https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/issue/feed วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 2024-06-28T16:14:41+07:00 Miss. Thanyalak Pengpinit kabjournal@ku.ac.th Open Journal Systems <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" align="center"> <tbody> <tr> <td width="500" height="263"><img src="http://journal.bus.ku.ac.th/images/banners/b3Co.jpg" alt="b3Co" width="500" height="263" /></td> <td> </td> <td> <p> “วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal)” เรามุ่งเน้นเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสาขาบริหารธุรกิจ โดยมีขอบเขตและเป้าหมายในการตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาด้านการเงิน การจัดการ การจัดการการผลิต การตลาด การบัญชี และสาขาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ และยังเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม </p> <span lang="TH"><br /></span></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> ในสาขาบริหารธุรกิจทั่วประเทศ ได้มีแหล่งนำเสนอบทความและผลงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ให้เผยแพร่สู่ชุมชนวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้จัดทำฉบับพิมพ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ได้เริ่มเผยแพร่ฉบับพิมพ์ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2550) </p> <p> และในปี พ.ศ. 2560 คณะทำงานฯ ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) ให้เป็นวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ ISSN: 1906-0254 (Print) และ ISSN: 2539-6250 (Online) ซึ่งจะเริ่มในปีที่ 11 ฉบับที่ 14 เดือนมิถุนายน 2560 ควบคู่ไปกับวารสารฉบับพิมพ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงบทความในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว</p> <p> โดยในปัจจุบันทางวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) ได้ดำเนินการยกเลิกวารสารฉบับรูปเล่ม เหลือเพียงวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และดำเนินการเปลี่ยนเลขใหม่ <strong>ISSN: 2985-2277 (Online) ซึ่งจะเริ่มใช้เลข ISSN ดังกล่าวนี้ ในปีที่ 17 ฉบับที่ 27 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป</strong></p> <p> กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความต่างๆที่ปรากฏในวารสารจะส่งผลประโยชน์ทางวิชาการแก่ท่านตามสมควร และหากท่านมีความประสงค์จะติชมหรือให้คำแนะนำ กองบรรณาธิการยินดีรับฟังท่านด้วยความเต็มใจ โดยท่านสามารถส่งข้อเสนอแนะมาที่ E-mail: <a href="mailto:kabjournal@ku.ac.th">kabjournal@ku.ac.th</a> หรือที่ <a href="https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/about/contact">https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB</a> เพื่อที่กองบรรณาธิการจะได้รับและนำไปปรับปรุงต่อไป </p> <p>กองบรรณาธิการ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>หลักการและเหตุผล</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดหลักเกณฑ์ว่าบัณฑิตที่ศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จะต้องมีการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ในวารสารทางวิชาการที่มีคณะกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ทั้งนี้เพื่อประกันคุณภาพของผลงานก่อนการเผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติประกอบกับนโยบายดังกล่าวได้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยตลอดจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพด้านการเผยแพร่ผลงาน วิชาการภายใต้เกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยที่มีดัชนีชี้วัดที่ระบุถึงจำนวนวิทยานิพนธ์ ผลงาน งานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งการชี้นำสังคมในแนวทางที่ถูกต้องผ่านการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>วัตถุประสงค์ของโครงการ</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> 1. เพื่อสนองนโยบายของคณะบริหารธุรกิจ ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นิสิตปริญญาโท นิสิตปริญญาเอก และบุคคลที่สนใจได้เผยแพร่ผลงานอันจะนำไปสู่งานบริการทางวิชาการระดับนานา ชาติ</p> <p> 2. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์</p> <p> 3. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าให้กับนิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้จากบทความ ผลงานวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>ขอบเขตและเป้าหมาย</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์เป็นวารสารที่มีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากหลากหลายสถาบัน ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยวิธีการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งสองฝ่าย (Double-Blind Peer Review) ตามสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตและเป้าหมายในการตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งบทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา ได้แก่</p> <ul> <li><strong>ด้านการเงิน</strong> เช่น การเงินธุรกิจ การลงทุน ตลาดการเงิน อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน นวัตกรรมทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง และประสิทธิภาพของนโยบายทางการเงิน</li> <li><strong>ด้านการจัดการ </strong>เช่น​ การจัดการทรัพยากรมนุษย์​ การบริหารองค์การ​ การพัฒนาธุรกิจ​ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ​ การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม​ ​ และการวิเคราะห์ข้อมูล​</li> <li><strong>ด้านการจัดการเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ</strong> เช่น กลยุทธ์การปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การจัดการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การบริหารคุณภาพ การบริหารโครงการ การบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม การคาดการณ์และนโยบายด้านเทคโนโลยี การประยุกต์เทคโนโลยี ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อองค์กร แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศทางธุรกิจ</li> <li><strong>ด้านการตลาด</strong> เช่น กลยุทธ์การตลาดทั้งในส่วนของ B2B และ B2C การตลาดออนไลน์ พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสารทางการตลาด กลยุทธ์ตราสินค้า การตลาดเพื่อสังคม การตลาดบริการ และการตลาดกีฬา</li> <li><strong>ด้านการบัญชี</strong> เช่น บัญชีการเงิน บัญชีบริหาร การสอบบัญชี การควบคุมภายใน สารสนเทศทางการบัญชี การเปิดเผยข้อมูลของกิจการ (Firm Disclosure) และบัญชีภาษีอากร</li> <li><strong>และสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีการบูรณาการกับศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจ</strong></li> </ul> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>กำหนดออก</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) เป็นวารสารราย 6 เดือน (1 ปี มี 2 ฉบับ) กำหนดออก<br /> <p><strong>- ฉบับที่หนึ่ง</strong> เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน<br /><strong>- ฉบับที่สอง</strong> เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p><br /><br /></p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/263139 อิทธิพลของผลิตภัณฑ์และราคาอาหารไก่เนื้อผสมกัญชงต่อความตั้งใจซื้อผ่านความเชื่อใจ ในผลิตภัณฑ์: การเปรียบเทียบระหว่าง CBD กับผลพลอยได้จากใบและก้านใบ 2023-01-30T11:20:26+07:00 ชิตวันพัทณ์ วีระสัย Chitawanphat@hotmail.com จตุพร กระจายศรี Jatuporn.kaj@cra.ac.th <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตรวจสอบอิทธิพลของผลิตภัณฑ์และราคาอาหารไก่เนื้อผสมกัญชง (ผลิตภัณฑ์จากโครงการวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพการเสริม Cannabidiol (CBD) ในอาหารสัตว์ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและสุขภาพในไก่เนื้อ) ต่อความตั้งใจซื้อผ่านความเชื่อใจในผลิตภัณฑ์โดยเปรียบเทียบระหว่าง CBD จากกัญชงกับผลพลอยได้จากใบและก้านใบกัญชง กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกร สัตวแพทย์ และสัตวบาล จำนวนรวม 228 คน ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่เนื้อและ/หรืออาหารไก่เนื้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม การทดสอบสมมติฐานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้างแบบ Partial Least Squares (PLS-SEM) ผ่านโปรแกรม SmartPLS ผลการศึกษาหลัก พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารไก่เนื้อผสมกัญชงมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อผ่านความเชื่อใจในผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผสม CBD จากกัญชงและผลพลอยได้จากใบและก้านใบกัญชง ส่วนราคาอาหารไก่เนื้อผสมกัญชงก็มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อผ่านความเชื่อใจในผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผสม CBD จากกัญชงและผลพลอยได้จากใบและก้านใบกัญชง</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/263080 นวัตกรรมการเงินสีเขียวมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่ยั่งยืนหรือไม่ 2023-02-03T16:42:22+07:00 สินธวัฒน์ สินธนบดี sintawat.sin@gmail.com อรพรรณ คงมาลัย korapan@tu.ac.th <p> งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของนวัตกรรมการเงินสีเขียวร่วมกับทัศนคติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนประสมทางการตลาด 4Es ของผลิตภัณฑ์สีเขียวและการสนับสนุนของภาครัฐ ที่จะมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่ยั่งยืน และเพื่อเสนอแนะแนวทางการสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้ผู้บริโภคชาวไทยสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองสู่พฤติกรรมที่ยั่งยืนได้ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคชาวไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เป็นผู้ที่ใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และมีประสบการณ์ในการบริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียวจำนวน 500 ตัวอย่างโดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง<br /> ผลการวิจัย พบว่า เครื่องมือติดตามคาร์บอนจากการใช้จ่ายซึ่งเป็นนวัตกรรมการเงินสีเขียวของการศึกษาครั้งนี้ ทัศนคติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนประสมทางการตลาด 3Es ของผลิตภัณฑ์สีเขียวและมาตรการจูงใจของภาครัฐ ร่วมกันส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้ในผลิตภัณฑ์สีเขียวและส่งต่อไปยังการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สีเขียวจนนำไปสู่พฤติกรรมที่ยั่งยืนซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียวและพฤติกรรมการลดขยะ 2R คือ การลดการใช้และการใช้ซ้ำ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไปสู่พฤติกรรมที่ยั่งยืนได้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคการเงินการธนาคารและภาครัฐ จึงต้องร่วมกันสร้างทัศนคติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภคควบคู่ไปกับการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์สีเขียวจากภาคธุรกิจโดยใช้ส่วนประสมทางการตลาด 3Es การมีเครื่องมือติดตามคาร์บอนจากการใช้จ่ายจากภาคการเงินการธนาคารให้ใช้งาน และการกระตุ้นความสนใจผลิตภัณฑ์สีเขียวจากภาครัฐด้วยมาตราการจูงใจด้านภาษีและด้านราคา</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/263858 ความไม่แน่นอนทางการเมือง การตัดสินใจลงทุนและผลการดำเนินงานของกิจการ: หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2023-02-22T18:10:55+07:00 สุธาวัลย์ พฤกษ์อำไพ fbusswp@ku.ac.th ยุทธนา เศษฐปราโมทย์ yuthana.s@nida.ac.th พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม pongsak.l@chula.ac.th <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความไม่แน่นอนทางการเมืองต่อการตัดสินใจลงทุนและผลการดำเนินงานของกิจการ โดยทำการศึกษาข้อมูลรายไตรมาสของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ยังดำเนินงานอยู่ โดยวัดความไม่แน่นอนทางการเมืองด้วยดัชนีระดับความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยที่พัฒนาโดย Luangaram and Sethapramote (2018) ผลการศึกษา พบว่า ระดับความไม่แน่นอนทางการเมืองมีผลเชิงลบต่อการตัดสินใจลงทุนของกิจการ และยังมีผลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของกิจการ นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัจจัยเฉพาะของกิจการ ได้แก่ ข้อจำกัดทางการเงินที่วัดด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของกิจการ โอกาสในการเติบโตที่วัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันและ Tobin’s Q มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจลงทุนของกิจการและผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจมหภาคมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของกิจการแต่มีผลที่ไม่ชัดเจนนักต่อผลการดำเนินงาน โดยสรุป ผลการศึกษาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านการลดการลงทุนของกิจการในภาคเศรษฐกิจจริง อีกทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองยังส่งผลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของกิจการ <br />โดยการลดการลงทุนหรือการชะลอการลงทุนของกิจการอาจเนื่องมาจากฝ่ายบริหารรอความชัดเจนของนโยบายที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง เช่นเดียวกับผู้บริโภคหรือตลาดที่อาจชะลอหรือลดการบริโภคลงในช่วงที่มีความแน่นอนทางการเมืองสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกิจการ</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/265470 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล ความสามารถทางดิจิทัล ความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภัตตาคาร/ร้านอาหาร 2023-09-01T16:46:42+07:00 ชาญชัย เมธาวิรุฬห์ chanchai@aru.ac.th สุดารัตน์ เกลี้ยงสอาด ksudarat@aru.ac.th <p> ธุรกิจเอสเอ็มอีมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างโอกาส และความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อ (1) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล ความสามารถทางดิจิทัล ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงาน (2) เป็นแนวทางการปรับตัวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของธุรกิจเอสเอ็มอีภัตตาคาร/ร้านอาหาร และ (3) เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีภัตตาคาร/ร้านอาหาร <br />ในการพัฒนาความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับ ตัวแทนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 294 ตัวอย่าง และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติแบบจำลองสมการโครงสร้าง<br /> ผลการศึกษาระบุว่า แบบจำลองสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางดิจิทัล และความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยที่ความสามารถทางดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงาน ความได้เปรียบทางการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ กลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล และความสามารถทางดิจิทัล ยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงาน ผ่านความได้เปรียบทางการแข่งขันอีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภัตตาคาร/ร้านอาหาร ควรกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัลของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดความสามารถทางดิจิทัล และช่วยนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ดีขึ้นต่อไป</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/265888 ปัจจัยสำคัญในการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพของบริษัทเทคโนโลยี ขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย 2023-11-01T11:27:52+07:00 กษิดิศ สว่างนวล 6380032026@student.chula.ac.th รพีพร รุ้งสีทอง rapeeporn@cbs.chula.ac.th <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยสำคัญในการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพของบริษัทเทคโนโลยีขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย โดยขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มตัวอย่างบริษัทเทคโนโลยีขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวน 15 บริษัท 2. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) 3. สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญปัจจัยสำคัญในการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพของบริษัทเทคโนโลยีขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย ประกอบด้วย ประสบการณ์การร่วมพันธมิตร ความไว้วางใจระหว่างบุคคล และ ความไว้วางใจระหว่างองค์กร ซึ่งส่งผลต่อการสร้างการพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากความสัมพันธ์รูปแบบพันธมิตรอยู่บนความไว้วางใจโดยควรให้ความสำคัญทั้งความไว้วางใจระหว่างองค์กรและความไว้ใจระหว่างบุคคลเนื่องจากมีส่วนช่วยให้องค์กรเข้าถึงทรัพยากรที่มากขึ้นและส่งเสริมการร่วมมือกันในระหว่างพันธมิตรรวมถึงประสบการณ์การทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในอดีตมีส่วนช่วยให้บริษัทสร้างแนวทางการทำงานและสามารถบริหารจัดการพันธมิตรได้ดีมากยิ่งขึ้นเพื่อให้การร่วมงานกับพันธมิตรราบรื่นที่สุดและจะทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของการสร้างพันธมิตรช่วยให้ความสัมพันธ์เหนียวแน่นและยืนยาวยิ่งขึ้น ส่งผลต่อความ<br />พึงพอใจแก่เจ้าของบริษัทเทคโนโลยีขนาดเล็กและขนาดกลาง<br /> ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางสำหรับเจ้าของบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ขององค์กรด้านเทคโนโลยี หรือองค์กรที่ต้องการสร้างพันมิตรกับบริษัทเทคโนโลยี มีความเข้าใจและออกแบบการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ และทำให้การร่วมมือกับพันธมิตรนั้นประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ตามจุดประสงค์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านทางการร่วมพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ได้ในอนาคต</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/266426 การประยุกต์ใช้แบบจำลองจากตัวแทนกับงานวิจัยทางธุรกิจ 2023-11-29T09:54:03+07:00 รุ่งทิวา เดชะปรากรม r.dechaprakrom24@gmail.com ชัยวัฒน์ ใบไม้ cbaimai@yahoo.com <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลองจากตัวแทน (ABM) กับงานวิจัยทางธุรกิจวิธี ABM มีข้อได้เปรียบหลายประการเมื่อเทียบกับวิธีวิจัยแบบดั้งเดิม เพราะสามารถช่วยให้นักวิจัยทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบในระยะยาว และช่วยในการทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ของตัวแทนในระบบซับซ้อนได้ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้วิธี ABM ในฐานข้อมูล Scopus และในวารสารทางการบริหารธุรกิจที่ได้รับการยอมรับ เพื่อหาช่องว่างในการวิจัยที่สามารถจะเข้าไปเติมเต็มได้ ผลการสำรวจพบว่า นักวิจัยนำวิธี ABM ไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จำนวนงานวิจัยทางธุรกิจจะยังมีจำนวนน้อย คือเพียงร้อยละ 3.2 ส่วนเทคนิคที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ตัวแบบ Kauffmann’s NK และพลวัตระบบ อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนวรรณกรรมยังไม่พบการใช้วิธีเซลลูลาร์ออโตมาตากับงานวิจัยทางธุรกิจ ผู้เขียนจึงนำเสนอแนวทางการใช้เทคนิคนี้กับงานวิจัยด้านการเป็นผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในบริบทที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์