วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD <p><strong>วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</strong> เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการครอบคลุมเนื้อหาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์ ด้านบริหารการศึกษา ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการจัดการ ด้านศิลปศาสตร์ ด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ด้านการเงิน การบัญชี และธนาคาร ด้านการท่องเที่ยว ด้านโลจิสติกส์ สำหรับกระบวนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ ทุกบทความจะต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) จำนวน 3 ท่าน ในลักษณะปกปิด แบบไม่เห็นชื่อผู้เขียนและผู้ประเมิน (Double-blinded review) </p> วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th-TH วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3027-7833 การส่งเสริมความเข้าใจของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เกี่ยวกับการเผยแพร่เนื้อหาของกฎหมายการโฆษณาอาหารและยาที่เข้าข่าย เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/274130 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) การรับรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานีและ 2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี โดยใช้วิธีการวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร/ผู้ประกอบการสถานีกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี จำนวน 6 สถานี สถานีละ 1 ราย ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีส่วนร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการรับรู้กฎหมายการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับสูงสุด 4 อันดับแรก ดังนี้ (1) ผู้ประกอบกิจการมีวิธีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์สินค้าในการการโฆษณา (2) ผู้ประกอบกิจการทราบถึงการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภค (3) ผู้ประกอบกิจการได้เข้าอบรมกับทาง กสทช. ในเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในการออกอากาศ และ (4) ผู้ประกอบกิจการชื่นชมต่อความพยายามของทุกภาคส่วนที่ต้องการพัฒนาระบบและกลไกการควบคุมและเฝ้าระวังการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ปราศจากการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง </p> รุ่งรัตนา เจริญจิตต์ ดำเกิง อัศวสุนทรางกูร ปรีชา สาเส็ง Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 303 319 การศึกษาสมรรถนะและทักษะของข้าราชการศาลยุติธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ของนักวิชาการเงินและบัญชี สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273026 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของข้าราชการศาลยุติธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพ<br />ของนักวิชาการเงินและบัญชี สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม 2) ศึกษาทักษะของข้าราชการศาลยุติธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของนักวิชาการเงินและบัญชี สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม กลุ่มตัวอย่างคือ นักวิชาการเงินและบัญชี สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม<br />ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย<br />เชิงพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัย 1) สมรรถนะของข้าราชการศาลยุติธรรม สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม<br />โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.50, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีสมรรถนะที่ดีในภาพรวม การทดสอบสมมติฐานพบว่า สมรรถนะของข้าราชการศาลยุติธรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพของนักวิชาการเงินและบัญชีในด้านคุณภาพ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 <br />และ 0.05 ซึ่งหมายความว่าสมรรถนะที่สูงขึ้นของข้าราชการศาลยุติธรรมจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของนักวิชาการเงินและบัญชีดีขึ้นในด้านคุณภาพ เวลา และค่าใช้จ่าย 2) ทักษะของข้าราชการศาลยุติธรรม สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.48, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75) ซึ่งแสดงถึงทักษะที่ดีในภาพรวม และการทดสอบสมมติฐานพบว่าทักษะของข้าราชการศาลยุติธรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพของนักวิชาการเงินและบัญชีในด้านคุณภาพ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ซึ่งหมายความว่าทักษะที่ดีของข้าราชการศาลยุติธรรมมีผลดีต่อประสิทธิภาพของนักวิชาการเงินและบัญชีในด้านคุณภาพ เวลา และค่าใช้จ่าย</p> นภัสนันท์ วรสาร พรทิวา แสงเขียว Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 320 337 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริจาคให้กับสตรีมเมอร์ผ่านช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273924 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริจาคให้กับสตรีมเมอร์ผ่านช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ใช้แอปพลิเคชันหรือเคยมีประสบการณ์ในการตัดสินใจบริจาคให้กับสตรีมเมอร์ผ่านช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่งบนแอปพลิเคชัน ผ่านเว็บไซต์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 908 คน <br />เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และวิเคราะห์ด้วยวิธีการแบบจำลองสมการโครงสร้าง โดยวิธีการประมาณค่าแบบความเป็นไปได้สูงสุด</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริจาคให้กับสตรีมเมอร์ผ่านช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อด้านพฤติกรรมการบริจาคมากที่สุด คือ ด้านความตั้งใจในการบริจาค รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการระบุตัวตนทางสังคมกับผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคม รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อด้านความตั้งใจในการบริจาคมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการระบุตัวตนทางสังคมกับผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคม, ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, ด้านการรับรู้คุณค่า, ด้านการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และด้านทัศนคติ ตามลำดับ</p> กฤตพร วงศ์ถาวร กอบกูล จันทรโคลิกา ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 338 354 คุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี และการบริหารงาน ด้านการเงินและบัญชี ที่มีผลต่อคุณภาพการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านบัญชีภาครัฐ ของกรมควบคุมโรค https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/272534 <p>การศึกษาครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี <br />และ 2) ที่มีผลต่อคุณภาพการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐ ของกรมควบคุมโรค เป็นการวิจัย<br />เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของกรมควบคุมโรค จำนวน 173 คน โดยใช้สูตรของTaro Yamane มีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลจากการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และด้านความสัมพันธ์<br />และการสื่อสารระหว่างบุคคล และ 2) การบริหารงานด้านการเงินและบัญชี ด้านความถูกต้อง ตามระเบียบราชการ <br />ด้านการรับเงิน ด้านการจ่ายเงิน และเก็บรักษาเงิน และด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน ส่งผลเชิงบวก<br />ต่อคุณภาพการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐ ของกรมควบคุมโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> จากการศึกษาจึงสามารถสรุปได้ว่า คุณภาพของการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐ <br />ของกรมควบคุมโรค ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มาจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของคุณลักษณะ<br />ของผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี และการบริหารงานด้านการเงินและบัญชีของฝ่ายบริหารของหน่วยงาน ดังนั้น หน่วยงานจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคคลกรอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน รวมถึงตัวบุคคลของผู้ปฏิบัติงานเอง จะต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ เพื่อปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อม<br />หรือลักษณะของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน</p> พรธิดา เนตรพรมราช กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 355 370 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273185 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของบริษัทที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย และ 2) อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียน<br />ในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูล<br />แบบอนุกรมเวลา เป็นรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 ถึง ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2565 รวม 3 ปี จากการรายงานของตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย จำนวน 100 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) รายได้มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตราส่วนกำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย (2) มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตราส่วนกำไรขั้นต้นของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมีอิทธิพลเชิงลบต่ออัตรากำไรจากการดำเนินงาน และอัตราส่วนกำไรสุทธิของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย <br />(3) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมมีอิทธิพลเชิงลบต่ออัตราส่วนกำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย (4) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตรากำไรจากการดำเนินงาน และอัตราส่วนกำไรสุทธิของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย และ(5) อัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพันอัตราส่วน<br />มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียน<br />ในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย </p> มาริสา สุวรรณขะจิตต์ พรรณทิพย์ อย่างกลั่น Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 371 387 การบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม สังกัดสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273425 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม สังกัดสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี <br />กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล<br />การจัดการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 5 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวบข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการติดตามผล 2) แนวทางการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กร ผู้บริหารควรมีแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงในแต่ละด้านให้มีความครอบคลุม โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของผู้เรียน และเอื้ออำนวยต่อบุคลากร การควบคุมสภาพแวดล้อมภายในองค์กร รับฟังความคิดของผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและมาตรการควบคุมขององค์กร วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้นโยบายการบริหารความเสี่ยงได้รับการนำไปปฏิบัติโดยการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพต่อไป</p> ศุภศักดิ์ แท่นทอง ธดา สิทธิ์ธาดา Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 388 403 บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการนำเข้า ส่งออก สัตว์ป่าระหว่างประเทศ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/261931 <p>การนำเข้า ส่งออกสัตว์ป่าระหว่างประเทศทำให้มีผลกระทบต่อสังคมและสภาพแวดล้อม สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต่อการดำรงชีวิตได้หากไม่ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการนำเข้า ส่งออก สัตว์ป่าระหว่างประเทศ ระบบงาน นโยบายของภาครัฐ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติของนายทุน/ผู้ประกอบการ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบงาน นโยบายของภาครัฐ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ <br />และการปฏิบัติของนายทุน/ผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการนำเข้า ส่งออก สัตว์ป่าระหว่างประเทศ และ 3) แนวทางความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการนำเข้า ส่งออก สัตว์ป่าระหว่างประเทศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ นายทุนหรือผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกสัตว์ป่าผ่านด่านสุวรรณภูมิและด่านดอนเมือง จำนวน 340 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและ นายทุน/ผู้ประกอบการเกี่ยวกับนำเข้าและส่งออกสัตว์ป่าจำนวนทั้งสิ้น 17 คน และนำข้อมูลไปทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการนำเข้า ส่งออก สัตว์ป่าระหว่างประเทศ ระบบงาน นโยบายของภาครัฐ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติของนายทุน/ผู้ประกอบการอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด 2) นโยบายของภาครัฐมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การปฏิบัติของนายทุน/ผู้ประกอบการ การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และระบบงาน ตามลำดับ และ 3) แนวทางความสำเร็จที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ นโยบายของภาครัฐที่ต้องมีความชัดเจนในการดำเนินการ มีผลให้การปฏิบัติของนายทุน/ผู้ประกอบการและพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะเป็นไปในทางเดียวกัน ทำให้เกิดระบบงานที่มีขั้นตอนชัดเจน ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ จะมีอิทธิพลและส่งผลต่อกัน โดยสรุปแล้ว นโยบายของภาครัฐมีความสำคัญที่จะกำหนดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวของปฏิบัติตาม ภายใต้ระบบงานที่ดี ส่งผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการนำเข้า ส่งออกสัตว์ป่าระหว่างประเทศ</p> ยุทธจักร วงศ์สวรรค์ ทวี แจ่มจำรัส เอื้อมพร ศิริรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 404 417 รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาผลประโยชน์ ทางทะเลของไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273618 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล 2) รูปแบบของหน่วยยามฝั่งของประเทศที่มีบริบทใกล้เคียงกับประเทศไทย และ 3) เสนอรูปแบบของหน่วยยามฝั่งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารวิชาการทุกประเภท และศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยยามฝั่งต่างประเทศ จำนวน 6 ราย และผู้บริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย รวม 15 ราย โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ หน่วยยามฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย กล่าวคือ มีความสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแบบหน่วยงานพลเรือน และหน่วยงานทหาร และประเภทเป็นอิสระแยกออกจากกองทัพเรือ 2) รูปแบบหน่วยยามฝั่งที่มีบริบทใกล้เคียงกับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศ อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยตั้งในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลในทวีปเอเชีย ซึ่งอินเดีย และเวียดนามมีหน่วยยามฝั่งสังกัดกระทรวงกลาโหม ส่วนมาเลเซียสังกัดกระทรวงมหาดไทย หากแต่หน่วยยามฝั่งของอินเดีย และมาเลเซียเหมือนกันในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่างกับของเวียดนามที่เป็นกองทัพภาคประชาชนภายใต้ระบอบสังคมนิยม และ 3) รูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย ได้แก่ 3.1) การรวมหน่วยยามฝั่งทั้งหมดภายใต้กองทัพเรือในกระทรวงกลาโหม พร้อมเป้าหมายการปกป้องสิทธิอธิปไตยทางทะเล 3.2) การบรรจุกำลังพลที่มีอุดมการณ์และความเชี่ยวชาญในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล พร้อมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ชายฝั่ง 3.3) การจัดหายุทโธปกรณ์ทันต่อการอุบัติภัย 3.4) การจัดสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม</p> ประเสริฐ บุญทรง กฤษณา ฟองธนกิจ รัชฎา ฟองธนกิจ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 418 433 ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นนทบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/263517 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นนทบุรี 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นนทบุรี 3) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นนทบุรี กลุ่มตัวย่างประกอบด้วย ครูในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นนทบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 196 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน พฤติกรรมผู้นำแบบสายกลาง พฤติกรรมผู้นำแบบเป็นทีม พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งคนสูง พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานต่ำมุ่งคนต่ำ ตามลำดับ 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความต้องการความสัมพันธ์ ความต้องการความอยู่รอด ความต้องการความก้าวหน้า 3) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา ด้วยสมการพยากรณ์เพื่อหาตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด พบว่า ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา เรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของการพยากรณ์ ได้แก่ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน พฤติกรรมผู้นำแบบสายกลาง พฤติกรรมผู้นำแบบเป็นทีม พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งคนสูง พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานต่ำมุ่งคนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างน้อย 1 แบบ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู</p> พีรดา เชื้อผู้ดี นันทิยา น้อยจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 434 445 ทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการ ของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ ในพื้นที่ภาคตะวันออก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273718 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะทางวิชาชีพที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของจรรยาบรรณที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออกประชากรที่ใช้ศึกษาได้แก่ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานสหกรณ์ออมทรัพย์ ในพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 286 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และจากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามนำมาประมวลผล ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะทางวิชาชีพส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก ทั้งในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กรและด้านความคุ้มค่าขององค์กร ผลการทดสอบพบว่า ทักษะทางปัญญามีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.633 ในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และ 0.270 ในด้านความคุ้มค่าขององค์กร ขณะที่ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่งานมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.563 ในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และ 0.511 ในด้านความคุ้มค่าขององค์กร ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <strong>2</strong>) จรรยาบรรณของนักบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก ทั้งในด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กรและด้านความคุ้มค่าขององค์กร ความโปร่งใสมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.21 และ 0.166 ตามลำดับ, การรักษาความลับ 0.20 และ 0.462, ความซื่อสัตย์ 0.19 และ 0.688, ความเป็นอิสระ 0.16 และ 0.552, ความเที่ยงธรรม 0.05 และ 0.890 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> อดิเรก นารินทร์ ดารณี เอื้อชนะจิต Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 446 464 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ จังหวัดอุดรธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273776 <p>การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของนโยบายภาครัฐ ปัจจัยการผลิตเทคโนโลยีอัตโนมัติ กระบวนการผลิต และการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ 2) ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐ ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีอัตโนมัติ และกระบวนการผลิต ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะจังหวัดอุดรธานี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 340 ราย ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีสัดส่วน ด้วยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย อาศัยความน่าจะเป็น และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหารและบุคลากรจากหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ บุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 15 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อความบรรยายวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของนโยบายภาครัฐ ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีอัตโนมัติกระบวนการผลิต และการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐ มีอิทธิพลโดยรวมต่อการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ มากที่สุด รองลงมา คือ เทคโนโลยีอัตโนมัติ กระบวนการผลิต และปัจจัยการผลิต ตามลำดับ และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) จัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการผลิต 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนระบบเกษตรอัจฉริยะ 3) ประสานความร่วมมือจากนักวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อออกแบบและการจัดเก็บข้อมูลด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องภายในแปลงเรียนรู้จากระบบเทคโนโลยี IOT และ4) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงต่าง ๆ ภาคเอกชน และหน่วยงานในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี</p> ปริตา ชัยภัทรวงษ์ นพดล บุรณนัฏ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 465 482 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชี ของนายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/272307 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ ความสามารถการตรวจสอบภายใน และ(2) ปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก กลุ่มตัวอย่างคือ นายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก จำนวน 108 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม<br />และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า (1) โดยภาพรวม ปัจจัยด้านความรู้ ความสามารถการตรวจสอบภายใน อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน อยู่ในระดับมาก และพบว่า ประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบ (2) สมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ ความสามารถการตรวจสอบภายใน คือ ทักษะการสอบบัญชี และองค์ความรู้ในการสอบบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านผลงานได้มาตรฐาน และพบว่าองค์ความรู้ในการสอบบัญชี ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านผลงานได้มาตรฐานและด้านความทันต่อเวลา ปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน คือ การปกปิดความลับ และความสามารถในหน้าที่ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านผลงานได้มาตรฐาน การปกปิดความลับ ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านความเชื่อถือได้ และปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน คือ ความเที่ยงธรรมส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชี ด้านความทันต่อเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> ดำรงศักดิ์ ช่วยสงค์ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 483 497 ศักยภาพการปฏิบัติงานและการป้องกันข้อผิดพลาดในงานบัญชี ที่ส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/272808 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการปฏิบัติงานและการป้องกันข้อผิดพลาดในงานบัญชีที่ส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 395 ข้อมูล โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ และทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple linear regression)</p> <p> พบว่า ศักยภาพการปฏิบัติงานทางบัญชี ด้านความรู้ในวิชาชีพ ด้านเจตคติ ด้านทักษะทางวิชาชีพ และด้านเจตคติส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร ด้านความรับผิดชอบ ด้านการให้บริการลูกค้า ด้านการตัดสินใจ ด้านความเป็นผู้ประกอบการ ด้านการแก้ไขด้านปัญหา และมีเทคนิคเชื่อถือได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการป้องกันข้อผิดพลาดในงานบัญชี ด้านการฝึกอบรมด้านความรับผิดชอบ ด้านเทคโนโลยีส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร ด้านความรับผิดชอบ ด้านการให้บริการลูกค้า ด้านการตัดสินใจ ด้านความเป็นผู้ประกอบการ ด้านการแก้ไขด้านปัญหา และมีเทคนิคเชื่อถือได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ปรียากร พรมเทศ พรทิวา แสงเขียว Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 498 514 แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่าย เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273426 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร กลยุทธ์การบริหาร สภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์การตลาด และสภาพแวดล้อมภายใน 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของสภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์การบริหาร กลยุทธ์การตลาดและสภาพแวดล้อมภายในที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร และ 3) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ได้รับใบอนุญาต จำนวน 400 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการส่งออก เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องสำอาง และกลุ่มผู้บริโภคเครื่องสำอางสมุนไพร รวมทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร กลยุทธ์การตลาด สภาพแวดล้อมภายใน กลยุทธ์การบริหาร และสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร มากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลยุทธ์การตลาด สภาพแวดล้อมภายใน และกลยุทธ์การบริหาร ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ประกอบด้วย การเพิ่มพูนมูลค่าทางธุรกิจ การเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ ความเป็นมาตรฐานสากล และความผูกพันของลูกค้า</p> เทพรัชชา ณฐวัฒน์ ทวี แจ่มจำรัส นลินี สุรดินทร์กูร ปิยวดี จินดาโชติ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 515 527 แบบจำลองความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ประเภทเครื่องดื่มกาแฟ ในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273615 <p>วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษา 1) ระดับของตัวแปรศักยภาพผู้บริหารธุรกิจ นวัตกรรมการจัดการ ประสิทธิภาพของแผนธุรกิจ กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ความคล่องตัวขององค์กร และความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ 2) อิทธิพลของตัวแปรศักยภาพผู้บริหารธุรกิจ นวัตกรรมการจัดการ ประสิทธิภาพของแผนธุรกิจ กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล และความคล่องตัวขององค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ 3) พัฒนาแบบจำลองความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ จำนวน 420 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ และผู้เชี่ยวชาญของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย จำนวน 20 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับศักยภาพผู้บริหารธุรกิจ นวัตกรรมการจัดการ ประสิทธิภาพของเเผนธุรกิจกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ความคล่องตัวขององค์กร และความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ศักยภาพผู้บริหารธุรกิจ นวัตกรรมการจัดการ ประสิทธิภาพของเเผนธุรกิจกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ความคล่องตัวขององค์กร มีอิทธิผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แบบจำลองความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยประเภทเครื่องดื่มกาแฟ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า S2PIA Model เป็นรูปแบบในการส่งเสริมความการเพิ่มสมรรถนะของการประกอบธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และการคงอยู่ของธุรกิจ SMEs ต่อไป</p> ชัยชนะ วงศ์จรรยา ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์ ชมพู สายเสมา สุพัตรา ปราณี Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 528 542 แบบจำลองการเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงาม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273617 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความมีชื่อเสียงของแพทย์ผู้ทำศัลยกรรม คุณภาพการบริการ นวัตกรรม เทคโนโลยี คุณค่าการรับรู้ ความตั้งใจในการเสริมความงาม และความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาอิทธิพลของความมีชื่อเสียงของแพทย์ผู้ทำศัลยกรรม คุณภาพการบริการ นวัตกรรม เทคโนโลยี คุณค่าการรับรู้ และความตั้งใจในการเสริมความงาม ที่ส่งผลต่อ ความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) พัฒนาแบบจำลองความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 360 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีสัดส่วน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความมีชื่อเสียงของแพทย์ผู้ทำศัลยกรรม คุณภาพการบริการ นวัตกรรม เทคโนโลยี คุณค่าการรับรู้ ความตั้งใจในการเสริมความงาม และความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความมีชื่อเสียงของแพทย์ผู้ทำศัลยกรรม คุณภาพการบริการ นวัตกรรม เทคโนโลยี คุณค่าการรับรู้ และความตั้งใจในการเสริมความงาม มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) แบบจำลองความภักดีของลูกค้าคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า TPIQVC Model (T= Technology, P= Prominence Plastic Surgeon, I= Innovation, Q= Quality Service, V= Perceived Value, C= commitment beauty)</p> ศรันย์ รัตนจรัสกุล ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์ นัยยา วงศ์จรรยา สุพัตรา ปราณี Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 543 556 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273277 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การควบคุมภายในส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร 2) การบริหารความเสี่ยงส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 400 คนการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) การควบคุมภายใน ปัจจัยด้านกิจกรรมการควบคุม, สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีผลกระทบเชิงบวกต่อการบรรลุเป้าหมาย, การจัดหาทรัพยากร, กระบวนการปฏิบัติงาน, และความพอใจของทุกฝ่าย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ขณะที่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมและการประเมินความเสี่ยงไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในด้านดังกล่าว 2) การบริหารความเสี่ยงด้านการบรรลุเป้าหมายปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร, กลยุทธ์และการกำหนดวัตถุประสงค์, การจัดการความเสี่ยง, การทบทวนและการปรับปรุง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ด้านการจัดหาทรัพยากร: ปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร, การจัดการความเสี่ยง, การทบทวนและการปรับปรุง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน: ปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การจัดการความเสี่ยง, การทบทวนและการปรับปรุง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ด้านความพอใจของทุกฝ่าย: ปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร, การจัดการความเสี่ยง, และข้อมูลการสื่อสารและการรายงานผล ทุกปัจจัยเหล่านี้มีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05</p> จักรีวรรณ จุเมือง สุรีย์ โบษกรนัฏ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 557 573 อิทธิพลของทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัล ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273428 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า นวัตกรรมการตลาด การตลาดดิจิทัล และความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรในกรุงเทพมหานคร 2) อิทธิพลของทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรในกรุงเทพมหานคร และ 3) แนวทางพัฒนาการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรในกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้<br />คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสมการเชิงโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 ราย ประกอบด้วย 1) ผู้ผลิตและผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มสมุนไพร 2) ผู้บริโภคเครื่องดื่มสมุนไพรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 3) กลุ่มนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัล ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากส่วนทัศนคติของผู้บริโภค คุณค่าตราสินค้า และความตั้งใจซื้อซ้ำ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 2) อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้า ทัศนคติของผู้บริโภค นวัตกรรมการตลาด และการตลาดดิจิทัล ที่มีต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องดื่มสมุนไพรของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐาน และ 3) แนวทางการพัฒนาตลาดเครื่องดื่มสมุนไพรมี 4 ขั้นตอนหลักคือ (1) ศึกษาและปรับปรุงสมุนไพร (2) วิจัยตลาดเพื่อเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (3) สร้างแบรนด์ที่เน้นคุณค่าและความแตกต่าง และ (4) คำนึงถึงการจัดส่งสินค้าที่เร็ว และสร้างความน่าสนใจ</p> รัฐรุจน์ มนัสวัชรพงศ์ สุดา สุวรรณาภิรมย์ บุญญาดา นาสมบูรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 574 589 ประสิทธิภาพการควบคุมภายในและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการเงิน และบัญชี ที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินในทัศนะของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/272498 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการควบคุมภายในมีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีมีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 349 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิธีที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินความเสี่ยง และด้านกิจกรรมการควบคุม และ 2) ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับสูง <br />โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความทันเวลาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือความถูกต้อง และด้านความครบถ้วนของรายงานทางการเงิน ส่วนคุณภาพของรายงานทางการเงินโดยรวมถือว่าอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน คือ ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม และด้านสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการเงินและบัญชี ด้านความถูกต้อง ด้านความทันต่อเวลา มีผลเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ชญานันทน์ รุ่งแสง พรทิวา แสงเขียว Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 590 605 การดำเนินนโยบายการค้าชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2564 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/272100 <p>การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา บนฐานบริบทการค้าชายแดนตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2564 2) วิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดรูปแบบและนโยบายของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2564 และ 3) วิเคราะห์การกำหนดและการดำเนินนโยบายทางการเมืองที่ส่งผลต่อการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2564 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 27 คน ใช้การคัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์ทางการค้ากันมาอย่างยาวนานแม้จะมีปัญหาทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระยะ ทำให้การค้าชายแดนต้องชะงักลงไปบ้างก็ตาม แต่ไทยและกัมพูชาก็ยังมีการพัฒนากรอบความร่วมมือกันทั้งที่เป็นพหุภาคีและทวิภาคีอีกหลายกรอบ 2) รัฐบาลมีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งแนวคิดการการใช้ประโยชน์จากศักยภาพพื้นที่ชายแดนของไทย ส่งผลต่อการพัฒนาการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย และ 3) การดำเนินนโยบายแบ่งออก เป็น 4 ยุค ได้แก่ (1) ยุคการค้าเสรีอาเซียน<br />(พ.ศ. 2531-2545) เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาสงครามและความมั่นคงตามแนวชายแดน (2) ยุคยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (พ.ศ. 2546-2552) (3) ยุคการพัฒนาประชาคมอาเซียน (พ.ศ. 2553-2557) เป็นนโยบายการค้าชายแดนเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ (4) ยุคการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน (พ.ศ. 2558-2564) มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน</p> กรรณิการ์ คำวงค์ สุรพล ราชภัณฑารักษ์ จักรี ไชยพินิจ ณัฐพงศ์ บุญเหลือ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 606 621 การวิเคราะห์ความต้องการและแนวทางส่งเสริมอาชีพในสถานการณ์โควิด-19 ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/274330 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยคำนวณค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และความถี่</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร มีความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ที่มีสถานภาพสมรส และแหล่งที่มาของรายได้ ต่างกัน มีความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สาเหตุการใช้จ่าย และที่อยู่อาศัย ความต้องการการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้ในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ไม่แตกต่างกัน ความต้องการของประชาชนวัยทำงานในกรุงเทพฯ ต้องการส่งเสริมอาชีพและช่องทางเพิ่มรายได้สูงในช่วงโควิด-19. ความต้องการแตกต่างตามสถานภาพสมรสและแหล่งที่มาของรายได้ แต่ไม่แตกต่างตามปัจจัยอื่น ๆ เช่น เพศและอายุ ข้อเสนอแนะคือควรจัดอบรมและฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น, ขึ้นทะเบียนอาชีพเสริม, และจัดตลาดนัดแรงงาน</p> ณัฐชยา ไชยมงคล เอื้อมพร ศิริรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 622 636 การยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/273499 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภค และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง ระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอ้อมน้อย จำนวน 418 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างวิธีแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภค ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพ ความง่ายต่อการใช้งาน ด้านคุณภาพของระบบ และ ด้านการยอมรับต้นแบบแอพพลิเคชั่น ตามลำดับ และ 2) ผลทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ พบว่าคุณภาพของระบบ ความง่ายต่อการใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบ มีส่วนในการส่งผลต่อการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง สามารถอธิบายได้เท่ากับ 65.8 % การทดสอบตัวแปรอิสระที่ไม่ส่งผลต่อตัวแปรตามพบว่า คุณภาพระบบ (Sig. = .066) ส่วนปัจจัยด้านความง่ายต่อการใช้งาน (Sig. = .006) และด้านประสิทธิภาพ (Sig. = .000) ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 ส่งผลให้เห็นว่า ความง่ายต่อการใช้งาน และประสิทธิภาพ มีอิทธิพลทางบวกและในส่วน คุณภาพระบบนั้น ไม่มีอิทธิพลต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่นฯ สำหรับการประปาส่วนภูมิภาค ผลการวิจัยนี้สามารถนำมาพิจารณาประกอบการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการจดหน่วยน้ำประปาสำหรับผู้บริโภคด้วยตนเอง ให้ใช้งานได้จริง เพื่อเป็นการบริการให้กับกลุ่มผู้ใช้น้ำการประปาส่วนภูมิภาค</p> ชิษะณุพงศ์ ชัยปกรณ์ ปลื้มใจ สินอากร Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 637 650 การเผยแผ่หลักพุทธธรรมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/271857 <p>บทความนี้กล่าวถึงการเผยแผ่หลักพุทธธรรมการทำงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) สะท้อนถึงการบริหารที่มองการณ์ไกล การเป็นตัวอย่างที่ดี การปรับตัวตามยุคสมัย และการสร้างความเชื่อถือในองค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมปัจจุบันที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์ที่ล้ำลึกและการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่าง ดังนี้ 1. วิสัยทัศน์และการมองไปข้างหน้า 2. การเป็นตัวอย่างที่ดี 3. การสร้างความเชื่อถือและความสัมพันธ์ 4. การปรับตัวและบูรณาการ และ 5. การพัฒนาและการสร้างฐาน โดยการเน้นการพัฒนาและสร้างฐานที่มั่นคงให้กับคณะสงฆ์เพื่อให้สามารถเติบโตและพัฒนาต่อไปได้ด้วยวิธีการเผยแผ่ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ดังนี้ 1) การแสดงตัวอย่างที่ดี 2) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 3) การสร้างฐานและการยอมรับ และ 4) การบริหารจัดการแบบบูรณาการ และหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ คือ 1) การส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน 2) การเผยแผ่ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง 3) การวางแผนยุทธศาสตร์และการพัฒนาทักษะ 4) การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมและ 5) การใช้วิธีการที่ผสมผสาน เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างดีที่สุด</p> ปรีชา สาเส็ง Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 651 664 เส้นทางการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/274434 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วโดยการมุ่งศึกษาคุณลักษณะของประเทศที่พัฒนาแล้ว และการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการขององค์การสหประชาชาติ คุณลักษณะที่แตกต่างกันของประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาน้อยพบว่าประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานของสหประชาชาติในประเทศไทยได้ร่วมลงนามในกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี พ.ศ. 2565-2569 (UNSDCF) กับรัฐบาลไทย กรอบความร่วมมือนี้ได้ให้ความสนับสนุนด้านการพัฒนาที่ระบบสหประชาชาติมอบให้กับประเทศไทยเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายอันสูง สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ. 2030 และก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต กรอบความร่วมมือได้รับการออกแบบโดยอิงหลักการของสหประชาชาติที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หลักสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาคทางเพศ หลักความยั่งยืน และหลักภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต และหากประเทศไทยยึดมั่นในเส้นทางนี้ร่วมมือกับสหประชาชาติแล้วอย่างจริงจัง จะสามารถยกระดับเป็นประเทศพัฒนาแล้ว</p> พีระ รัตนวิจิตร ฐิตวัฒน เชาวลิต อดิศร บุญธรรม ศรัณยพงศ์ อนิวัตกูลชัย Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 665 577 สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/274057 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษยชาติทั่วทุกมุมโลกมีความรู้ความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน และมีการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติอันประกอบด้วยประเทศที่เป็นสมาชิกได้มีการลงมติรับรองและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นหลักการที่สำคัญยิ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยประเด็นหลักของสิทธิมนุษยชนคือ หลักความเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกหรือถูกเลือกปฏิบัติ มีสิทธิด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมการเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน หลักสิทธิมนุษยชนจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาคมโลกจะต้องเรียนรู้ และมีความเข้าใจที่ตรงกัน ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างทั้งในประเทศและระหว่างประเทศด้วยวิสัยทัศน์และการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล อันจะได้ซึ่งสันติสุขและความสงบสุขของประชาคมโลก</p> สีมา สีมานันท์ เตวิช พฤกษ์ปีติ มุนินท ปานิสวัสดิ์ ชัยธนภัทร ชัยะโสตถิ Copyright (c) 2024 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2024-08-31 2024-08-31 7 2 678 688