Teaching Wisdom of Award-Winning Teachers: A Case Study of Thai EFL Teachers
Main Article Content
Abstract
English language instruction in Thailand has left a lot to be desired; far too many university graduates cannot communicate successfully in English. The teaching experiences shared by the three award-winning Thai teachers of English at the university level revealed key considerations ranging from English language policy, classroom management, teaching approaches and methods to the roles of local English teachers. All of these pointed to the necessity and urgency of instilling in all stakeholders, especially the student about the increasingly important role of English in Thailand. More specifically, the three teachers' interview results suggested that dichotomizing issues revolving around English language instruction such as English only vs. both English and Thai as a medium of instruction; native or non-native English speaking teachers; teaching grammar explicitly or implicitly; and communicative language teaching vs. the grammar-translation teaching method, is not going to be conducive to expected learning outcomes on the part of the student. Rather, the teacher should begin to truly understand the learning situation or contingency he/she is engaged in. Only then should he/she think about further steps in the teaching procedure that would encourage the student to become confident in learning English.
บทคัดย่อ
การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยกล่าวได้ว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวัง บัณฑิตไทยจำนวนมากไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างประสบความสำเร็จ ประสบการณ์การสอนของครูดีเด่นสามรายในงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประเด็นหลัก ๆ อาทิ นโยบายภาษาอังกฤษ การจัดการชั้นเรียน วิธีการสอนภาษาอังกฤษ บทบาทของครูภาษาอังกฤษในแต่ละบริบท ปัจจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นและความเร่งด่วนในการปลูกฝังความคิดให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนเกี่ยวกับความสำคัญของภาษาอังกฤษที่มีเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย อาจกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า การสัมภาษณ์ครูดีเด่นสามรายข้างต้นเสนอแนะว่าการคิดเป็นขั้วในหลากหลายประเด็นเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษนั้นจะไม่นำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้ เช่นการคิดเป็นขั้วในประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้นหรือการใช้ภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทยในการสอน ผู้สอนเป็นเจ้าของภาษาหรือครูชาวไทยดีกว่ากัน การสอนแบบเน้นการสื่อสารหรือการสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล แต่สิ่งที่ครูควรกระทำก็คือเริ่มด้วยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพการณ์ของตนให้ถ่องแท้ ก็ต่อเมื่อเกิดความเข้าใจในบริบทของตน ครูจึงจะดำเนินการในขั้นต่อไปในการสอน ซึ่งควรจะมุ่งเน้นการทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการเรียนภาษาอังกฤษ