พฤติกรรมการใช้งาน และปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE ของผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วงศกร ยุกิจภูต
เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งาน ระดับความผูกพัน และปัจจัย
ที่มีผลต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE ของผู้ใช้งานในกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัย
เชิงสำรวจ ตัวอย่าง คือ ผู้ใช้งาน LINE ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน ใช้แบบสอบถาม
เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์
โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน LINE ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้งาน
มากกว่า 3 ปี มีลักษณะการใช้งานทุกครั้งที่มีการแจ้งเตือน ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัว/
ญาติ/เพื่อน ในขณะที่การซื้อผลิตภัณฑ์สติ๊กเกอร์ (Sticker) ของ LINE ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา 
มีเพียงร้อยละ 36.10 และมีการซื้อผลิตภัณฑ์ธีม (Theme) ของ LINE ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา 
เพียงร้อยละ 14.29 นอกจากนี้ LINE เป็นแอปพลิเคชันที่เกี่ยวกับ Social Network ที่ใช้งาน
บ่อยที่สุด แต่ในกรณีที่ LINE มีการเก็บค่าบริการรายปี ผู้ใช้งานจะไม่ใช้บริการถึงร้อยละ 78.70
เมื่อพิจารณาถึงระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันโดยรวมอยู่ในระดับ
เห็นด้วย โดยด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงที่สุด คือ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในระดับ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง รองลงมาคือ ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ การส่งมอบการบริการ 

ความใส่ใจและการให้ความสำคัญกับลูกค้า และความจริงใจและความรับผิดชอบอยู่ในระดับ
เห็นด้วย สำหรับความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE ของผู้ใช้งาน LINE พบว่า มีระดับความคิด
เห็นเกี่ยวกับความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที ่มีผลต่อความผูกพันของผู้ใช้งาน LINE ในกรุงเทพมหานคร 
พบว่า ความใส่ใจและการให้ความสำคัญกับลูกค้ามีอิทธิพลโดยรวมเชิงบวกต่อความผูกพัน
ในแอปพลิเคชัน LINE มากที่สุด รองลงมาคือ การส่งมอบการบริการ ความจริงใจและความรับ
ผิดชอบ ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ และคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เมื่อพิจารณาอิทธิพล
ทางตรง พบว่า ความผูกพันของผู้ใช้งาน LINE ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความใส่ใจ
และการให้ความสำคัญกับลูกค้ามากที่สุด รองลงมา คือ ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ และ
คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และเมื่อพิจารณาอิทธิพลทางอ้อม พบว่า การส่งมอบการบริการ
มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกพันของผู้ใช้งาน LINE โดยส่งผ่านภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ 
ส่งผ่านความใส่ใจและการให้ความสำคัญกับลูกค้า และส่งผ่านความจริงใจและความรับผิดชอบ

 

Article Details

Section
Research articles