https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/issue/feed วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2024-04-30T22:57:55+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ Touch_life@outlook.co.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</strong> เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการครอบคลุมเนื้อหาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์ ด้านบริหารการศึกษา ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการจัดการ ด้านศิลปศาสตร์ ด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ด้านการเงิน การบัญชี และธนาคาร ด้านการท่องเที่ยว ด้านโลจิสติกส์ สำหรับกระบวนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ ทุกบทความจะต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) จำนวน 3 ท่าน ในลักษณะปกปิด แบบไม่เห็นชื่อผู้เขียนและผู้ประเมิน (Double-blinded review) </p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/270736 บรรษัทภิบาล และการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2024-04-28T23:36:45+07:00 ปุญชรัสมิ์ ทองรักจันทร์ sirirat.p@rmutp.ac.th ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข sirirat.p@rmutp.ac.th ปัทมา พยุงวงศ์ sirirat.p@rmutp.ac.th วรรณวิมล นาคทัด sirirat.p@rmutp.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบรรษัทภิบาลที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษี และ 2) การวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ที่ได้จากงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) แบบ 56-1 One Report และคะแนนผลการประเมินจากเว็บไซต์ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) จำนวน 192 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) บรรษัทภิบาลที่วัดค่าด้วยการกระจุกตัวของความเป็นเจ้าของ (OWN) การควบอำนาจในการบริหารของประธานกรรมการ (Dual CEO) ส่งผลต่อการวางแผนภาษี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 2) 2) การวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย อัตราส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (ETR) อัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) และอัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์รวม (TAX/ASSET) ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271961 รูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน เฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง 2024-04-20T10:43:38+07:00 ภูเมธ ลิ้มบวรสิน S63584917063@ssru.ac.th สุดา สุวรรณาภิรมย์ S63584917063@ssru.ac.th สุนทร ผจญ S63584917063@ssru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง การบริหารองค์กรสมัยใหม่ การจัดการองค์กร การสื่อสาร และการสร้างคุณค่าร่วมท 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของอิทธิพลของการบริหารองค์กรสมัยใหม่ การจัดการองค์กร การสื่อสาร การสร้างคุณค่าร่วม ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคม ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และ 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงาน และผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน 380 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการด้านการสร้างภาพลักษณ์องค์กรด้วยความยั่งยืน การรับผิดชอบต่อสังคม ทีมีความรู้<br />และประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการองค์กร การบริหารองค์กรสมัยใหม่ การสื่อสาร และการสร้างคุณค่าร่วม อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) การบริหารองค์กรสมัยใหม่ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อภาพลักษณ์ความผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสร้างคุณค่าร่วม การสื่อสาร และการจัดการองค์กร ตามลำดับ และ 3) ได้รูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย การบริหารองค์กรสมัยใหม่ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีการสร้างคุณค่าร่วม และการสื่อสาร อยู่ตรงกลาง และการจัดการองค์กรช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นภาพลักษณะความรับผิดชอบต่อสังคม ต้องประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลังสามารถนำผลวิจัยไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/264337 กระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี 2024-04-18T10:43:16+07:00 สมเจตน์ ทองเทศ jacktongtes@gmail.com สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ Jacktongtes@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านผู้ส่งสาร (Sender) จะต้องเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในศาสตร์วิชาที่ทำการเผยแพร่ โดยเฉพาะสื่อบุคคลเพราะเป็นสื่อที่มีความสำคัญมากต่อการนำเสนอเนื้อหาที่ผู้รับสารสามารถนำสิ่งที่ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์ได้ 2) เนื้อหาของสาร (Message) พบว่า เนื้อหาของสารที่เผยแพร่ ควรเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ 3) ด้านช่องทางสาร (Channel) พบว่า ช่องทางของสาร ควรเป็นการนำเสนอด้วยวีดีโอที่นำเสนอผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ที่ผู้รับสารเข้าถึงมากที่สุด ซึ่งอาจใช้เป็นการสำรวจถึงการเข้าสู่แอปพลิเคชันที่ผู้รับสารนิยมใช้ 4) ผู้รับสาร (Receiver) พบว่า ผู้ส่งสารควรเป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสารที่ใช้น้ำเสียงที่ไม่ราบเรียบ ต้องชวนให้น่าสนใจตั้งแต่เปิดประเด็นเนื้อหา เพราะผู้รับสารส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่น และมีความสนใจที่ต่างกันออกไป ควรทำการสำรวจก่อนว่าเนื้อหาประเด็นใดที่ผู้รับสารสนใจ ผลจากการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในการนำผลการศึกษาที่ได้ ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271744 บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข 2024-04-19T09:49:59+07:00 ธณกร มณีโชติ addy621280@gmail.com สุดา สุวรรณาภิรมย์ addy621280@gmail.com ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์ addy621280@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ระบบการเมือง ระบบการกำกับดูแล ระบบธุรกิจของสื่อ และระบบจรรยาบรรณของสื่อ 2) อิทธิพลเชิงสาเหตุของระบบการเมือง ระบบการกำกับดูแล ระบบธุรกิจของสื่อ และระบบจรรยาบรรณของสื่อต่อการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข และ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ สื่อสารมวลชน สาขา สื่อการเมือง สื่ออาชญากรรม และสื่อบันเทิง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสื่อสารมวลชน นักวิชาสายการศึกษาด้านสื่อสารมวลชน นักวิชาการอิสระในด้านสื่อสารมวลชน นักการเมือง และ นักกฏหมาย รวมทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ระบบการเมือง ระบบการกำกับดูแล ระบบธุรกิจสื่อ และระบบจรรยาบรรณสื่อ อยู่ในระดับมาก ทั้งหมด 2) ระบบการกำกับดูแล มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ระบบการเมือง ระบบธุรกิจของสื่อ และระบบจรรยาบรรณ ตามลำดับ และ 3)ได้แนวทางการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุข มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย ระบบการกำกับดูแล ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด<br />เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีระบบการเมือง และระบบธุรกิจของสื่อ อยู่ตรงกลาง และระบบจรรยาของระบบสื่อ ช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นการบริหารจัดการสื่อสารมวลชนเพื่อสร้างสังคมสันติสุขต้องประกอบด้านความยุติธรรม ด้านความปรองดอง ด้านความสงบสุขภายใน และด้านมีเสรีภาพ ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อหน่วยงานต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและการยกร่างแผนแม่บทของสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมสมานฉันท์ได้นำผลการวิจัยไปกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาบริหารจัดการเพื่อสร้างสังคมสันติสุขต่อไปให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/270737 ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล (ESG) และทุนทางปัญญา ส่งผลต่อความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2024-04-23T11:10:12+07:00 วชิราฑิณี กานต์รวีกุลธนา sirirat.p@rmutp.ac.th ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข sirirat.p@rmutp.ac.th รัตนาวลี ไม้สัก sirirat.p@rmutp.ac.th นิพล แก่นโกมล sirirat.p@rmutp.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล (ESG) และทุนทางปัญญา ส่งผลต่อความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 145 บริษัท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่และร้อยละ (Frequency and Proportion) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Analysis) และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า คะแนนการกำกับดูแลกิจการ (CGR) สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (SBP) มีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางตรงข้ามกับทุนทางปัญญา (IC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สัดส่วนคณะกรรมการอิสระ (IND) มีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางเดียวกับทุนทางปัญญา (IC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประสิทธิภาพสินทรัพย์ลงทุน (CEE) โครงสร้างเงินทุน (Leverage) มีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางเดียวกับความสามารถทำกำไร (Profitability) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/268051 ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการควบคุมภายในกับคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-04-29T16:34:53+07:00 ธิดารัตน์ เกิดอยู่ gthida.ray@gmail.com พรรณทิพย์ อย่างกลั่น gthida.ray@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการควบคุมภายในกับคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 284 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า จรรยาบรรณวิชาชีพ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน และพฤติกรรมทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความทันเวลา และความเข้าใจได้ ความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ และความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านการเปรียบเทียบกันได้ ความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ ความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่ และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน และความโปร่งใส มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านการพิสูจน์ยืนยันได้ และประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ได้แก่ สภาพแวดล้อมการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และการพิสูจน์ยืนยันได้ สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม และการเปรียบเทียบกันได้ และการประเมินความเสี่ยง สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความทันเวลา และความเข้าใจได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271747 รูปแบบการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม 2024-04-18T10:18:23+07:00 เธียรวิชญ์ วิเศษสังข์ drtienvitt.wi@gmail.com เจตน์สฤษฎิ์ อังศุกาญจนกุล drtienvitt.wi@gmail.com โกมล ไพศาล drtienvitt.wi@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม กลยุทธ์ทางการตลาด การจัดการความรู้ภายในองค์กร การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ<br />2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกลยุทธ์ทางการตลาด การจัดการความรู้ภายในองค์กร การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ 3) นำเสนอรูปแบบการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคน้ำดื่มที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบน้ำดื่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินคุณภาพน้ำดื่ม ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่มีความชำนาญในการผลิตน้ำดื่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม กลยุทธ์ทางการตลาด การจัดการความรู้ภายในองค์กร การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) ตลาดอิเล็คทรอกนิกส์ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่มมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การจัดการความรู้ และการจัดการลูกค้า ตามลำดับ และ 3) ได้รูปแบบการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย ตลาดอิเล็คทรอกนิกส์ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีสภาพวแวดล้อมทางธุรกิจ และการจัดการความรู้ อยู่ตรงกลาง และการจัดการลูกค้าช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม ต้องประกอบด้วย การเงิน ความสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทรัพยากร และการดำเนินงาน ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านน้ำดื่มเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ให้สามารถเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271101 การขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อ 2024-04-29T11:39:24+07:00 สุธาทิพย์ จันทรักษ์ pasuta.c9@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทและสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2) กระบวนการนำนโยบายการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ และ 3) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อเพื่อผู้สูงอายุสุขภาพดี ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 ราย โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์วิจัย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) จำนวนผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้น สุขภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคเรื้อรังที่หลากหลายส่งผลต่อคุณภาพชีวิต มีโครงสร้างครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ผู้ดูแลในครอบครัวมีจำกัด ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลและครอบครัวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์และสุขภาพ 2) กระบวนการนำนโยบายการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุมีปัจจัยสำคัญหลายประการ อาทิ การดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มาตรการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การติดตามการดำเนินงาน และการประเมินผล เป็นต้น 3) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ก) หน่วยงานภาครัฐในระดับนโยบายส่วนกลางควรมีนโยบายที่ชัดเจน ข) ควรสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ค) ควรให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ในชุมชนเป็นแกนกลางขับเคลื่อนนโยบาย เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ง) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุทั้งในครอบครัว ชุมชนและสังคม ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมภายในชุมชน และ จ) ควรให้ความรู้แก่ ครอบครัวและญาติในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เพียงพอต่อเนื่อง</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/269508 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร ที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง 2024-04-28T21:15:13+07:00 บุณยกร อุทัย boonyakorn.uth@gmail.com วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ boonyakorn.u@ku.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร ที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านศุลกากรกับความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร</p> <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 324 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามแบบของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง มีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารไม่แตกต่างกัน และ 3) ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านศุลกากรมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสาร </p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271763 รูปแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-04-19T09:52:11+07:00 พิมปภา นาควิเชียร tipats@hotmail.com สุดา สุวรรณาภิรมย์ tipats@hotmail.com ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์ tipats@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ นวัตกรรม การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการบริหารจัดการองค์การ 2) สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ นวัตกรรม การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการบริหารจัดการ ที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) สร้างรูปแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจ หรือตัวแทนของเจ้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และตัวแทนภาคธุรกิจการบริการ ตัวแทนภาคธุรกิจการค้า และตัวแทนภาคธุรกิจการผลิต รวมทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การบริหารจัดการองค์การ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก 2) สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อคความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ นวัตกรรม และการบริหารจัดการตามลำดับ และ 3) รูปแบบความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต้องประกอบด้านการเงิน ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านกระบวนการภายใน และด้านเรียนรู้และการเติบโต </p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271578 Factors Affecting the Procurement Performance of Jiangxi Institute of Fashion Technology, China 2024-04-19T10:35:30+07:00 Tu Gaogang busaya2001@gmail.com Busaya Vongchavalitkul busaya2001@gmail.com Songwut Burimjitt busaya2001@gmail.com <p>Background and Aims Efficient procurement is crucial for colleges and universities to optimize resource allocation and support teaching and research activities. This study examines the factors influencing procurement performance in higher education institutions, using Jiangxi Institute of Fashion Technology as a case study. It explores how procurement planning, resource allocation, employee competence, and procurement procedures contribute to procurement performance. Material and Method A questionnaire survey was conducted among 293 faculty members of Jiangxi Institute of Fashion Technology who volunteered to participate, selected through a random sampling method. The analysis included descriptive statistics and inferential statistics (correlation coefficients and multiple regression analysis).</p> <p>Results The study found significant positive relationships between procurement planning, resource allocation, employee competence, procurement procedures, and procurement performance. The combined influence of these factors explained 18.9% of the variance in procurement performance (Adjust R² = 0.189, F = 17.97, p ≤ 0.000). While all factors contributed to improved performance, procurement procedures had the strongest impact (beta = 0.256,t = 4.337, p ≤ 0.000), followed by employee competence (beta = 0.153, t = 3.536, p ≤ 0.000), procurement planning (beta = 0.143, t = 2.939, p ≤ 0.000), and resource allocation (beta = 0.131, t = 3.194, p ≤ 0.00) to a lesser extent.</p> <p>By analyzing the factors influencing college procurement performance, this study offers valuable insights for developing preventive and corrective measures. These measures can promote the sustainable and healthy development of college procurement performance, ultimately addressing the bottlenecks hindering its progress.</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271764 แบบจำลองความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-04-18T10:37:34+07:00 อุรุชา เฉลิมวุฒิกุล pum_miamore@hotmail.com สุดา สุวรรณาภิรมย์ pum_miamore@hotmail.com ศิริชัย พงษ์วิชัย pum_miamore@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ระดับของความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด และการควบคุมคุณภาพ 2) กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด และการควบคุมคุณภาพโดยรวมมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการธุรกิจเจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมที่ประสบความสำเร็จที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 2 ปี จำนวนทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ ระดับมาก กลยุทธ์การตลาด ระดับมาก และการควบคุมคุณภาพโดยรวม และความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริม อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ และการควบคุมคุณภาพโดยรวม ตามลำดับ และ 3) ได้แบบจำลองความสำเร็จของผู้ประกอบการของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ อยู่ตรงกลาง และการควบคุมคุณภาพโดยรวมช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องประกอบด้วย การมีผลมีผลกำไร ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการจัดการ และ การเรียนรู้และพัฒนาผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อองค์กร และหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการส่งออก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบาย และส่งเสริมพัฒนาธุรกิจอาหารเสริม ให้ประสบความสำเร็จต่อไป</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271716 แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัดศูนย์การทหารราบ กองทัพบกไทย 2024-04-18T10:32:48+07:00 รชาเศรษฐ์ ศิระวรญาพัฒน์ tp25042521@gmail.com ทวี แจ่มจำรัส tp25042521@gmail.com สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์ tp25042521@gmail.com บวรพรรณ รัฐประเสริฐ tp25042521@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ และความสุขในการปฏิบัติราชการ 2) วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ และความสุขในการปฏิบัติราชการที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร และ 3) เสนอแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการทหารสังกัดศูนย์การทหารราบ กองทัพบกไทย จำนวน 360 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย กลุ่มระดับผู้บริหาร กลุ่มผู้บริหารระดับหัวหน้าหน่วย กลุ่มระดับชั้นสัญญาบัตร และกลุ่มระดับชั้นประทวน จำนวนทั้งสิ้น 18 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ แรงจูงในในการปฏิบัติราชการ และ ความสุขในการปฏิบัติราชการ อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) แรงจูงในการปฏิบัติราชการ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารมากที่สุด รองลงมาได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำองค์การ และความสุขในการปฏิบัติราชการ ตามลำดับ และ 3) ได้แนวทางเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัด ศูนย์การทหารราบ กองทัพบกไทย มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีวัฒนธรรมองค์การและภาวะผู้นำองค์การ อยู่ตรงกลาง และความสุขในการปฏิบัติราชการนช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร ต้องประกอบด้วยความซื่อสัตย์ต่อองค์การ ความสามัคคีในองค์การ ความจงรักภักดีในองค์การและ ความทุ่มเทในการทำงาน ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อส่วนราชการในกรมกำลังพลทหารบก กรมสวัสดิการทหารบกใช้ประโยชน์ได้ ในการเป็นแนวทางด้านการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการสร้างความผูกพันของข้าราชการทหารให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/270016 คุณภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 2024-04-19T10:20:37+07:00 ธัชกร บุญเลิศ nurse_thach@hotmail.com จีระ ประทีป nurse_thach@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการ ด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนชนต่อคุณภาพการให้บริการ ด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำแนกตามปัจจัยประชากร (3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการให้บริการ ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรผู้รับบริการสาธารณสุขในเขตอำเภอเมืองสิงห์บุรี จำนวน 140 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านอาคารสถานที่ ในภาพรวมมีความเห็นว่าระดับการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า<br />ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เป็นอันดับหนึ่ง (2) ปัจจัยประชากร ได้แก่เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรีไม่ต่างกัน ส่วนอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลต่อความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี แตกต่างกันอย่างมีระดับ นัยสำคัญทางสถิติ (3) ปัญหาการให้บริการที่สำคัญคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เรื่องที่ตั้งห้องน้ำสำหรับผู้ใช้บริการอยู่ห่างไกล เป็นอันดับหนึ่ง และด้านอาคารสถานที่ เรื่องที่จอดรถคับแคบหาที่จอดรถยาก ส่วนแนวทางการพัฒนาการให้บริการที่สำคัญคือด้านอาคารสถานที่ มีแนวทางการพัฒนา<strong>ว่า</strong>ควรจัดให้มีที่จอดรถสำหรับผู้มารับบริการอย่างเพียงพอ เป็นอันดับหนึ่งและรองลงมาได้แก่ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรจัดให้มีห้องน้ำสำหรับผู้ใช้บริการที่สะดวก</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271770 การบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 2024-04-29T10:33:55+07:00 วชิราภรณ์ กาญจนะ wachirapon9@hotmail.com พัด ลวางกูร wachirapon9@hotmail.com นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ wachirapon9@hotmail.com ศิริรักษ์ นิทัศน์เอก wachirapon9@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และ 2) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือคือการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญของภาครัฐ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม รวม 22 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการ ประกอบด้วย (1) การหาหลักการหรือข้อตกลงร่วมกัน ประสานงานและวางแผนความร่วมมือผ่านการประชุมร่วมกันทั้งในระดับประเทศและจังหวัด (2) การดำเนินงานร่วมกัน ใช้ความรู้และทรัพยากรร่วมกัน (3) การให้ความช่วยเหลือและแนะนำการมีแรงจูงใจร่วมกันโดยไว้วางใจ และเชื่อมั่นในศักยภาพของหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันโดยยึดหลักการตามข้อบังคับของกฎหมาย 2) ปัญหา ประกอบด้วย (1) การถ่ายทอดนโยบาย (2) การบูรณาการในการเชื่อมโยงระบบข้อมูลร่วมกันของภาคีเครือข่าย (3) การประสานงานระหว่างภาคีเครือข่าย อุปสรรค ประกอบด้วย (1) วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี หลักการของศาสนา (2) ทัศนคติของสังคม ครอบครัว และวัยรุ่น ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมนโยบายแบบองค์รวมที่มีความสอดคล้องกันทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด/อำเภอ ระดับท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานภาคประชาสังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ปรับปรุงหรือพัฒนาระบบเครือข่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นส่วนกลาง เพื่อช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน และนำมาซึ่งการเข้าถึงปัญหาของหน่วยงานทุกระดับ (3) เปิดโอกาสให้หน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ ที่มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญ มีเครื่องมือ เป็นหน่วยงานนำในการดำเนินนโยบาย โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานสนับสนุน หรือร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบาย</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271732 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2024-04-18T10:52:28+07:00 มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ muntanavadee.ma@ssru.ac.th กันยา นภาพงษ์ kanya.na@ssru.ac.th พรพรรณ วรสีหะ ponpun.vo@ssru.ac.th กนิษฐ์ โง้วศิริ kanit.ng@ssru.ac.th สุภาวดี เลิศสำราญ supawadee.le@ssru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2563 จากสูตรคำนวณของ Taro Yamane ได้จำนวนทั้งสิ้น 121 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามตอบผ่าน<br />Google Form ตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 24 ปีขึ้นไป มีเกรดเฉลี่ยสะสมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 3.01–3.50 บัณฑิตส่วนใหญ่ได้รับการทบทวนบทเรียนเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือนถึง 2 เดือน นอกจากนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ผ่านครบ 8 วิชาในรอบแรก และปัจจัยที่มีอิทธิพล คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (GPA) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิต ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ สถาบันการศึกษาพยาบาลควรเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลักและควรมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาทุกชั้นปี รวมถึงควรจัดหาปัจจัยสนับสนุนทางการศึกษาต่าง ๆ</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/270719 การศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และแรงจูงใจของข้าราชการ ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการ ฝูงบิน ก ในภาคกลาง 2024-04-19T10:19:41+07:00 เชษฐ์สกุล ยศพลสิทธิ์ chetsakun.og@gmail.com ชนิดา จิตตรุทธะ chetsakun.og@gmail.com เฉลิมพร เย็นเยือก chetsakun.og@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยแรงจูงใจของข้าราชการ และความคิดสร้างสรรค์ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยแรงจูงใจของข้าราชการ กับความคิดสร้างสรรค์ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการฝูงบิน ก ในภาคกลาง จำนวน 106 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้าราชการส่วนใหญ่รับรู้ถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับสูง โดยเฉพาะในด้านการมีอิทธิพลทางอุดมการณ์ 2) ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีนัยสำคัญอย่างมากต่อความคิดสร้างสรรค์ในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการสร้างแรงบันดาลใจซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าระดับปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความคิดสร้างสรรค์ในทุกด้านที่ระดับนัยสำคัญ โดยด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดกับความคิดสร้างสรรค์ และมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะผู้นำที่มีการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยแรงจูงใจต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในบริบทองค์การที่มีความเฉพาะเจาะจง ผลลัพธ์จากการวิจัยนี้เป็นแนวทางที่มีค่าในการส่งเสริมการพัฒนาในองค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ข้าราชการไทย ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแรงจูงใจที่จะช่วยยกระดับความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลและมีประสิทธิผล</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271844 องค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานเป็นทีม ของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-04-19T10:21:30+07:00 มารุต สุธีรพงศ์ maroot.sut@outlook.com ศรุตา สมพอง maroot.sut@outlook.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยขององค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 227 คน จากสูตรการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการเพิ่มอำนาจสมาชิกองค์การ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ และด้านพลวัตรของการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271737 แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหาร ในจังหวัดอุดรธานี 2024-04-28T16:52:37+07:00 อ้ครเดช นามเสถียร akradet113@gmail.com สุดา สุวรรณาภิรมย์ akradet113@gmail.com สุนทร ผจญ akradet113@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การจัดการองค์การของผู้ประกอบการขนส่ง การปฏิบัติการขนส่ง ความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหาร 2) ศึกษาอิทธิพลของการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การจัดการองค์การของผู้ประกอบการขนส่ง การปฏิบัติการขนส่ง ความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่ง และการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าการเกษตรและอาหารจังหวัดอุดรธานีจำนวน 300 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคเอกชน ผู้ประกอบการด้านการขนส่ง ผู้ใช้บริการธุรกิจขนส่ง หรือผู้ที่มีความชำนาญด้านการขนส่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การปฏิบัติการขนส่ง ความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่ง อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด ส่วนการจัดการองค์การของผู้ประกอบการขนส่ง อยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาด้านโลจิสติกส์ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การปฏิบัติการขนส่ง การจัดการองค์กรผู้ประกอบการขนส่ง และความสามารถในการเชื่อมต่อการขนส่ง ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ ประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากร มาตรฐานการบริการ และศักยภาพการลงทุน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา