วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" align="center"> <tbody> <tr> <td width="500" height="263"><img src="http://journal.bus.ku.ac.th/images/banners/b3Co.jpg" alt="b3Co" width="500" height="263" /></td> <td> </td> <td> <p> “วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal)” เรามุ่งเน้นเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสาขาบริหารธุรกิจ โดยมีขอบเขตและเป้าหมายในการตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาด้านการเงิน การจัดการ การจัดการการผลิต การตลาด การบัญชี และสาขาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ และยังเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม </p> <span lang="TH"><br /></span></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> ในสาขาบริหารธุรกิจทั่วประเทศ ได้มีแหล่งนำเสนอบทความและผลงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ให้เผยแพร่สู่ชุมชนวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้จัดทำฉบับพิมพ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ได้เริ่มเผยแพร่ฉบับพิมพ์ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2550) </p> <p> และในปี พ.ศ. 2560 คณะทำงานฯ ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) ให้เป็นวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ ISSN: 1906-0254 (Print) และ ISSN: 2539-6250 (Online) ซึ่งจะเริ่มในปีที่ 11 ฉบับที่ 14 เดือนมิถุนายน 2560 ควบคู่ไปกับวารสารฉบับพิมพ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงบทความในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว</p> <p> โดยในปัจจุบันทางวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) ได้ดำเนินการยกเลิกวารสารฉบับรูปเล่ม เหลือเพียงวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และดำเนินการเปลี่ยนเลขใหม่ <strong>ISSN: 2985-2277 (Online) ซึ่งจะเริ่มใช้เลข ISSN ดังกล่าวนี้ ในปีที่ 17 ฉบับที่ 27 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป</strong></p> <p> กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความต่างๆที่ปรากฏในวารสารจะส่งผลประโยชน์ทางวิชาการแก่ท่านตามสมควร และหากท่านมีความประสงค์จะติชมหรือให้คำแนะนำ กองบรรณาธิการยินดีรับฟังท่านด้วยความเต็มใจ โดยท่านสามารถส่งข้อเสนอแนะมาที่ E-mail: <a href="mailto:kabjournal@ku.ac.th">kabjournal@ku.ac.th</a> หรือที่ <a href="https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/about/contact">https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB</a> เพื่อที่กองบรรณาธิการจะได้รับและนำไปปรับปรุงต่อไป </p> <p>กองบรรณาธิการ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>หลักการและเหตุผล</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดหลักเกณฑ์ว่าบัณฑิตที่ศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จะต้องมีการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ในวารสารทางวิชาการที่มีคณะกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ทั้งนี้เพื่อประกันคุณภาพของผลงานก่อนการเผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติประกอบกับนโยบายดังกล่าวได้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยตลอดจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพด้านการเผยแพร่ผลงาน วิชาการภายใต้เกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยที่มีดัชนีชี้วัดที่ระบุถึงจำนวนวิทยานิพนธ์ ผลงาน งานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งการชี้นำสังคมในแนวทางที่ถูกต้องผ่านการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>วัตถุประสงค์ของโครงการ</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> 1. เพื่อสนองนโยบายของคณะบริหารธุรกิจ ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นิสิตปริญญาโท นิสิตปริญญาเอก และบุคคลที่สนใจได้เผยแพร่ผลงานอันจะนำไปสู่งานบริการทางวิชาการระดับนานา ชาติ</p> <p> 2. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์</p> <p> 3. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าให้กับนิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้จากบทความ ผลงานวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>ขอบเขตและเป้าหมาย</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> <p> วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์เป็นวารสารที่มีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากหลากหลายสถาบัน ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยวิธีการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งสองฝ่าย (Double-Blind Peer Review) ตามสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตและเป้าหมายในการตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งบทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา ได้แก่</p> <ul> <li><strong>ด้านการเงิน</strong> เช่น การเงินธุรกิจ การลงทุน ตลาดการเงิน อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน นวัตกรรมทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง และประสิทธิภาพของนโยบายทางการเงิน</li> <li><strong>ด้านการจัดการ </strong>เช่น​ การจัดการทรัพยากรมนุษย์​ การบริหารองค์การ​ การพัฒนาธุรกิจ​ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ​ การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม​ ​ และการวิเคราะห์ข้อมูล​</li> <li><strong>ด้านการจัดการเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ</strong> เช่น กลยุทธ์การปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การจัดการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การบริหารคุณภาพ การบริหารโครงการ การบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม การคาดการณ์และนโยบายด้านเทคโนโลยี การประยุกต์เทคโนโลยี ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อองค์กร แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศทางธุรกิจ</li> <li><strong>ด้านการตลาด</strong> เช่น กลยุทธ์การตลาดทั้งในส่วนของ B2B และ B2C การตลาดออนไลน์ พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสารทางการตลาด กลยุทธ์ตราสินค้า การตลาดเพื่อสังคม การตลาดบริการ และการตลาดกีฬา</li> <li><strong>ด้านการบัญชี</strong> เช่น บัญชีการเงิน บัญชีบริหาร การสอบบัญชี การควบคุมภายใน สารสนเทศทางการบัญชี การเปิดเผยข้อมูลของกิจการ (Firm Disclosure) และบัญชีภาษีอากร</li> <li><strong>และสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีการบูรณาการกับศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจ</strong></li> </ul> <p> </p> </td> </tr> <tr> <td colspan="3"><strong>กำหนดออก</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="3"> วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal: KAB Journal) เป็นวารสารราย 6 เดือน (1 ปี มี 2 ฉบับ) กำหนดออก<br /> <p><strong>- ฉบับที่หนึ่ง</strong> เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน<br /><strong>- ฉบับที่สอง</strong> เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p><br /><br /></p> th-TH <p><em><span style="font-weight: 400;">Journal of TCI is licensed under a Creative Commons </span></em><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><em><span style="font-weight: 400;">Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</span></em></a><em><span style="font-weight: 400;"> licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...</span></em></p> kabjournal@ku.ac.th (Miss. Thanyalak Pengpinit) thongpan.k@ku.th (Mr. Thongpan Kunteekom) Mon, 30 Dec 2024 14:29:12 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การเปรียบเทียบมิติคุณภาพบริการรถยนต์โดยสารสาธารณะและผู้ให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น: การเรียนรู้จากอดีตในกรณีศึกษาความเชื่อมั่นจากการเริ่มดำเนินการในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/267336 <p>งานวิจัยนี้เจาะลึกถึงตัวขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังความพึงพอใจของลูกค้าในด้านคุณภาพการบริการสำหรับทั้งบริการรถยนต์โดยสารสาธารณะและผู้ให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยจัดทำกรอบการความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจ คุณภาพการบริการ และความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการ ในช่วงเวลาที่มีการเริ่มการใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยทำการสำรวจผู้รับบริการที่เคยมีประสบการณ์ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและผ่านแอปพลิเคชั่น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่จับต้องได้ เช่น รูปลักษณ์ การแต่งกาย และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ในการบริการ เช่น ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจโดยรวมสำหรับรถยนต์โดยสารสาธารณะซึ่งมีการกำกับดูแลภายใต้กฏข้อบังคับของกรมการขนส่งทางบก ในขณะที่การบริการผ่านแอปพลิเคชั่น พบว่าสิ่งที่จับต้องได้ ความน่าเชื่อถือ และการตอบสนองต่อความต้องการของผู้โดยสารถือเป็นตัวทำนายความพึงพอใจที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การศึกษา พบว่าความไว้วางใจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการรับรู้คุณภาพการบริการผ่านแอปพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญใน<br />กรอบเวลาของการศึกษานี้ ข้อมูลเชิงลึกที่รวบรวมได้จากการศึกษานี้ไม่เพียงแต่ระบุช่องว่างด้านคุณภาพการบริการภายในอุตสาหกรรมยนต์โดยสารเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เกิดความเข้าใจที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับคุณภาพการบริการและความไว้วางใจภายในภูมิทัศน์ทั่วโลกของบริการผ่านแอปพลิเคชั่นที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพลวัตรของเทคโนโลยีในปัจจุบันอีกด้วย</p> พราวพรรณ ธารสิทธิ์พงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/267336 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีในการจัดการห่วงโซ่คุณค่า: กรณีโรงงานผลิตในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/271261 <p>การบัญชีบริหารมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจ รวมถึงข้อมูลการแข่งขันในตลาดเพื่อให้สามารถกำหนดและติดตามนโยบายได้อย่างเหมาะสม กิจการต้องไม่เพียงแค่ใช้ข้อมูลบัญชีบริหารในการวางแผนและควบคุม แต่รวมถึงข้อมูลทั้งภายในและระหว่างกิจการ บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลบัญชีและการบริหารจัดการโซ่คุณค่าในบริบทของบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย การวิจัยใช้การสำรวจเบื้องต้นเพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารด้านบัญชีของบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทยจำนวน 315 ราย ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพข้อมูลทางการบัญชีมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการโซ่คุณค่า โดยมีคุณภาพของข้อมูลด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เชื่อถือได้ ความเปรียบเทียบได้ การเข้าใจได้ ความทันเวลา นอกจากนี้การประยุกต์ใช้การบริหารจัดการโซ่คุณค่าในบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทยต้องใช้มาตรการกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการโซ่อุปทาน การศึกษายังเปิดเผยว่า การนำหลักการความสามารถในการต้นทุนมีอิทธิพลสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโซ่คุณค่าและความเข้าใจง่าย ในสรุป การศึกษานี้ยืนยันความสำคัญของข้อมูลบัญชีสำหรับการบริหารจัดการโซ่คุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพในกิจการอุตสาหกรรม</p> ไตรรงค์ สวัสดิกุล, เซียวช่วย เฉิน, จิระพันธ์ ชูจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/271261 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทักษะทางสังคมที่มีต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/271687 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างทักษะทางสังคมด้านบัญชีซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ ทักษะการแก้ไขปัญหาทางด้านบัญชี ที่มีต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทางไปรษณีย์ที่ตอบโดยผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 117 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการจัดการองค์กรที่เป็นเลิศมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อทักษะการแก้ไขปัญหาทางด้านบัญชี ในขณะที่ทักษะการแก้ไขปัญหาทางด้านบัญชีมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผลการศึกษาครั้งนี้ให้หลักฐานที่บ่งชี้ถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของทักษะทางสังคมในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพในองค์กรขนาดใหญ่ โดยแสดงให้เห็นถึงความต้องการทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความเข้าใจในกระบวนการและวัฒนธรรมองค์กร ที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนทางด้านบัญชี และส่งผลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งอาจต้องมีทักษะทางสังคมเหล่านี้สูงกว่าเมื่อเทียบกับนักบัญชีในสายงานอื่น ซึ่งผลการศึกษายังยืนความจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางสังคมข้อกำหนดของมาตราฐานการศึกษาวิชาชีพบัญชีสากล และข้อกำหนดด้านการศึกษาบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชีของไทย ซึ่งถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนแนวคิดของสภาวิชาชีพบัญชีในการพัฒนาทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skill) ทั้งด้านการบริหารความสัมพันธ์และทักษะการทำงานในองค์กร เพื่อให้มีทักษะในการแก้ไขปัญหาทางด้านบัญชีของนักบัญชีของไทยในอนาคต</p> เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์, วรวิทย์ เลาหะเมทนี Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/271687 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 วิวัฒนาการของผู้ประกอบการสีเขียว: การวิเคราะห์บรรณานุกรมและการทบทวนวรรณกรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/272210 <p>แนวความคิดของการเป็นผู้ประกอบการสีเขียว มีบทบาทสําคัญในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกผ่านกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ปฏิรูปใหม่ การวิเคราะห์บรรณมิตินี้ ได้ทำการตรวจสอบวิวัฒนาการ ผลกระทบ และโครงสร้างทางปัญญาของการวิจัยในการเป็นผู้ประกอบการสีเขียวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2567 โดยใช้ข้อมูลจากบทความที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 223 บทความ การศึกษาของเราเผยให้เห็นความสนใจทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเน้นประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความยั่งยืน นวัตกรรม และเศรษฐกิจหมุนเวียน การกระจายทางภูมิศาสตร์ของงานวิจัย ได้ชี้ให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และอิตาลี โดยสะท้อนถึงการเป็นผู้นำในการบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับการดำเนินธุรกิจ โครงสร้างทางปัญญา ที่ผ่านการวิเคราะห์การอ้างอิงร่วมโดยใช้โปรแกรม VOSviewer ได้ระบุถึงผู้เขียนและบทความที่มีอิทธิพล ซึ่งมีการจัดกลุ่มแนวคิดก้าวหน้าที่ผสานการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้ากับนวัตกรรมของผู้ประกอบการ แนวโน้มใหม่ในการวิจัยในหัวข้อการเป็นผู้ประกอบการสีเขียว ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องที่เพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และความสำคัญของกรอบนโยบายในการส่งเสริมโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน <br />การประติดประต่อนี้ ไม่เพียงแต่กำหนดโดยเส้นทางการวิจัยในอดีตเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นถึงวิธีการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งสำหรับอนาคต เพื่อพัฒนาแนวทางสหวิทยาการในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนภายในระบบนิเวศของผู้ประกอบการ</p> ฐิติกรณ์ ณรงค์ฤทธิ์, ธันภัท เกษมวัฒนะสุข Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/272210 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ร่วมกับเทคโนโลยีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำตาลแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/272281 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และเพื่อเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยการวัดประสิทธิผลโดยรวมร่วมกับเทคโนโลยีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ของโรงงานผลิตน้ำตาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การวิจัยเริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 120 ราย วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ยด้วยโปรแกรมทางสถิติ SPSS และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวัดประสิทธิผลโดยรวมและเทคโนโลยีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องจักร จำนวน 28 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ได้แก่ การเตรียมความพร้อมเครื่องจักร การตรวจสอบขณะเดินเครื่อง ความชำนาญในการผลิต การหยุดเดินเครื่องจักร เวลาที่ใช้ในการทำงาน และการเขียนโปรแกรมพร้อมตรวจสอบ จึงได้เสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยการวัดประสิทธิผลโดยรวมร่วมกับเทคโนโลยีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสภาพ (Sensor) 2) จัดอบรมพนักงาน 3) วางแผนปรับวิธีปฏิบัติงานและซ่อมบำรุงเครื่องจักร และ 4) เขียนโปรแกรมและปรับตั้งค่าเครื่องจักร ผลจากการวิจัยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรจาก 11.23 ตันต่อชั่วโมง เป็น 15.55 ตันต่อชั่วโมง ผู้วิจัยจึงเสนอให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป</p> ศิริลักษณ์ โตพิพัฒน์ชัยกุล, ปณัทพร เรืองเชิงชุม Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/272281 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายและความตั้งใจที่ จะเข้าพักอีกครั้งของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/273206 <p>แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโรงแรมได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมโรงแรม ปัจจุบันโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมโรงแรมสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดอย่างยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ การวิเคราะห์ผลกระทบของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การรับรู้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจ ต่อความเต็มใจที่จะจ่ายและความตั้งใจที่จะเข้าพักอีกครั้งของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้วีการวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากลูกค้าที่ใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดภูเก็ต จำนวนทั้งสิ้น 408 คน แล้วใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การรับรู้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจ ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายและความตั้งใจที่จะเข้าพักอีกครั้งของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงสามารถช่วยโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดและสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังให้หลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับผลกระทบของแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อธุรกิจโรงแรมและยังเป็นความก้าวหน้าในการพัฒนาไปสู่การจัดการธุรกิจโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นและยั่งยืนต่อไป</p> กชพร ชื่นจันทร์, สิรินทรา สังข์ทอง, นิมิต ซุ้นสั้น Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/273206 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700