วารสารการจัดการการท่องเที่ยว นันทนจิตและจิตบริการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTHM <p> วารสารการจัดการท่องเที่ยว นันทนจิตและจิตบริการรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วารสารสมาคมนักวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยวารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านการศึกษาเชิงประยุกต์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ประเภทของการ Peer-review ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีการประเมินโดยระบุจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ 3 คนขึ้นไป เป็นแบบปกปิดชื่อเจ้าของบทความ และปกปิดชื่อผู้ประเมินเป็นแบบ double blinded </p> <p>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</p> <p> วารสารการจัดการท่องเที่ยว นันทนจิตและจิตบริการมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายใน หรือนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารที่มีความเชี่ยวชาญตรงในสาขานั้น ๆ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ทำการประเมินคุณภาพของบทความตามรูปแบบของวารสาร</p> th-TH manirochana@gmail.com (ดร.ณัฎฐพัชร มณีโรจน์) yannakorn1978@yahoo.co.th (ผศ.ดร.ญาณกร โท้ประยูร) Sun, 19 May 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การจัดการความเครียด : กรณีศึกษาพนักงานเทศบาลนครรังสิต https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTHM/article/view/271647 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดจากปัจจัยด้านงานของพนักงานเทศบาลนครรังสิต และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานประกอบด้วย ลักษณะงาน ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายกับการจัดการความเครียดของพนักงานเทศบาลนครรังสิต ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานเทศบาลนครรังสิต จำนวน 110 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดไว้</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเครียดในภาพรวมได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และ ด้านบทบาทหน้าที่ที่ได้รับอยู่ในระดับมากทุกด้าน&nbsp; ส่วนผลการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ และ แบบหลีกหนี อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานที่ทำให้เกิดความเครียด ประกอบไปด้วย ลักษณะงาน ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายกับรูปแบบการจัดการความเครียด พบว่า ปัจจัยด้านงาน 2 ด้านคือด้านลักษณะงาน และด้านบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดแบบหลีกหนี และ ปัจจัยด้านงาน บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผู้บริหารควรจัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างความสุขทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ เพื่อลดความเครียดในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล</p> สมเจตต์ เกตุเกษม , เฉลิมพร เย็นเยือก Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการการท่องเที่ยว นันทนจิตและจิตบริการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTHM/article/view/271647 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700