วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร [About the Journal] : </strong>วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม (ชื่อเดิม วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา) เริ่มดำเนินการและจัดทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน โดยกลุ่มงานเผยแพร่และบริการการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในชื่อ "วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (NRRU Community Research Journal)" จนถึงปี 2566 ต่อมาปี 2567 เปลี่ยนเป็นชื่อ "วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม (Research Community and Social Development Journal)" จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจัดอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) TCI กลุ่มที่ 1 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560-2562 และต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567</p> th-TH journal-rdi@nrru.ac.th (Dr. Rujira Rikharom) journal-rdi@nrru.ac.th (Mr. Witsawamart Bhaktikul) Thu, 10 Oct 2024 14:45:31 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะและสมาร์ทฟาร์มเมอร์ด้วยกลไกสหกรณ์การเกษตรประชารัฐ จังหวัดนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/275025 <p><strong> ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> การผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าที่ผสมผสานกรรมวิธีผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาด้วยการพึ่งพาตนเองผนวกกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับอาชีพและรายได้ชาวนาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตและควบคุมการเขตกรรมในสภาวะที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ 2) สร้างและยกระดับการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตสู่เกษตรกรอัจฉริยะและระบบเกษตรอัจฉริยะตลอดห่วงโซ่การผลิต 3) ขับเคลื่อนนโยบายภาคการเกษตรและยกระดับคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจฐานรากสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ด้วยกลไกสหกรณ์การเกษตรประชารัฐในจังหวัดนครราชสีมา</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>: </strong>ดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการเชิงระบบจากปลายทาง กลางทาง สู่ต้นทางเพื่อการพัฒนาที่เชื่อมโยงระบบห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แนวคิดเกษตรอินทรีย์ 5ดี วิถีโคราช ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานจังหวัดนครราชสีมา คู่มือการผลิต แบบประเมินและติดตามผล เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการเก็บข้อมูลควบคุมการเขตกรรมกระบวนการผลิต จัดประชุม อบรมเชิงปฏิบัติการ จัดเวทีติดตาม เวทีกระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ธาตุอาหารในดินด้วยวิธีการหาปริมาณ การสกัดด้วยสารสกัด วิเคราะห์การสะสมโฟเลต สารอาหารและวิตามิน วิเคราะห์ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์และออกแบบ และวิเคราะห์สรุปผลความสัมพันธ์เชิงพื้นที่</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) ข้าวหอมมะลิระยะเม่ามีปริมาณการสร้างและสะสมโฟเลตและโปรตีนสูง ความสัมพันธ์ กับปริมาณเนื้อดินที่เป็นดินทราย ธาตุแมงกานีส เหล็ก ค่าการนำไฟฟ้าและความเค็มในดิน 2)การพัฒนา เครือข่ายเกษตรกรเป้าหมาย 89 ไร่ 48 ครัวเรือน รวม 31 ตัน มีเส้นทางการจำหน่ายให้กับผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพและสหกรณ์ทั่วประเทศไทย โดยแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิระยะเม่าเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบข้าวพร้อมรับประทาน เจลลี่ ผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก และโจ๊ก 3) กลไกขับเคลื่อนและมีส่วนร่วม คือ (1) ถ่ายทอดองค์ความรู้จากความสำเร็จ (2) เติมเต็มความรู้และวิธีการใหม่ (3) สร้างการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ</p> <p><strong> อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>ผลกระทบการขยายผลทางเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่า และสร้างคุณค่าข้าวหอมมะลิระยะเม่า ภายใต้กลไกความร่วมมือในพื้นที่ตามหลักคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำไปสู่การสร้างโอกาสและยกระดับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานต่อยอดการพัฒนาเครือข่ายไปสู่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าในแต่ละพื้นที่ประเทศไทย</p> <p><strong> ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นตัวแบบธุรกิจการค้าเชิงพาณิชย์ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านข้าวหอมมะลิระยะเม่า พัฒนาอาชีพเกษตรกร และยกระดับคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจฐานรากสู่เป้าหมายการเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิไทย</p> วาสนา ภานุรักษ์, วราวุธ ธนะมูล, ธนากร แสงสง่า, พวงพรภัสสร์ วิริยะ Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/275025 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.): ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/275126 <p><strong> ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานำไปสู่การคาดการณ์ความเป็นไปได้ของผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้น งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาพรวมของสถานภาพ ปัจจัยป้อนเข้า กระบวนการบริหารจัดการ ผลผลิต ผลประโยชน์เชิงวิชาการ ผลลัพธ์และผลกระทบของแผนงานวิจัยตามโครงการวิจัยภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> วิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณตามแหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิ กำหนดหน่วยการศึกษาโดยเจาะจงเป็นโครงการวิจัยปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 จากศูนย์ความเป็นเลิศ จำนวน 11 แห่ง รวม 36 โปรแกรม 143 โครงการวิจัย และคัดเลือกโครงการกรณีศึกษาจำนวน 22 โครงการวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละศูนย์ จำนวน 11 คน ทำการสร้างแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลที่ใช้เป็นเครื่องมือการวิจัยด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลในตาราง (Microsoft Excel) ตามกรอบแนวคิดการประเมินผลประโยชน์จากโครงการวิจัย โดยนำไปเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาจำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) ภาพรวมของสถานภาพการดำเนินงานในลักษณะศูนย์วิจัยเฉพาะทาง โดยมีปัจจัยป้อนเข้า คือ งบประมาณสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 604.93 ล้านบาท และนักวิจัยรวมทั้งสิ้น 1,161 คน กระบวนการบริหารจัดการมากที่สุด คือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยมากที่สุด (ร้อยละ 15.38) สาขางานวิจัยวิทยาศาตร์ธรรมชาติ (ร้อยละ 62.24) และประเภทงานวิจัยรูปแบบการวิจัยพื้นฐาน (ร้อยละ 52.45) สำหรับผลผลิต พบว่า ความพร้อมของเทคโนโลยีอยู่ในระดับ 3 ซึ่งเป็นประเภทองค์ความรู้มากที่สุด (ร้อยละ 64.00) 2) ผลประโยชน์เชิงวิชาการ พบว่า ระดับผลผลิต มีบทความวิชาการทั้งหมด 689 เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา 21 เรื่อง และระดับผลลัพธ์ คือ บทความได้รับการเผยแพร่ในกลุ่มวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพดีที่สุด (Q1) ร้อยละ 55.00 โดยได้รับการอ้างถึงบทความวิชาการทั้งหมดเฉลี่ย 11.51 ครั้ง 3) ผลลัพธ์และผลกระทบจากโครงการกรณีศึกษา ปีฐาน พ.ศ. 2565 พบว่า ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีมูลค่า -92.96 ล้าน คาดการณ์ผลกระทบในอนาคตมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุด 268.54 ล้านบาท และมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอกชนมากที่สุดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุด 494.26 ล้านบาท</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>การประเมินครั้งนี้ สะท้อนศักยภาพศูนย์วิจัยที่เน้นการวิจัยพื้นฐานสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งแสดงถึงเทคโนโลยีระดับต้นและบทความที่เผยแพร่มีคุณภาพสูง ถึงแม้ว่าผลกระทบปัจจุบันยังติดลบ แต่แนวโน้มอนาคตจะสร้างมูลค่าสุทธิสูงขึ้น โดยเฉพาะต่อผู้ประกอบการเอกชนที่ได้รับประโยชน์สูงสุด</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>สิ่งสำคัญ คือ ควรรวบรวมงานวิจัยไว้ที่ฐานข้อมูลเดียวกันทั้งหมด เพื่อความสอดคล้องในการบริหารจัดการผลลัพธ์และผลกระทบที่ตอบโจทย์ทุกยุทธศาสตร์ประเทศไทย</p> สุวพร ผาสุก, กัมปนาท วิจิตรศรีกมล, สุวรรณา ประณีตวตกุล, นภสม สินเพิ่มสุขสกุล Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/275126 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/274731 <p><strong> ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> สถานการณ์ทางพฤติกรรมการบริโภครถยนต์ไฟฟ้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทยมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) สร้างสมการทำนายการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย):</strong> การวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้บริโภคที่มีความตั้งใจหรือตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในจังหวัดนครราชสีมา 405 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ และใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> <strong>ผลการวิจัย:</strong> ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก ( =4.02, S.D.=0.50) โดยผู้บริโภคที่มีอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกันในช่วงอายุ 18-24 ปี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,001 บาทขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ ปัจจัย (ทัศนคติ ส่วนประสมการตลาด และการยอมรับเทคโนโลยี) มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ ขณะที่ปัจจัยทัศนคติและปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค สามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ ร้อยละ 58.70 และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y=0.270+0.348(X<sub>1</sub>)+0.580(X<sub>3</sub>)</p> <p> <strong>อภิปรายผล: </strong>ความแตกต่างของอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อ คือ ทัศนคติและการยอมรับเทคโนโลยี</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นที่ไปพร้อมกับปรับปรุงและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและรองรับการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต</p> อัจฉราพรรณ ตั้งจาตุรโสภณ Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/274731 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าทอพื้นบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ สู่ตลาดนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันซี บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/276133 <p><strong> ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> ภูมิปัญญาการสร้างและผลิตผืนผ้าในงานหัตถกรรมไทย นำมาสู่การยกระดับช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าทอพื้นบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภครุ่นซี ที่จำเป็นต้องทำการวิจัยตามวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความต้องการ วิเคราะห์ความหลากหลายบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และออกแบบช่องทางการตลาดดิจิทัลบนฐานเทคโนโลยีเหมาะสม</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ใช้วิธีการเลือกคัดเลือกเฉพาะเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่มีอายุระหว่าง 12-27 ปี จำนวน 1,000 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ประธานและสมาชิกกลุ่มผ้าไหมสีธรรมชาติ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กล้องถ่ายภาพเพื่อเก็บรูปภาพผลิตภัณฑ์ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.926 เก็บข้อมูลในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มชนิดไม่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มการสนทนาร่วมกัน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาจำนวนและร้อยละด้วยสถิติเชิงพรรณนา การอธิบายและตีความใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และออกแบบช่องทางการตลาดดิจิทัลโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) เสื้อ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการสูงสุด โดยตั้งใจซื้อตามสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อเป็นของฝาก ของขวัญ หรือของที่ระลึก ซึ่งเลือกซื้อจากคุณภาพ ช่องทางการสั่งซื้อที่เลือก คือ แอปพลิเคชัน ติ๊กตอก (TikTok) และพึงพอใจรูปแบบที่ 16 (ลักษณะชุดเสื้อและกระโปรงต่อกันเป็นชิ้นเดียว) 2) ความหลากหลายของรูปแบบเกิดจากความต้องการอนุรักษ์ผ้าไหมที่ทำด้วยสีจากวัตถุดิบธรรมชาติ การเติมลวดลายโดยการขิตด้วยมือและทอด้วยกี่ ที่ยังไม่สูญหายไปจากชุมชน 3) TikTok คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นเทคโนโลยีเหมาะสม ซึ่งถูกเลือกนำมาออกแบบช่องทางการตลาดเจเนอเรชันซีดิจิทัล</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>การเปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมในกลุ่มคนรุ่นซี ทำให้มีความต้องการและพึงพอใจกับรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย สวมใส่ง่าย ซึ่งเกิดจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้วยการถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นถิ่นจากรุ่นสู่รุ่นอย่างสร้างสรรค์ และการเกิดมาพร้อมกับดิจิทัล จึงทำให้ “TikTok” ได้รับเลือกนำมาออกแบบเป็นช่องทางการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มผู้บริโภครุ่นซี</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ควรทำการประเมินผลกระทบ ผลลัพธ์ และผลประโยชน์ของผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าทอพื้นบ้านในตลาดดิจิทัลต่อชุมชนด้านรายได้และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกพื้นที่ในจังหวัดบุรีรัมย์</p> เชาวฤทธิ์ โสภักดี, ศรีนวล มั่นนรดิษฐ, ขวัญนภา วงศ์ไพศาลสิริกุล Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/276133 Sat, 21 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารงานการบริการวิชาการแบบหารายได้ที่เป็นเลิศของสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/276312 <p><strong> ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> ความสามารถตอบสนองนโยบายและสร้างรายได้ให้กับองค์กรทางการศึกษาเป็นภารกิจสำคัญของงานบริการวิชาการ ซึ่งทำให้เกิดเป็นงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มา ลักษณะ องค์ประกอบ กระบวนการบริหารงาน สภาพปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา แนวทาง การบริหารงาน พัฒนาเป็นรูปแบบการบริหารงานเพื่อการถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ สำหรับงานบริการวิชาการแบบหารายได้ที่เป็นเลิศของสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทำการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มผู้บริหาร 9 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อย 15 คน และกลุ่มผู้รับบริการ อย่างน้อย 30 คน ทำการโดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม แบบสังเกตโดยไม่มีส่วนร่วม ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ทุกฉบับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี พ.ศ. 2566 พร้อมกับลงพื้นที่ภาคสนามในเขตพื้นที่ที่คัดเลือกตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง ด้วยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล จัดการสนทนากลุ่ม ร่วมกับการสังเกตบริบทแวดล้อม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แบบสามเส้า การจัดลำดับข้อมูลด้วยความถี่ และใช้วิธีการเชิงสร้างสรรค์และตีความในการจัดหมวดหมู่</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) ที่มามีการจัดตั้งสำนักบริการวิชาการขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการในลักษณะงานและตามภารกิจ และมีองค์ประกอบตามรูปแบบระดับบนลงล่าง 2) กระบวนการบริหารงานมีจำนวน 7 ด้าน 3) สภาพปัญหาที่พบมีจำนวน 13 ข้อ แนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบมีจำนวน 11 ข้อ และแนวทางการบริหารงาน มีจำนวน 15 ข้อ 4) รูปแบบการบริหารงานที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 5 ด้าน 6 แนวทางหลัก และ 8 แนวทางเสริม</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ มุ่งเน้นบริการวิชาการที่เป็นเลิศ ด้วยการพัฒนาโครงการหลากหลาย พร้อมแก้ปัญหาเบิกจ่ายล่าช้า เทคโนโลยีล้าสมัย และการบริหารงานที่ไม่คล่องตัว โดยพัฒนาผู้นำ บุคลากร และระบบเทคโนโลยี เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและบริการที่ตอบโจทย์ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>การยกระดับประสิทธิภาพงานบริการวิชาการจำเป็นต้องมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบเบิกจ่าย เร่งพัฒนาเทคโนโลยี ทักษะบุคลากร และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้สอดคล้องกันทุกภาคส่วน</p> พรนิภา อุพลเถียร, อนุจิตร ชิณสาร, ศิริวดี วิวิธคุณากร Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/276312 Sat, 21 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการโลจิสติกส์และผลกระทบต่อประสิทธิภาพของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/275026 <p><strong> ที่มาและวัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นและรักษามรดกทางวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาให้อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน นำมาสู่การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ และศึกษาสมรรถนะโลจิสติกส์ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการ โลจิสติกส์ ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา</p> <p> <strong>ระเบียบวิธีวิจัย (วิธีดำเนินการวิจัย)</strong><strong>:</strong> ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นด้วยการสุ่มแบบสะดวก 351 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยการสุ่มแบบเจาะจง 10 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 คือ แบบสอบถามปลายปิดแบบเลือกตอบตามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างแบบปลายเปิด โดยนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการแจกและรับแบบสอบถามกลับคืนด้วยตัวเองได้ 315 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.74 ข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานได้ใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนการจัดกลุ่มการสนทนา ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมด้วยวิธีการสรุปแบบอุปนัย</p> <p> <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นนดินเผาด่านเกวียน มีกระบวนการโลจิสติกส์ 3 ระดับ ระดับละ 3 กิจกรรม ประกอบด้วย ระดับต้นน้ำ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ คือ การจัดหา การขนส่ง และการจัดเก็บ ระดับกลางน้ำ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภัณฑ์ คือ การผลิต การควบคุมคุณภาพ และการจัดเก็บ และระดับปลายน้ำ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งและบริการ คือ การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้า และการบริการหลังการขาย 2) สมรรถนะโลจิสติกส์มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ โลจิสติกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถพยากรณ์สมรรถนะโลจิสติกส์ด้านการผลิต ได้ร้อยละ 78.00 (R<sup>2</sup>=0.91) ด้านการตลาด ร้อยละ 64.00 (R<sup>2</sup>=0.64) และด้านการขนส่ง ร้อยละ 53.00 (R<sup>2</sup>=0.53)</p> <p> <strong>อภิปรายผล</strong><strong>: </strong>ผู้ประกอบธุรกิจที่มีสมรรถนะโลจิสติกส์สูง จะสามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามกระบวนการจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย การจัดหา จัดการคุณภาพวัตถุดิบ การผลิต การจัดพื้นที่จัดเก็บ การกระจายสินค้า และจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งจะส่งผลทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพทางการขนส่ง สามารถลดต้นทุน และสร้างความยืดหยุ่นสำหรับการจัดการทั้งระบบธุรกิจได้อย่างสัมฤทธิ์ผล</p> <p> <strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ควรมีการพัฒนาสมรรถนะโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลโดยบูรณาการระบบการผลิต การตลาด และการขนส่งในรูปแบบอัตโนมัติให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยลดต้นทุน สามารถติดตามและประมวลผลที่แม่นยำได้อย่างรวดเร็ว</p> สุธานันท์ โพธิ์ชาธาร, ณัฐนันท์ พฤฒิจิระวงศ์, อิศริย์ เดชตานนท์ Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/275026 Sat, 21 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสอบบัญชีสมัยใหม่สู่ความสำเร็จของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/272813 <p><strong> บทนำ</strong><strong>:</strong> ยุคแห่งการสอบบัญชีสมัยใหม่สำหรับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ต้องปรับตัวและเผชิญกับความท้าทายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือและกลไกในการตรวจสอบ ขณะเดียวกัน ต้องรักษามาตรฐานคุณภาพและความน่าเชื่อถือการตรวจสอบบัญชีเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานกำกับดูแล</p> <p> <strong>เนื้อเรื่อง: </strong>มุมมองการศึกษานี้ ทำการทบทวนและวิเคราะห์องค์ความรู้ที่สำคัญในการสอบบัญชีสมัยใหม่ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติในการตรวจสอบทางการเงิน การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และรักษาคุณภาพการสอบบัญชีผ่านการประยุกต์ใช้มาตรฐานการตรวจสอบสากลอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ ยังได้เน้นความสำคัญเรื่องการสื่อสารผลการตรวจสอบที่มีรูปแบบโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จของการสอบบัญชีในประเทศไทย</p> <p> <strong>ส่วนสรุป</strong><strong>:</strong> การเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบโดยใช้เทคโนโลยีและระบบการวิเคราะห์ข้อมูล ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบให้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการรักษาคุณภาพของมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มความไว้วางใจที่ได้รับต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยคำนึงถึงและตระหนักรู้ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กฎหมาย และมาตรฐานในการวางแผน ตรวจสอบ ทบทวน รับรองรายงานผลการตรวจสอบ และมีความมั่นใจในการให้บริการข้อมูลทางการเงินได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ในเวลาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง</p> <p> <strong>องค์ความรู้</strong><strong>:</strong> กระบวนการตรวจสอบที่บูรณาการด้วยเทคโนโลยีใหม่ เครื่องมือทันสมัย และทักษะความเชี่ยวชาญ ช่วยเพิ่มความถูกต้องและทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้นผ่านการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อนที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐานสากลในการตรวจสอบและการสื่อสารผลการตรวจสอบให้ชัดเจนและโปร่งใส เพื่อการสอบบัญชีที่ประสบความสำเร็จ สามารถรักษาคุณภาพและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงบนโลกธุรกิจและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว</p> ทิพย์สุดา ทาสีดำ, ดารณี เอื้อชนะจิต Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/272813 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700