https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/issue/feed วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2021-08-26T12:19:26+07:00 Open Journal Systems https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/253518 สถาบันพัฒนาศักยภาพของกำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2021-08-26T12:19:18+07:00 ดำรัส อ่อนเฉวัยง damras@go.buu.ac.th <p>ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปในอนาคต การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ประกอบกับการกำหนดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือ พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภาคตะวันออกตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่ในจังหวัดระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ดังกล่าวมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมเป็น “เมืองท่าการค้าระหว่างประเทศทางทะเล”&nbsp; รูปแบบสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคน จึงเป็นหน่วยงานแกนนำ ในการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อร่วมกันผลิตและพัฒนากำลังคนสอดคล้องกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคต ในการตอบสนองการเติบโตของอุตสาหกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวคือสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนจะเป็นหน่วยงานแกนนำด้านการพัฒนาศักยภาพกำลังคนทั้งการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเดิม เพิ่ม&nbsp; ใหม่ สำหรับ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ภายในตัวบุคคล ประกอบด้วย Soft Skill คือ ความเป็นมนุษย์ และภาษาและการสื่อสาร Hard Skill คือ ความสามารถด้านการปฏิบัติงาน และความสามารถด้านดิจิทัล</p> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/253429 ข้อมูลมหัตกับการพัฒนาศักยภาพกำลังคน 2021-08-26T12:19:19+07:00 ดำรัส อ่อนเฉวียง damras@go.buu.ac.th ดวงพร ธรรมะ duangporn@go.buu.ac.th <p>การพัฒนากำลังคน เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลและความต้องการของตลาดแรงงาน ความข้มแข็งของศักยภาพกำลังคนจะสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจและผลิตภาพเพิ่มขึ้นให้กับประเทศ อย่างไรก็ตามทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคนในเขตในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วยบุคคลหลายช่วงวัย และหลายหลายอาชีพ มวลข้อมูลปริมาณมหาศาลจึงความจำเป็นพัฒนากำลังคนทุกมิติ จะทำให้รู้สภาพการณ์&nbsp; รู้ความสัมพันธ์ของปัจจัยตัวแปร รู้ทิศทางหรือแนวโน้ม รู้แนวทางการปฏิบัติการ เหล่านี้จะเป็นการดำเนินการใดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เข้าทำนอง “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” คำว่าข้อมูลมหัต (Big Data)&nbsp; บางครั้งเรียกบิ๊กดาต้า หมายถึง มวลของข้อมูลรูปแบบไฟล์ดิจิทัลที่มีความหลากหลาย ปริมาณมหาศาล มีความความซับซ้อนและความรวดเร็ว ทั้งนี้ข้อมูลปริมาณมากจำเป็นต้องมีพื้นที่จัดเก็บ การจัดการ และการประมวลผล ภายใต้กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลอย่างเหมาะสม</p> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/253727 การรับฟังอย่างลึกซึ้ง : ตัวช่วยยามที่ต้องจัดการชีวิต 2021-08-26T12:19:20+07:00 ธานินทร์ แสนทวีสุข tsantawisuk@gmail.com <p>ทักษะการรับฟังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์ที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ชีวิตต้องเผชิญกับปัญหาหรือวิกฤติที่นอกจากจะส่งผลต่อสภาวะทางกายแล้วยังส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจไม่แพ้กัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเข้าใจความหมายของทักษะการรับฟังอย่างลึกซึ้งที่เป็นการฟังในระดับความรู้สึกและความต้องการเบื้องลึก โดยผู้ฟังมีสิทธิ์เลือกที่จะฟังหรือไม่ฟัง ต้องมีความพร้อมทั้งกายและใจ มีการใคร่ครวญถึงสิ่งที่รับรู้หรือสัมผัสได้ผ่านเรื่องราวและความรู้สึกที่แสดงออกผ่านคำพูด น้ำเสียง สีหน้าท่าทาง และภาษากาย โดยสรุปความเข้าใจจากองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญผสมผสานกับองค์ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในเรื่องการรับฟังอย่างลึกซึ้งของผู้เขียนมากกว่า 10 ปี และบทสัมภาษณ์ของบุคคลจำนวน 6 คนในสายอาชีพที่แตกต่างกัน ที่มีประสบการณ์ในการนำการรับฟังไปใช้ในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับชีวิตของตนเอง ในแง่ความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว การรับมือกับคนในที่ทำงาน การจัดการกับสภาวะต่างๆภายในจิตใจตนเอง รวมไปถึงการเรียนรู้เติบโตภายใน นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัจจัยหนุนเสริม ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกจากจากบทสัมภาษณ์ของของบุคคลผู้ประสบการณ์ตรงในการนำการรับฟังไปใช้ในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับชีวิตของตนเองดังกล่าวข้างต้น ที่จะช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้การรับฟังอย่างลึกซึ้งให้เกิดประสิทธิภาพเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ของชีวิต &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/248816 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารและโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกาาปีที่4 2021-08-26T12:19:22+07:00 จินตนา ศุภกรธนสาร puyteacher@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ&nbsp; 1) &nbsp;ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ&nbsp; ของการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี&nbsp; เรื่อง&nbsp; อาหารและโภชนาการ&nbsp; ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4 &nbsp;2)&nbsp;&nbsp; พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี&nbsp; เรื่อง&nbsp; อาหารและโภชนาการ&nbsp; ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4 &nbsp;ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ &nbsp;80/80&nbsp; 3)&nbsp; เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ &nbsp;4&nbsp; ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; 4)&nbsp; เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ &nbsp;4&nbsp; ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; &nbsp;&nbsp;4)&nbsp; ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ &nbsp;ได้แก่ &nbsp;ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี&nbsp; จำนวน&nbsp; 4&nbsp; คน &nbsp;และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4&nbsp; จำนวน&nbsp; 6&nbsp; คน&nbsp; เลือกแบบเจาะจง&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติ &nbsp;ได้แก่&nbsp; นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4/3 &nbsp;โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา&nbsp; สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา&nbsp; จังหวัดชลบุรี&nbsp; จำนวน&nbsp; 1 &nbsp;ห้อง&nbsp; มีจำนวน&nbsp; 33 &nbsp;คน&nbsp; ในภาคเรียนที่&nbsp; 1&nbsp; ปีการศึกษา &nbsp;2460 &nbsp;ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม&nbsp; และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย&nbsp; ได้แก่ &nbsp;นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4/2&nbsp; ภาคเรียนที่&nbsp; 2&nbsp; ปีการศึกษา &nbsp;2460&nbsp; โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา&nbsp; สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา&nbsp; จังหวัดชลบุรี&nbsp; จำนวน&nbsp; 34 &nbsp;คน&nbsp; จำนวน&nbsp; 1&nbsp; ห้องเรียน&nbsp; ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย&nbsp; 1) &nbsp;แบบสอบถามปัญหาและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติ&nbsp; 2) &nbsp;แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการปฏิบัติของนักเรียน&nbsp; 3) &nbsp;แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติ&nbsp; 4) &nbsp;แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; จำนวน &nbsp;7&nbsp; แผน &nbsp;รวมเวลา&nbsp; 14&nbsp; ชั่วโมง &nbsp;4) &nbsp;แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ&nbsp; 6) &nbsp;แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน &nbsp;7) &nbsp;แบบวัดความพึงพอใจ&nbsp; และ &nbsp;8) &nbsp;คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล &nbsp;ได้แก่&nbsp; ร้อยละ&nbsp; ค่าเฉลี่ย&nbsp; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; และทดสอบด้วย&nbsp; t-test&nbsp; (Dependent&nbsp; Sample)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ พบว่า &nbsp;1) นักเรียนควรได้ฝึกทักษะการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น &nbsp;2) &nbsp;นักเรียนที่เรียนวิชาการงานอาชีพยังต้องการฝึกทักษะทักษะการปฏิบัติแบบกลุ่ม&nbsp; และต้องการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติที่น่าสนใจ &nbsp;3) &nbsp;นักเรียนต้องการฝึกปฏิบัติเพื่อให้มีทักษะการปฏิบัติเพิ่มขึ้น&nbsp; และเชื่อว่าการมีทักษะการปฏิบัติที่ดีจะส่งผลให้มีความมั่นใจมากขึ้น &nbsp;4) &nbsp;ผลการประเมินแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ โดยผู้เชี่ยวชาญ &nbsp;พบว่า&nbsp; มีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด</li> <li class="show">ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี&nbsp; เรื่อง&nbsp; อาหารและโภชนาการ&nbsp; ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4 &nbsp;มีประสิทธิภาพ&nbsp; (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>)&nbsp; เท่ากับ&nbsp; 84.46/84.24&nbsp; ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์&nbsp; 80/80&nbsp; ที่ตั้งไว้</li> <li class="show">นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี&nbsp; เรื่อง&nbsp; อาหารและโภชนาการ&nbsp; ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4 &nbsp;มีทักษะการปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน&nbsp; อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ&nbsp; .04</li> <li class="show">นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติ</li> </ol> <p>ตามแนวคิดของเดวีส์&nbsp; กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี&nbsp; เรื่อง&nbsp; อาหารและโภชนาการ&nbsp; ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4 &nbsp;มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน&nbsp;</p> <p>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ&nbsp; .04</p> <ol start="4"> <li class="show">4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี&nbsp; เรื่อง&nbsp; อาหารและโภชนาการ&nbsp; ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่&nbsp; 4 &nbsp;โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก&nbsp;</li> </ol> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/251477 การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ 2021-08-26T12:19:23+07:00 นิติญาพร ใจเที่ยง nitiyapon26@gmail.com วรางคณา เทศนา warangkana.te@msu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำ วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและ เก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดทักษะการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลวิจัยพบว่า ทักษะการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ นักเรียนมีผลการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 86.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เขียนสะกดคำวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.7286 คิดเป็นร้อยละ 72.86 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27</p> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/251478 การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2021-08-26T12:19:24+07:00 กัญญารัตน์ เชียรพิมาย kanyarat.paew15@gmail.com วรางคณา เทศนา warangkana.te@msu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 <br>2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มี<br>ตัวการันต์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1ปีการศึกษา 2563 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ <br>1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด <br>2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน 8 ชั่วโมง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด <br>3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.32–0.76 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21–0.67 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (r<sub>cc</sub>) เท่ากับ 0.88 และ<br>4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30-0.55 และค่าความเชื่อมั่น<br>ทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพของเครื่องมือ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) และสถิติทดสอบ t-test Dependent Samples<br>ผลการวิจัยพบว่า<br>&nbsp; &nbsp; 1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.71/82.98 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบ<br>การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br>&nbsp; &nbsp; 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ประกอบ<br>การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61</p> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/251522 การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) 2021-08-26T12:19:25+07:00 ณัฐนันท์ จันทโสก nuttanan.jan@msu.ac.th วรางคณา เทศนา warangkana.te@msu.ac.th <p>การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) จำนวน 8 แผน 8 ชั่วโมง มีคุณภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด&nbsp; 2. แบบทดสอบการอ่านและการเขียนสะกดคำ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.22-0.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23-0.74 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.84 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31-0.88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัด<br>การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.07/80.86 <br>ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้</li> <li class="show">ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) มีค่าเท่ากับ 0.4639 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้า<br>ในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 46.39</li> <li class="show">นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (BBL) อยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/MPDIJ_EEC/article/view/251568 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD 2021-08-26T12:19:25+07:00 เบญจกัญญา ปานงาม benjakanya.parngram@gmail.com วรางคณา เทศนา warangkana.te@msu.ac.th <p>การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ <br>กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/9 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ซึ่งได้โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Samping) เครื่องมือที่ใช้ใน<br>การวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STAD จำนวน 7 แผน จำนวน 7 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง<br>การเรียนเรื่องคำนาม แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD ผลการวิจัยปรากฏดังนี้&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</strong></p> <ol> <li class="show">การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD <br>มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.73/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80</li> <li class="show">ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD มีค่าเท่ากับ 0.7139 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 71.39</li> <li class="show">ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำนาม โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วย<br>กลุ่มร่วมมือ STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.82</li> </ol> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p> 2021-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก