รายงานการวิจัยย่อ การศึกษาสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

Authors

  • ตรึงใจ บูรณสมภพ ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปราโมทย์ ธาราศักดิ์ ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สมชาย เอกปัญญากุล ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สาทิศ ชูแสง ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชูวิทย์ สุจฉายา ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อมรา จ๋วงพานิช ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บัญชา ชุ่มเกษร ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

        การศึกษาสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่การวางผัง และอาคารต่างๆ ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกเพื่อจะหาส่วนที่มีอิทธิพลกับสถาปัตยกรรมไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเท่านั้น แต่ได้ทำการศึกษาเป็นแนวกว้าง เริ่มตั้งแต่วิวัฒนาการของเมืองลพบุรีว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ทั้งลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศตั้งแต่สมัยก่อนและในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหราช รวมถึงการศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่สมัยก่อน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ทั้งได้ศึกษาประวัติการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย เพื่อที่จะทราบได้ว่า ส่วนไหนของอาคารในพระนารายณ์ราชนิเวศน์สร้างตามแบบอย่างของไทยหรือได้รับอิทธิพลจากประเทศอื่นในสมัยก่อน และส่วนไหนของอาคารที่ไม่ได้สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ได้ถูกทําการก่อสร้างหรือดัดแปลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนที่เหลือจึงนํามาพิจารณาว่ามีส่วนใดที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตก

        การศึกษาแบ่งออกเป็นสองภาค ภาคแรกเป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตาง ๆ ซึ่งมีทั้งหนังสือ จดหมายเหตุ ภาพเขียน และภาพถ่ายในสมัยก่อน ที่มีผู้รวบรวมและบันทึกไว้ทั้งของชาวไทยและชาวฝรั่งเศส ภาคที่สองคือ การสำรวจอาคารที่ยังคงเหลืออยู่ด้วยวิธีการสังเกต การถ่ายภาพ และการรังวัด การสังเกตนี้ได้ดูถึงลักษณะ อาคาร วัสดุ โครงสร้าง การวางผังอาคาร หน้าที่ใช้สอยอาคารในสมัยอยุธยาที่จังหวัดอยุธยา ลพบุรี เพชรบุรี ทั้งได้ไปสํารวจสถาปัตยกรรม และชุมชนเมืองทหาร ในย่านที่อยู่อาศัยของเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วย

        การรังวัด ได้ทําการส่องกล้องและใช้สายวัดตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งนํามาเขียนแแบบแสดงให้เห็น ขนาดส่วนต่างๆ ของอาคาร ด้วยระยะที่ถูกต้องตามมาตราส่วนของจริง จากนั้นได้ทําการวิเคราะห์เบื้องต้น โดยตั้งเป็นข้อสังเกตว่าลักษณะสถาปัตยกรรม การวางผัง และการก่อสร้างอาคารพระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีส่วนใดที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมตะวันตก พร้อมทั้งซี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการออกแบบที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย และเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในสมัยนั้น ซึ่งสรุปได้ดังนี้

            1. มีการวางผังกลุ่มอาคารและการออกแบบอาคารที่สอดคล้องกับหน้าทีและประโยชน์ใช้สอย

            2. มีการจัดสวนรอบอาคารอย่างเป็นระเบียบ โดยเน้นทางสัญจรที่เชื่อมโยงแต่ละจุด และเน้นความสําคัญ ให้แก่อาคารเพิ่มขึ้นจากการให้ร่มเงา ความสวยงาม และกลิ่นหอมของดอกไม้

            3. มีการนำระบบประปาใช้ และการทำน้ำพุ

            4. ลักษณะโครงสร้างอาคารช่วงกว้างและสูงบ่งบอกถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ก้าวหน้ากว่าในสมัยก่อน

            5. อาคารสูงเกินหนึ่งชั้น

            6. ช่องหน้าต่างกว้างและสูง มีบานปิดเปิด

            7. ประตูหน้าต่าง “โค้งแหลม” (POINTED ARCH) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ “โกธิค” (GOTHIQUE) ของยุโรป ดูจากการเรียงอิฐซึ่งต่างจาก “โค้งกลีบบัว” ในสมัยก่อน

Downloads

How to Cite

บูรณสมภพ ต., เอี่ยมอนันต์ ป., ธาราศักดิ์ ป., เอกปัญญากุล ส., ชูแสง ส., สุจฉายา ช., จ๋วงพานิช อ., & ชุ่มเกษร บ. (2016). รายงานการวิจัยย่อ การศึกษาสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 11, 87. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/46747

Issue

Section

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย | History of Architecture and Thai Architecture