ปัจจัยส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ ที่มีความสัมพันธ์ต่อบทบาทการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อบทบาทการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของพยาบาลวิชาชีพโดย กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพของรัฐในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จำนวน 131 คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามบทบาทการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อบทบาทการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของพยาบาลวิชาชีพโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's correlation)
ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 91.6 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 53.4 มีอายุระหว่าง 22-59 ปี (M=31.93, SD = 8.47) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 88.5 ผ่านการอบรมตามหลักสูตรเวชปฏิบัติร้อยละ 38.2 ด้านบทบาทการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของพยาบาลวิชาชีพโดยรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (M=4.28 , SD=.43) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อบทบาทการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า อายุ สถานภาพ และการศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .164; p=.011), (r = .173; p = .033) และ (r = .229; p = .002) ตามลำดับ
การศึกษาครั้งนี้พบว่าพยาบาลวิชาชีพเห็นความสำคัญของบทบาทของตนเองต่อการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ดังนั้นควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพได้ความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิตั้งแต่เป็นนักศึกษาพยาบาลและสร้างเสริมความสำคัญของการทำงานเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิร่วมกับสหวิชาชีพอื่น
Article Details
References
ะทรวงสาธารณสุข.(2560). ข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.).สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม
, จาก http://bie.moph.go.th/bie/meeting_file/meeting_file2/2.8.pdf
กระทรวงสาธารณสุข.(2562). 10 ตัวชี้วัดสุขภาพคนไทย.สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก
https://hss.moph.go.th/fileupload_doc_slider/2016-12-08--465.pdf
กองการพยาบาล.(2561).บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ.นนทบุรี: สื่อตะวัน จำกัด
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และประชาทิป กะทา.(2551). ปรัชญาสุขภาพปฐมภูมิ. นิตยสารสุขศาลา. 1 (1), 42-47.
คณะกรรมการงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อคปสอ.วานรนิวาส.(2560).คู่มือปฏิบัติงานการป้องกันและ
ควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล คปสอ.วานรนิวาส จังหวัดสกลนคร.สกลนคร: คปสอ.วานรนิวาส.
จักษ์ พันธ์ชูเพชร.(2554).การสร้าง Team work. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563, จาก
http://oknation.nationtv.tv/blog/chuanhospital/2011/03/15/entry-2
ชญาลักษณ์ สิริภักดีกาญจน์และเบญจมาศ บุญรับพายัพ.(2557).การพัฒนาบันไดวิชาชีพทางการพยาบาล.
วารสารพยาบาลทหารบก.15(3), 75-80.
ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2553).เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ
อินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
เบญจรัตน์ สมเกียรติ.(2544).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การแลกเปลี่ยนระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วย
กับพยาบาลประจำการ การสนับสนุนจากองค์การ กับการปฎิบัติงานตามบทบาทของพยาบาล
ประจำการ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา.(2540). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540.
กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
โศรตรีย์ แพน้อย, อติญาณ์ ศรเกษตริน และชุลีพร เอกรัตน์.(2556).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของ
หน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสาธารณสุขเขต 6.วารสารพยาบาลกระทรวง
สาธารณสุข.22(2),64-74.
สุภาพร เสือรอด.(2557).ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน พื้นที่ติดชายแดน
ภาคตะวันตก.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรินทร์ กู้เจริญประสิทธิ์ และพรเทพ ศิริวนารังสรรค์.(2561).การจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตเมือง
กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2560.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.8 (2), 182-
อติญาณ์ ศรเกษตริน, อรวรรณ สัมภวะมานะ และกาญจนา สุวรรณรัตน์. (2553).การปฏิบัติงานตามบทบาท
ของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ.วารสารกองการพยาบาล. 37(3), 52-63.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power
analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior
Research Methods. 39, 175-191
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using
G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research
Methods. 41, 1149-1160.