วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION <p> วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานในลักษณะบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) และบทความปริทัศน์ (Review Article) แก่นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ</p> <p><strong>ขอบเขตของผลงานที่ตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พิจารณาเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย ที่มีสาระเกี่ยวเนื่องกับ</p> <p>- การศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ด้านศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ (Education)</p> <p>- นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Innovation and Technology in Education)</p> <p>- การบริหารการศึกษา (Educational Administration)</p> <p>- หลักสูตร (Curriculum)</p> <p>- การจัดการเรียนการสอน (Classroom Management, Instruction)</p> <p>- การเรียนรู้ (Learning)</p> <p>- การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood, Kindergarten, Pre-school Education)</p> <p>- ประถมศึกษา (Elementary Education)</p> <p>- มัธยมศึกษา (Secondary Education)</p> <p>- การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research)</p> <p>- การวัดผลและประเมินผล (Assessment and Evaluation)</p> <p>- สถิติทางการศึกษา (Educational Statistics)</p> <p>- ปรัชญาและศาสนาการศึกษา (Educational Philosophy and Religion) </p> <p>- จิตวิทยาการศึกษา (Psychology)</p> <p>- การแนะแนว (Guidance)</p> <p>- การศึกษาพิเศษ (Special Education)</p> <p>- การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance in Education)</p> <p>- การพัฒนาวิชาชีพครู (Teacher Professional Education)</p> <p>- การฝึกอบรมและการศึกษาผู้ใหญ่ (Training and Adult Education)</p> <p>- การศึกษาสำหรับการพัฒนาชุมชนและสังคม (Education for Community and Social Development)</p> <p>- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)</p> <p>- สาขาวิชาอื่น ๆ ในสหวิทยาการด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (Others involving educational integration)</p> <p> </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review)</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์</strong></p> <ol> <li class="show">บทความวิชาการ (Academic Article)</li> </ol> <p>งานเขียน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไขปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเทอร์เน็ตประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางแก้ไข</p> <ol start="2"> <li class="show">บทความวิจัย (Research Article)</li> </ol> <p>เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดำเนินการวิจัย</p> <ol start="3"> <li class="show">บทความปริทัศน์ (Review Article)</li> </ol> <p>งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้าง และทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อพิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป</p> <p> </p> <p><strong>หลักเกณฑ์ในการส่งบทความ</strong></p> <ol> <li class="show">บทความที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์จากวารสารอื่น ๆ</li> <li class="show">เนื้อหาในบทความต้องไม่คัดลอก ลอกเลียน หรือไม่ตัดทอนจากบทความอื่นโดยเด็ดขาด (การละเมินลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น)</li> <li class="show">ผู้เขียนต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบการส่งบทความของ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร</li> <li class="show">การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จะพิจารณาเฉพาะบทความที่ได้รับการประเมินให้ตีพิมพ์เผยแพร่จากผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น</li> <li class="show">กรณีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และชี้แจงการแก้ไขต้นฉบับดังกล่าว มายังกองบรรณาธิการ</li> </ol> th-TH editor_education@pnru.ac.th (ผศ.ดร.อภิชาติ พยัคฆิน) admin_education@pnru.ac.th (นางสาวสุปราณี ชมจุมจัง) Mon, 10 Jun 2024 09:55:38 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ทัศนาบางเขน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/268490 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ทัศนาบางเขน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 2) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 85 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling<strong>) </strong>เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง ทัศนาบางเขน ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 0.7439 คิดเป็น ร้อยละ 74<strong>.</strong>39 2<strong>) </strong>แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน ประกอบด้วยข้อความ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0<strong>.</strong>62 ถึง 0<strong>.</strong>84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0<strong>.</strong>95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t<strong>–</strong>test<strong>) </strong>ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน<strong> (</strong>Dependent Sample<strong>)</strong></p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรท้องถิ่น มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 8<strong>2</strong>.<strong>35</strong>/8<strong>1</strong>.<strong>75</strong> ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ต้นสัก สนิทนาม, ธนาวัฒน์ พัฒนราช, นราธิป แก้วทอง Copyright (c) 2023 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/268490 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/268245 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและระดับการบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัย ตามหลัก 3 ป และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ได้แก่ ภัยเกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ ภัยที่เกิดจากการละเมิดสิทธิ์ ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ และภัยที่เกิดจากสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ การบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัยตามมาตรการ 3 ป คือ ป้องกัน ปลูกฝังและปราบปราบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 จำนวน 215 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 40 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 123 คน และครูผู้รับผิดชอบโครงการสถานศึกษาปลอดภัย จำนวน 52 คน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ (rating scales) และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันการบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ตามขอบข่ายความปลอดภัย 4 กลุ่มภัย คือ ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุและภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ มีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ที่ระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.73 และตามมาตรการ 3 ป คือ การปราบปราม การป้องกัน และ การปลูกฝัง ระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ที่ระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.75</li> <li>แนวทางบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ควรมีการพัฒนาและกำหนดรูปแบบการบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัย เนื่องจากในปัจจุบัน โรงเรียนแต่ละแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีแนวทางการบริหารด้านสถานศึกษาปลอดภัยที่แตกต่างกันไปตามนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษา แนวทางหรือรูปแบบต้องครอบคลุมตามมาตรการ 3 ป โดยเพิ่มความเข้มงวดและรวดเร็วในการปราบปราม พัฒนาแนวทางและรูปแบบการป้องกันและปลูกฝังเรื่องความปลอดภัย โดยพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาปลอดภัย และหลักสูตรสถานศึกษาปลอดภัยสำหรับผู้เรียน ชุมชน ผู้ปกครอง</li> </ol> นิษฐ์ฐา พีระชัยภาวงศ์, พลพิพัฒน์ วัฒนเศรษฐานุกุล, อนันต์ศักดิ์ ภูพลผัน, สิรินธร สินจินดาวงศ์, สุพรรณี สมานญาติ, ชินกฤต ศรีสุข Copyright (c) 2023 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/268245 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/271178 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคอินโฟกราฟิกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ปิยธิดา ศิลารัตน์, พิชาติ แก้วพวง Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/271178 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700 TOWARDS SUSTAINABLE URBAN ARCHITECTURE: A HOLISTIC APPROACH TO ENVIRONMENTAL MANAGEMENT EDUCATION https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/271676 <p>The study aimed to enhance educational frameworks and industry practices within urban architecture. It was guided by three main objectives: exploring urban environmental management models in Thailand and internationally, identifying the knowledge gaps and needs of students and relevant stakeholders, and creating customized teaching guidelines. The research utilized a qualitative approach, conducting surveys with 50 urban architecture students and 50 executives from both the public and private sectors involved in urban management. Through secondary data analysis and these surveys, the study investigated the contrasts between localized Thai management strategies, which emphasize on community involvement, and the broader, globally accepted standardized models proposed by the Global Development Research Center (GDRC). This analysis highlighted significant differences in perspectives on urban environmental management, with students showing a broader interest in diverse environmental aspects compared to the more focused concerns of industry agencies. These findings underscore the essential need to integrate local and global management approaches to develop comprehensive, adaptable, and sustainable urban environmental strategies. Such integration is vital for aligning immediate practical needs with long-term educational goals, thus enhancing the capacity for sustainable development in urban environments.</p> ดิฐา แสงวัฒนะชัย Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/271676 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/267853 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จากโรงเรียนโสมาภา เขตบึงกุ่ม จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 21 คน ซึ่งเป็นการสุ่มตัวอย่างที่ได้จากวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ จำนวน 8 แผน 2) แบบวัดทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีคะแนนทักษะทางคณิตศาสตร์เฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 4.67 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.68 และคะแนนทักษะทางคณิตศาสตร์หลังเรียนเท่ากับ 9.23 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.04 จะเห็นได้ว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.56 คะแนน แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มีทักษะคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม</p> อรนภา ซังปาน, จินตนา ณ สงขลา Copyright (c) 2024 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/267853 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทวิจารณ์หนังสือ (BOOK REVIEW) HITLER: ONLY THE WORLD WAS ENOUGH https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/268630 <p>Hitler: Only the World was Enough (ฮิตเลอร์: ขอเพียงโลกใบนี้เท่านั้น) เป็นผลงานการประพันธ์ของ Brendan Simms ศาสตราจารย์ผู้สอนวิชาประวัติศาตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ หนังสือมีความยาว 668 หน้า ตีพิมพ์ที่สำนักพิมพ์ Penguin Books ปี 2020 (ISBN 9780141043302) เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะคล้ายตำราเรียน ผู้เขียนทำการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารมากถึง 2,927 ชิ้น มีระบุรายละเอียดอยู่ท้ายเล่ม ด้วยประสบการณ์การสอนของผู้เขียนเกี่ยวกับฮิตเลอร์มาอย่างยาวนาน ทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีที่มาจากข้อเท็จจริง หนังสือเล่มนี้ยังไม่มีฉบับแปลภาษาไทย</p> ยงยุทธ ขำคง Copyright (c) 2023 วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/article/view/268630 Mon, 10 Jun 2024 00:00:00 +0700