วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit <p><em> วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em> เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ของศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกตีพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาษาไทย วรรณคดีไทย วรรณกรรมไทย คติชนวิทยา รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา การเรียนการสอนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย</p> <p><em> วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em> อยู่ใน TCI กลุ่มที่ 2 (ปี 2565-2567) เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม) <em>กองบรรณาธิการวารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em> ยินดีรับพิจารณาต้นฉบับผลงานวิชาการในศาสตร์สาขาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ผลงานที่ส่งมาให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการฉบับใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น </p> <p> บทความที่ส่งมาให้<em>วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em>พิจารณาตีพิมพ์ จะได้รับการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด</p> <p> <strong><em>วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em>ไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้เขียนบทความในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณาและตีพิมพ์เผยแพร่</strong><br /><br /> ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564) วารสารภาษาและวรรณคดีไทยได้ยกเลิกการจัดพิมพ์รูปเล่มและดำเนินการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์เท่านั้น<br /><br /> ISSN 0857 - 037X (Print)<br /> ISSN 2773 - 9872 (Online)</p> Faculty of Arts, Chulalongkorn University th-TH วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 0857-037X บทบรรณาธิการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/273497 ชัยรัตน์ พลมุข Copyright (c) 2024 2024-06-28 2024-06-28 41 1 (มกราคม-มิถุนายน) (1) (1) คำไทย-คำเทศ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/273493 ชัยรัตน์ พลมุข อัสนี พูลรักษ์ Copyright (c) 2024 2024-06-27 2024-06-27 41 1 (มกราคม-มิถุนายน) 158 170 หน้าที่และความหมายของคำว่า “แล” ในภาษาไทยสมัยสุโขทัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/264965 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่และความหมายของคำว่า “แล” ในภาษาไทยสมัยสุโขทัย โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารประเภทจารึกสมัยสุโขทัยจำนวน 41 หลัก ในการวิเคราะห์หน้าที่ของคำว่า “แล” ผู้วิจัยอาศัยเกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ ส่วนการวิเคราะห์ความหมายพิจารณาจากปริบทการปรากฏ การแทนคำหรือวลีเกือบพ้องความหมาย ความหมายที่มีนักไวยากรณ์ได้ให้ไว้ และเกณฑ์ในการจำแนกคำเชื่อมตามความหมายของนววรรณ พันธุเมธา (2549)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า คำว่า “แล” สามารถจำแนกหน้าที่ได้ 4 หน้าที่ ได้แก่ (1) คำเชื่อม (2) คำลงท้าย (3) ตัวบ่งชี้เรื่อง (4) คำขยายบอกหน่วยหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ส่วนคำว่า “แล” ที่เป็นคำเชื่อม สามารถจำแนกหน้าที่ย่อยได้ 3 หน้าที่ ได้แก่ คำเชื่อมนามวลี คำเชื่อมกริยาวลี และคำเชื่อมประโยคหรือปริจเฉท และคำว่า “แล” มีความหมายทั้งสิ้น 6 ความหมาย ได้แก่ (1) บอกผู้ร่วมเหตุการณ์ (2) บอกความเพิ่ม (3) บอกการเริ่มความใหม่ (4) บอกความต่อเนื่อง (5) บอกการเน้น และ (6) บอกหน่วยหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม</p> ชินภัทร หนูสงค์ วิภาส โพธิแพทย์ Copyright (c) 2024 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 2024-06-27 2024-06-27 41 1 (มกราคม-มิถุนายน) 1 26 การขยายความหมายของคำว่า “หนัก” และ “เบา” ในภาษาไทยปัจจุบัน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/266126 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการขยายความหมายของคำว่า “หนัก” และ “เบา” ในภาษาไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูล Thai National Corpus จำนวน 300 ตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้แนวคิดพหุนัยอย่างมีหลักการและอุปลักษณ์กับนามนัย ผลการศึกษาพบว่า คำว่า “หนัก” และ “เบา” เป็นคำตรงข้าม แสดงความหมายในวงความหมายที่สอดคล้องกันทั้งสิ้น 7 วงความหมาย ได้แก่ “น้ำหนัก” “แรงที่กระทบเป้าหมาย” “ระดับความดังหรือความแรงของเสียง” “ระดับความยากลำบาก” “ระดับความซับซ้อนของเนื้อหา” “ประเภทของอาหาร” และ “ระดับความรุนแรง” ส่วนวงความหมาย “แนวโน้มของสภาพที่เกิดขึ้น” ปรากฏในคำว่า “หนัก” เท่านั้น ไม่ปรากฏในคำว่า “เบา” โดยวงความหมาย “น้ำหนัก” เป็นวงความหมายต้นแบบที่ขยายไปสู่วงความหมายอื่น ๆ ในลักษณะการแผ่รัศมี ความหมายที่ขยายออกมาดึงนัยของความหมาย “น้ำหนัก” แตกต่างกัน ทั้งนี้กลไกนามนัยเป็นกลไกปริชานหลักที่ผลักดันให้เกิดการขยายความหมายของคำว่า “หนัก” และ “เบา” ส่วนกลไกอุปลักษณ์เป็นเพียงกลไกรอง การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการขยายความหมายของคำที่มีความหมายตรงข้ามกันนั้นมีความสอดคล้องกัน</p> นฤบาล เหลืองรุ่งอุดม Copyright (c) 2024 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 2024-06-27 2024-06-27 41 1 (มกราคม-มิถุนายน) 27 62 กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/270857 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้เสนอข่าวใช้ในปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย มีขอบเขตการเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 4 เว็บไซต์ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด และคมชัดลึก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้เสนอข่าวเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับ<br />การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยจำนวน 13 กลวิธี และเมื่อพิจารณากลวิธีทางภาษาทั้ง 13 กลวิธีตามเกณฑ์หน้าที่ในการสื่อสาร สามารถจำแนกกลวิธีทางภาษาได้จำนวนทั้งสิ้น 7 กลวิธี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้สารของข่าวที่นำเสนอ 2. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อเรียกร้องและดึงดูดให้ผู้อ่านข่าวสนใจสารของข่าวที่นำเสนอ 3. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อทำให้ผู้อ่านข่าวจากหลากหลายกลุ่มเข้าใจสารของข่าวที่นำเสนอ 4. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่านข่าวกระทำหรือไม่กระทำตามสารของข่าวที่นำเสนอ 5. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อแสดงทัศนคติหรือความคิดเห็นหรืออารมณ์ความรู้สึกของผู้เสนอข่าวหรือผู้เป็นข่าวที่มีต่อสารของข่าวที่นำเสนอ 6. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อสร้างสารของข่าวให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม และ 7. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อทำให้การนำเสนอสารของข่าวมีความกระชับ</p> <p>ผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นลักษณะเด่นด้านกลวิธีทางภาษาที่ผู้เสนอข่าวใช้ในปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยว่านอกจากจะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สารที่สื่อแล้ว กลวิธีทางภาษาดังกล่าวยังช่วยโน้มน้าวให้กลุ่มผู้อ่านที่มาจากหลากหลายกลุ่มเข้าใจสารและกระทำหรือไม่กระทำตามที่นำเสนอ อีกทั้งช่วยเรียกร้องและดึงดูดความสนใจในทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นมหันตภัยร้ายแรงใหม่ที่เกิดขึ้นได้กับทุกบุคคล และเป็นโรคที่จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจทั่วไปในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ ผู้เสนอข่าวจึงต้องเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบโน้มน้าวให้บุคคลหลากหลายกลุ่มเข้าใจและเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม</p> สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 2024-06-27 2024-06-27 41 1 (มกราคม-มิถุนายน) 63 108 คำขับงูลาย: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/270970 <p style="font-weight: 400;">บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “การศึกษาวรรณกรรมไทลื้อเรื่องคำขับงูลาย” อันเป็นปลายทางของการปรับเปลี่ยนวรรณกรรมชาดกนอกนิบาตเดิมที่ชื่อ “นิยายลายงู” ในดินแดนล้านนาซึ่งนิยมจารบนใบลาน เมื่ออิทธิพลของศาสนานำพาตัวอักษร ภาษา และเรื่องราวไปยังชาวไทลื้อที่อาศัยในสิบสองพันนา ทำให้นิยายลายงูมีการปรับรูปแบบการประพันธ์เป็น “คำขับ” และบันทึกลงในกระดาษที่เรียกว่า “พับหัว” มีการปรับเปลี่ยนอนุภาคบางส่วน รวมถึงลดและเพิ่มเติมเนื้อหาของนิยายลายงูฉบับใบลานมาเป็น “คำขับฅ่าวงูลายฉบับพับหัว” โดยมีเนื้อเรื่องที่เข้าถึงวิถีชีวิตความเชื่อสังคมชาวไทลื้อในสิบสองพันนามากขึ้น แต่ยังคงการเขียนรูปแบบชาดกไว้เหมือนฉบับใบลาน จนกระทั่งการปฏิวัติวัฒนธรรมจีนเข้ามาควบคุมกลุ่มชาติพันธุ์ในสิบสองพันนา มีการบังคับให้ใช้ตัวอักษรไทลื้อใหม่ หลังจากการปฏิวัติวัฒนธรรมสิ้นสุดลง ใน พ.ศ. 2522 มีขบวนการรื้อฟื้นวรรณกรรมพื้นบ้าน จึงเกิดการตีพิมพ์วรรณคดีโบราณด้วยอักษรไทลื้อแบบใหม่หลายเล่ม ซึ่ง “คำขับงูลายฉบับหนังสือพกพา” พ.ศ. 2529 เป็นส่วนหนึ่งในวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ “นิยายลายงูฉบับใบลาน” “คำขับฅ่าวงูลายฉบับพับหัว” จนมาถึง “คำขับงูลายฉบับหนังสือพกพา” แต่ละฉบับมีส่วนที่ปรับเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด ดังนี้ 1) รูปแบบการประพันธ์ 2) เนื้อเรื่อง 3) ชื่อเรียกตัวละคร 4) ความเชื่อและคำสอน ซึ่งแสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนตามความแตกต่างระหว่างยุคสมัย ความเชื่อ วัฒนธรรม และโลกทัศน์สังคม อันเป็นปัจจัยที่ทำให้จุดประสงค์ของผู้แต่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป</p> อรพรรณ สุวรรณา กังวล คัชฌิมา Copyright (c) 2024 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 2024-06-27 2024-06-27 41 1 (มกราคม-มิถุนายน) 109 157