วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" align="center"> <tbody> <tr> <td width="500" height="263"><img src="http://journal.bus.ku.ac.th/images/banners/b3Co.jpg" alt="b3Co" width="500" height="263" /></td> <td> </td> <td> <p> “วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal)” เรามุ่งเน้นเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสาขาบริหารธุรกิจ โดยมีขอบเขตและเป้าหมายในการตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาด้านการเงิน การจัดการ การจัดการการผลิต การตลาด การบัญชี และสาขาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ และยังเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม </p> <span lang="TH"><br /></span></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> ในสาขาบริหารธุรกิจทั่วประเทศ ได้มีแหล่งนำเสนอบทความและผลงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ให้เผยแพร่สู่ชุมชนวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้จัดทำฉบับพิมพ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ได้เริ่มเผยแพร่ฉบับพิมพ์ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2550) </p> <p> และในปี พ.ศ. 2560 คณะทำงานฯ ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) ให้เป็นวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ ISSN: 1906-0254 (Print) และ ISSN: 2539-6250 (Online) ซึ่งจะเริ่มในปีที่ 11 ฉบับที่ 14 เดือนมิถุนายน 2560 ควบคู่ไปกับวารสารฉบับพิมพ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงบทความในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว</p> <p> โดยในปัจจุบันทางวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) ได้ดำเนินการยกเลิกวารสารฉบับรูปเล่ม เหลือเพียงวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และดำเนินการเปลี่ยนเลขใหม่ <strong>ISSN: 2985-2277 (Online) ซึ่งจะเริ่มใช้เลข ISSN ดังกล่าวนี้ ในปีที่ 17 ฉบับที่ 27 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป</strong></p> <p> กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความต่างๆที่ปรากฏในวารสารจะส่งผลประโยชน์ทางวิชาการแก่ท่านตามสมควร และหากท่านมีความประสงค์จะติชมหรือให้คำแนะนำ กองบรรณาธิการยินดีรับฟังท่านด้วยความเต็มใจ โดยท่านสามารถส่งข้อเสนอแนะมาที่ E-mail: <a href="mailto:[email protected]">[email protected]</a> หรือที่ <a href="https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/about/contact">https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB</a> เพื่อที่กองบรรณาธิการจะได้รับและนำไปปรับปรุงต่อไป </p> <p>กองบรรณาธิการ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>หลักการและเหตุผล</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดหลักเกณฑ์ว่าบัณฑิตที่ศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จะต้องมีการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ในวารสารทางวิชาการที่มีคณะกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ทั้งนี้เพื่อประกันคุณภาพของผลงานก่อนการเผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติประกอบกับนโยบายดังกล่าวได้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยตลอดจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพด้านการเผยแพร่ผลงาน วิชาการภายใต้เกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยที่มีดัชนีชี้วัดที่ระบุถึงจำนวนวิทยานิพนธ์ ผลงาน งานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งการชี้นำสังคมในแนวทางที่ถูกต้องผ่านการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>วัตถุประสงค์ของโครงการ</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> 1. เพื่อสนองนโยบายของคณะบริหารธุรกิจ ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นิสิตปริญญาโท นิสิตปริญญาเอก และบุคคลที่สนใจได้เผยแพร่ผลงานอันจะนำไปสู่งานบริการทางวิชาการระดับนานา ชาติ</p> <p> 2. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์</p> <p> 3. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าให้กับนิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้จากบทความ ผลงานวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>ขอบเขตและเป้าหมาย</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์เป็นวารสารที่มีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากหลากหลายสถาบัน ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยวิธีการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งสองฝ่าย (Double-Blind Peer Review) ตามสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตและเป้าหมายในการตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งบทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา ได้แก่</p> <ul> <li><strong>ด้านการเงิน</strong> เช่น การเงินธุรกิจ การลงทุน ตลาดการเงิน อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน นวัตกรรมทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง และประสิทธิภาพของนโยบายทางการเงิน</li> <li><strong>ด้านการจัดการ </strong>เช่น​ การจัดการทรัพยากรมนุษย์​ การบริหารองค์การ​ การพัฒนาธุรกิจ​ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ​ การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม​ ​ และการวิเคราะห์ข้อมูล​</li> <li><strong>ด้านการจัดการเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ</strong> เช่น กลยุทธ์การปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การจัดการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การบริหารคุณภาพ การบริหารโครงการ การบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม การคาดการณ์และนโยบายด้านเทคโนโลยี การประยุกต์เทคโนโลยี ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อองค์กร แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศทางธุรกิจ</li> <li><strong>ด้านการตลาด</strong> เช่น กลยุทธ์การตลาดทั้งในส่วนของ B2B และ B2C การตลาดออนไลน์ พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสารทางการตลาด กลยุทธ์ตราสินค้า การตลาดเพื่อสังคม การตลาดบริการ และการตลาดกีฬา</li> <li><strong>ด้านการบัญชี</strong> เช่น บัญชีการเงิน บัญชีบริหาร การสอบบัญชี การควบคุมภายใน สารสนเทศทางการบัญชี การเปิดเผยข้อมูลของกิจการ (Firm Disclosure) และบัญชีภาษีอากร</li> <li><strong>และสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีการบูรณาการกับศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจ</strong></li> </ul> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>กำหนดออก</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) เป็นวารสารราย 6 เดือน (1 ปี มี 2 ฉบับ) กำหนดออก<br /> <p><strong>- ฉบับที่หนึ่ง</strong> เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน<br /><strong>- ฉบับที่สอง</strong> เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p><br /><br /></p> คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ th-TH วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 2985-2277 การยอมรับเทคโนโลยีและความสำเร็จของระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นตัวแปรส่งผ่าน กรณีศึกษาแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/258004 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จของระบบสารสนเทศของแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT 4) เพื่อศึกษาความตั้งใจใช้งานของแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT 5) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นตัวแปรส่งผ่าน 6) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสำเร็จของระบบสารสนเทศมีต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ของธนาคารกรุงไทย จำนวน 450 คน ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัยด้วยวิธีการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า 1) การยอมรับเทคโนโลยี ในด้าน การรับรู้ถึงประโยชน์ และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานส่งผลทางตรงต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน 2) ความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ในด้าน คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพระบบ และคุณภาพการบริการส่งผลทางตรงต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานส่งผลทางตรงต่อความตั้งใจใช้ 4) การยอมรับเทคโนโลยีในด้าน การรับรู้ถึงประโยชน์ และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานส่งผลทางอ้อมต่อความตั้งใจใช้โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นตัวแปรส่งผ่าน 5) ความสำเร็จของระบบสารสนเทศในด้าน คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพระบบ และคุณภาพการบริการส่งผลทางอ้อมต่อความตั้งใจใช้โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> นิพนธ์ บัวบาน ทรงพร หาญสันติ ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 17 27 1 20 10.14456/kab.2023.7 การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดหวานสำหรับการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/258956 <p>ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปหลายชนิด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือที่มีปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานและข้าวโพดหวานแปรรูปสูงสุดในประเทศและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2561 อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ประเทศไทยกลับมีพื้นที่เพาะปลูกพื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตข้าวโพดหวานลดลง จึงจำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดหวานสำหรับการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดหวานในประเทศไทย 2) ทดสอบความแตกต่างของผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดหวาน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นด้วยวิธีเจาะจง ได้แก่ ผู้ประกอบการสินค้าข้าวโพดหวานจำนวน 200 ราย ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์สถิติพรรณนาและสถิติแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SmartPLS 3) ผลการวิจัย พบว่า มีองค์ประกอบปัจจัยเสี่ยงภายในห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร 5 องค์ประกอบหลักที่ผ่านการสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงด้านชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน ความเสี่ยงด้านอุปทาน และความเสี่ยงด้านอุปสงค์ ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาแนวทาง นโยบาย นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดหวานนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ</p> ฐากูร ศิริยอด ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ สุขเกษม ลางคุลเสน ชัยฤกษ์ ตันติเตชา นลินทิพย์ กองคำ ธนวรกฤต โอฬารธนพร Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 17 27 21 43 10.14456/kab.2023.8 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์วิชาชีพ การประเมินแก่นแท้ตนเอง ทัศนคติในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรในกลุ่มตัวอย่างนักบัญชีของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/259111 <p>มีการศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (Organizational Citizenship Behavior: OCB) ของบุคลากรจากหลากหลายอาชีพ เช่น อาจารย์ วิศวกร พยาบาล พนักงานธนาคาร พนักงานฝ่ายผลิต ทหาร เป็นต้น ในขณะที่การศึกษาเรื่องดังกล่าวในกลุ่มนักบัญชีได้รับความสนใจยังไม่มากนัก ทั้ง ๆ ที่วิชาชีพบัญชีมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะงบการเงินของนักบัญชีมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักธุรกิจในกิจการต่าง ๆ อย่างมาก จากกรอบแนวคิด เรื่อง OCB ของ Organ (1988) งานวิจัยนำร่องชิ้นนี้ต้องการศึกษาการรับรู้ OCB ของนักบัญชีและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์วิชาชีพ การประเมินแก่นแท้ตนเอง ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์กร การสนับสนุนจากหัวหน้างาน และ OCB ดังกล่าวของนักบัญชีในบริษัทลูกของญี่ปุ่นทั่วประเทศด้วยแบบสอบถามกับนักบัญชีจำนวน 116 คน ใน 15 กลุ่มอุตสาหกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีรับรู้ OCB ในสามมิติคือการให้ความช่วยเหลือ การมีจิตสำนึกและให้ความร่วมมือโดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรต้นทั้งห้าแต่ได้รับอิทธิพลจากสามตัวแปรเท่านั้นคืออัตลักษณ์วิชาชีพ การประเมินแก่นแท้ตนเอง และความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้พัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพและ OCB ของนักบัญชีในบริบทของวัฒนธรรมองค์กรว่าด้วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลูกของญี่ปุ่นในประเทศไทยมีข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรพร้อมทั้งแนวทางขยายผลการศึกษาต่อไปทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงการวิจัย</p> สรรเสริญ สัตถาวร Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 17 27 44 70 10.14456/kab.2023.9 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรและอิทธิพลของความผูกพันองค์กรต่อประสิทธิผลการทำงาน กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/260735 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมความผูกพันองค์กรมีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กร และ 2) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยความผูกพันองค์กรส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 525 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมความผูกพันองค์กรด้านภาพลักษณ์องค์กร ผู้บังคับบัญชา และความร่วมมือ ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และยังพบว่า ปัจจัยความผูกพันองค์กรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพูดถึงองค์กรในทางที่ดี (Say) 2) ด้านการคงอยู่เป็นพนักงาน (Stay) และ 3) ด้านการทำงานอย่างเต็มความสามารถ (Strive) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> เวทยา ใฝ่ใจดี สุขยืน เทพทอง วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 17 27 71 87 10.14456/kab.2023.10 รูปแบบความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/260921 <p>บทบาทของนักบัญชีนิติวิทยามีความสำคัญอย่างมากในการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจหรือการทุจริตทางบัญชี แต่การศึกษางานวิจัยที่ส่งเสริมความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทยกับหลักฐานเชิงประจักษ์ 2) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุในรูปแบบความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและทำเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จำนวน 276 ราย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณได้รับอิทธิพลทางตรงในทางบวกจากทักษะที่สำคัญต่อการเป็นนักบัญชีนิติวิทยา นอกจากนี้ความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีนิติวิทยาได้รับอิทธิพลทางอ้อมในทางบวกจากทักษะที่สำคัญต่อการเป็นนักบัญชีนิติวิทยาโดยมีการปฏิบัติงานของนักบัญชีนิติวิทยาเป็นตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลลัพธ์การวิจัยจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบเพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีนิติเวชในประเทศไทยต่อไปได้ในอนาคต</p> ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์ สุภาวดี สุขีชีพ มอสส์ Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 17 27 88 119 10.14456/kab.2023.11 พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยก่อนและหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/261714 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสลากฯ และหวยในกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยหรือทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้เหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 เป็นปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ รวมถึงศึกษาระดับของอคติด้านอัตราส่วนของผู้ซื้อสลากฯ และหวยโดยเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ซื้อสลากฯ และหวย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช่ความน่าจะเป็น (non-probability sampling) และมีจำนวนข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย 386 คน จากผลการวิจัย พบว่า กลุ่มที่เป็นผู้ที่ซื้อทั้งสลากฯ และหวย และกลุ่มที่ซื้อสลากฯ เพียงอย่างเดียวมีพฤติกรรมที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ซื้อทั้งสลากฯ และหวยไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแม้จะเป็นช่วงหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว ในขณะที่ผู้ที่ซื้อสลากฯ เพียงอย่างเดียวมีแนวโน้มที่จะลดการซื้อลงหรือเลิกซื้อไปในที่สุด นอกจากนั้นผู้วิจัยทำการวัดอคติด้านอัตราส่วน (ratio bias) ซึ่งชี้ว่าคนทั่วไปมีความเข้าใจผิดว่าอัตราส่วนที่ใช้ตัวเลขที่สูงจะมีค่ามากกว่าตัวเลขที่ต่ำ เช่น 9/100 มากกว่า 1/10 ซึ่งในการวิจัยนี้ พบว่า กลุ่มที่ซื้อทั้งสลากฯ และหวยมีอคติสูงที่สุดตามด้วยกลุ่มที่ไม่ได้ซื้อสลากฯ และหวย ผู้ซื้อสลากฯ อย่างเดียวมีคะแนนอคติต่ำกว่ากลุ่มอื่นแสดงว่าผู้ที่เสี่ยงโชคโดยการซื้อสลากฯ หรือหวยนั้นไม่ได้เป็นผู้ที่มีอคติด้านอัตราส่วนสูงกว่าคนทั่วไป จากการวิเคราะห์สมการถดถอย ระดับของอคติไม่ได้มีผลทำให้ซื้อสลากฯ น้อยลงในสถานการณ์ของโควิด-19 แต่เป็นปัจจัยที่เกิดจากรายได้ลดลงและปัจจัยเฉพาะกลุ่มที่ซื้อสลากฯ อย่างเดียวเท่านั้น</p> ธนากร ลิขิตาภิวัฒน์ ณัตติฤดี เจริญรักษ์ นวัต วรรณแสงทอง Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 17 27 120 147 10.14456/kab.2023.12