดการการท่องเที่ยว นันทนจิตและจิตบริการ 2021-05-07 2021-05-07 2 3 1 11 ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTHM/article/view/251221 <p>งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาด กับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4 ใช้การวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการและซื้อสินค้าภายในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4 ซึ่งผู้วิจัยได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณจากสูตรที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดระดับความเชื่อมั่น 95% กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้จึงเท่ากับ 400 คน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่าการศึกษาเรื่องตัวแปรทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4 อยู่ในระดับมากในทุกตัวแปร แต่ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของเพศที่แตกต่างกัน และตัวแปรทางการตลาด (7Ps) ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4 โดยผลการวิจัยในทุกๆ ด้านมีการสอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกันกับการจัดงาน แต่ปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบไปด้วย อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพสมรส มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4&nbsp; เนื่องจากบุคคลที่มีการศึกษาที่ดี มีงานที่ดี มีรายได้ที่ดี มีครอบครัวที่ดี ก็จะมีกำลังในการเลือกซื้อสินค้าภายในงาน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับศิลปะจึงทำให้มีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด จึงทำให้ปัจจัยส่วนบุคคลที่กล่าวมามีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในงานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 4</p> นรินทร์ นิลวงศ์ Copyright (c) 0 2021-05-07 2021-05-07 2 3 10 24 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษา ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTHM/article/view/251222 <p>ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษา ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาหนี้ค้างชำระ ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์&nbsp; สาขาถนนโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ&nbsp;&nbsp; โดยวิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนทั้งสิ้น 180 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแสดงผลของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านปัจจัยจูงใจและด้านปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านปัจจัยจูงใจและด้านปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้าง ชำระซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมพบว่า มีอิทธิพลเชิงบวกกับการเกิดหนี้ค้างชำระในระดับสูงมาก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(r = 0.810) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> พิไลพร แสงจันทร์ Copyright (c) 0 2021-03-25 2021-03-25 2 3 25 30