กลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหาตราสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
Main Article Content
Abstract
บทความฉบับนี้ใช้แบบจำลองกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค (Consumer Decision Making Process) ของทั้งฝั่งนักวิชาการและนักวิชาชีพ รวมถึงทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratifications Theory) และหลักฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบแนวคิดในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการสื่อสารที่เกิดขึ้น ซึ่งพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตจากการที่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคได้ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านี้ในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้าในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ บทความฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการในส่วนของการช่วยพัฒนาแนวคิดเรื่องกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคให้มีความทันสมัยขึ้น อีกทั้งนักวิชาชีพยังสามารถนำข้อเสนอเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหาตราสินค้ามาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์สื่อสารให้เหมาะกับสินค้าและบริการของตนอีกด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนได้เสนอกลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหาตราสินค้าให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการใช้สื่อใหม่ของผู้บริโภคไว้ 6 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์เนื้อหาที่เน้นข้อมูลข่าวสาร กลยุทธ์เนื้อหาที่เน้นความบันเทิง กลยุทธ์เนื้อหาที่เน้นผลประโยชน์และสิ่งตอบแทน กลยุทธ์เนื้อหาที่ส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์และการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม กลยุทธ์เนื้อหาที่เสริมสร้างเอกลักษณ์และตัวตนของผู้บริโภค และกลยุทธ์เนื้อหาที่เน้นการสร้างอิทธิพล
Article Details
ข้อกำหนดลิขสิทธิ์
- บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร NIDA Journal of Language and Communication ถือเป็นสิทธิ์ของผู้เขียนบทความกับคณะภาษาและการสื่อสารเฉพาะในการตีพิมพ์ครั้งแรกนี้ หลังจากนั้น ถือเป็นสิทธิ์ของผู้เขียนเท่านั้น ผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนก่อน
- กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 2 ฉบับ หากผู้เขียนขอรับวารสารที่มีบทความที่ตีพิมพ์เพิ่มเติม สามารถส่งคำขอมายังบรรณาธิการ