@article{เกิดศิริ_2018, title={การจัดการความรู้เรื่องอัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านที่อยู่อาศัยของท้องถิ่นภาคใต้: สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส}, volume={32}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/109731}, abstractNote={<p>         การวิจัยนี้มุ่งศึกษามรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นผ่านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม ซึ่งหล่อหลอมให้แต่ละพื้นที่มีการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกันไปตามบริบทแวดล้อม ก่อตัวเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ และทรงคุณค่าต่อการเรียนรู้เพื่อนำองค์ความรู้มาประยุกต์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นไว้เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ต่อไป</p> <p>         ทั้งนี้ กำหนดพื้นที่ศึกษาในหมู่บ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ เทศบาลเมืองตะลุบัน ตำบลปะเสยะวอ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี, ตำบลไม้แก่น อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี, ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และเพื่อให้เกิดการศึกษาเชิงเปรียบเทียบเพื่อสอบทานข้อค้นพบในพื้นที่ศึกษา จึงศึกษาในรัฐกลันตัน และรัฐเตอรังกานู สหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งร่วมบริบททางสภาพแวดล้อมและมีรากฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยมาในอดีต</p> <p>         ระเบียบวิธีในการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงสังเคราะห์ในประเด็นเกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของพื้นที่ศึกษาจึงศึกษาเรือนกรณีศึกษาจำนวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยคัดเรือนกรณีศึกษาจากชุมชนต่างบริบททางสังคมและวัฒนธรรม 4 ลักษณะ คือ 1) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในบริบทชุมชนเกษตรกรรม 2) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในบริบทชุมชนชาวประมง 3) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยผู้นับถือพระพุทธศาสนา 4) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในบริบทเมือง โดยคัดสรรเรือนกรณีศึกษาเพื่อสำรวจรังวัด บันทึกภาพ ตลอดจนการสัมภาษณ์เจ้าของเรือน รวมทั้งสิ้น 40 หลัง</p> <p>         ทั้งนี้ พบองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย และสรุปเป็นรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, แบบสถาปัตยกรรม 2 มิติและ 3 มิติของเรือนกรณีศึกษา, สื่อการเรียนรู้ประเภทต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือน, สื่อผสมประเภทวีดิทัศน์ โปสเตอร์นิทรรศการ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเผยแพร่สู่สังคมและสาธารณะอย่างแพร่หลาย</p> <p> </p> <p><strong> <span class="fontstyle0">Knowledge Management of Thai Identity and Local Wisdom in Housing Development in Southern Region: Songkla, Pattani and Narathiwas</span></strong></p> <p><span class="fontstyle0"><strong>Kreangkrai Kirdsiri</strong><br></span><span class="fontstyle2">Faculty of Architecture, Silpakorn University</span></p> <p> </p> <p><span class="fontstyle2"><span class="fontstyle0">         <em>“Knowledge Management of Thai Identity and Local Wisdom in Housing Development </em><em>in Southern Region of the East Coast: Case Study of Songkla Province, Pattani Province, and </em><em>Narathiwas Province” </em></span>aims to study local wisdom and ways of life which play roles to vernacular architecture, surroundings and ecology. These factors bring about cultural landscapes and identity which are worth studying as the body of knowledge can be applicable for sustainable development in a long term.<br>         The study areas comprise Taluban Subdistrict, Paseyawar Subdistrict, Traobon Subdistrict in Saiburi District, Pattani Province, Banyai Subdistrict, Maikaen Subdistrict in Maikaen District, Pattani Province, Kutao Subdistrict in Hat Yai District, Songkla Province, and Lubosawar in Bachor<br>District, Narathiwas Province. However, Kelantan and Terengganu State of Federation of Malaysia were added due to some cultural aspects which are in common.<br>         The purpose of the research is to figure out the identity of architecture under the contexts of 1.) vernacular housing of the Muslim in agricultural contexts; 2.) vernacular housing of the Muslim in fishery contexts; 3.) vernacular housing of the Buddhist; and 4.) vernacular housing in urban contexts. Measurement, photographs, and interviews were done for 40 houses.<br>         New bodies of knowledge were analyzed, along with identity of vernacular architecture, explained in the final report. Moreover, Geographic Information System (GIS), 2D, and 3D architectural models of 40 houses were prepared, and will be used for public, academic, and professional use. In addition research articles will also be published so as to promote the body of knowledge, with other learning media, such as virtual museum, multimedia, VDOs, posters, exhibitions, and e-books.<br> </span></p>}, journal={NAJUA: Architecture, Design and Built Environment}, author={เกิดศิริ เกรียงไกร}, year={2018}, month={Jan.}, pages={B–59} }