ผ้าแส่ว : ต้นแบบแห่งลวดลายบนผืนผ้าแพรวา

Main Article Content

สุชานาถ บุญเที่ยง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงบันดาลใจของสตรีชาวผู้ไทในการสร้างสรรค์
ลวดลายและวิธีจัดเก็บแม่ลายผ้าแพรวาโบราณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม กับสตรีชาวผู้ไทช่วงอายุ 50-80 ปี จำนวน 
30 คน ที ่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์
ลวดลายบนผืนผ้าแพรวาของสตรีชาวผู้ไทมาจาก 4 แนวคิด คือ 1) การสร้างสรรค์ลวดลาย
ด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปพฤกษา 2) การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจาก
การสังเกตรูปและพฤติกรรมของคนและสัตว์ 3) การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจ
จากการสังเกตรูปสิ่งของเครื่องใช้ และ 4) การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการ
สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยสตรีชาวผู้ไทจะเก็บรักษาแม่ลายผ้าแพรวาโบราณสำหรับใช้
เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานด้วยวิธีใช้ด้ายสีต่าง ๆ ปักลวดลายที่ลงบนผืนผ้าฝ้ายสีขาว
รูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กเรียกว่า “ผ้าแส่ว” นอกจากนี้ผลการถอดแบบแม่ลายผ้าแพรวาโบราณ
จากผ้าแส่วโดยใช้เทคนิคการสเกตซ์ภาพด้วยโปรแกรม Illustrator CS 6 สามารถใช้เป็น
เครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ลายผ้าแพรวาโบราณต่อไป

Article Details

Section
Research articles