วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ <p><strong>วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง </strong></p> <p> ถือเป็นแหล่งรวบรวมผลงานทางวิชาการ และองค์ความรู้ที่สำคัญเนื่องจากเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ทางพระพุทธศาสนา ความคิดที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย</p> วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง th-TH วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2350-9953 การศึกษาปัจจัยหลักการ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูงที่มีผลต่อความมุ่งมั่น ในการพัฒนาตัวเองของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดปทุมธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/268731 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเองของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดปทุมธานี และปัจจัยหลักการ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูงที่มีผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเองของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดปทุมธานี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ที่รวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ซึ่งประชากรมีขนาดใหญ่และไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน โดยการเลือกตัวอย่างจากสูตรไม่ทราบขนาดตัวอย่างของคอคแรน และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.สภาพปัจจัยหลักการ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูงของผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.21, S.D.= .62) เมื่อพิจารณาในแต่ละอุปนิสัย พบว่า อุปนิสัยที่ 7 </span><span style="font-size: 0.875rem;">การลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอมีค่ามากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.54, S.D.= 0.74) รองลงมา ได้แก่ อุปนิสัยที่ 2 การเริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ อยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 30, S.D.= 0.77) อุปนิสัยที่ 6 การผนึกพลังประสานความต่าง ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.29, S.D.= 0.70) อุปนิสัยที่ 5 การเข้าใจผู้อื่นก่อนจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.25, S.D.= 0.67) อุปนิสัยที่ 3 การทำสิ่งสำคัญก่อน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.19, S.D.= 0.77) อุปนิสัยที่ 1 การเป็นฝ่ายเริ่มต้น</span><span style="font-size: 0.875rem;">ทำก่อน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.07, S.D.= 0.75) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ อุปนิสัยที่ 4 การคิดแบบชนะ/ชนะอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 3.82, S.D.= 0.66) ตามลำดับ</span></p> <p>2.ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.57, S.D.=0.72) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากที่สุด<br />ในด้านการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.71, S.D.= 0.79) รองลงมา ได้แก่ ด้านการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.56, S.D.= 0.70) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.44, S.D.= 0.68) ตามลำดับ</p> บุษกร วัฒนบุตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 1 11 การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/269707 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา ด้านการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางการตลาด 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางการตลาด 4) เพื่อประเมินผลการพัฒนาศักยภาพทางการตลาด ฯ การศึกษาครั้งนี้ใช้ฐานความรู้ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) และการตลาด 5.0 (Marketing 5.0) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) และเชิงปริมาณ (Quantity Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 11 ราย สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก, ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง 385 คน สำหรับตอบแบบสอบถาม และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 ท่าน สำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพได้้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Likert scale) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยนี้ได้รับการยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.25) และจากผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางการตลาด ฯ ผ่านตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการ ฯ จำนวน 1 ราย ตลอดระยะเวลา 3 เดือน พบว่า สามารถเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยได้ด้วยการมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเปรียบเทียบกับผลประกอบการก่อนหน้าทำการทดลอง</p> สมชาย ศรีทนุ ตระกูล จิตวัฒนากร บุษกร วัฒนบุตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 12 27 การประเมินความประทับใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270134 <p>บทความวิจัยนี้มีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา จำนวน 355 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t (t-test) และค่า F – test (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;">1. การประเมินความประทับใจต่อการให้บริการขององค์การ</span><span style="font-size: 0.875rem;">บริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 ด้าน คือ ด้านพนักงานผู้ให้บริการและด้านความรู้ของพนักงานผู้ให้บริการ รองลงมา คือ ด้านความสะดวกของสถานที่ให้บริการ ด้านคุณภาพของงานบริการ และด้านข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากการให้บริการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. การเปรียบเทียบความประทับใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า 1) ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีความประทับใจต่อการให้บริการโดยรวมไม่แตกต่างกัน 2) ประชาชนที่มีอายุแตกต่างกัน มีความประทับใจต่อการให้บริการโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน 3) ประชาชนที่มีการศึกษาแตกต่างกัน</span><span style="font-size: 0.875rem;">มีประทับใจต่อการให้บริการ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน </span><span style="font-size: 0.875rem;">มีความประทับใจต่อการให้บริการ แตกต่างกัน 5) ประชาชนที่มีรายได้แตกต่างกัน มีความประทับใจต่อ</span><span style="font-size: 0.875rem;">การให้บริการโดยรวมแตกต่างกัน</span></p> อัมพร ปัญญา ธัญปวีณ์ ภัคสุวรรณวัตน์ ณัฐพงษ์ เทวะเวชพงษ์ เรวดี มาลัยศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 28 38 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270136 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 390 คน โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.คุณลักษณะส่วนบุคคลของประชาชนที่มีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 ปีขึ้นไป วุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า รายได้ต่อปีไม่เกิน 5,000 บาท อาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป และมีอาชีพเกษตรกร</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.</span><span style="font-size: 0.875rem;">การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา </span><span style="font-size: 0.875rem;">อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการตัดสินใจ ด้านการวางแผนบริหารงาน ด้านการรับผลประโยชน์จากการบริหารงาน และด้านการติดตามประเมินผล พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับน้อย</span></p> สมภพ ศรีสัมพันธ์ นิษฐา คงคาเรียน กันตินันท์ จิตรละออน ธิติยา คำนนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 39 50 การประเมินผลการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270137 <p>บทความวิจัยนี้มีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ เทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 80 คน ใช้วิธีการเปิดตาราง Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้ t – test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.<span style="font-size: 0.875rem;">ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.18) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมการให้บริการ ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.26) มากที่สุด รองลงมาคือ </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.17) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.17) และ ด้านที่น้อยที่สุดคือ </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้านกระบวนการ/ขั้นตอน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.16)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ความคิดเห็นของประชาชนต่อการประเมินผลการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า </span><span style="font-size: 0.875rem;">1) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ต้องมีความรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำในการให้บริการ </span><span style="font-size: 0.875rem;">2) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ต้องมีความยิ้มแย้ม พูดจาไพเราะ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหา และให้คำแนะนำกับผู้มาใช้บริการได้ 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอต่อประชาชนที่มาใช้บริการ และ 4) ด้านการส่งเสริมการให้บริการ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอน วิธีการ และระยะเวลาในการให้บริการแก่ประชาชนให้ชัดเจน</span></p> สมชาย วิมลสุข ภูกิจ สุรัติรางคกุล อนุวัติ กระสังข์ ทีป ราญสระน้อย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 51 59 การสื่อสารการตลาดและคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการโรงแรมในเมืองเล่อซาน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270257 <p>การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการสื่อสารการตลาด คุณภาพบริการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมในเมืองเล่อซาน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดและคุณภาพบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมในเมืองเล่อซาน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ใช้บริการชาวจีนโรงแรมในเมืองเล่อซาน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน จำนวน 385 คน เครื่องมือคือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ แบบ enter </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นด้านการสื่อสารการตลาดอยู่ในระดับมาก คุณภาพบริการอยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมในเมืองเล่อซาน มณฑลเสฉวน ประเทศจีนอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดและคุณภาพบริการส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมในเมืองเล่อซาน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> Zhao Peizuo ธนกร สิริสุคันธา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 60 72 แนวทางการคุ้มครองและจัดสวัสดิการแรงงานของพนักงานขนส่งเอกชน ในจังหวัดปัตตานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270269 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ สร้างข้อเสนอในการคุ้มครองและจัดสวัสดิการแรงงานของพนักงานขนส่งเอกชนในจังหวัดปัตตานี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เกี่ยวกับการคุ้มครองและจัดสวัสดิการแรงงานของพนักงานขนส่งเอกชนในจังหวัดปัตตานี โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณณา ซึ่งสามารถวิเคราะห์และจำแนกผลของการศึกษาวิจัย ผลการวิจัย พบว่า พนักงานบริษัทขนส่งเอกชนจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่มีความต้องการสวัสดิการที่เหมาะสม และสถานประกอบกิจการส่วนใหญ่จัดสวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนดให้เพียงบางรายการ เช่น สวัสดิการประกันสังคม และสวัสดิการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น และมีข้อเสนอแนวทางการคุ้มครองและจัดสวัสดิการแรงงานของพนักงานขนส่งเอกชนในจังหวัดปัตตานี คือจัดสวัสดิการเหนือกฎหมายให้แก่พนักงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานให้พนักงานปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมายของบริษัท เช่น การจัดโบนัสประจำเดือน เบี้ยขยันประจำเดือน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน</p> อทิตญา จันทร์แสง วันพิชิต ศรีสุข Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 73 84 การอนุรักษ์และสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษา ประเพณีฟังธรรมขอฝน จังหวัดเชียงราย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270604 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและคุณค่าของประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชุมชนห้วยไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่สามารถจะให้ข้อมูลได้ โดยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีฟังธรรมขอฝน จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม โดยได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาเอกสารทุติยภูมิ และศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม รวมทั้งปฏิบัติการพัฒนากิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหา โดยจำแนกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆที่รวบรวมไว้</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.บทบาทและคุณค่าของประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พบว่า ชุมชนห้วยไคร้ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน หรือคนพื้นเมืองที่อพยพมาจากจังหวัดน่าน และอีกส่วนหนึ่งเป็นคนอีสานที่อพยพหนีภัยแล้งมาจากภาคอีสาน ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับการนับถือผี จึงมีประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องผีที่ดูแลรักษาป่า รักษาน้ำ มีการทำพิธีกรรมเลี้ยงผีขุนห้วยตามความเชื่อดั้งเดิม ต่อมาพระสงฆ์ได้นำประเพณีฟังธรรมขอฝนซึ่งเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้ามาร่วมกับการเลี้ยงผีขุนห้วย ซึ่งทำเป็นประจำทุกปีก่อนฤดูทำนา จนเป็นแนวปฏิบัติทางสังคม โดยด้านบทบาทพบว่า มีบทบาทในการเชื่อมโยงสถาบันของสังคมให้อยู่อย่างสันติสุข บทบาทในการหล่อหลอมความรักความสามัคคีของคนในชุมชนและบทบาทในการสร้างขวัญกำลังใจ ส่วนคุณค่าพบว่ามีคุณค่าด้านความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรม</span></p> <p>2.การพัฒนากิจกรรมในการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจะมีองค์ประกอบทุกภาคส่วนทั้งชุมชน วัด โรงเรียน สภาวัฒนธรรม ท้องที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาทำกิจกรรมร่วมกัน ในรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ในวัดห้วยไคร้ แผนการจัดการเรียนรู้ และพื้นที่การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในโรงเรียนห้วยไคร้ รวมทั้งการพัฒนาธรรมนูญชุมชนในการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีฟังธรรมขอฝนของชุมชนห้วยไคร้ ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น </p> สหัทยา วิเศษ ชูชาติ สุทธะ สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 85 101 การจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270646 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2) ศึกษาปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งหมด 112 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านวิธีการจัดเรียนรู้ ด้านครูผู้สอน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และด้านหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ ได้แก่ ลักษณะตามบริบทของผู้เรียน สื่อในการจัดกิจกรรม ภาระหน้าที่ของครูผู้สอน เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม และการสนับสนุนของผู้บริหาร</p> วิโรชน์ หมื่นเทพ สมนึก การีเวก Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 102 113 ยุทธศาสตร์และกลไกภาครัฐในระดับภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการป้องกันเยาวชนในการเล่นการพนันออนไลน์ กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270794 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์และกลไกการทำงานของหน่วยงานภาครัฐระดับภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกในการป้องกันปัญหาเยาวชนในการเล่นการพนันออนไลน์ (2) เพื่อนำเสนอถึงยุทธศาสตร์และกลไกการทำงานของหน่วยงานภาครัฐระดับภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยนำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันปัญหาเยาวชนในการเล่นการพนันออนไลน์ และ (3) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในประเด็นการป้องกันเยาวชนในการเล่นการพนันออนไลน์ วิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบ 2 ส่วนคือ 1)การวิจัยเอกสาร และ <br />2)การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ได้แก่ 1. เจ้าหน้าที่และพนักงานของรัฐระดับจังหวัด และ 2.เจ้าหน้าที่และพนักงานของรัฐระดับท้องถิ่น ผลการวิจัย คือ (1) จังหวัดพิษณุโลกยังไม่มียุทธศาสตร์และนโยบาย หรือมาตรการที่เป็นกรณีเฉพาะต่อปัญหาเรื่องการพนันออนไลน์ และยังไม่มีแผนหรือนโยบายที่มีการแก้ไขปัญหาเยาวชนกับการพนันออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม 2) จังหวัดพิษณุโลกให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษา สถานบันศาสนา ชุมชน และสถาบันครอบครัว ในการเป็นกลไกการทำงานในเรื่องของการแก้ไขปัญหาในเรื่องการพนันออนไลน์กับเยาวชนทั้งในเชิงรุกและรับโดยจะเห็นจากให้ความสำคัญในเรื่องการบูรณาการการลงพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยง การแจ้งเบาะแส การดำเนินคดี การจับกุม (3 ) ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยโดยครอบคลุมกับการพนันออนไลน์ ข้อเสนอแนะ คือ ต้องพัฒนาการปฏิบัติงาน ระบบคิด วิสัยทัศน์ แรงจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กร ของหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องการพนันออนไลน์ในเยาวชนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก</p> วสันต์ ปวนปันวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 114 129 การพัฒนาศักยภาพผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดสู่การประกอบอาชีพและ การจ้างงานโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270816 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น 2)เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานและการเรียนรู้งานของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพสู่การจ้างงานและ 3)เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ภูมิหลัง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในการพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูที่มีความเหมาะสมและนำไปสู่การจ้างงาน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Methodologies) โดยการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด จำนวน 85 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 70.60 มีอายุระหว่าง 20 – 29 ปี ร้อยละ 50.60 มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 37.60 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ร้อยละ 65.90 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 47.10 สาเหตุที่ทำให้ติดยาเสพติดเกิดจากความอยากรู้อยากลอง ด้านความสามารถในการปฏิบัติงานและการเรียนรู้งานของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.85) ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพทางร่างกาย (μ = 3.46) การพัฒนาศักยภาพทางอารมณ์ (μ = 3.70)การพัฒนาศักยภาพทางความสามารถ (μ = 4.16) และการพัฒนาศักยภาพทางการยอมรับ (μ = 4.08)จากการศึกษาได้พบข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพของผู้บำบัดยาเสพติดดังนี้ คือ 1)การพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย ควรต่อเติมห้องทำกิจกรรมและทำกิจกรรมนันทนาการมากขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดมีสภาพร่างกายที่ฟื้นตัวเร็ว ผ่อนคลายจากความเครียดและการคิดถึงบ้าน 2)การพัฒนาศักยภาพด้านอารมณ์ ทีมสหวิชาชีพนำการให้คำปรึกษาและการทำกิจกรรมกลุ่มมาใช้ในการบำบัดรักษา ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดเกิดการยอมรับ เห็นคุณค่าในตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมที่จะให้โอกาสตนเองได้เริ่มต้นใหม่ 3) การพัฒนาศักยภาพด้านความสามารถ อาชีพที่นำมาใช้ในกระบวนการยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดมีความหลากหลายทางด้านความสามารถ 4) การพัฒนาศักยภาพด้านการยอมรับ ควรมีการให้คำปรึกษาเพื่อเสริมพลังหรือการให้กำลังใจกับผู้เข้ารับการบำบัดเพื่อเป็นกำลังใจการกลับสู่สังคม</p> สิทธิพร เกษจ้อย วรชัด ทะสา สัจจารักษ์ ไร่สงวน วนัชพร ดีคัง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 130 145 การพัฒนาหลักสูตรการสร้างแบบจำลอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270831 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรการสร้างแบบจำลองโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการสร้างแบบจำลองโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชุมชนบ้านจัววิทยา อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดทักษะการสร้างแบบจำลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.หลักสูตรการสร้างแบบจำลองโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 HUNGER FOOD และหน่วยที่ 2 ท่องโลกอวกาศ 5) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตร 6) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ของหลักสูตร และ 7) การวัดและประเมินผลของหลักสูตร ในภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และคู่มือการใช้หลักสูตรในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.</span>นักเรียนที่เข้าร่วมการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรการสร้างแบบจำลองโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยทักษะในการสร้างแบบจำลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> นาฎอนงค์ วงศ์สิงห์แก้ว ปริญญภาษ สีทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 146 162 แนวทางการบริหารงานความสัมพันธ์กับชุมชนแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนบ้านหนองสูน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270869 <p>การเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานของสถานศึกษา โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหาร ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบและแนวทางการบริหารแบบเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบระดับบุคคล องค์ประกอบระดับทีมงาน และองค์ประกอบระดับองค์กร โดยมีเงื่อนไขการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหาร 6 ประการ 1) คุณลักษณะ 2) ทักษะ 3) สัญญาแห่งความสำเร็จ 4) การนิเทศตนเอง 5) โครงสร้างและระบบที่ช่วยเหลือเกื้อกูล 6) ภาระหน้าที่การประเมินตนเอง และดำเนินการตามกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ 5 ขั้นตอน 1) การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ 2) การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 3) การระบุทรัพยากร 4) การกำหนดภาระหน้าที่ 5) การกำหนดผลที่ตามมา โดยการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารต้องดำเนินการตามแนวทางต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาทักษะวิชาการการพัฒนาทักษะผู้นำ การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างสรรค์และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การติดตามและประเมินผลการเสริมสร้าง การสนับสนุนการอำนวยความสะดวก การให้คำปรึกษา การเป็นพี่เลี้ยง การให้ความร่วมมือ ซึ่งเมื่อดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้ว การเสริมสร้างพลังอำนาจจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับบุคคล ระดับทีมงาน และระดับองค์กร ซึ่งผู้ที่จะได้รับการเสริมพลังอำนาจโดยตรงคือ ครูและบุคลากร และเมื่อครูและบุคลากรเกิดการพัฒนาให้สามารถทำงานอย่างเต็มศักยภาพก็จะส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วย</p> กฤติยา ปาตีคำ สำเนา หมื่นแจ่ม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 163 180 ผลของการเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบกีฬาพื้นบ้านไทย จิกเส้นที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของเยาวชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271122 <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายด้วยรูปแบบกีฬาพื้นบ้านไทยจิกเส้นที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนสุขภาพดี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน (อายุเฉลี่ย 18.53 ± 0.63 ปี, Max=20 ปี, Min=18 ปี) และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน (อายุเฉลี่ย 18.60 ± 0.56 ปี, Max=20 ปี, Min=18 ปี) คัดเลือกตัวอย่างเพื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง และคัดเลือกตัวอย่างเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการจับคู่ซึ่งใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็นเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมออกกำลังกายด้วยรูปแบบกีฬาพื้นบ้านไทยจิกเส้น ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ซึ่งประกอบด้วย 5 รายการทดสอบ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย นั่งงอตัวไปข้างหน้า แรงบีบมือ ยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายด้วยรูปแบบกีฬาพื้นบ้านไทยจิกเส้น เป็นเวลา 60 นาที/วัน ทำการฝึกทั้งสิ้น 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับคำแนะนำให้ดำเนินชีวิตตามปกติ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางกาย/โปรแกรมการออกกำลังกายใด ๆ ในระหว่างการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายโดยใช้ค่าที (t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่พบว่าผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังทดลองสัปดาห์ที่ 8 ในกลุ่มทดลอง มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในทุกรายการทดสอบ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบดัชนีมวลกาย ระหว่างก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในตัวอย่างกลุ่มทดลอง</span></p> <p>สรุปได้ว่าการเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายด้วยรูปแบบกีฬาพื้นบ้านไทยจิกเส้น สามารถช่วยลดดัชนีมวลกายในกลุ่มเยาวชน และสามารถใช้เป็นกิจกรรมทางเลือกเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเยาวชนได้</p> เตชภณ ทองเติม ขนิษฐา ฉิมพาลี จีรนันท์ แก้วมา ธำรงค์ บุญพรหม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 181 195 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271210 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จำนวน 179 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Stepwise</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ได้แก่ ด้านทัศนคติในการเรียน (x<sub>6</sub>) ด้านพื้นฐานความรู้เดิม (x<sub>3</sub>) ด้านครอบครัว (x<sub>7</sub>) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถอธิบาย ความสามารถในการพูดได้ร้อยละ 58.11 และสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้</p> <p> สมการคะแนนดิบ<br /> <sup><img title="\hat{y}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\hat{y}" /></sup> = 4.342 + 2.174X<sub>6</sub> + 1.600X<sub>3</sub> + 0.819X<sub>7</sub></p> <p><sub> </sub>สมการคะแนนมาตรฐาน</p> <p> <img title="\hat{z}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\hat{z}" /> = 0.394X<sub>6</sub> + 0.318X<sub>3</sub> + 0.167X<sub>7</sub></p> พรณรงค์ สิงห์สำราญ ยุวดี ชูจิตต์ ดารินี ภู่ทอง อมรรัตน์ ประวัติรุ่งเรือง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 196 210 ศึกษาการบริหารจัดการเรียนรู้และชั้นเรียนของนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271534 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเรียนรู้และชั้นเรียนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษานักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 20 คน ครูพี่เลี้ยงทางโรงเรียนต่าง ๆจำนวน 44 คน นักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจำนวน 37 คน และอาจารย์นิเทศก์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง Purpose Sampling จำนวน 106 คน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการบริหารจัดการเรียนรู้และชั้นเรียนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพรายด้านพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.32,SD=0.16) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ด้านจิตวิทยา อยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.46,SD=0.13) รองลงมา ด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.36,SD=0.15) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านสังคมและด้านกายภาพอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.20,SD=0.20)</p> ปริณดา ศรีมุณี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 211 224 แนวทางการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/268746 <p>การเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานของสถานศึกษา โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหาร ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบและแนวทางการบริหารแบบเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบระดับบุคคล องค์ประกอบระดับทีมงาน และองค์ประกอบระดับองค์กร โดยมีเงื่อนไขการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหาร 6 ประการ 1) คุณลักษณะ 2) ทักษะ 3) สัญญาแห่งความสำเร็จ 4) การนิเทศตนเอง 5) โครงสร้างและระบบที่ช่วยเหลือเกื้อกูล 6) ภาระหน้าที่การประเมินตนเอง และดำเนินการตามกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ 5 ขั้นตอน 1) การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ 2) การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 3) การระบุทรัพยากร 4) การกำหนดภาระหน้าที่ 5) การกำหนดผลที่ตามมา โดยการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารต้องดำเนินการตามแนวทางต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาทักษะวิชาการการพัฒนาทักษะผู้นำ การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างสรรค์และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การติดตามและประเมินผลการเสริมสร้าง การสนับสนุน <br />การอำนวยความสะดวก การให้คำปรึกษา การเป็นพี่เลี้ยง การให้ความร่วมมือ ซึ่งเมื่อดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้ว การเสริมสร้างพลังอำนาจจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับบุคคล ระดับทีมงาน และระดับองค์กร ซึ่งผู้ที่จะได้รับการเสริมพลังอำนาจโดยตรงคือ ครูและบุคลากร และเมื่อครูและบุคลากรเกิดการพัฒนาให้สามารถทำงานอย่างเต็มศักยภาพก็จะส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วย</p> ดำหริ จันทรชูโต ตระกูล จิตวัฒนาการ วิโรชน์ หมื่นเทพ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 225 238 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/268962 <p>ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง คือ แนวคิดเกี่ยวกับกลไกรัฐและการปกครอง (Concepts about state apparatus and governance) รัฐนิยม (Statism) ทฤษฎีว่าด้วยชนชั้นนำ (Elite Theory) โครงสร้างอำนาจเชิงอุปถัมภ์ (Patron-client systems) มีวัตถุประสงค์นำทฤษฎีทั้ง 4 ทฤษฎีเพื่อเป็นวิทยาทานความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง เพื่อนำทฤษฎีข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาที่เห็นว่าเหมาะสมตามแต่กรณี ดังนั้น บทความนี้นำเสนอว่า ทฤษฎีทั้ง 4 เป็นการอธิบายองค์ความรู้แห่งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง เช่น กระบวนการสร้างรัฐนิยม ระบบอุปถัมภ์ชนชั้นนำ ฯลฯ เป็นแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นสำคัญทางเศรษฐศาสตร์การเมืองสำหรับแนวทางศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจ</p> สิริมา จิรกิจธนา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 239 254 แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270188 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Information System; HRIS) โดยศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับองค์ประกอบ รูปแบบ ข้อควรคำนึงและขั้นตอนการจัดทำระบบสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRIS) ซึ่งพบว่าคุณสมบัติของระบบสารสนเทศที่ดี ประกอบไปด้วย 1. ความถูกต้อง <br />2. ความครบถ้วนสมบูรณ์ 3. ความทันกับเวลา 4. ความเชื่อถือได้ 5. การตรวจสอบได้ 6. ความพอใจของผู้ใช้ และยังพบว่าแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การกำหนดความต้องการของระบบ 2. การวิเคราะห์ระบบ 3. การออกแบบระบบ 4. การติดตั้งระบบ 5. การบำรุงรักษาระบบ</p> วิทยา ธาตุบุรมย์ ตระกูล จิตวัฒนากร เกียรติ บุญยโพ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 255 270 ไม้กั๋งไหล : ระบบการเขียนอักขระล้านนาในภาษาศาสตร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271715 <p>บทความเรื่อง “ไม้กั๋งไหล : ระบบการเขียนอักขระล้านนาในภาษาศาสตร์” เป็นการกล่าวถึงระบบการเขียนอักขระวิธีของล้านนาโดยใช้หลักการแห่งภาษาบาลี อันเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการทางภาษาศาสตร์ เกิดรูปที่เรียกพยัญชนะตัว ง ว่า “ไม้กั๋งไหล” ทั้งนี้ยังได้กล่าวถึงระบบของกลุ่มคำที่ประกอบด้วย”ไม้กั๋งไหล” ที่เขียนออกมาตามแนวแห่งภาษาบาลี อีกทั้งยังได้กล่าวถึงระบบคำ/ศัพท์ จากรากศัพท์ภาษาบาลี ที่นิยมนำมาใช้ในประโยคในภาษาล้านนาและภาษาไทยกลาง</p> พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป พระมหากีรติ วรกิตฺติ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-27 2024-04-27 13 1 271 281