https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/issue/feed Journal of Public Policy and Public Affairs 2024-09-13T00:00:00+07:00 Open Journal Systems <p><strong>วารสารนโยบายและกิจการสาธารณะมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายสาธารณะ กิจการสาธารณะ และประเด็นทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง </strong></p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/272955 การวิเคราะห์การนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาโครงการหมู่บ้านยั่งยืนของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2024-06-04T20:28:23+07:00 Suwida Nuamcharoen suwida.nan@gmail.com Chukiat Muttakan Chukiat.Mut@stou.ac.th Pongsatorn Satjacholapund suwida.nan@gmail.com Wiboon Rattanapornwong suwida.nan@gmail.com Natkorn Nonil suwida.nan@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ของการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ไปปฏิบัติของส่วนราชการในประเทศไทย และศึกษากรณีศึกษาโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2) วิเคราะห์แนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติของกรณีศึกษา และ 3) เสนอแนะแนวทางพัฒนาและนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ การศึกษานี้นำเสนอบทบาทหน้าที่ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มาขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมผ่านกรณีศึกษาโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบตัวชี้วัดของโครงการเปรียบเทียบกันกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และวิเคราะห์แนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติตามที่ยึดหลักเหตุผล (Rational Model) ของ วรเดช จันทรศร เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงการกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผลการศึกษาพบว่าโครงการหมู่บ้านยั่งยืนเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่ได้รับการริเริ่มและดำเนินงานโดยกรมการปกครอง มีตัวชี้วัดที่ครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การนำนโยบายไปปฏิบัติมีระบบวัดผลการปฏิบัติงาน แต่ไม่ได้ระบุระบบการให้คุณให้โทษอย่างชัดเจน ผลการศึกษาแนะแนวทางให้มีมาตรฐานการให้คุณให้โทษที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ</p> 2024-07-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Public Policy and Public Affairs https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/273478 ความสัมพันธ์ของการรับรู้ข่าวสารกับคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 2024-06-27T11:47:11+07:00 kaweesin Intakote winter948@hotmail.com <p>การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ข่าวสารกับคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้มารับบริการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 340 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือสถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA ) การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent – Sample t-test) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Correlation Coefficient)</p> <p>จากการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 – 40 ปี ระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตำแหน่งครู ระยะเวลาทำงานในสังกัดเขตพื้นที่ฯ 2 – 5 ปี และปฏิบัติงานอยู่อำเภอฝาง ปัจจัยการรับรู้ข่าวสารของผู้มารับบริการส่วนใหญ่ รับรู้ข่าวสารผ่านช่องทางหนังสือราชการ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริหาร ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐด้านการนำองค์การอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้มารับบริการที่มี อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง ระยะเวลาในการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหาร ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ข่าวสารของผู้มารับบริการกับคุณภาพการบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในทุกๆ ด้าน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง</p> 2024-07-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Public Policy and Public Affairs https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/275122 ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2024-09-11T07:07:47+07:00 Tanapat Taewanarumit raynesto@gmail.com Noppon Akahat noppon.aka@stou.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2) ระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 3) ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 130 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (&nbsp;= 3.41, S.D. = 0.773) 2) ระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.52, S.D. = 0.751) 3) และ ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาองค์กร (Beta = 0.306) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการพัฒนารายบุคคล (Beta = 0.217) และปัจจัยด้านการพัฒนาสายอาชีพ (Beta = 0.105)</p> 2024-09-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Public Policy and Public Affairs https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/275123 แนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2024-09-11T07:13:12+07:00 Thitirut Tongsai thegigclub_poo99@hotamil.co.th Noppon Akahat noppon.aka@stou.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอ 2) เพื่อศึกษาลักษณะความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอ และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขของการพัฒนาความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบเจาะจง และนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอ มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นเป็นทุนเดิม 2) ลักษณะความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอ มักจะได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐ/ภาคเอกชนจากภายนอกชุมชน หรือภาคประชาชนด้วยกัน มากกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอ พบว่ายังไม่มีความยั่งยืน และ 4) มีข้อเสนอแนะของการพัฒนาความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยอเพื่อให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภายในชุมชนในระดับที่สูงขึ้น</p> 2024-09-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Public Policy and Public Affairs https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/275124 การผลิตวาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ในสมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ. 2557 – 2562) 2024-09-11T07:36:32+07:00 Kittapast Jitklub kittapast.j@ku.ac.th <p>การกระทำการรัฐประหารยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าและจัดตั้งคณะรัฐบาลในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นการก้าวขึ้นมามีอำนาจจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจ จึงทำให้ประชาชนบางส่วนไม่ยอมรับคณะรัฐบาลส่งผลให้คณะรัฐบาล ต้องหาวิธีการเพื่อทำให้ประชาชนภายในประเทศยอมรับ จึงนำไปสู่การสร้างวาทกรรมชาตินิยมขึ้นมา เพื่อรวมอำนาจประเทศให้ประชาชนมีความปรองดองสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน พร้อมทั้งแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเป็นรัฐบาลที่มีความรักชาติและทำเพื่อประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความสนใจว่า หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำการรัฐประหารและก้าวขึ้นมามีอำนาจเป็นคณะรัฐบาลบริหารประเทศนั้น ได้สร้างวาทกรรมวาทกรรมชาตินิยมออกมาในรูปแบบใดบ้างและเป็นอย่างไร ในบทความฉบับนี้จะทำการนำเสนอผ่านมุมมอง 3 แนวคิด คือ แนวคิดชาตินิยม แนวคิดวาทกรรมและแนวคิดอำนาจนำ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำการรัฐประหารและก้าวขึ้นมามีอำนาจเป็นคณะรัฐบาลบริหารประเทศนั้น ได้ทำการผลิตวาทกรรมชาตินิยมออกมา 3 รูปแบบแก่ประชาชน คือ ผลิตวาทกรรมชาตินิยมในรูปแบบคำพูดของตัวผู้นำรัฐ การผลิตวาทกรรมชาตินิยมในรูปแบบบทเพลงของรัฐบาลและการผลิตวาทกรรมชาตินิยมในรูปแบบของการศึกษา เพื่อทำให้ได้มาซึ่งอำนาจนำทางการเมือง</p> 2024-09-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Public Policy and Public Affairs