การพัฒนาโมเดลการวัดความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

เบญจมาศ บุดศรี จตุภูมิ เขตจัตุรัส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 720 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบวัดความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมLisrel 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ 11 ตัวแปร ได้แก่  องค์ประกอบที่ 1 ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มี 7 ตัวแปร คือ การวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลเหตุการณ์โลก การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเคารพสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การเข้าร่วมกิจกรรมการเมืองในระดับต่างๆ และการมีจิตสาธารณะ องค์ประกอบที่ 2 ด้านคุณลักษณะภายในบุคคล มี 4 ตัวแปร คือ การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ การยอมรับคุณค่าในความหลากหลาย  และการมองเห็นและเข้าถึงปัญหาในฐานะของสมาชิกโลก 2) โมเดลการวัดความเป็นพลโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประจักษ์ พิจารณาจากค่า c2= 48.50, df=37, p = 0.097, GFI = 0.98, AGFI = 0.96 ,  RMSEA=0.029

Article Details

Section
Research articles