การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตในจังหวัดมหาสารคามของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Main Article Content

เสาวลักษณ์ เรียงพรม
อรอุมา ลาสุนนท์

Abstract

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตในจังหวัดมหาสารคาม ของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หมายถึง คุณลักษณะทางชีวสังคมของนิสิต นักศึกษา แต่ละบุคคลที่มีปัจจัยส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตในจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านองค์ประกอบของสถานศึกษา ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ และทำเลที่ตั้งของสถานศึกษา ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด คือ มีโควตาและโครงการพิเศษ  ปัจจัยด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง การวิจัยในครั้งนี้มีความ              มุ่งหมายเพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตในจังหวัดมหาสารคาม   ของผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และทราบข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระบบพิเศษ (เทียบเข้า) รหัส 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี 4 ปี เทียบโอน  รหัส 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  จำนวนทั้งสิ้น 255 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)                                                           (บุญธรรม กิจปรีดาสุทธิ์. 2540) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อนิสิตระบบพิเศษ (เทียบเข้า) รหัส 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในภาพรวมของ ปัจจัยที่มีผลต่อ              การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อนิสิตระบบพิเศษ (เทียบเข้า) รหัส 59  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ โดยคาดว่าจบสถาบันนี้ จะมีทักษะวิชาชีพตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ มีความก้าวหน้า              ในหน้าที่การงาน ตลอดจนมีใบประกอบวิชาชีพ (กว.รับรอง)

  2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี 4 ปี เทียบโอน รหัส 59                     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม รายด้านอยู่ในระดับมาก  3 และระดับปานกลาง 3 ข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในภาพรวมของ ปัจจัยด้านราคา

            ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่มีข้อมูลที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ที่มีความประสงค์จะเรียนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ มีภูมิลำเนา มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกร บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีระดับการศึกษา อยู่ในระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา  มีรายได้ครอบครัวต่อเดือน อยู่ระหว่าง 10,000 ถึง 20,000 บาท  นิสิต นักศึกษา มีความตั้งใจที่จะเข้ามาศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งสองสถาบัน โดยเลือกเป็นอันดับหนึ่ง และทราบช่องทางการเข้ามาศึกษาต่อจากเว็บไซต์ของคณะ


            ปัจจัยที่แตกต่างกัน คือ นิสิตระบบพิเศษ (เทียบเข้า) รหัส 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มองว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันนี้ จะมีทักษะวิชาชีพตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ตลอดจนมีใบประกอบวิชาชีพ (กว.รับรอง) โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด                คือ 4.20 ในส่วนของ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี 4 ปี เทียบโอน  รหัส 59 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต้องการเข้ามาศึกษาต่อใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มองในเรื่องของ                         ปัจจัยด้านราคา ซึ่งค่าธรรมเนียมและค่าหน่วยกิตแบบเหมาจ่ายของคณะฯ เหมาะสม โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 4.69

Article Details

Section
Research articles

References

กุลธนี ศิริรักษ์. (2551). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและปัจจัยในการเลือกสถาบันในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 10 ฉบับที่ 3.

ฉัตรชัย อินทสังข์ และคณะ. (2554). ความต้องการศึกษาต่อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ของนักศึกษา จังหวัดนครราชสีมา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์และปกเจริญผล.

ธนกฤต ยืนยงเดชา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยเชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รายงานประจำปี. (2559). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า 2.

วรรณกาญจน์ กันธอินทร์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกคณะเพื่อศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.