https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/issue/feed
วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
2024-12-22T18:39:19+07:00
ผศ.ดร.สุทธิพร สายทอง
Suttiporn.sai@mcu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง </strong></p> <p> ถือเป็นแหล่งรวบรวมผลงานทางวิชาการ และองค์ความรู้ที่สำคัญเนื่องจากเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ทางพระพุทธศาสนา ความคิดที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย</p>
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273238
ผ้าทอเพื่อการใช้สอยของหญิงไทยวนโบราณ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ : วิถีชีวิตที่ปรากฏจากวรรณกรรมมุขปาฐะ
2024-09-30T10:01:32+07:00
สุภัคกาญจน์ จิวาลักษณ์
jijaangcha@gmail.com
พรรณรัตน์ หวังเอื้ออัตตชน
jijaangcha@gmail.com
จิราภรณ์ ภู่เทศ
jijaangcha@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผ้าทอเพื่อการใช้สอยของหญิงไทยวนโบราณ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ : วิถีชีวิตที่ปรากฏจากวรรณกรรมมุขปาฐะ คือ วิถีชีวิตจากรูปแบบของผ้าทอเพื่อการใช้สอย และวิถีชีวิตจากลวดลายผ้าทอเพื่อการใช้สอย ซึ่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตที่ปรากฏในการแต่งกายหญิงไทยวนลับแลโบราณ จากวรรณกรรมมุขปาฐะ จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการศึกษาพบว่า วิถีชีวิตที่ปรากฏผ่านรูปแบบผ้าทอเพื่อการใช้สอยของหญิงไทยวนโบราณ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ ผ้าห่มหัวเก็บ ผ้ากราบพระหรือผ้าเช็ดหน้า ผ้าพาด กระเป๋าย่าม และหน้าหมอน ส่วนวิถีชีวิตที่ปรากฏผ่านลวดลายผ้าทอเพื่อการใช้สอย โดยจากลวดลายผ้าซิ่นและผ้าใช้สอยแสดงวิถีชีวิตมาจาก 3 ลักษณะ ได้แก่ พืช สัตว์ และธรรมะ</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/275133
พุทธวิถีสู่สันติภาพ
2024-09-20T11:31:43+07:00
พระนราศักดิ์ วรธมฺโม
varadhammo14@gmail.com
พระบุญทรง ปุญฺญธโร
varadhammo14@gmail.com
พระมหาจิณกมล อภิรตโน
varadhammo14@gmail.com
ประสิทธิ์ วงศรีเทพ
varadhammo14@gmail.com
<p>พุทธวิถีสู่สันติภาพ เป็นความหวังสุดท้ายที่จะนำพาวิถีอารยธรรมไปสู่การพัฒนาสันติภาพ โดยเริ่มที่การพัฒนาในปัจเจกบุคคล ให้อยู่ร่วมกันด้วยด้วยหลีกเว้นจากการเบียดเบียนกันด้วย กาย วาจา และใจ ฝึกปฏิบัติพัฒนาตนให้หลุดพ้นจาก โลภะ โทสะ โมหะ ด้วยกุศลกรรมบถ 10 ที่อิงอาศัยหลักของ “ไตรสิกขา”รวมทั้งคิดพิจารณาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ เพราะสันติภาพที่แท้จริงต้องเกิดขึ้นจากจิตใจของมนุษย์ก่อน ตราบใดที่จิตใจของบุคคลยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเชื้อแห่งความขัดแย้งความรุนแรง สันติภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งสันติภาพภายในนี้ จะอยู่ในระดับความรู้แจ้ง ทำให้จิตมีอิสรภาพ หลุดพ้นจากรากเหง้าของอกุศลมูล 3 ตระหนักถึงความทุกข์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น แปรเปลี่ยนเป็นความรัก ความเมตตา กรุณา จากภายในสู่ภายนอก แบ่งปันความรักความปรารถนาดีต่อคนรอบข้าง ต่อสังคม และประเทศชาติสืบไป</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270892
การบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี
2024-10-19T21:18:18+07:00
เศกฤทธิ์ พลเสน
ponlasen2024@gmail.com
กมลพร กัลยาณมิตร
ponlasen2024@gmail.com
สถิตย์ นิยมญาติ
ponlasen2024@gmail.com
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช
ponlasen2024@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี (2) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรีและราชบุรี และ (3) ศึกษาแนวทางการสร้างต้นแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p> <p>รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 24 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอธิบายพรรณนา ซึ่งเทียบเคียงกับแนวความคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี พบว่า มีการวางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมอัตรากำลัง พัฒนาบุคลากร สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน การใช้จ่ายงบประมาณจะคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับ การวางแผนจะเป็นแบบมีส่วนร่วม มีการแบ่งงาน การประสานงานและการควบคุมภายในองค์กรเป็นระบบ เปิดโอกาสบุคลากรในการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็น และนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ (2) ข้อเสนอแนะต่อการบริหารต้นแบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี พบว่า การจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างคุ้มค่า มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถทันยุคสมัย และ (3) แนวทางการสร้างต้นแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสม 2) การคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับจากปฏิบัติภารกิจ 3) การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น 4) การมีระบบการดำเนินงานที่ดีภายในองค์การ 5) การกระจายอำนาจการตัดสินใจและให้อิสระในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ 6) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการภายในองค์กร 7) มุ่งเน้นการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเปิดเผย</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270901
การนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติ
2024-10-24T11:01:34+07:00
เจนนิเฟอร์ ศิริพงษ์
Drjennifer2532@gmail.com
กมลพร กัลยาณมิตร
Drjennifer2532@gmail.com
สถิตย์ นิยมญาติ
Drjennifer2532@gmail.com
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช
Drjennifer2532@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติ และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติ</p> <p>รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติ จำนวน 25 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุปความแบบพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>(1) การนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติประกอบด้วย นโยบายมีความชัดเจน มีการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงสนับสนุนด้านบุคลากรและงบประมาณให้เพียงพอ การส่งเสริมให้ความรู้ การปลูกฝังจิตสำนึกของบุคลากรให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุด แต่บุคลากรบางส่วนยังไม่เข้าใจและยังไม่ให้ความร่วมมือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นประเด็นที่สนใจทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง </p> <p>(2) ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติ พบว่า บุคลากรยังขาดความเข้าใจและความตระหนัก การขาดความร่วมมือจากบุคลากรและประชาชน แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายยังขาดความชัดเจน ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะด้านที่จำเป็นสำหรับงาน และ</p> <p>(3) ข้อเสนอแนะแนวทางการนำนโยบาย กทม. ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) ไปปฏิบัติ ได้แก่ ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากร มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาดำเนินงานในเรื่องการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร จัดทำโครงการหรือกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270930
การบริหารจัดการองค์กรภาครัฐในยุคดิจิทัล
2024-10-15T12:24:56+07:00
ภัทรวดี ภู่ประเสริฐ
iiipattrawa@gmail.com
กมลพร กัลยาณมิตร
iiipattrawa@gmail.com
สถิตย์ นิยมญาติ
iiipattrawa@gmail.com
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช
iiipattrawa@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐในยุคดิจิทัล (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐในยุคดิจิทัล และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐในยุคดิจิทัล</p> <p>รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากองค์กรภาครัฐ จำนวน 5 แห่ง ที่ได้รับรางวัลรัฐบาลดิจิทัลประจำปี 2564 ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพสามิต กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมทางหลวงชนบท และกรมธุรกิจพลังงาน โดยคัดเลือกผู้บริหารภาครัฐ ข้าราชการประจำ พนักงานราชการ และนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปผลแบบพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารจัดการองค์กรภาครัฐในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรภาครัฐต้องเป็นผู้ชี้นำทิศทาง สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรที่มีความทันสมัย โครงสร้างองค์กรในยุคดิจิทัลต้องมีความยืดหยุ่น กระชับ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ปรับตัวได้เร็ว สร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้คนในองค์กรสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ วางแผนอัตรากำลังคนให้สอดคล้องกับแนวโน้มการทำงาน พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้เพิ่มขึ้น จนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายต่าง ๆ ให้มีขีดสมรรถนะสูง และจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างองค์กรเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้ขององค์กรเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน หรือสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ (2) ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐในยุคดิจิทัล พบว่า บุคลากรภาครัฐส่วนใหญ่ยังขาดความสามารถ และความชำนาญด้านดิจิทัล และบางส่วนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อเทคโนโลยีดิจิทัล วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับที่ยุ่งยากซับซ้อน และงบประมาณขององค์กรมีจำกัดทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาขององค์กรในมิติต่าง ๆ และ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐในยุคดิจิทัล พบว่า องค์กรภาครัฐควรกําหนดนโยบายขององค์กรเกี่ยวกับการปรับปรุงและนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในองค์กรให้ชัดเจน ส่งเสริมความรู้ และทักษะให้กับบุคลากร ปรับทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นไปในเชิงบวก การสร้างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล ปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในให้ลื่นไหลแบบไร้รอยต่อ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ใช้ข้อมูลขับเคลื่อนองค์กร ผู้นำองค์กรต้องสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ปัจจุบัน</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272541
แนวทางการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง
2024-09-20T11:17:16+07:00
กัมปนาท คำอินบุตร
Naraknat.cute@gmail.com
ปณตนนท์ เถียรประภากุล
Naraknat.cute@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง และ 2) หาแนวทางการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ฯ ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง จำนวน 254 คน และกลุ่มเป้าหมายในการตรวจสอบร่างแนวทางฯ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) สภาพปัจจุบันของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้านการนำ เป็นลำดับที่หนึ่ง (PNI <sub>modified</sub> = 0.67) ด้านการควบคุม เป็นลำดับที่สอง (PNI <sub>modified</sub> = 0.66) ด้านการจัดองค์กร เป็นลำดับที่สาม (PNI <sub>modified</sub> = 0.65) และด้านการวางแผน เป็นลำดับที่สี่ <br />(PNI <sub>modified</sub> = 0.62)</p> <p>2) ผลการหาแนวทางการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 28 แนวทาง ได้แก่ ด้านการวางแผน จำนวน 7 แนวทาง ด้านการจัดองค์การ จำนวน 6 แนวทาง ด้านการนำ จำนวน 9 แนวทาง และด้านการควบคุม จำนวน 6 แนวทาง</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272586
ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเส้นหมี่กุ้ยหลิน ของผู้บริโภคชาวจีน ในมณฑลกว่างซี ประเทศจีน
2024-10-03T10:01:27+07:00
Zhoa Hangxi
Nittaya.w@g.lpru.ac.th
นิตยา วงศ์ยศ
nittaya_product@hotmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อเสันหมี่กุ้ยหลินของผู้บริโภคชาวจีน ในมณฑลกว่างซี ประเทศจีน 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเส้นหมี่กุ้ยหลินของผู้บริโภคชาวจีน ในมณฑลกว่างซี ประเทศจีน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคเสันหมี่กุ้ยหลินชาวจีน จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามออนไลน์ สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบ Enter<br />ผลการศึกษาพบว่า <br />1) ระดับความคิดเห็นส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเส้นหมี่กุ้ยหลินของผู้บริโภคชาวจีน ในมณฑลกว่างซี ประเทศจีน ได้แก่ ปัจจัยด้านราคามีค่าเฉลี่ยมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก <br />2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสันหมี่กุ้ยหลินของผู้บริโภคชาวจีน ในมณฑลกว่างชี ประเทศจีน ประกอบด้วยปัจจัย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเส้นหมี่กุ้ยหลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านราคานั้นไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเส้นหมี่กุ้ยหลิน</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272442
การจัดการทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีน กรณีศึกษา: บริษัทเอส เอฟ เอ็กซ์เพรส
2024-10-08T12:20:06+07:00
HANLAN SU
kkhamta88@gmail.com
บุษกร วัฒนบุตร
kkhamta88@gmail.com
วิโรชน์ หมื่นเทพ
kkhamta88@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการจัดการทุนมนุษย์ กรณีศึกษา บริษัทเอส เอฟ เอ็กซ์เพรส 2) เพื่อศึกษาการจัดการทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีน กรณีศึกษา บริษัทเอส เอฟ เอ็กซ์เพรส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือวิจัย และมีผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยทำการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารและพนักงานขององค์กร ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงานของบริษัทเอส เอฟ เอ็กซ์เพรส จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์หาข้อสรุป<br />ผลการศึกษาพบว่า <br />1) สภาพทั่วไปการจัดการทุนมนุษย์ กรณีศึกษา บริษัทเอส เอฟ เอ็กซ์เพรสในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีน สามารถส่งเสริมและพัฒนาพร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในการฝึกอบรม ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการศึกษาเชิงวิชาการและทักษะต่างๆ ทัศนคติของพนักงานไม่เป็นไปในเชิงบวก แม้ว่าบริษัทจะมีโปรแกรมการฝึกอบรม แต่ไม่สามารถเข้าใจความต้องการของพนักงานได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดการปรับปรุงกลไกการฝึกอบรมให้มีบทบาทในการพัฒนาองค์กรได้ <br />2) การจัดการทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีน กรณีศึกษา บริษัทเอส เอฟ เอ็กซ์เพรส ควรดำเนินการฝึกอบรมและเนื้อหาการฝึกอบรมให้มีความน่าสนใจ มีการประเมินเนื้อหาการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ สร้างระบบแรงจูงใจ ดึงดูดผู้มีความสามารถ และต้องเรียนรู้ความรู้ทักษะๆ ด้านการจัดการทุนมนุษย์ อย่างต่อเนื่องโดยการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทุนมนุษย์</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272721
วิเคราะห์วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนา: กรณีพระอานนท์กับนางโกกิลา
2024-10-03T10:26:03+07:00
ประยงค์ แสนบุราณ
sutirutp@yahoo.com
พิริยานาถ พีรยาวิจิตร
sutirutp@yahoo.com
<p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะเนื้อหาและองค์ประกอบของวรรณกรรม 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชา: กรณีพระอานนท์กับนางโกกิลา 3) ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าที่มีต่อสังคมไทย<br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1) กรณีพระอานนท์กับนางโกกิลาเป็นวรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาที่แต่งขึ้นในลักษณะความเรียงร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี ที่มุ่งให้ความรู้ทางพุทธธรรมแก่ผู้อ่าน ผู้ประพันธ์ได้อาศัยเรื่องราวของความรักเป็นแกนนำผู้อ่านไปสู่สัจธรรม โดยเป็นเรื่องราวของสตรีผู้หนึ่งซึ่งมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระอานนท์และเข้ามาบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับพระอานนท์แต่ท้ายที่สุดความรักก็สิ้นสุดลงด้วยความไม่สมหวังและจากการได้สดับรสแห่งพระสัจธรรมทำให้โกกิลาภิกษุณีได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ขีณาสพในที่สุด นอกจากผู้ประพันธ์ได้นำหลักธรรมมาวางเป็นโครงเรื่องแล้วยังได้สอดแทรกคติธรรมคำสอนทั้งเบื้องต้นและเบื้องสูงไว้ผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของวรรณกรรม เพื่อที่จะสื่อความหมายของเรื่องให้เข้าใจง่ายและชัดเจนในลักษณะที่สัมพันธ์กับบทบาทของตัวละคร แนวคิดของเรื่องชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ของมนุษย์โดยมีสาเหตุมาจากโมหะหรือความหลงในสิ่งสมมุติทั้งหลาย ส่วนการปิดเรื่องของวรรณกรรมใช้วิธีปิดเรื่องแบบพลิกความคาดหมาย โดยโกกิลาได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมของกฎธรรมชาติแห่งพระไตรลักษณ์ในชีวิตของปุถุชนที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพเหตุและปัจจัยแวดล้อม 2) หลักธรรมที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมมีหลักธรรมใน 2 ประเด็น คือ โลกียธรรม ได้แก่ ความเป็นไปแห่งสังขาร กิเลสธรรมสามประการ สิ่งอันเป็นที่รัก เรื่องบาปและมลทิน ฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ความพลัดพรากและไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการเป็นความทุกข์ ว่าด้วยสิ่งอันเป็นที่พึ่ง ความเสียสละ เมถุนธรรมและเรื่องวรรณะและชาติตระกูล และโลกุตตรธรรม ได้แก่ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งหลักธรรมคำสอนเหล่านี้นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และ 3) ด้านคุณค่าของวรรณกรรมที่มีต่อสังคมไทย มี 3 ด้าน ดังนี้ 3.1) คุณค่าทางด้านปัญญา คือ การสอนธรรมตามแนวพุทธวิธี 3.2) คุณค่าทางด้านจิตใจ คือ คุณค่าวรรณกรรมในฐานะที่เป็นศิลปะ 3.3) คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ได้สะท้อนให้เห็นคุณค่า 2 ด้าน คือ ด้านสุนทรียรส ที่ผู้ประพันธ์แสดงชั้นเชิงการใช้ความงามแห่งความไพเราะในการบรรยายพฤติกรรมของตัวละคร และด้านการใช้อุปมาโวหารที่ผู้ประพันธ์ได้นำมาใช้เพื่อให้กระบวนการใช้ถ้อยคำมีศิลปะก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก และจินตนาการทำให้ผู้อ่านประทับใจมองเห็นภาพพจน์ตามข้ออุปมา</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272753
ผลการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ของนักกีฬาฟุตบอลรุ่นอายุ 15–18 ปี โรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
2024-10-03T11:36:09+07:00
อรรถพล สานุวงษ์
attapol_san@hotmail.com
สุดยอด ชมสะห้าย
attapolsan@hotmail.com
ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ
attapolsan@hotmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ในแนวชันและเปรียบเทียบระหว่างการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันร่วมกับการฝึกตามปกติ กับการฝึกตามปกติของนักกีฬาฟุตบอล ก่อนและหลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอล รุ่นอายุ 15–18 ปี ของโรงเรียนจอมทอง จำนวน 40 คน ที่มีทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลใกล้เคียงกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับกลุ่มแบบ Matching Group คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการฝึกตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันร่วมกับการฝึกตามปกติ โดยฝึกวันละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 8 สัปดาห์ต่อเนื่อง แล้วทำการทดสอบทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอล ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชัน 2) โปรแกรมการฝึกตามปกติ 3) แบบทดสอบความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ในการหาคุณภาพเครื่องมือ (ดัชนีความสอดคล้อง) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC = 0.94 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Independent sample t-test<br />ผลการวิจัยพบว่า การเคลื่อนที่ในแนวชันของนักกีฬาฟุตบอล พบว่า เวลาในการเลี้ยงลูกฟุตบอลก่อนการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.67 วินาที หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.27 วินาที หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.12 วินาที และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.10 วินาที และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่า การฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนที่ในแนวชันร่วมกับการฝึกตามปกติและการฝึกตามปกติก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272908
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในการไปทัศนศึกษาที่อินเดีย
2024-10-03T11:14:38+07:00
ประยงค์ แสนบุราณ
sutirutp@yahoo.com
พิริยานาถ พีรยาวิจิตร
sutirutp@yahoo.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในการไปทัศนศึกษาที่อินเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากรุ่นที่ 1 – 4 จำนวน 30 รูป/คน ซึ่งลงทะเบียนเรียนรายวิชาการปฏิบัติกรรมฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.872 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาสถานภาพส่วนใหญ่ คือ ฆราวาส คิดเป็นร้อยละ 63.33 และบรรพชิต คิดเป็นร้อยละ 36.67 มีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 50.00 และด้านชั้นปี/รุ่น ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษารุ่นที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 46.67 รองลงมาคือเป็นนักศึกษารุ่นที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 26.67 และน้อยที่สุดคือเป็นนักศึกษารุ่นที่ 3 และ 4 คิดเป็นร้อยละ 13.33 ระดับคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในการไปทัศนศึกษาที่อินเดีย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<em>m</em>=3.83, <em>s</em>=0.80) โดยด้านที่มีระดับคุณธรรมจริยธรรมมากที่สุดคือความซื่อสัตย์ (<em>m</em>=4.23, <em>s</em>=0.86) รองลงมาคือความเสียสละ (<em>m</em>=4.10, <em>s</em>=0.80) และน้อยที่สุดคือความรับผิดชอบ (<em>m</em>=3.50, <em>s</em>=0.90) การเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยกิจกรรมที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ไหว้พระ/สวดมนต์ (<em>m</em>=4.47, <em>s</em>=0.68) รองลงมาคือการนั่งสมาธิ (<em>m</em>=4.30, <em>s</em> =0.92) และน้อยที่สุดคือ การเข้าเยี่ยมชมสังเวชนียสถาน (<em>m</em>=4.03, <em>s</em>=0.81)</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273095
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
2024-09-30T10:18:29+07:00
ปานวาด วัชรชวาลา
yummy.meenny@gmail.com
ปณตนนท์ เถียรประภากุล
nuch_panotnon@hotmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน 3) เพื่อสร้างสมการณ์พยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 86 คน และครู จำนวน 310 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน รวม 396 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูป กำหนดขนาดโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้ขนาดโรงเรียน เป็นชั้น (Strata) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3.ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน เรียงลำดับจากตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ ปัจจัยระดับบุคคลด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี (x<sub>1</sub>) รองลงมาคือปัจจัยระดับองค์กรด้านการบูรณาการเทคโนโลยี (x<sub>4</sub> ) ปัจจัยระดับบุคคลด้านการพัฒนาวิชาชีพ ( x<sub>3</sub> ) และปัจจัยระดับบุคคลด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยี ( x<sub>2</sub> ) ได้สมการพยากรณ์ในรูปสมการคะแนนดิบหรือเขียนในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้</span></p> <p>y<sup>1 </sup>= .606 + .441<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>1</sub></span> + .146<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>4</sub> </span> + .181<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>3</sub></span> + .103<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>2</sub></span></p> <p>z<sup>1 </sup>= . .509<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>1</sub></span> + .154<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>4</sub></span> + .219<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>3</sub></span> + .106<span style="font-size: 0.875rem;">x<sub>2</sub></span></p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273104
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1
2024-09-20T15:17:12+07:00
ฐานิตา หล่องคำ
thanitalongkham@gmail.com
ปณตนนท์ เถียรประภากุล
nuch_panotnon@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 2. ศึกษาแนวทางการการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รักษาการผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 จำนวน 234 คน และกลุ่มเป้าหมายในการตรวจสอบร่างแนวทาง ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัด</span>สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 ด้านความรู้และทักษะทางดิจิทัล เป็นลำดับที่หนึ่ง (PNI <sub>modified</sub> = 0.210) ด้านการบริหารสภาพแวดล้อมและการใช้เครือข่ายดิจิทัล เป็นลำดับที่สอง (PNI <sub>modified</sub> = 0.209) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล เป็นลำดับที่สาม (PNI <sub>modified</sub> = 0.208) ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจทางดิจิทัล เป็นลำดับที่สี่ (PNI <sub>modified</sub> = 0.196) ด้านการสื่อสารดิจิทัล เป็นลำดับที่ห้า (PNI <sub>modified</sub> = 0.186) และ ด้านวิสัยทัศน์และการเป็นต้นแบบทางดิจิทัล เป็นลำดับที่หก (PNI <sub>modified</sub> = 0.137)</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 36 แนวทาง ประกอบด้วย ด้านความรู้และทักษะทางดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการบริหารสภาพแวดล้อมและการใช้เครือข่ายดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจทางดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง ด้านการสื่อสารดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง และด้านวิสัยทัศน์และการเป็นต้นแบบทางดิจิทัล จำนวน 6 แนวทาง</span></p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273549
การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุชุมชนบ้านโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 ตามหลักอายุสสธรรม
2024-10-21T08:58:33+07:00
สิทธิพร เกษจ้อย
piakealexander@yahoo.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ตามหลักอายุสสธรรม 3) ศึกษาถึงบทบาทของชุมชนในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ชุมชนโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุชุมชนบ้านโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ตามหลักอายุสสธรรม ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed- Methodologies โดยใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์(Interview) ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้สูงอายุชุมชนบ้านโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมู่บ้าน จำนวน 244 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไคสแคว์ (Chi-square), T test, F test และการเก็บข้อมูลจากตัวแทนของผู้สูงอายุจากชุมชนโนนชัย 3 ชุมชน จำนวน 9 คนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 3 คน ตัวแทนเจ้าอาวาส 1 รูป รวม 13 รูปคน และวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก ร้อยละ 59.80 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 40.20 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.70 มีอายุระหว่าง 60-69 ร้อยละ 50.00 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 51.23 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 49.18 แหล่งรายได้เบี้ยยังชีพ ร้อยละ73.36 ระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 57.00 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 42.86 มีโรคประจำตัว การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอยู่ในชุมชนบ้านโนนชัยหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ตามหลักอายุสสธรรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.40) แบ่งเป็นรายด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางด้านร่างกาย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.45) สุขภาวะทางด้านสังคม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.43) สุขภาวะทางด้านปัญญา (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.43) และสุขภาวะทางด้านจิตใจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.30)</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/274646
การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกลือภูเขาบ่อเกลือน่าน ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน
2024-11-11T09:17:01+07:00
ชัชวาลย์ ธนะขว้าง
chutchawan.tk2@gmail.com
พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ
karaked.0012@gmail.com
เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
karaked.0012@gmail.com
<p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกลือภูเขาบ่อเกลือน่าน ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกลือภูเขาบ่อเกลือน่าน ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาแนวทางการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกลือภูเขาบ่อเกลือน่าน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักพุทธธรรม ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยโดยการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี กล่าวคือการใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ และระเบียบวิจัยเชิง คุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรพื้นที่เขตชุมชนหมู่บ้านบ่อหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน จำนวน 150 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวในกรณีตัวแปรต้น ตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทําการเปรียบเทียบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 9 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นําเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ<strong> </strong></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ระดับความคิดเห็นต่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกลือภูเขาบ่อเกลือน่าน ของสำนักงานพาณิชย์ จังหวัดน่าน ตามแนวคิด ของ ดร.จันทร์เพ็ญ ชุมแสง และคณะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ระดับความคิดเห็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกลือภูเขาบ่อเกลือน่าน ของสำนักงานพาณิชย์ จังหวัดน่าน ตามหลักอิทธิบาทธรรม 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p>3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกลือภูเขาบ่อเกลือน่าน ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273586
แนวทางการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคต แห่งประเทศไทยสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือ
2024-09-20T15:23:53+07:00
ภานุวัฒน์ ฟูจักรคำ
Bhanuwat.soc@gmail.com
ปณตนนท์ เถียรประภากุล
Bhanuwat.soc@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การ นักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพ ในอนาคตแห่งประเทศไทยสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 24 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา จำนวน 24 คน หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา จำนวน 24 คนและ ครูที่ปรึกษา อวท. จำนวน 24 คน รวมจำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยของสถานศึกษาศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) สภาพการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยของสถานศึกษาศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน และด้านการประเมินผลและการรายงานผล ตามลำดับ</p> <p>2) แนวการบริหารกิจกรรมหลักขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยของสถานศึกษาศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือมีจำนวนแนวทางทั้งสิ้น 11 แนวทาง แบ่งเป็น ด้านการวางแผน จำนวน 4 แนวทาง ด้านการดำเนินงานจำนวน 4 แนวทาง ด้านการประเมินผลและการรายงานผล จำนวน 3 แนวทาง</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273700
นวัตกรรมการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา
2024-10-22T19:36:20+07:00
พระปวรนันท์ แซ่ลี
shiapin25260@gmail.com
ประเวศ เวชชะ
shiapin25260@gmail.com
สุวดี อุปปินใจ
shiapin25260@gmail.com
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
shiapin25260@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2.เพื่อศึกษาเหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ด้านพื้นที่วิจัย โรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยาที่กำลังศึกษาเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ ณ วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม ซึ่งจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และเป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งแผนกบาลีสนามหลวงและธรรมสนามหลวง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้แก่ พระภิกษุ และ สามเณร สังกัด สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบออนไลน์ จาก Creative Research Systems ในระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ได้แก่ ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา และนักเรียน รวมจำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรสู่ห้องเรียน (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (3) การสนทนากลุ่ม และ(4) แบบวิเคราะห์เอกสาร</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.สภาพการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยาในภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้หลักสูตรระดับห้องเรียน รองลงมาคือ ด้านการนิเทศกำกับติดตามหลักสูตรระดับห้องเรียน ด้านการนำหลักสูตรระดับห้องเรียนไปใช้ และด้านการวางแผนการนำหลักสูตรระดับห้องเรียนไปใช้ ตามลำดับ </span></p> <p>2. เหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริหารและผู้บริหาร คือ ระบบการบริหารโรงเรียนที่ดี มีความชัดเจนตามกระบวนการ PDCA และโรงเรียนที่มีคุณภาพจะมีระบบของการนิเทศที่ดี ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลใน การพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไข ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งการนิเทศอาจประกอบด้วย การนิเทศจากต้นสังกัด การนิเทศของผู้บริหารโรงเรียน การนิเทศของบุคลากรในโรงเรียน ประกอบด้วย นวัตกรรมการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 ของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยาวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย หรือ 4E model ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ E1: Emphasis on management E2: Emphasis on Learning E3: Emphasis on curriculum to the classroom และ E4: Emphasis on student characteristics มีความเหมาะสม ร้อยละ 98.15และความเป็นไปได้ ร้อยละ 95.19 ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ กระบวนการได้มาซึ่ง 4E model มีการดำเนินการการโดยเริ่มจาการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของโรงเรียน อีกทั้งทั้ง 4 ประเด็นเป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0 </p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273701
กลยุทธ์การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา
2024-10-22T19:56:24+07:00
พระสมชัย แซ่ลิ้ว
poovarin03910@gmail.com
ประเวศ เวชชะ
poovarin03910@gmail.com
พูนชัย ยาวิราช
poovarin03910@gmail.com
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
poovarin03910@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษามีคุณภาพมีเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา การวิจัยครั้งนี้กำหนดที่จะศึกษาถอดบทเรียนของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา เพื่อเป็นการหาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา โดยมีขอบเขตการวิจัย ด้านพื้นที่วิจัยโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ศึกษาเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา เหตุปัจจัยภายนอก เหตุปัจจัยภายใน เหตุปัจจัยฉุดรั้ง เหตุปัจจัยภายนอก เหตุปัจจัยภายใน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบออนไลน์ จาก Creative Research SystemS ในระดับความเชื่อมั่นที่ 95%</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ( 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 – 2565 ทุกรายรายวิชา อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา อยู่ในระดับดีมาก</span></p> <p>2. ผลการทดสอบระดับชาติ O-Net ปีการศึกษา 2563 - 2565 พบว่า 2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบระดับชาติ O-Net อยู่ใน ระดับปานกลาง 2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการทดสอบระดับชาติ O-Net อยู่ใน ระดับพอใช้</p> <p>3. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (B-NET) ปีการศึกษา 2563 - 2565 พบว่า 3.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 31.07 – 35.56 เมื่อพิจารณาเป็นรายปีการศึกษา ใน 4 วิชา พบว่า วิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ บาลี 3.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 31.50 – 34.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายปีการศึกษา ใน 4 วิชา พบว่า วิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ บาลี</p> <p>4. ผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับคุณภาพของกระบวนการบริหารหลักสูตรในภาพรวมของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 4.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชาย โดยมีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ส่วนวุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 5 - 15 4.2 คุณภาพของกระบวนการบริหารหลักสูตร ในภาพรวมของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ ยกเว้น ด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ อยู่ในระดับดี โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนการใช้หลักสูตรของการศึกษา ด้านการนิเทศกำกับติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ด้านการประเมินการใช้หลักสูตร และด้านการวางแผนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273488
ชุมชนท้องถิ่นกับนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
2024-10-19T21:15:17+07:00
สิริภา สงเคราะห์
siripa@g.swu.ac.th
<p style="font-weight: 400;">งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษา 1) สถานการณ์ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมชุมชน 2)ระบบคิดเชิงคุณค่าในการสร้างและใช้นวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างกลไกการบริหารจัดการและ (3) การใช้นวัตกรรมชุมชนยก ระดับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมิติต่างๆ กรณีศึกษา 6 กรณี ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร สิงห์บุรี กาญจนบุรี นราธิวาสและเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7จังหวัดภาคอีสาน วิธีศึกษาคือวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารชุดพื้นที่นวัตกรรมชุมชนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่จัดพิมพ์ขึ้นในวาระครบรอบ 20 ปี และสรุปผลในเชิงพรรณา</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อมต่างๆนำไปสู่การสร้างและพัฒนานวัตกรรมชุมชน โดยช่วยสร้างแรงจูงใจ แรงกดดันและผลักดัน สร้างความร่วมมือและกระตุ้นให้เกิดกลไกบริหารจัดการรับมือกับสถานการณ์ ซึ่งนำไปสู่ SDGs ที่ 13, 15, 16และ 17 2) ระบบคิดเชิงคุณค่าสามารถจุดประกายสร้างสรรค์นวัตกรรมกลไกบริหารจัดการ ทั้งภูมิปัญญาที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ และทั้งรูปแบบเฉพาะและแนวทางร่วม นอกจากนี้ยังนำทุนทางสังคมและวัฒนธรรมจัดการกับปัญหา รวมทั้งต่อยอดและยกระดับประเด็นการพัฒนาให้เป็นวาระร่วมกัน 3) นวัตกรรมชุมชนในการจัดการที่นำไปสู่การยกระดับการพัฒนาชุมชนมีความเชื่อมโยงกับมิติเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ 1, 2, 3 และ 12</p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272452
การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่สังคมแห่งความเป็นธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
2024-10-30T14:03:42+07:00
มนูญ บุญนัด
M_boonnad@windowslive.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทสภาพทั่วไป ปัญหาสาเหตุ อุปสรรค และความจำเป็นในการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยในการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครให้มีความยั่งยืนและเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรม 3. เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครให้มีความยั่งยืนและเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรม 4. เพื่อเสนอแผนแม่บทการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครให้มีความยั่งยืนและเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรม การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหาร บุคลากรและสายสนับสนุน จำนวน 100 คน รูปแบบวิธีการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้วยกัน 3 แบบ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และ 3) แบบเชิงปฏิบัติการ (Action research) ผู้วิจัยใช้กระบวนการการสนทนากลุ่ม (Focus Group)</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้บริหารและบุคลากรมีความคิดเห็นต่อการการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครที่ยั่งยืนเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรมอยู่ในระดับดีมาก ประกอบด้วย </p> <p>1.ด้านเศรษฐกิจ มีการนำผลผลิตที่ได้จากการจัดกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนมาสนับสนุนประชาชนให้พึ่งตนเองได้ มีโครงการส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาชุมชนยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนอยู่อย่างพอเพียง </p> <p>2.ด้านสังคม มีการกำหนดนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีการติดตามผลการดำเนินการในการพัฒนาชุมชน </p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3.ด้านสภาพแวดล้อม มีการสนับสนุนพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน และสร้างระบบและกลไกสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและประชาชนอย่างต่อเนื่อง </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.ด้านหลักธรรมาภิบาล มีการบริหารงานที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คือ 1. ด้านการมีส่วนร่วม ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม 2. ด้านความโปร่งใส ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารอย่างทั่วถึง 3. ด้านนิติธรรม ผู้นำมีการใช้กฎหมายอย่างศักดิ์สิทธิ์ 4. ด้านคุณธรรม ผู้นำมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานในองค์กร 5. ด้านความรับผิดชอบ มีการปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์ ความพอเพียง ของผู้ปฏิบัติการ 6. ด้านความคุ้มค่า มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ มี 5 ด้านความยั่งยืนตามแนวพุทธ ส่งเสริมให้ประชาชน ในชุมชนได้เห็นคุณค่า และตระหนักถึง ความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น</span></p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271843
การจัดการสภาพแวดล้อมและสภาวะวิกฤตลุ่มน้ำจาง จังหวัดลำปาง
2024-12-09T12:11:53+07:00
สุทธิพร สายทอง
suttiporn.sai@mcu.ac.th
พระมหาวรวิทย์ รตนโชโต
punyaphab_989@hotmail.com
พระมหากีรติ วรกิตฺติ
punyaphab_989@hotmail.com
ณรงค์ ปัดแก้ว
punyaphab_989@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไปของปัญหา สาเหตุ อุปสรรค การดูแลจัดการบริบทลุ่มน้ำจาง 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง 3. เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชน 229 คน แบบสัมภาษณ์จากแกนนำการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง 15 คน โดยวิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน 1) เก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการมีส่วนร่วมการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง จากประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสถิติเชิงพรรณนา 2) จัดกระบวนการการมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค A-I-C (Appreciation, Influence, and Control) <strong> </strong></p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1.สภาพทั่วไปของการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง พบว่าสาเหตุเกิดจากปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร ปัญหาน้ำเน่า ปัญหาน้ำแล้ง และปัญหาน้ำปนเปื้อนสารจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยภาพรวมชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง อยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.51) 2.การมีส่วนร่วมในการจัดการและการอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง พบว่าการใช้กระบวนการ A-I-C สรุปดังนี้ 1) ขั้นเห็นคุณค่า ชุมชนมีจิตสำนึกและเห็นคุณค่าของน้ำลุ่มจางที่มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต มีการบริหารจัดการตามวิถีของชุมชนผ่านกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ จึงรวมกลุ่มจัดตั้ง กลุ่มฮักน้ำ 2) ขั้นปฏิสัมพันธ์ ชุมชนมีความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมการปรับภูมิทัศน์แนวทางเดินลุ่มน้ำจางให้สะอาด มีการวางแผนในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 3) ขั้นควบคุม ชุมชนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการลุ่มน้ำจาง มีการออกระเบียบ กฎเกณฑ์ในการดูแลอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 3.แนวทางการจัดการและการอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง พบว่า ชุมชนมี มีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน มีการจัดทำแผนชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการออกกฎระเบียบ ตามแนวทางของการอนุรักษ์ และรักษาทรัพยากรน้ำ </p>
2024-12-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง