วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION <p> วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานในลักษณะบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) และบทความปริทัศน์ (Review Article) แก่นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ</p> <p><strong>ขอบเขตของผลงานที่ตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พิจารณาเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย ที่มีสาระเกี่ยวเนื่องกับ</p> <p>- การศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ด้านศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ (Education)</p> <p>- นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Innovation and Technology in Education)</p> <p>- การบริหารการศึกษา (Educational Administration)</p> <p>- หลักสูตร (Curriculum)</p> <p>- การจัดการเรียนการสอน (Classroom Management, Instruction)</p> <p>- การเรียนรู้ (Learning)</p> <p>- การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood, Kindergarten, Pre-school Education)</p> <p>- ประถมศึกษา (Elementary Education)</p> <p>- มัธยมศึกษา (Secondary Education)</p> <p>- การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research)</p> <p>- การวัดผลและประเมินผล (Assessment and Evaluation)</p> <p>- สถิติทางการศึกษา (Educational Statistics)</p> <p>- ปรัชญาและศาสนาการศึกษา (Educational Philosophy and Religion) </p> <p>- จิตวิทยาการศึกษา (Psychology)</p> <p>- การแนะแนว (Guidance)</p> <p>- การศึกษาพิเศษ (Special Education)</p> <p>- การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance in Education)</p> <p>- การพัฒนาวิชาชีพครู (Teacher Professional Education)</p> <p>- การฝึกอบรมและการศึกษาผู้ใหญ่ (Training and Adult Education)</p> <p>- การศึกษาสำหรับการพัฒนาชุมชนและสังคม (Education for Community and Social Development)</p> <p>- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)</p> <p>- สาขาวิชาอื่น ๆ ในสหวิทยาการด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (Others involving educational integration)</p> <p> </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review)</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์</strong></p> <ol> <li class="show">บทความวิชาการ (Academic Article)</li> </ol> <p>งานเขียน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไขปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเทอร์เน็ตประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางแก้ไข</p> <ol start="2"> <li class="show">บทความวิจัย (Research Article)</li> </ol> <p>เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดำเนินการวิจัย</p> <ol start="3"> <li class="show">บทความปริทัศน์ (Review Article)</li> </ol> <p>งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้าง และทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อพิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป</p> <p> </p> <p><strong>หลักเกณฑ์ในการส่งบทความ</strong></p> <ol> <li class="show">บทความที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์จากวารสารอื่น ๆ</li> <li class="show">เนื้อหาในบทความต้องไม่คัดลอก ลอกเลียน หรือไม่ตัดทอนจากบทความอื่นโดยเด็ดขาด (การละเมินลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น)</li> <li class="show">ผู้เขียนต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบการส่งบทความของ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร</li> <li class="show">การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จะพิจารณาเฉพาะบทความที่ได้รับการประเมินให้ตีพิมพ์เผยแพร่จากผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น</li> <li class="show">กรณีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และชี้แจงการแก้ไขต้นฉบับดังกล่าว มายังกองบรรณาธิการ</li> </ol> สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร th-TH วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา 2774-0706 ผลกระทบของการระบาด COVID-19 ที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนในรูปแบบความปกติใหม่ที่ยั่งยืน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/272775 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการระบาด &nbsp;COVID-19 ที่มีผลต่อระบบการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ&nbsp; จนมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของนักศึกษา บุคลากร และเจ้าหน้าที่จนอาจเรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตรูปแบบใหม่(New Normal)ที่ยั่งยืน ซึ่งมี 3 รูปแบบได้แก่ 1)การเรียนแบบสื่อสารสองทาง 2)การเรียนแบบสื่อสารทางเดียว 3)การเรียนแบบมอบหมายงาน และการปรับรูปแบบการวัดและประเมินผล&nbsp;</p> <p>ผลกระทบส่งผลต่อ การเตรียมการสอน การใช้สื่อการสอน การติดต่อสื่อสารกับผู้เรียน การออกแบบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนออนไลน์&nbsp; การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆในการสอนออนไลน์&nbsp; และกลวิธีให้ผู้เรียนได้เข้าใจในบทเรียนให้มากที่สุด และมีการประเมินผลในระบบออนไลน์ หลักการของ ADDIE&nbsp; Model ซึ่งเป็นหลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างเป็นระบบ และมีการใช้เครื่องช่วยการสอนออนไลน์มากขึ้น เช่น ระบบ ZOOM, MS Team, Google Classroom, Microsolf Team Classroom, Cisco Webex, Google meet, Facebook Messenger group, Line group</p> <p>เทคนิคการสอนแบบออนไลน์นั้นจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ปฏิบัติงานในระบบสุขภาพตามโรงพยาบาล และสถานบริการด้านสุขภาพต่าง ๆ ต้องอาศัยรูปแบบวิธีที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันจนส่งผลให้เกิดปกติวิถีใหม่และใช้จนถึงปัจจุบัน&nbsp; องค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหา และเทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ให้มากที่สุด</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ผลกระทบการระบาดของ COVID-19, รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติวิถีใหม่ยั่งยืน</p> พชรดนัย เชื้อตานาม รุ่งนภา พรหมแย้ม จุน หน่อแก้ว Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา 2024-12-10 2024-12-10 4 2 42 54 การสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส : ความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/275573 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวคิดพื้นฐานของระบบเลขฐานสอง (Binary Numbers) และความสัมพันธ์กับรหัสมอร์ส (Morse Code) โดยเน้นการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการแก้ปัญหา วิธีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงตรรกะ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงรหัสมอร์สกับเลขฐานสอง และการสร้างตัวอย่างที่ใช้ได้จริง เช่น การแปลงข้อความภาษาอังกฤษเป็นรหัสมอร์สและเลขฐานสอง มีข้อค้นพบหรือข้อสรุปสำคัญที่เกิดจากการศึกษา คือ การใช้รหัสมอร์สและเลขฐานสองร่วมกันช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในแนวคิดทางคณิตศาสตร์และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ การแก้ปัญหา และการสื่อสารข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในด้านการประยุกต์ความรู้ด้านเลขฐานสองและรหัสมอร์สในชีวิตประจำวัน รวมถึงการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสนใจและความกระตือรือร้นในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> จุฑาลักษณ์ หนึ่งคำมี เอกรักษ์ พิมพ์เภา วรรณธิดา ยลวิลาศ Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา 2024-12-10 2024-12-10 4 2 55 66 การพัฒนารูปแบบการจัดการความขัดแย้งเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/273033 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความขัดแย้งเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทย 2) ประเมินรูปแบบการจัดการความขัดแย้งเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทย และ 3) นำเสนอรูปแบบการจัดการความขัดแย้งเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่&nbsp; 1) วิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ 2) การใช้เทคนิคเดลฟายกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาองค์ประกอบด้านการจัดการความขัดแย้งเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ จำนวน 25 คน 3) การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และ 4) ประเมินรูปแบบจากความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 525 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการความขัดแย้งเชิงกลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยมีความเหมาะสมโดยภาพรวมในระดับมาก โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ 1) การยึดองค์กรเป็นศูนย์กลาง 2) การปรองดอง 3) การไกล่เกลี่ย 4) การยอมให้ 5) การหลีกเลี่ยง 6) การแข่งขัน และ 7) การร่วมมือร่วมใจ โดยมีตัวชี้วัด 41 ตัว และกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) วัตถุประสงค์ และ 4) กลยุทธ์รอง 7 ด้าน ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการกำหนดเป็นนโยบายเชิงกลยุทธ์ของการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในองค์กรทางการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารในการบริหารจัดการความขัดแย้งให้มีประสิทธิภาพต่อไป</p> พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ ศักดิ์ดา สุภาพ จักรพรรดิพงษ์ ยลชื่น ณัฐชยา สมมาศเดชสกุล ฤทธิเดช พรหมดี ทรงสิทธิ์ วงค์สุขะ Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา 2024-12-10 2024-12-10 4 2 1 18 ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/275624 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดแหลมฟ้าผ่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กำหนดเป็นกลุ่ม ทดลอง จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินพฤติกรรมความมีวินัยในตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1) พฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดการเรียนเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ธนิดา วรฤทธิ์ พิชาติ แก้วพวง Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา 2024-12-10 2024-12-10 4 2 19 41 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) JONATHAN LIVINGSTON SEAGULL https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/274444 <p>Jonathan Livingston Seagull (นางนวล โจนาธาน ลิฟวิงสตัน) เป็นผลงานการประพันธ์ของนักเขียนชาวอเมริกัน Richard Bach (เกิดปี 2479 ปัจจุบันอายุ 88 ปี) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2513 และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 30 ภาษา จำหน่ายทั่วโลกกว่า 44 ล้านเล่ม มีฉบับภาษาไทยหลายฉบับ เช่น ฉบับแปลของอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี 2516 ให้ชื่อว่า “จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล” ฉบับที่นำมาวิจารณ์นี้เป็นภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Avon Books ในปี ค.ศ. 1973 มีความยาว 128 หน้า หมายเลข ISBN 0380012863 หนังสือได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ บทละคร และบทประพันธ์เพลง ที่ได้รับรางวัลหลายรายการ เช่น Grammy Award จากหนังสือเสียง Best Audio Book ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี 1973 ได้รับรางวัล Golden Globe Award for Best Original Score และรางวัล Academy Awards อีกหลายรายการ ได้แก่ การตัดต่อภาพยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บทเพลงประกอบยอดเยี่ยม</p> ยงยุทธ ขำคง Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา 2024-12-10 2024-12-10 4 2 67 70