https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/issue/feed วารสารการแปลและการล่าม 2020-07-23T09:20:24+07:00 Open Journal Systems <p>วารสารการแปลและการล่าม Journal of Translation and Interpretation เป็นวารสารที่มีผู้ประเมินบทความ (peer review) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ ความรู้และผลการศึกษา การค้นคว้า วิจัย วิชาการ ทฤษฎีและแนวคิดในศาสตร์ของการแปลและการล่าม และสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ของนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทำงานและผู้มีบทบาทด้านการแปลและการล่าม</p> <p>&nbsp;</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244618 เกี่ยวกับวารสาร 2020-07-23T09:11:03+07:00 กองบรรณาธิการ วารสาร [email protected] <p>-</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244619 กองบรรณาธิการ 2020-07-23T09:11:34+07:00 กองบรรณาธิการ วารสาร [email protected] <p>-</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244620 สารบัญ 2020-07-23T09:12:02+07:00 กองบรรณาธิการ วารสาร [email protected] <p>-</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244621 บรรณาธิการแถลง 2020-07-23T09:20:23+07:00 แพร จิตติพลังศรี [email protected] <p>-</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244397 Consecutive interpreters as ¨Failed Docile Bodies¨ on the Beauty Pageant Stage 2020-07-23T09:13:10+07:00 ฐิติพงษ์ ด้วงคง [email protected] <p>บทความนี้ศึกษาประสบการณ์และสถานการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นกับล่าม พูดตามจำนวนหนึ่งซึ่งทำงานให้กับกองประกวดนางงามระดับนานาชาติที่จัดการ ประกวดขึ้นในประเทศไทย ผู้ศึกษาได้ประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่อง “ร่างกายใต้บงการ” ที่ มิเชล ฟูโกต์เสนอในงานเขียนที่ชื่อ Discipline and Punish: The Birth of the Prison กับการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกลุ่มล่ามเหล่านี้และผู้ชมการประกวด ผู้ศึกษาให้ความสำคัญกับบริบทแวดล้อมที่เป็นปัญหาซึ่งทำให้ล่ามต้อตกอยู่ภายใต้ความกดดันและถูกประณามจากกลุ่มผู้ชม สิ่งนี้ก็มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิด ความเสียหายให้กับเส้นทางการทำอาชีพล่ามพูดตามของพวกเขาในอนาคต ข้อมูลที่ใช้ ประกอบการศึกษามาจากสองแหล่งสำคัญได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มล่าม 2) ข้อความแสดงความคิดเห็นของกลุ่มแฟนนางงามจากช่องทางออนไลน์ต่างๆ อาทิ ชุมชนเสมือนของกลุ่มแฟนเพจ และวิดีทัศน์ตัดดตอนจากเว็บไซต์ YouTube ของกลุ่ม ผู้ชมที่ติดตามการประกวด จากการศึกษาพบว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ ชี้ให้เห็นถึงการตกอยู่ในสภาพ “ร่างกายใต้บงการที่ล้มเหลว” ของล่ามกลุ่มนี้ และความ พยายามของพวกเขาในการเจรจากับอำนาจชีวญาณที่มาพร้อมกับงานล่ามลักษณะนี้ บนเวทีการประกวดนางงามระดับนานาชาติ</p> 2019-12-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244424 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางวัฒนธรรมไทยใน “อสรพิษ” ฉบับภาษาสเปน 2020-07-23T09:13:34+07:00 ทินประภา กรดนิยมชัย [email protected] ภาสุรี ลือสกุล [email protected] <p>“อสรพิษ” ของแดนอรัญ แสงทองเป็นเรื่องสั้นที่องค์ประกอบทางวัฒนธรรมไทยมีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ สิ่งของเครื่องใช้ ชื่อเฉพาะของตัวละครและสถานที่ ไปจนถึงการละเล่นท้องถิ่น ผลงานนี้ได้แปลสู่หลากหลายภาษารวมถึงภาษาสเปนซึ่งเป็นภาษาของประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกับไทยอย่างมาก บทความนี้มุ่งวิเคราะห์เทคนิคการถ่ายทอดความหมายทางวัฒนธรรมไทยในต้นฉบับภาษาสเปนซึ่งแปลผ่านภาษาที่สองอย่างภาษาฝรั่งเศส การวิเคราะห์เริ่มจากแบ่งองค์ประกอบทางวัฒนธรรมออกเป็นหมวดหมู่ คัดเลือกเทคนิคการแปลจากทฤษฎีต่างๆ และวิเคราะห์ตัวอย่างคำแปลในต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปน ผลลัพธ์ การแปลส่วนใหญ่ใช้หลายเทคนิคผสมผสานกัน เทคนิคที่ใช้มากคือการดัดแปลง (adaptation) เพื่อดัดแปลงคำแปลให้เข้ากับวัฒนธรรมปลายทาง และการสร้างสมมูลภาพ (equivalence) เพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่ทั้งสองวัฒนธรรมมีร่วมกัน อย่างไรก็ดี แม้โดยทั่วไปแล้ว ต้นฉบับภาษาสเปนจะใช้การแปลตรงจากภาษาฝรั่งเศส แต่มีบางกรณีที่ผู้แปลภาษาสเปนเลือกใช้เทคนิคที่แตกต่างออกไปและสามารถสื่อความได้ใกล้เคียงต้นฉบับภาษาไทยมากกว่า&nbsp;</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244613 เรื่องเพศกับการเซ็นเซอร์: การแปลภาษาต้องห้ามในนวนิยาย เรื่อง Fifty Shades of Grey ของ E. L. James 2020-07-23T09:14:02+07:00 พันศักดิ์ อัศววงศ์เกษม [email protected] <p>การศึกษา "เรื่องเพศกับ การเซ็นเซอร์: การแปลภาษาต้องห้ามในนวนิยาย เรื่อง Fifty Shades of Grey ของ E. L. James" เป็นการศึกษาในเชิงพรรณนา (descriptive study) ตามแนวทางวัฒนธรรมศึกษาในศาสตร์การแปล โดยการมองหาปัจจัยด้านอุดมการณ์และอำนาจจากสถาบันต่างๆ ที่ส่งผลต่องานแปลบนสมมติฐานที่เชื่อว่าการแปลเป็นกระบวนการที่ถูกควบคุมด้วยอำนาจของผู้กระทำการ (agency) และความพยายามในการควบคุมด้วยจริยธรรมและบรรทัดฐานของงานแปล ผลที่เกิดจากแก้ปัญหาที่แสดงให้เห็นผ่านงานแปลสามารถสะท้อนถึงอุดมการณ์ต่างๆ ที่ควบคุมถ้อยคำในงานแปลนั้นเรียกว่าการเซ็นเซอร์ด้วยกลวิธีทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเพศ ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและถูกปกปิดมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งในสังคม โดยผู้วิจัยได้ทำการทบทวนทฤษฎีการแปล งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาต้องห้ามเรื่องเพศและการเซ็นเซอร์ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทย แล้วจึงทำการวิเคราะห์แนวทางการเซ็นเซอร์ภาษาต้องห้ามเกี่ยวกับเรื่องเพศในงานแปล โดยคัดเลือกตัวบทที่ปรากฏภาษาต้องห้ามจากต้นฉบับ เรื่อง Fifty Shades of Grey ของ E. L. James และบทแปลซึ่งแปลโดยนันทพร ปีเลย์ ร่วมกับข้อมูลที ่ได้จากการสัมภาษณ์นักแปลตามแนวทางที่ได้ศึกษาไว้ จากการศึกษา พบว่า กลวิธีในการเซ็นเซอร์ภาษาต้องห้ามเรื่องเพศที่พบในบทแปลเรื่อง ฟิฟตี้เชดส์ ออฟเกรย์ ได้แก่ การละความ การแปลบางส่วน การแทนที่ การแปลเพิ่ม รวมทั้งการลดระดับความแรงหรือการใช้คำรื่นหู ซึ่งเป็นผลจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวนักแปล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้กระทำการที่มีอำนาจในอุตสาหกรรมการพิมพ์ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกตัวนักแปล อันได้แก่ กฎหมาย สำนักพิมพ์ และบรรณาธิการ อำนาจต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์หลักของสังคมซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาหลักของสังคมไทย</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244614 การเมืองเรื่องการแปลซ้ำ กรณีศึกษาการแปลนวนิยาย เรื่อง Animal Farm ของจอร์จ ออร์เวลล์ เป็นภาษาไทย ผ่านพาราเท็กซ์ (Paratext) ในสำนวนแปลหกฉบับ 2020-07-23T09:14:31+07:00 รสลินน์ ทวีกิตติกุล [email protected] <p>การแปลซ้ำ (retranslation) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไปในแวดวงการแปล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแปลตัวบทวรรณกรรมที่ได้รับการยอมรับในเชิงคุณค่าทางวรรณคดี การวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการแปลซ้ำจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่โดดเด่น โดยเริ่มต้นจากการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับการแปลซ้ำซึ่งนำเสนอโดยนักวิชาการในแวดวงการแปล หลังจากนั้นจึงใช้การวิจัยเชิงกรณีศึกษาโดยวิเคราะห์การแปลนวนิยาย เรื่อง Animal Farm ของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งพบว่ามีการแปลซ้ำมาแล้วมากถึง 10 สำนวน ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 - 2560 โดยมุ่งวิเคราะห์เฉพาะพาราเท็กซ์ (paratext) หรือองค์ประกอบที่อยู่รอบเนื้อความหลักของตัวบทแปล โดยเลือกศึกษาจากสำนวนแปลหกฉบับของสายธาร เกียรติขจรไชยแสงสุขกุล พันเอก ดร. ชัยพฤกษ์ ปิลกศิริ บัญชา สุวรรณานนท์ สรวงอัปสร กสิกรานันท์ และเพชร ภาษพิรัช จากการศึกษาองค์ประกอบดังกล่าว ผนวกกับการเปรียบเทียบกับบริบทของสังคมและการเมืองไทยในช่วงเวลา 58 ปีที่มีการแปลซ้ำ ผู้วิจัยพบแนวโน้มของการแปลเรื่อง Animal Farm ว่าแต่ละครั้งที่มีการแปลซ้ำนั้นมักตรงกับช่วงที่ประเทศไทยมีเหตุการณ์ความขัดแย้งและเปลี่ยนขั้วทางการเมืองครั้งสำคัญ จึงอาจสรุปได้ว่าการแปลซ้ำแต่ละครั้งเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อ่านและเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองตามบริบทของสังคมในช่วงเวลาต่างๆ และเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าเรื่อง Animal Farm น่าจะได้รับการแปลซ้ำอีกต่อไปอีกเรื่อยๆ ในอนาคต สอดคล้องกับบริบทของการเมืองไทยที่ยังคงมีความขัดแย้งทางการเมืองและการผลัดเปลี่ยนขั้วอำนาจอย่างต่อเนื่อง</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244615 ความแตกต่างทางวัฒนธรรมยุโรปและวัฒนธรรมไทย ที่มีผลต่อการทำล่ามในบริบทของงานสถานทูต 2020-07-23T09:14:59+07:00 สนสร้อย เทพัฒนพงศ์ [email protected] หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เป็นความท้าทายของเจ้าหน้าที่สถานทูตคนไทยผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่าม วิธีรับมือกับปัญหา และ ความเข้าใจและความคาดหวังของเจ้าหน้าที่สถานทูตชาวต่างชาติต่อบทบาทการทำหน้าที่ของล่าม โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สถานทูตประเทศจากทวีปยุโรปประจำประเทศไทย ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่คนไทยผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่าม 6 คน และเจ้าหน้าที่สถานทูตชาวต่างชาติซึ่งมีประสบการณ์ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่คนไทยผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่าม 3 คน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ล่ามแต่ละคนมีวิธีการรับมือกับปัญหาที่แตกต่างกันซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบาย เสริมความ หรือแม้กระทั่งการตัดหรือข้ามข้อความดังกล่าวทิ้งไป และในมุมมองของเจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติส่วนมากเห็นว่าวิธีการอธิบายชี้แจงเพื่อสร้างความกระจ่างให้แก่ผู้ฟังนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่อย่างไรก็ดี ล่ามควรหยิบยกประเด็นที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้นขึ้นมาพูดคุยตกลงกับผู้พูดก่อนหน้าการประชุมเพื่อที่ว่าผู้พูดจะเชื่อมั่นได้ว่าล่ามจะถ่ายทอดข้อความให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้พูดตั้งไว้ได้&nbsp;</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTIT/article/view/244617 เจาะลึกแอปพลิเคชัน Thai Food Terms พจนานุกรมศัพท์อาหารไทย 7 ภาษา 2020-07-23T09:15:25+07:00 ทัศนีย์ กีรติรัตน์วัฒนา [email protected] <p>-</p> 2018-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 0