Journal of Public Policy and Public Affairs https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA <p><strong>วารสารนโยบายและกิจการสาธารณะมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายสาธารณะ กิจการสาธารณะ และประเด็นทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง </strong></p> สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช en-US Journal of Public Policy and Public Affairs ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 – 2565) เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/268148 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565) เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่น กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565) เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 คน โดยการเลือกวิธีสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก แยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความหมายของแผนพัฒนาท้องถิ่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นด้านวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาท้องถิ่น และด้านขั้นตอนแผนพัฒนาท้องถิ่น (2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก แยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมปฏิบัติ และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมรับผลประโยชน์ (3) ความรู้ความเข้าใจในแผนพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ</p> เรวัตร บุญทัน สุวิดา นวมเจริญ Copyright (c) 2023 2023-06-01 2023-06-01 2 1 1 21 ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/268154 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 40 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยนำข้อมูลทั้งหมดวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละส่วนเพื่อหาข้อสรุป แล้วใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น พบปัญหาผู้เข้าร่วมประชาคมน้อย ปัญหาการจัดลำดับความสำคัญ ปัญหาการจัดสรรงบประมาณเท่ากันแต่ละหมู่บ้าน ปัญหาพื้นที่ในการดำเนินโครงการ และปัญหาการบริการสาธารณะยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง 2) แนวทางการพัฒนาการจัดบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น ควรให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้พิจารณาจัดประชาคม แจ้งข้อมูลข้อจำกัดขององค์กร มีการคำนวณงบประมาณในการจัดทำร่างแผนพัฒนา จัดสรรงบประมาณคำนึงถึงเป้าหมายและผลลัพธ์ของโครงการและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ พัฒนาความรู้ด้านกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ ทำงานเชิงรุก และพิจารณาเหตุผลความจำเป็นการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเหมาะสม</p> ธีระชาติ บุญปั๋น จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ Copyright (c) 2023 2023-06-01 2023-06-01 2 1 22 37 บทบาทเงินคงคลังในการพัฒนาประเทศจากวิกฤตการณ์เงินคงคลังของประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA/article/view/268156 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยของวิกฤตการณ์เงินคงคลังในประเทศไทย 2) วิเคราะห์บทบาทของเงินคงคลังต่อการพัฒนาประเทศไทย และ 3) เสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลังของประเทศไทยในอนาคต โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร คัดเลือกข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) วิกฤตการณ์เงินคงคลังในรัชกาลที่ 6 วิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2523 - 2525 วิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2549 และวิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2563 - 2564 ปรากฏปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลังร่วมกัน 6 ปัจจัย 2) เงินคงคลังมีบทบาทในการพัฒนาประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี 3) แนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2563 - 2564 ได้แก่ รัฐบาลมีนโยบายการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 ปฏิบัติตามกฎหมายการบริหารหนี้และกฎหมายทางการคลังอย่างเคร่งครัด จัดทำโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงการเก็บภาษีอากร ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง บริหารหนี้สาธารณะอย่างระมัดระวัง ลดการถือเงินคงคลังจำนวนมากไว้ ส่วนแนวทางป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลังของประเทศไทย รัฐบาลจะต้องป้องกันทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก</p> อรพรรณ นันทกิจโกศล จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ Copyright (c) 2023 2023-06-01 2023-06-01 2 1 38 55