วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ <p><strong>วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง </strong></p> <p> ถือเป็นแหล่งรวบรวมผลงานทางวิชาการ และองค์ความรู้ที่สำคัญเนื่องจากเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ทางพระพุทธศาสนา ความคิดที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย</p> th-TH Suttiporn.sai@mcu.ac.th (ผศ.ดร.สุทธิพร สายทอง) chairatcganakan.pho@mcu.ac.th (นางสาวจิรัชนากานต์ เพิ่มขึ้น) Sat, 31 Aug 2024 12:03:55 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270900 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี 2) ประเมินสภาพปัญหาและอุปสรรคคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน และประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 7 คน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความแบบพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี มีผลสืบเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการบริการงานและการให้บริการภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัล พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อรองรับการดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้บริการและการทำงานของภาครัฐ เทศบาลในจังหวัดนนทบุรีจึงมีการยกระดับคุณภาพการให้บริการสู่ระบบดิจิทัล ทั้งด้านเอกสาร กระบวนการพิจารณา รวมถึงกระบวนการอนุมติต่าง ๆ จนเกิดรูปแบบ “การบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)” </p> <p>2) ปัญหาและอุปสรรคของคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรียังยึดติดกับวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบเดิม เมื่อต้องปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงวิธีการทำงานของเทศบาลให้เป็นดิจิทัล ทำให้บุคลากรบางส่วนไม่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือและเทคโนโลยีได้อย่างชำนาญ </p> <p>3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรีควรกำหนดเป็นแผนพัฒนาบุคลากรให้สามารถให้บริการผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างคล่องแคล่ว และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานผ่านระบบดิจิทัลให้แก่ประชาชนได้รับทราบและใช้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว</p> สุภาพ วงค์พลาย , กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ, ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270900 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270928 <p>การวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดชลบุรี และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดชลบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี ตัวแทนศูนย์บริการคนพิการจังหวัด ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนสมาคม/ชมรมคนพิการ ตัวแทนภาคเอกชน นักวิชาการ ตัวแทนคนพิการ และตัวแทนผู้ดูแลคนพิการ รวมจำนวน 24 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า </p> <p>1) การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดชลบุรี ด้านสุขภาวะคนพิการ พบว่า มีการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพ เยี่ยมบ้าน รวมถึงมีการจัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ด้านการศึกษา พบว่า การศึกษาที่ได้รับการส่งเสริมยังไม่ครอบคลุม ทางเลือกทางการศึกษาไม่หลากหลาย ด้านการประกอบอาชีพและรายได้ พบว่า มีการผลักดันให้มีโอกาสทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ มากขึ้น แต่ยังไม่ทั่วถึง ด้านการออกสู่สังคม พบว่า มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนพิการ แต่ยังมีผู้พิการบางส่วนไม่อยากเข้าร่วม และด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม พบว่า มีการดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซม และจัดสภาพให้เหมาะสม แต่งบประมาณดำเนินการมีจำกัดจึงยังทำได้ไม่ทั่วถึง</p> <p>2) ปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดชลบุรี พบว่า บุคลากรมีไม่เพียงพอ และขาดความเข้าใจในนโยบาย การสนับสนุนการประกอบอาชีพจากภาครัฐยังไม่เพียงพอ คนพิการบางส่วนมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่านอกจากนี้คนในสังคมขาดความเข้าใจคนพิการ จึงถูกปิดกั้นโอกาสในการทำงาน </p> <p>3) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดชลบุรี พบว่า ควรส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วม ควรอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการรวมกลุ่มคนพิการ การจัดให้มีอาสาสมัคร/เครือข่ายในชุมชนเพื่อคอยให้ความช่วยเหลือ และควรสร้างความเข้าใจกับสถานประกอบการเพื่อสร้างโอกาสให้คนพิการมีงานทำมากขึ้น</p> ณรงค์ ไปวันเสาร์, สถิตย์ นิยมญาติ, ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ, กมลพร กัลยาณมิตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270928 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271323 <p>การวิจัยฉบับนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีและแนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร โดยวิจัยศึกษาด้านเนื้อหาเอกสารและแนวคิดทฤษฎีของกฎหมายการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมคุณภาพ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ตามวัตถุประสงค์ที่ 1 กฎหมายฉบับต่าง ๆ ในประเทศไทย ที่กระจัดกระจายอยู่นั้นที่ยังไม่เพียงพอต่อการรับรองสิทธิ และไม่สามารถเอื้อประโยชน์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วถึงเท่าที่ควร ตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ประเทศไทยควรกำหนดระบบในการให้การดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยการจัดตามกลุ่มประเภทหรืออาการ อาทิ ผู้สูงอายุที่ยังมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ในการดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุควรได้รับการสนับสนุนให้ได้รับบริการสุภาพเชิงป้องกันและส่งเสริมสุขภาพภายใต้สิทธิและประโยชน์ที่ควรได้รับ ตามวัตถุประสงค์ที่ 3 ประเทศไทยควรมีกฎหมายแม่บทหรือควรนำเอากฎหมายที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันหรือวัตถุประสงค์เดียวกันที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่และพัฒนากฎหมายที่มีความพ้นสมัยหรือกฎหมายที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริงออก และตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อรองรับแนวนโยบายระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว</p> รัฐสภา จุรีมาศ, ภูมิ มูลศิลป์ , ธนาเสฎฐ์ เศรษฐกุลเกียรติ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271323 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271958 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงอุปสรรคในการแก้ไขปัญหายาเสพติด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษากลุ่มประชากรประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอ ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การทดสอบแบบเอฟ และนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p>ผลวิจัยพบว่า การดำเนินการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.10) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (µ = 4.27) เมื่อพิจารณาข้อย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้ผู้เสพผู้ติดเข้าถึงบริการด้านการ บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เมื่อพิจารณาข้อย่อยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดในชุมชนเพื่อป้อมปรามการกระทำผิด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (µ = 3.88) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติดพบว่า อายุ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด และด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาชีพ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด</p> นพดล ศาลาคาม, โชติ บดีรัฐ, ภาสกร ดอกจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271958 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารการตลาดและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อบ้าน ของผู้บริโภคในโครงการจัดสรรจังหวัดลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272112 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการสื่อสารการตลาดการรับรู้ คุณค่าและความตั้งใจซื้อบ้านของผู้บริโภคในโครงการจัดสรรจังหวัดลำปาง และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อบ้านของผู้บริโภคในโครงการจัดสรรจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดลำปาง และมีความตั้งใจจะซื้อบ้านในโครงการจัดสรรจังหวัดลำปาง จำนวน 385 คน เครื่องมือคือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ enter </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านการสื่อสารการตลาดอยู่ในระดับมาก ด้านการรับรู้คุณค่าอยู่ในระดับมากที่สุด และความตั้งใจซื้อบ้านของผู้บริโภคในโครงการจัดสรรจังหวัดลำปาง อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าส่งผลต่อความตั้งใจซื้อบ้านของผู้บริโภคในโครงการจัดสรร จังหวัดลำปาง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถทำนายความตั้งใจซื้อบ้านของผู้บริโภคในโครงการจัดสรร จังหวัดลำปางได้ร้อยละ 62.20</p> ยอดชาย จุมปาคำ , ธนกร สิริสุคันธา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272112 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ยุวสล่า : การถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272387 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการถ่ายทอดและทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ 3) เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญางานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ สู่สาธารณะซึ่งเป็นการวิจัยแบบคุณภาพในรูปแบบของ (R &amp; D &amp; Action Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มปราชญ์และช่างภูมิปัญญางานพุทธศิลป์ กลุ่มยุวสล่า กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups Discussion) การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และการถอดองค์ความรู้บและสภาพปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบกระบวนการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. รูปแบบกระบวนการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการเชิงระบบ (Systems Approach) ในการสังเคราะห์ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) การควบคุม (Control) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. การถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ ด้วยการจัดกิจกรรมอบรมสามเณรนักเรียนช่างสิบหมู่ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ได้รับความรู้ ความเข้าใจและทักษะความชำนาญในงานสล่าพุทธ</span>ศิลป์ได้เป็นอย่างดี มีบางส่วนที่ยังไม่ค่อยมีทักษะมาก แต่ก็สามารถทำงานได้เพียงแต่จะต้องเพิ่มทักษะและสมาธิในการลงมือปฏิบัติงานช่างและมีเวลาในการลงมือทำอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ผลจากการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะทำให้ได้ผลสำเร็จของงานพุทธศิลป์ที่เกิดเป็นมูลค่าทางปัญญาควรแก่การสืบทอด 4 ผลงาน ได้แก่ ธรรมาสน์ บุษบก ตุงกระด้าง และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. การเผยแพร่ภูมิปัญญางานสล่าพุทธศิลป์สู่สาธารณะ คณะผู้วิจัยจัดเวทีงานพุทธศิลป์คืนข้อมูล</span><span style="font-size: 0.875rem;">การวิจัยให้กับชุมชน โดยนิมนต์และเรียนเชิญบุคคล หน่วยงาน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประชุมฟังการบรรยายองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบกระบวนการถ่ายทอดงานสล่าพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ประมาณ 50 รูป/คน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการหาแนวทางถ่ายทอดพัฒนาทักษะงานพุทธศิลป์โดยเริ่มจากหาสาเหตุของปัญหาไปสู่การแก้ปัญหาทั้งในระดับบุคคลและระดับภาพรวมของงานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่</span></p> <p>หน่วยงานที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ โรงเรียนบวรวิชชาลัย ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วัดทุ่งกวาว ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาโดยวัดร่องฟองและโรงเรียนบวรวิชชาลัยได้สร้างแหล่งเรียนรู้ผลงานสล่าพุทธศิลป์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสาธารณชนและองค์กรต่าง ๆ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้งานวิจัยในอบรมและถ่ายทอดให้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่มีความสนใจ</p> เกรียงศักดิ์ ฟองคำ, พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์, ดำเนิน หมายดี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272387 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272650 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 3. การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จำนวน 198 คน โดยการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็นแบบชั้นภูมิ แบ่งตามชั้นปีการศึกษา หลังจากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3.การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาในด้านความพอประมาณ (X</span><sub>1</sub><span style="font-size: 0.875rem;">) ด้านความมีเหตุผล (X</span><sub>2</sub><span style="font-size: 0.875rem;">) และด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี (X</span><sub>3</sub><span style="font-size: 0.875rem;">) สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพในทิศทางเดียวกัน ได้ร้อยละ 69.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้</span></p> <p>สมการคะแนนดิบ</p> <p>ŷ= 1.171 + 0.282X<sub>1</sub>+ 0.154X<sub>2</sub>+ 0.130X<sub>3</sub></p> <p>สมการคะแนนมาตรฐาน</p> <p>𝑧̂ = 0.469X<sub>1</sub>+ 0.314X<sub>2</sub>+ 0.270 X<sub>3</sub></p> วิยะดา วรานนท์วนิช, วัลภา คงพัวะ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272650 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาวิเคราะห์พุทธปรัชญาในสำนักโยคาจาร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272718 <p>บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญระหว่างกายและจิต ผลการศึกษาได้พบว่ากาย (object) และจิต (subject) เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมากในหมู่นักปรัชญาอินเดียแต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าอะไรสำคัญที่สุดบอกเพียงแต่ว่ามีสัจภาวะหนึ่งเดียวที่เป็นอมตะ (เช่น ปรัชญาสางขยา เป็นต้น) ยั่งยืนดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ สร้างสรรค์สรรพสิ่ง เป็นผู้ทำที่ไม่ถูกทำ แต่ยังบอกไม่ชัดเจนว่าสัจภาวะหนึ่งเดียวนั้นเป็นจิตหรือกาย ข้อมูลที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกเถรวาทที่แสดงฐานะและบทบาทโดดเด่นของจิตอาจเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นักปรัชญาบางท่านได้นำมาพัฒนาต่อ เช่น ท่านอสังคะ และวสุพันธุ เป็นต้น และการพัฒนาต่อของท่านทั้งสองนั้นได้ปรากฏในลัทธิโยคาจาร</p> ประยงค์ แสนบุราณ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272718 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาวิเคราะห์บทบาทและการเผยแพร่ลัทธิแห่งวิถีอนุตตรธรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272720 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทและการเผยแพร่วิถีอนุตตรธรรม จากการศึกษาพบว่า แต่เดิมนั้นวิถีอนุตตรธรรมมีการเริ่มต้นเผยแพร่อยู่ในประเทศจีน จากนั้นประเทศจีนก็ประสบปัญหาเนื่องจากถูกกวดขันจากรัฐบาล เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงมีการนำวิถีอนุตตรธรรมเข้ามาเผยแพร่ต่อในประเทศไต้หวันและได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยในปี 2525 ตามลำดับ วิถีแห่งอนุตตรธรรมนั้นมีแนวความเชื่อว่าหลักคำสอนของทุกศาสนาในโลกถือเป็นการสั่งสอนและเตรียมจิตใจของมนุษย์ให้เข้าสู่ความหลุดพ้นหรือวิถีแห่งอนุตตรธรรม และในบทบาทแห่งวิถีอนุตตรธรรมนั้นจะต้องมีอาจารย์ผู้บรรยายธรรมประจำอยู่ทุกที่เพราะมีความเชื่อว่า <br />การให้ความรู้นั้นเป็นการให้ทานอย่างหนึ่งโดยถือว่าเป็นการให้ธรรมะเป็นทานที่นอกเหนือจากการให้ทรัพย์และแรงกาย ทั้งนี้การรวมกลุ่มของผู้นับถือวิถีแห่งอนุตตรธรรมยังไม่ปรากฏว่ามีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม อีกทั้งยังไม่ได้มีหน้าที่เข้ามาทดแทนสถาบันศาสนา แต่อาจจะมีบทบาทในการช่วยส่งเสริมให้คนปฏิบัติตามหลักของศาสนาในเรื่องของการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยมีความเป็นรูปธรรมและความมุ่งหวังที่ชัดเจนในเรื่องของโลกหน้า</p> ประยงค์ แสนบุราณ, พิริยานาถ พีรยาวิจิตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272720 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น ตามหลักสังคหวัตถุ 4 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273470 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น 2) การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น ตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการจัดบริการเกี่ยวกับการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น และการสร้างกลไกลการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลตามหลักสังคหวัตถุ 4</p> <p>ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Methodologies) โดยการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 262 คนและการสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนนักศึกษาจาก 9 สาขาวิชา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สันไคว์สแควร์ (Pearson chi-square) F-test( one way-anova) และวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 262 คน ร้อยละ 67.90 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 29.80 เป็นเพศชายร้อยละ 27.10 มีอายุระหว่าง 20-25 ปี ร้อยละ 29.80 ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 24.40 ศึกษาในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ร้อยละ 38.20 ครอบครัวมีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 59.20 ไม่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนอกเขตอำเภอที่อาศัยอยู่ ร้อยละ 77.90 ไม่ทราบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการรักษาพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ.2551 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2561 ร้อยละ 94.30 ไม่รู้เกี่ยวกับการเข้ารับบริการจากบริการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละระดับการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<em> <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /></em>= 3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สิทธิการบริการด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ย (<em> <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /></em>= 3.51) สิทธิการปกปิดข้อมูลและความเป็นส่วนตัว มีค่าเฉลี่ย (<em> <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /></em>= 3.51) สิทธิการรับรู้ข้อมูลที่เพียงพอและชัดเจนมีค่าเฉลี่ย (<em> <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /></em>= 3.51) และสิทธิความปลอดภัยในการรักษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ย (<em> <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /></em>= 3.51) ตามลำดับ และสาขาวิชาไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้พระราชบัญญัติการรักษาพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ.2551 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2561 และ การจัดบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค</p> สิทธิพร เกษจ้อย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273470 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้คุณภาพและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำหลัวซือเฝิ่น บะหมี่รสหอยแม่น้ำกึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคเมืองหลิ่วโจว มณฑลกวางซี ประเทศจีน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270667 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณภาพ ความพึงพอใจและการตัดสินใจซื้อซ้ำหลัวซือเฝิ่นบะหมี่รสหอยแม่น้ำกึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคเมืองหลิ่วโจว มณฑลกวางซี ประเทศจีน 2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำหลัวซือเฝิ่นบะหมี่รสหอยแม่น้ำกึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคเมืองหลิ่วโจว มณฑลกวางซี ประเทศจีน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลิ่วโจวและเคยบริโภคหลัวซือเฝิ่นบะหมี่รสหอยแม่น้ำกึ่งสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมาน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความสำคัญของด้านการรับรู้คุณภาพส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำหลัวซือเฝิ่นบะหมี่รสหอยแม่น้ำกึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคเมืองหลิ่วโจว มณฑลกวางซี ประเทศจีน มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านพึงพอใจ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter พบว่า ด้านการรับรู้คุณภาพ ด้านความพึงพอใจต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ หลัวซือเฝิ่นบะหมี่รสหอยแม่น้ำกึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคเมืองหลิ่วโจว มณฑลกวางซี ประเทศจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> Wu Hui , ธนกร สิริสุคันธา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270667 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270889 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออก จำนวน 10 คน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออก จำนวน 13 คน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 23 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสรุปความแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ได้มีการดำเนินงานโดยสำนักงานการท่องเที่ยวที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในแต่ละจังหวัดของภาคตะวันออก โดยปฏิบัติตามทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออกในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อรักษาและยกระดับการท่องเที่ยวคุณภาพในแหล่งท่องเที่ยวหลักและแหล่งท่องเที่ยวรอง เช่น พื้นที่สัตหีบ พัทยา เกาะเสม็ด เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลนานาชาติ ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกสู่ระดับโลก และเกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้ออำนวยต่อนักท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น ระบบขนส่งมวลชน การบริหารจัดการขยะ การติดตั้งกล้อง CCTV ตามแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความสามารถในการใช้ภาษาและการสื่อสาร </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว เช่น มลพิษทางน้ำ การกัดเซาะชายฝั่ง ทำให้ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ความแออัดของในเมืองหลักด้านการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาไม่ทันความต้องการ ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนขาดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3.ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติได้แก่ ควรใช้แนวคิด ซอฟต์พาวเวอร์ และจุดเด่นทางด้านแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลมาเป็นแนวทางในการส่งเสริม</span><span style="font-size: 0.875rem;">การท่องเที่ยวทางทะเลและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ให้เป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยวทั่วโลกมากขึ้น</span></p> บุตรี จารุจินดา, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ, ทัศนีย์ ลัขณาภิชนชัช Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270889 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตสุกรในเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273979 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร สภาพการผลิตสุกรและวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรในเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามแล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์เลี้ยงสุกรเฉลี่ย 12 ปี เลี้ยงสุกรแบบฟาร์มขนาดเล็กที่มี จํานวน สุกร 30-50 ตัว พึ่งพาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสหกรณ์ ด้านสภาพการผลิตสุกร เกษตรกรมีกําลังการผลิต 100-200 ตัวต่อรอบ ใช้สายพันธุ์ลูกผสมทางการค้า ให้อาหารแบบเทราด ใช้ยาปฏิชีวนะ และยังขาดความรู้ด้านการใช้วัคซีน ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม มีผลผลิตเฉลี่ย 80-100 กก. ต่อตัว และมีเพียงร้อยละ 20 ที่ผ่าน GAP การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนฟาร์มขนาด 100 ตัวต่อรอบ พบว่ามีต้นทุนการผลิตรวม 579,000 บาท โดยต้นทุนผันแปรสูงถึง 468,000 บาท ต้นทุนคงที่ 61,000 บาท มีรายได้รวม 583,000 บาท ทําให้มีกําไรสุทธิ 50,000 บาทต่อรอบ หรือ 500 บาทต่อตัว มีอัตรากําไรสุทธิร้อยละ 8.64 จุดคุ้มทุน 55 ตัว และใช้ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี แต่ยังมีความเสี่ยงสูงจากโรคระบาด ราคาผันผวนและนโยบายภาครัฐ จึงจําเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยงที่ดี</p> ภวิษย์หาญ พะนุมรัมย์, ศิระ เพ็ชรจำเริญสุข, บัญชา จันทราช, อารีรัตน์ ลุนละลาด Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273979 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสองแควที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272490 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็น 2) สร้างและตรวจสอบแนวทาง 3) ทดลองใช้และประเมินแนวทางทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอน 1 ประเมินความต้องการจำเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา จำนวน 129 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี PNI ขั้นตอน 2 สร้างและตรวจสอบแนวทาง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอน 3 ทดลองใช้และประเมินการใช้แนวทาง โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และประเมินตามรูปแบบของเคิร์กแพทริค ผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียน นักศึกษา จำนวน 86 คน เครื่องมือการวิจัยใช้คู่มือ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า เมื่อเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การบริการ 2) ความซื่อสัตย์ 3) ความนอบน้อม 4) การเสียสละ และ 5) การเสริมพลังอำนาจ 2. ผลการสร้างและตรวจสอบแนวทาง พบว่า ผลการสร้างแนวทาง ประกอบด้วย 1) แนวคิดหลัก 2) จุดประสงค์ 3) เนื้อหา 4) แนวทางดำเนินกิจกรรม 5) สื่อ/แหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล และผลการตรวจสอบแนวทางมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้และการประเมินการใช้แนวทาง พบว่า 3.1 การทดลองใช้โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 1) วางแผน ประชุมทีม กำหนดกิจกรรม 2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 หน่วย ใช้เวลา 12 ชั่วโมง และ PLC สะท้อนผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ 6 ชั่วโมง 3) สังเกต ให้คำปรึกษา 4) สะท้อนผลการฝึกประสบการณ์ 3.2 ผลการประเมินการใช้แนวทาง พบว่า 1) ผลการประเมินปฏิกิริยาความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินการเรียนรู้เปรียบเทียบหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินพฤติกรรม พบว่า นักเรียนนักศึกษาสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการเรียนรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตามคู่มือเกิดการซึมซับพฤติกรรมในการใฝ่บริการ สามารถปฏิบัติตนในการฝึกงานในสถานประกอบการณ์ได้ และ 4) ผลการประเมินผลลัพธ์ พบว่า แนวทางที่พัฒนาเป็นประโยชน์ต่อวิทยาลัย ผู้บริหาร ครู และนักเรียนนักศึกษา โดยมีส่วนในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักเรียนนักศึกษาได้เป็นอย่างดี</p> ชยานันท์ สีคำ, ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล, พิทยา แสงสว่าง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272490 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271501 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง คณะกรรมการสถานศึกษา อาจารย์นิเทศก์ และ (2) หาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง คณะกรรมการสถานศึกษา และอาจารย์นิเทศก์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจําปีการศึกษา 2565 ด้วยวิธีการใช้สูตรคำนวณ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ความคลาดเคลื่อน .05 จํานวนทั้งสิ้น 231 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการสนทนากลุ่ม เพื่อหาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.52, S.D. = 0.14) ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ผู้บริหาร และคณะกรรมการสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.47, S.D. = 0.02), ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.37, S.D. = 0.06) และ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.29, S.D. = 0.05) ตามลำดับ และ 2. แนวทางในการเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้ง 3 ด้าน โดยให้ความสําคัญในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ให้มากขึ้น รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองชุมชน และด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามลําดับ การส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาโดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีโครงการสนับสนุนด้านวิชาการและด้านทักษะวิชาชีพ </p> ทัศนีย์ อารมย์เกลี้ยง, สิรินทร์นิชา ปัญจอริยะกุล, ธนัช มหาสินทรัพย์, ชวลิต ขอดศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271501 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลของการฝึกโปรแกรมเอส เอ พี ที่มีผลต่อความสามารถในการก้าวเท้ายิงประตูบาสเกตบอล ของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272263 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมเอส เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการก้าวเท้ายิงประตูบาสเกตบอล ของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกโปรแกรมเอส เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการก้าวเท้ายิงประตูบาสเกตบอล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือ โปรแกรมการฝึกรูปแบบเอส เอ พี ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่า IOC = 0.74 และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ One-Way ANOVA (repeated measurement) แบบวัดซ้ำและใช้ค่าสถิติที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผลการฝึกโปรแกรมเอส เอ พี หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 ของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย กลุ่มทดลองมีความสามารถในการก้าวเท้ายิงประตูบาสเกตบอล หลังการฝึกสูงกว่า ก่อนการฝึก โดยก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.58 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.92 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบการก้าวเท้ายิงประตู ของนักกีฬา บาสเกตบอลชาย ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง พบว่า ก่อนการฝึกกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 พบว่า ผลการฝึกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ณัฐธเมศ กัญชนะ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272263 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารการตลาด และการรับรู้บทวิจารณ์ออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ร้านอาหารหม้อไฟ ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270817 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาด การรับรู้บทวิจารณ์ออนไลน์และการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารหม้อไฟของลูกค้าในเขตกรุงปักกิ่งประเทศจีน 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดและการรับรู้บทวิจารณ์ออนไลน์ของลูกค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารหม้อไฟ ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารหม้อไฟในกรุงปักกิ่งประเทศจีน จำนวน 385 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความสำคัญ ด้านการสื่อสารการตลาดการรับรู้บทวิจารณ์ออนไลน์และการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารหม้อไฟของลูกค้าในเขตกรุงปักกิ่งประเทศจีน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบการถดถอยพหุคุณโดยวิธี Enter พบว่า การสื่อสารการตลาด การรับรู้บทวิจารณ์ออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารหม้อไฟใน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> Zhang yajuan, นิตยา วงศ์ยศ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/270817 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272497 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำคัญ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการส่งเสริมการขาย อยู่ในระดับมาก และการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบการถดถอยพหุคุณโดยวิธี Enter พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05</p> กันตพงค์ ใจเถิน , นิตยา วงศ์ยศ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272497 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยส่งเสริมการตลาดหลักสูตรภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/268366 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอเกี่ยวกับปัจจัยส่งเสริมการตลาดหลักสูตรภาษาจีน โดยมีวิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตรภาษาจีนในประเทศไทย องค์ประกอบของหลักสูตรภาษาจีน การตลาดหลักสูตรโดยการนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาปรับใช้ในบริบทของหลักสูตรภาษาจีน โดยนำแนวคิดทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ 7Ps มาปรับใช้จนครบองค์ประกอบของหลักสูตรภาษาจีน 7 ด้าน คือ 1) ด้านหลักสูตร หลักสูตรมีคุณภาพ 2) ด้านราคามีความคุ้มค่าสำหรับการได้มาซึ่งคุณภาพ 3) ด้านสถานที่มีทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี <br />4) ด้านการส่งเสริมการตลาดโดยการใช้แพลตฟอร์ม โซเซียลมีเดียที่มีความน่าสนใจ 5) ด้านบุคลากรที่ได้มาตรฐาน 6) ด้านกระบวนการมีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และ7) ด้านลักษณะทางกายภาพที่มีความน่าเชื่อถือ</p> <p>ในส่วนของปัจจัยส่งเสริมการตลาดหลักสูตรภาษาจีนที่สามารถส่งผลที่ดีขึ้นพบได้ 4 ด้านดังนี้ 1. ด้านบุคลากร คือผู้สอนภาษาจีนควรมีความเชี่ยวชาญเรื่องการสอนภาษาจีน 2. ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอนตลอดจนสภาพการจัดการด้านการเรียนการสอน 3. ด้านกระบวนการ คือการเรียนการสอนตั้งแต่รับเข้าจนถึงจบการศึกษาของผู้เรียน และ 4. ด้านผลิตภัณฑ์ คือหลักสูตรที่ใช้ควรพัฒนาให้มีความทันสมัยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน</p> ภรณิษฐ์ อุบลนุช, ตระกูล จิตวัฒนากร , วิโรชน์ หมื่นเทพ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/268366 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานโครงการก่อสร้าง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/268372 <p>ความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างที่มีการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมากมายและมีความซับซ้อน ดังนั้นการปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่าง ๆ ซึ่งในบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานโครงการก่อสร้าง โดยกระบวนการจัดการความเสี่ยงนี้ประกอบไปด้วย 4 กระบวนการ ดังนี้ <br />1) การระบุความเสี่ยง เป็นขั้นตอนแรกและสำคัญอย่างมากในการตระหนักถึงความเสี่ยงที่สามารถอาจเกิดขึ้น 2) การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนในการศึกษา ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงโดยทำความเข้าใจในผลกระทบและโอกาสในการเกิดความเสี่ยง 3) การวางแผนรับมือความเสี่ยง เป็นขั้นตอนในการพัฒนาและค้นหาวิธีป้องกันความเสี่ยง 4) การติดตามและควบคุมความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการติดตามและการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้แน่ใจว่าความเสี่ยงนั้นได้รับการป้องกันและแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากและสามารถนำไปสู่การป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติจากการทำงาน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและยกระดับความปลอดภัยในการทำงาน และยังส่งผลให้การดำเนินงานในโครงการก่อสร้างประสบความสำเร็จตามแผนงานที่วางไว้</p> ทศพร แสงทอง, ตระกูล จิตวัฒนากร, วิโรชน์ หมื่นเทพ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/268372 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูฐานสมรรถนะของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271479 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูฐานสมรรถนะของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย แนวคิดหลักสูตรฐานสมรรถนะ สมรรถนะทางวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูไปสู่การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์การสอนไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการวางแผน การออกแบบการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ การปรับปรุงหลักสูตรมีเป้าหมายไปสู่การพัฒนาฐานสมรรถนะในแต่ละระดับ เพื่อปรับทิศทางการเรียนการสอนไปสู่การพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะจนเกิดสมรรถนะที่สอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน</p> ชวลิต ขอดศิริ, สิรินทร์นิชา ปัญจอริยะกุล, ธนัช มหาสินทรัพย์ , ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/271479 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700