ผลการพัฒนาแบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือ ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบเร่งรัดเพื่อพัฒนาการรู้หนังสือในระดับนำไปใช้ได้ของนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทย ก่อนการศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งในขั้นตอนนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทย ด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทย ด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาโคก อำเภอเมือง จังหวัดเลย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 23 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียน 2) แบบบันทึกข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ในการตรวจพิจารณาความสอดคล้องของแบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียน 3) แบบบันทึกผลการทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียน การวิเคราะห์ข้อมูล คะแนนเป็นค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างแบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทย ด้านการอ่านและการเขียน ได้แบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทย ด้านการอ่าน ที่ประกอบด้วย แบบทดสอบ 3 ตอน ได้แก่ การอ่านคำ จำนวน 50 คำ ตอนที่ 2 การอ่านประโยค จำนวน 7 ประโยค และการอ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องที่กำหนดให้ จำนวน 1 เรื่อง และ แบบทดสอบคัดกรองและวินิจฉัยนักเรียนที่มีภาวะวิกฤติการรู้หนังสือภาษาไทย ด้านการเขียน ที่ประกอบด้วย แบบทดสอบ 3 ตอน ได้แก่ การเขียนคำ จำนวน 50 คำ ตอนที่ 2 การเขียนประโยค จำนวน 7 ประโยค และการเขียนบรรยายภาพ จำนวน 1 ภาพ