https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/issue/feed วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม 2024-06-28T08:14:32+07:00 Dr. Rujira Rikharom journal-rdi@nrru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร [About the Journal] : </strong>วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม (ชื่อเดิม วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา) เริ่มดำเนินการและจัดทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน โดยกลุ่มงานเผยแพร่และบริการการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในชื่อ "วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (NRRU Community Research Journal)" จนถึงปี 2566 ต่อมาปี 2567 เปลี่ยนเป็นชื่อ "วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม (Research Community and Social Development Journal)" จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจัดอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) TCI กลุ่มที่ 1 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560-2562 และต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/269278 คุณสมบัติ “Instafamous” กับชื่อเสียงดิจิทัล 2024-01-19T15:05:03+07:00 พัทธนันท์ เด็ดแก้ว pattanand@nu.ac.th กิตติมา ชาญวิชัย Kittimak@hotmail.com <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การมีชื่อเสียงดิจิทัลเต็มไปด้วยการสร้างและส่งเสริมความเป็นตัวตนทางธุรกิจได้รับรู้ ได้รับความนิยมและติดตามจากการสร้างเนื้อหา ความเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวที่มีคุณค่าเพื่อการเข้าใจบทบาทของผู้เข้าชม ส่งผลให้เกิดการดึงดูดความสนใจ ความเชื่อมั่น และความไว้วางใจในสังคมดิจิทัล</p> <p><strong> เนื้อเรื่อง:</strong> 1) สื่อสังคมออนไลน์ เป็นพื้นฐานสำคัญที่เปิดโอกาสให้มนุษย์เข้าถึงโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างอัตลักษณ์ตัวตน ชื่อเสียง และเข้าถึงสังคมโลก 2) อินสตาแกรม สามารถสนับสนุนการสร้างเนื้อหา แบ่งปันภาพถ่าย วิดีโอ และเรื่องราวน่าสนใจที่สัมพันธ์กับผู้ติดตาม 3) ชื่อเสียงดิจิทัล เกิดจากอิทธิพลและเชื่อมโยงการได้รับความนิยมในโลกออนไลน์ และ 4) ผู้มีชื่อเสียงในอิสตราแกรม เป็นนิยามใหม่ที่อธิบายถึงบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนผู้ที่สนใจคน สิ่งของ หรือสิ่งที่มีความนิยม มีชื่อเสียง และมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากผ่านการใช้งานแพลตฟอร์มอินสตาแกรมโดยเฉพาะ</p> <p><strong> ส่วนสรุป:</strong> ผู้มีชื่อเสียงในอินสตาแกรม (Instafamous) มีลักษณะการแบ่งปันภาพถ่าย วิดีโอ และเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจำกัดเพียงแพลตฟอร์มอินสตาแกรม ขณะที่ผู้มีอิทธิพลที่เป็นผู้นำความคิด (Opinion Leader) ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและได้รับการยอมรับจากกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และผู้นำการตัดสินใจ (Influencer) มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้ติดตามตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ สำหรับคนดัง (Celebrity) ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนและสื่อมวลชน โดยสามารถใช้งานไม่จำกัดอยู่เพียงแพลตฟอร์มเดียว</p> <p><strong> องค์ความรู้:</strong> องค์ความรู้ 4 แนวคิดสำคัญ อยู่บนพื้นฐาน “ตัวแทนสื่อตัวตน” “เสียงที่มีเสียง” “อินสตาแกรมสร้างชื่อเสียง” “การเล่าเรื่องให้เป็นที่พึ่งและเชื่อถือได้ในจินตนาการผู้อ่านและผู้ชม”</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/271374 ปรากฏการณ์การผ่านข้ามทางวัฒนธรรมดนตรี: ผลกระทบจากอิทธิพลของเครื่องเป่าฟลุตตะวันตกต่อสังคมดนตรีจีน 2024-05-20T15:22:35+07:00 ซุน อี้เจิน 349979866@qq.com สุรศักดิ์ จำนงค์สาร surasakja@g.swu.ac.th เทพิกา รอดสการ tepika@g.swu.ac.th <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่นำมาสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีตามช่วงเวลาที่ผ่านมา มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของโลกภิวัตน์และชาตินิยมที่มีต่อดนตรีจีน 2) ศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของปรากฏการณ์อิทธิพลขลุ่ยตะวันตกในประเทศจีน และ 3)เรียบเรียงเพลงจีนที่ได้รับอิทธิพลจากขลุ่ยตะวันตก</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยแบบผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงเป็นครูสอนดนตรีในระดับกลางหรือสูงกว่า มีตำแหน่งทางราชการในประเทศจีน และมีประสบการณ์ในการเล่นเครื่องดนตรีฟลุตตะวันตกอย่างน้อย 5 ปี จำนวน 8 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นนักดนตรีผู้บรรเลงเครื่องเป่าฟลุตตะวันตกที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน จำนวน 222 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามที่มีค่า IOC ทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.80–1.00 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล โดยผู้วิจัยเป็นผู้ทำการสัมภาษณ์เอง และเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องเอกลักษณ์ทางดนตรีจีนในบทเพลงปัจจุบันที่บรรเลงด้วยเครื่องเป่าฟลุตตะวันตกโดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น WJX ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถอดความและตีความการสัมภาษณ์ และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาเฉลี่ย</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) กระแสโลกาภิวัตน์ได้นำเสนอรูปแบบและเทคนิคทางดนตรีที่หลากหลายมากขึ้นให้กับดนตรีจีน ในขณะที่แนวคิดชาตินิยมมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์ดนตรีจีนแบบดั้งเดิม 2) การปรับตัวของวัฒนธรรมตะวันตกในประเทศจีน ยังได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทในฐานะสัญลักษณ์การบูรณาการข้ามวัฒนธรรมดนตรีระหว่างดนตรีตะวันออกและดนตรีตะวันตก 3) การเรียบเรียงบทเพลงซอริ่ง (Soring) จากการผสมผสานดนตรีมองโกเลียแบบดั้งเดิมในเพลงเถิงเฟย (Teng Fei) เข้ากับเทคนิคเครื่องเป่าฟลุตตะวันตกแนวร่วมสมัยอย่างลงตัว เพื่อแสดงถึงการตีความองค์ประกอบทางวัฒนธรรมและความท้าทายทางเทคนิคดนตรีใหม่ไปพร้อมกับการรักษาเอกลักษณ์ทางดนตรีไว้ด้วย</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>อิทธิพลของเครื่องเป่าฟลุตตะวันตกที่มีต่อดนตรีประจำชาติจีนที่เป็นแบบดั้งเดิมนั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางดนตรีที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างดนตรีจีนดั้งเดิมกับดนตรีตะวันตกผ่านเพลงจีนสมัยนิยมที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบทางดนตรีตะวันตกและแสดงให้เห็นถึงการยอมรับของประเทศจีนต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ทั่วโลก</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>การวิจัยระยะยาวสามารถติดตามวิวัฒนาการของการฝึกฝนขลุ่ยตะวันตกในประเทศจีนเมื่อเวลาผ่านไป โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มและอิทธิพลทางวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป</p> 2024-06-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/270868 การดำรงชีพอย่างยั่งยืนของเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน กรณีศึกษา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน 2024-05-13T15:32:13+07:00 Xinghong Li 41132948@qq.com รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ 2rudklaw@yahoo.com ฟ้ารุ่ง มีอุดร farungm@nu.ac.th นพรัตน์ รัตนประทุม nopparatr@nu.ac.th <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>การลงทุนฐานรากในพื้นที่ชนบท เป็นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและการคงอยู่อย่างมั่นคงของประชาชนและเกิดการสืบทอดต่อคนรุ่นหลัง เป็นหนทางที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตการดำรงชีพของชุมชนและวิเคราะห์การปรับใช้ทุนการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนถานหัว ตำบลถานหัว อำเภอต้าเหย๋า มณฑลยูนนาน ประเทศจีน กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง 52 คน ประกอบด้วย กลุ่มการสนทนากลุ่ม 3 กลุ่ม รวม 21 คน และกลุ่มการสัมภาษณ์ 31 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 คน โดยใช้แบบสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ที่ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เรียบร้อยแล้ว ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลร่วมกับการบันทึกเสียงและจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เหตุการณ์แบบตีความ</p> <p> <strong>ผลการวิจัย:</strong> การหลุดพ้นจากความยากจนเกี่ยวกับ 1) พลวัตการดำรงชีพ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม สำหรับ 2) การปรับใช้ทุนทางมนุษย์สูงที่สุด ขณะที่มีลักษณะการใช้ทุนการดำรงชีพเช่นเดียวกัน แต่มีการใช้ในระดับน้อย ปานกลาง มาก แตกต่างกันไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ 5 ประเด็น คือ 1) รายได้เพิ่มขึ้น 2) ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น 3) ความเปราะบางลดลง 4) ความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และ 5) จิตสำนึกที่ดีขึ้น</p> <p> <strong>อภิปรายผล: </strong>การทำให้พลวัตทางทุนของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำรงชีพ มีผลต่อโอกาสแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด และหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน</p> <p><strong> ข้อเสนอแนะ:</strong> การเน้นวิธีเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างระบบตลาดที่เป็นธรรม พัฒนาทักษะทางธุรกิจและการบริหารจัดการให้กับเกษตรกร เป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว</p> 2024-06-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/271862 การประเมินผลตอบแทนทางสังคมเพื่อสร้างความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ 2024-05-09T18:04:08+07:00 พรสวัสดิ์ สิงห์ยาม singyam_p@hotmail.com นิลุบล วิโรจน์ฐิติยวงศ์ nilubon.du@rmuti.ac.th สุนิษา ธงจันทร์ Sunisa.th@rmuti.ac.th ดวงพร ขุนอาจสูงเนิน duang951@hotmail.com จิราพร จิระชีวี jiracheewee.ji@gmail.com <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> การทำให้วิสาหกิจชุมชนมีความยั่งยืนในด้านการเงิน การสร้างสังคม และสร้างโอกาสพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมอย่างมั่นคง โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงาน 2) พัฒนาตัวแบบของการบริหารธุรกิจเพื่อสร้างแนวทาง การสร้างคุณค่า 3) ศึกษาประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน โดยมีขอบเขตการวิจัยเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน 13 คน กลุ่มประชาชน 5 คน และกลุ่มผู้สนับสนุน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่ทำการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม และข้อมูลได้ นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์แบบจำลองแรงผลักดัน (Five Force Model) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (PEST Analysis) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) วิเคราะห์แบบจำลองธุรกิจ (BMC) วิเคราะห์โมเดลเชิงตรรกะ และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI)</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>1) หัตถกรรมผ้าไหมบ้านดู่ ได้รับตราสัญลักษณ์พระราชทาน “นกยูงสีน้ำเงิน” โดยมีกระบวนการผลิต 9 ขั้นตอน จำหน่ายสินค้าราคาสูงและมีฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่ม 2) สภาพการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมเดียวกันสูงมาก มีผู้แข่งขันรายใหม่จำนวนมาก สินค้าทดแทนเกิดขึ้นมากหมาย ลูกค้ามีอำนาจต่อรองราคาและมีทางเลือกมากขึ้น ขณะที่ผู้ขายมีโอกาสกระจายสินค้าตามช่องทางดั้งเดิม (Offline) และที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง (Online) สำหรับความถี่ของสภาพแวดล้อม พบว่า มีจุดแข็ง 7 ข้อ จุดอ่อน 4 ข้อ โอกาส 6 ข้อ และอุปสรรค 9 ข้อ ซึ่งพัฒนาเป็นตัวแบบการบริหารธุรกิจเพื่อสร้างแนวทาง การสร้างคุณค่า 9 ด้าน คือ คู่ค้า แหล่งวัตถุดิบ (KP) กิจกรรมสำคัญหลักของธุรกิจ (KA) คุณค่าสิ่งสำคัญที่มอบให้ลูกค้า (VP) การดูแลรักษาลูกค้าเดิม (CR) ทรัพยากรหลักที่สำคัญของธุรกิจ (KR) ช่องทางการจัดจำหน่ายและเข้าถึง (CH) ต้นทุนในการทำธุรกิจทั้งหมด และรายได้หลักของธุรกิจ และ 3) การพัฒนาตามตัวแบบการบริหารธุรกิจ ณ ปีฐาน 2565 สามารถสร้างความคุ้มค่าในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์ต่อสังคมได้</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>การประเมินผลตอบแทนทางสังคมเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน และครอบคลุมความเชื่อถือได้ โดยไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะผลกำไรทางการเงิน</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> การประเมินผลตอบแทนทางสังคมต้องมีการตอบรับผลประเมินและมีกระบวนการปรับปรุงกิจกรรมตามผลการประเมินอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-06-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/272293 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะ ความสามารถทางนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกรอัจฉริยะ จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย 2024-05-19T14:37:16+07:00 อิศริย์ เดชตานนท์ isari_nrru@hotmail.com เอกรัตน์ เอกศาสตร์ isari_nrru@hotmail.com สุธานันธ์ โพธิ์ชาธาร isari_nrru@hotmail.com สุธาสินี โพธิ์ชาธาร isari_nrru@hotmail.com <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>การดำเนินงานของธุรกิจจำเป็นต้องมีนวัตกรรมเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญและความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะ ความสามารถทางนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผล ต่อผลการดำเนินงาน และสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรอัจฉริยะในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มเป้าหมาย 15 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามชนิดปลายปิด ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 เก็บข้อมูลภาคสนามแจกและรับกลับคืนด้วยตนเอง การร่างกลยุทธ์ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิพากย์ร่างกลยุทธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ SWOT Analysis และ TOWS Matrix</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>1) เกษตรกรอัจฉริยะให้ความสำคัญกับความสามารถทางนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขัน อยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถทางนวัตกรรมและความได้เปรียบทางการแข่งขัน ความสามารถทางนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกรอัจฉริยะ ความได้เปรียบทางการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกรอัจฉริยะ สมรรถนะมีอิทธิพลทางอ้อมในทางบวกต่อผลการดำเนินงานของเกษตรกรอัจฉริยะโดยผ่านความสามารถทางนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) กลยุทธ์การยกระดับผลการดำเนินงานของเกษตกรอัจฉริยะ จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวน 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะความสามารถทางนวัตกรรมสำหรับเกษตรกรอัจฉริยะ และกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะความสามารถทางการแข่งขันสำหรับกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>สมรรถนะ ความสามารถทางนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน โดยนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมเกษตรเชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมในระดับประเทศและระดับโลก</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ควรให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรอัจฉริยะเพื่อการพัฒนา ปรับปรุง และส่งเสริมนวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สอดคล้องความต้องการที่เชื่อมโยงมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และได้รับการยอมรับทุกระดับทั่วโลกในระยะยาว</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/272198 การฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการใช้ถุงทรายถ่วงน้ำหนักและควบคู่กับการใช้แรงต้านด้วยยางยืดที่ส่งผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาและทักษะการสกัดกั้นในกีฬาวอลเลย์บอล 2024-04-30T09:05:05+07:00 รัชนก ราโชติ ratchanok@gmail.com ชาญกิจ คำพวง chankit@gmail.com ลักษมี ฉิมวงษ์ Luxamee@gmail.com <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>การฝึกออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา โดยเฉพาะในกีฬาประเภทวอลเลย์บอลที่ต้องการพลังและความคล่องตัวสูง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลและเปรียบเทียบผลการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการใช้ถุงทรายถ่วงน้ำหนักและควบคู่กับการใช้แรงต้านด้วยยางยืดที่ส่งผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาและทักษะการสกัดกั้นในกีฬาวอลเลย์บอล</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การทดลองแบบกึ่งทดลอง กำหนดกลุ่มทดลอง จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน รวม 30 คน ไม่มีการสุ่มตัวอย่างเนื่องจากมีการจัดกลุ่มไว้แล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการฝึก 2 โปรแกรม และแบบทดสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.99, 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ ซึ่งใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>1) กลุ่มทดลองมีพลังกล้ามเนื้อและทักษะการสกัดกั้นเพิ่มขึ้นก่อนการฝึก โดยมีทักษะการสกัดกั้นเพิ่มขึ้นสูงกว่าพลังกล้ามเนื้อขา 2) การฝึกที่แตกต่างกันส่งผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาและทักษะการสกัดกั้นแตกต่างกันทุกสัปดาห์ ขณะที่ระยะเวลาในการฝึกส่งผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาและทักษะการสกัดกั้น โดยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการฝึกกับโปรแกรมการฝึกร่วมกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่โปรแกรมการฝึกที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาและทักษะการสกัดกั้น</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการฝึกพลัยโอเมตริกทั้ง 2 โปรแกรม สามารถเพิ่มทักษะการสกัดกั้นได้สูงขึ้นกว่าพลังกล้ามเนื้อขาในกีฬาวอลเลย์บอล ซึ่งแสดงถึงความสำคัญของการเลือกใช้วิธีการฝึกที่เหมาะสมและเฉพาะเจาะจงต่อวัตถุประสงค์ของการฝึก</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของการนำโปรแกรมการฝึกไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่และในช่วงอายุที่แตกต่างกันของนักกีฬาวอลเลย์บอล</p> 2024-06-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/271927 แนวทางการบริหารความเสี่ยงหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าและบริการใหม่อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนด่านเกวียน 2024-05-09T18:13:26+07:00 สุนิษา ธงจันทร์ Sunisa.th@rmuti.ac.th บุษบงกช บุญกุศล busa_br@hotmail.com พรพิมล อิฐรัตน์ Pornpimon.lo@rmuti.ac.th นัฎสวัญจ์ กิตติลาภานนท์ natsawan@rmuti.ac.th นิลุบล วิโรจน์ฐิติยวงศ์ nilubonwee@gmail.com <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>กระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และปรับตัวรับมือกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามมาตรการที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจชุมชน นำมาสู่การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าและบริการใหม่และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชนด่านเกวียน</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.81 ไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่กำหนดขึ้นโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงด้วยวิธีเลือกแบบลูกโซ่ ซึ่งเริ่มจากการสัมภาษณ์รายแรก จากนั้นให้แนะนำผู้ให้ข้อมูลคนต่อไปที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจนเพียงพอ จำนวน 12 คน โดยผู้ให้ข้อมูลคนสุดท้ายแนะนำกลุ่มผู้ให้ข้อมูลอีก 5 คน สำหรับจัดการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การวิเคราะห์ความเสี่ยง การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์แบบเมตริก และการวิเคราะห์ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>แนวทางการบริหารความเสี่ยงในระดับสูงถึงสูงมาก ประกอบด้วย 1) ด้านกลยุทธ์ คือ การจัดฝึกอบรมส่งเสริมการมีวิสัยทัศน์และวิธีคิดที่ชัดเจนอย่างเข้าใจทิศทางการตลาดและความต้องการของผู้บริโภค การวิเคราะห์ตลาดและกลุ่มเป้าหมาย การสร้างกลยุทธ์การตลาด และใช้เทคโนโลยีใหม่เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์และการตลาด 2) ด้านการดำเนินงาน คือ พัฒนาระบบการตลาดออนไลน์ จัดทำระบบศูนย์รวมแลกเปลี่ยนทรัพยากรในชุมชน สร้างเรื่องราว จุดเด่น และความน่าสนใจของดินด่านเกวียน 3) ด้านการเงิน คือ จัดตั้งกองทุนชุมชน จัดทำระบบสมาชิก การสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณโดยภาครัฐ สำหรับการเสนอแนะ คือ แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืนด้วยแผนกลยุทธ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผู้ประกอบการ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>การจัดทำแนวทางตามหลักการบริหารความเสี่ยงสำหรับชุมชนด่านเกวียน เป็นส่วนหนึ่งของระบบการควบคุมภายใน และกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมเชิงรุก ทำการแก้ไข ป้องกัน และรองรับการเกิดสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอย่างยืดหยุ่น เหมาะสม</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>การนำแนวทางไปใช้ศึกษาวิจัยต่อยอดการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าใหม่ทางวัฒนธรรมในชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เพื่อสร้างงานศิลปะดินเผาเชิงสัญลักษณ์ชุมชนและเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/268889 การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมฟาร์มควายนมบ้านกุดรัง ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 2023-11-13T11:34:48+07:00 อภิศักดิ์ คู่กระสังข์ apisak2012@gmail.com สุบัน บัวขาว b_suban@hotmail.co.th กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์ Vkanokpit@gmail.com สาวิตรี คุ้มทะยาย k_amaly@yahoo.com <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> ฟาร์มความนม เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่มีคุณค่าและความแตกต่างจากรูปแบบการท่องเที่ยวทั่วไป ดังนั้น ในการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพ 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ประเมินผลรูปแบบ สำหรับรูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมฟาร์มควายนมบ้านกุดรัง ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก</p> <p><strong> ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงเป็นนักท่องเที่ยว 79 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 12 คน โดยใช้แบบประเมินศักยภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย 0.89 และ 0.82 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว และจัดการสนทนากลุ่ม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับรูปแบบใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบจำแนกชนิดข้อมูล สร้างตารางองค์ประกอบ และสรุปแบบอุปนัย</p> <p><strong> ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ภาพรวมของศักภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี โดยนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า “รูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ฟาร์มควายนมบ้านกุดรังโดยชุมชนมีส่วนร่วม “NOMKHWAI”” มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) เครือข่าย 2) สุนทรียสาธก 3) ทรัพยากรบริหารจัดการ 4) การจัดการฐานเรียนรู้ 5) ทรัพยากรการท่องเที่ยว 6) วิถีชีวิต 7) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และ 8) นวัตกรรม</p> <p><strong> อภิปรายผล</strong><strong>:</strong> ภายใต้องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับกิจกรรมฐานเรียนรู้นำไปสู่ประสบการณ์ใหม่ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวบนพื้นฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการสร้างเอกลักษณ์และความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว</p> <p><strong> ข้อเสนอแนะ:</strong> ควรส่งเสริมการใช้ทรัพยากร การอนุรักษ์วัฒนธรรม และวิถีชีวิตท้องถิ่น พัฒนากิจกรรมให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ และเน้นการมีส่วนร่วม โดยใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาหนุนเสริม และหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรที่ทำลายสภาพแวดล้อม</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/272850 การจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้วยกลไกความร่วมมือเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์กูยคนเลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์ 2024-06-22T12:17:44+07:00 ฉลอง สุขทอง chalongsuktong@gmail.com อัชราพร สุขทอง autcharapron2510@gmail.com วิจิตรา โพธิสาร wijittrapo@srru.ac.th พีรวัส อินทวี peerawasint@gmail.com ศิวาพร พยัคฆนันท์ siwaporn@srru.ac.th วาฤทธิ์ นวลนาง w.nualnang@srru.ac.th สมบัติ สมัครสมาน phsombat@gmail.com ฟ้าดล สมบรรณ railroses2514@gmail.com <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> การจัดการทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนและการศึกษาบริบทท้องถิ่น ซึ่งในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมและสร้างกลไกความร่วมมือยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ของวิถีคนเลี้ยงช้างกลุ่มชาติพันธุ์กูย จังหวัดสุรินทร์</p> <p><strong> ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง 30 คน โดยใช้แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต และแบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ภาคสนามจัดกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณาวิเคราะห์ร่วมกับการใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ และร้อยละ</p> <p><strong> ผลการวิจัย:</strong> รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมวิธีคนเลี้ยงช้างกลุ่มชาติพันธ์กูยมี 5 ขั้นตอน คือ 1) สำรวจและจัดทำแผนที่ดิจิทัลทุนวัฒนธรรม 2) พัฒนาสื่อดิจิทัล 3) พัฒนาเส้นทางวัฒนธรรมครัวเรือนช้าง 4) ออกแบบสร้างสรรค์สินค้าและการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5) ส่งเสริมการรับรู้คุณค่าและสร้างมูลค่าวัฒนธรรม สำหรับกลไกกลไกความร่วมมือยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์กูยคนเลี้ยงช้าง 6 กลไก คือ 1) การสร้างและรวบรวมทรัพยากร 2) การแบ่งปันทรัพยากร 3) การสร้างความสัมพันธ์ 4) การวิจัยและพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น 5) การพัฒนาทักษะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 6) การสื่อสารและประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม</p> <p><strong> อภิปรายผล:</strong> รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมและกลไกความร่วมมือยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ถือได้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาความยั่งยืนสำหรับชุมชนคนเลี้ยงช้างกลุ่มชาติพันธุ์กูย จังหวัดสุรินทร์ สามารถสร้างคุณค่าทางวัฒนะรรม ยกระดับเศรษฐกิจในระยะยาว และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนได้อย่างครบถ้วน ครบคลุมความคาดหวังและความต้องการของคนในชุมชน</p> <p><strong> ข้อเสนอแนะ:</strong> การดำเนินงานที่สำคัญ จำเป็นต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนกับชุมชน เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ การอบรมความรู้และทักษะการบริหารจัดการโครงการและพัฒนาแผนกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมอย่างยั่งยืนและมีผลสัมฤทธิ์สูง</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/272504 ผลของการสอนภาษาอังกฤษผ่านการใช้โฟนิคส์และหนังสือนิทานที่มีต่อการอ่านคล่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2024-06-28T08:14:32+07:00 ธูปทอง วรเท่า 61d0302105@nrru.ac.th แวววลี แววฉิมพลี waewalee.w@nrru.ac.th <p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> วิธีการเรียนอ่านเขียนภาษาอังกฤษด้วยการเชื่อมหน่วยเสียงอย่างมีหลักการ ได้รับการยอมรับและนิยมใช้เสริมสร้างทักษะความสามารถด้านการอ่านให้กับผู้เรียน ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลคะแนนเฉลี่ยความสามารถการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่เรียนด้วยการใช้โฟนิคส์และหนังสือนิทานที่มีต่อการอ่านคล่อง 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้โฟนิคส์และหนังสือนิทานที่มีต่อการอ่านคล่อง</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นวิธีแบ่งกลุ่มเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน โดยใช้แผนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ แบบทดสอบความสามารถทางการอ่านที่ดัดแปลงมาจาก Mulei et al. (2023) และ Onuorah (2021) และแบบสอบถามความความคิดเห็น ที่ดัดแปลงมาจาก Alamri and Adawi (2021) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทดสอบก่อนเรียน ดำเนินการสอนตามแผน จากนั้นทดสอบหลังเรียน และประเมินความคิดเห็น โดยใช้สถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบทีหาค่าเปรียบเทียบก่อน-หลัง สำหรับข้อมูลความคิดเห็นใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการทดสอบ ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=9.79) สูงกว่าก่อนการทดสอบ ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=7.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักเรียนมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งเท่ากัน 2 ข้อ คือ การเรียนรู้โดยใช้โฟนิคส์กับหนังสือนิทานช่วยกระตุ้นความสนใจในหัวข้อการเรียนและความเพลิดเพลินในการเรียนภาษาอังกฤษ และการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การออกเสียงกับหนังสือนิทานทำให้ฉันมีความมั่นใจในการอ่านคล่อง ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.71, S.D.=0.46)</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>แผนการเรียนรู้ที่มีการผสมผสานการออกเสียงกับการอ่านหนังสือนิทานภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นส่งผลให้นักเรียนพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง การฟัง การพูด และการเขียนได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มความมั่นใจและกระตุ้นความสนใจต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระยะยาว</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ผู้สอนควรมีการประเมินผลและปรับปรุงแผนการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่น่าสนใจและหลากหลายอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา