วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit <p><em> วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em> เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ของศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกตีพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาษาไทย วรรณคดีไทย วรรณกรรมไทย คติชนวิทยา รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา การเรียนการสอนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย</p> <p><em> วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em> อยู่ใน TCI กลุ่มที่ 2 (ปี 2565-2567) เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม) <em>กองบรรณาธิการวารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em> ยินดีรับพิจารณาต้นฉบับผลงานวิชาการในศาสตร์สาขาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ผลงานที่ส่งมาให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการฉบับใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น </p> <p> บทความที่ส่งมาให้<em>วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em>พิจารณาตีพิมพ์ จะได้รับการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด</p> <p> <strong><em>วารสารภาษาและวรรณคดีไทย</em>ไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้เขียนบทความในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณาและตีพิมพ์เผยแพร่</strong><br /><br /> ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564) วารสารภาษาและวรรณคดีไทยได้ยกเลิกการจัดพิมพ์รูปเล่มและดำเนินการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์เท่านั้น<br /><br /> ISSN 0857 - 037X (Print)<br /> ISSN 2773 - 9872 (Online)</p> th-TH [email protected] (Thaneerat Jatuthasri) [email protected] (Ms. Waraporn Puangjunhaum) Wed, 27 Dec 2023 09:17:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/269733 ธานีรัตน์ จัตุทะศรี Copyright (c) 2023 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/269733 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 คำไทย-คำเทศ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/269734 ชัยรัตน์ พลมุข, อัสนี พูลรักษ์ Copyright (c) 2023 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/269734 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 คำยืมภาษาไทยในวรรณคดีเขมรเรื่องรามเกียรติ์: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/264211 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำยืมภาษาไทย รวมทั้งหน้าที่ของคำยืมเหล่านั้นที่ปรากฏในวรรณคดีเขมรเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนไวยราพณ์ร่ายมนต์สะกดเอาพระรามไปได้ ผลการศึกษาพบว่า คำยืมภาษาไทยที่พบในตอนดังกล่าวของวรรณคดีเขมรเรื่องรามเกียรติ์ มีจำนวน 39 คำ จำแนกโดยใช้ความหมายเป็นเกณฑ์ได้ 4 หมวด ได้แก่ 1) คำศัพท์ที่เกี่ยวกับชีวิต สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1.1) คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย 1.2) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางกาย และ 1.3) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางใจ 2) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรม สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ 2.1) คำเรียกขาน 2.2) คำเรียกดินแดน 2.3) คำเรียกเรื่องราวที่เกิดขึ้น 2.4) ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน 2.5) เพลงหน้าพาทย์ 2.6) ตำแหน่งขุนนางในราชสำนัก 3) คำศัพท์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 3.1) แร่ธาตุ 3.2) ธรรมชาติที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ 3.3) สภาพธรรมชาติที่แสดงลักษณะทางกายภาพของคน สัตว์ สิ่งของ และ 4) คำศัพท์เบ็ดเตล็ด สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1) คำบอกจำนวน 2) คำบอกหมวดหมู่ 3) คำบอกตำแหน่ง ส่วนหน้าที่ของคำยืมภาษาไทย มี 3 ประการ คือ เขมรยืมไปใช้เป็นคำสามัญ ใช้เป็นคำสื่อถึงสถานภาพและความสัมพันธ์ของตัวละคร และใช้สร้างความงามทางวรรณศิลป์</p> ชาญชัย คงเพียรธรรม Copyright (c) 2023 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/264211 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 กลวิธีการปฏิเสธคำแนะนำของผู้เรียนภาษาไทยชาวจีน: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/266371 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตอบปฏิเสธคำแนะนำของผู้เรียนภาษาไทยชาวจีน โดยเปรียบเทียบกับผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจีนกลาง ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีที่ผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนนิยมเลือกใช้ในการตอบปฏิเสธคำแนะนำ 3 อันดับแรก ได้แก่ กลวิธีการให้เหตุผล กลวิธีการขอบคุณ และกลวิธีการปฏิเสธคำแนะนำแบบตรงไปตรงมา ส่วนผู้พูดภาษาไทยนิยมเลือกใช้กลวิธีการให้เหตุผล กลวิธีเกี่ยวกับทางเลือก และกลวิธีการขอบคุณตามลำดับ สำหรับผู้พูดภาษาจีนกลางนิยมเลือกใช้กลวิธีการให้เหตุผลมากที่สุด และนิยมเลือกใช้กลวิธีการปฏิเสธคำแนะนำแบบตรงไปตรงมา และกลวิธีการขอบคุณเป็นอันดับสอง ส่วนกลวิธีที่นิยมเลือกใช้เป็นอันดับสาม คือ กลวิธีเกี่ยวกับทางเลือก นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนมีการใช้กลวิธีการตอบปฏิเสธหลากหลายกว่าผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจีนกลาง ในด้านการปรากฏร่วมของกลวิธีพบว่า ผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนใช้กลวิธีร่วมกันเพื่อปฏิเสธมากกว่าผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจีนกลาง</p> รุย หลิว, ประไพพรรณ พึ่งฉิม Copyright (c) 2023 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/266371 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสืบทอดและสร้างสรรค์แนวคิดเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในบทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/265251 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในบทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 จำนวน 30 ชื่อเรื่อง รวม 235 สำนวน ผลการศึกษาพบว่า บทอาศิรวาทซึ่งเป็นบทร้อยกรองขนาดสั้นที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรพระมหากษัตริย์รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสสำคัญ มีการสืบทอดแนวคิดเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ที่มีมาแต่เดิม ทั้งแนวคิดตามคติศาสนา ได้แก่ ธรรมิกราชา โพธิสัตวราชา จักรพรรดิราชา และเทวราชา แนวคิดพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถด้านการปกครองและศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประชาราษฎร ขณะเดียวกันก็มีการนำแนวคิดเฉลิมพระเกียรติที่มีมาแต่เดิมมาตีความใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทสังคม นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอแนวคิดใหม่ เช่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำบ้านเมืองเข้าสู่โลกสมัยใหม่และเป็นพระประมุขของชาติตามรัฐธรรมนูญ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของบทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 ในฐานะวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมัยใหม่ที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่สัมพันธ์กับยุคสมัยและความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน</p> ปารเมศ อภัยฤทธิรงค์, อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล Copyright (c) 2023 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/265251 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในเรื่องเล่าความทรงจำประเภทวรรณคดีและเกร็ดประวัติศาสตร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/267956 <p>พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นที่จดจำในปัจจุบันในฐานะศิลปินเอก กระนั้นยังมีเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดภาพของพระองค์ในลักษณะอื่น บทความวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการนำเสนอภาพของพระองค์ในเรื่องเล่าความทรงจำ 2 ประเภท ได้แก่ วรรณคดี 7 เรื่อง และเกร็ดประวัติศาสตร์ 17 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทวรรณคดีเสนอภาพ 4 ภาพ ได้แก่ ภาพกษัตริย์นักรบ ภาพกษัตริย์ผู้เป็นที่เคารพของนานาชาติ ภาพกษัตริย์ศิลปินผู้ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภาพกษัตริย์ผู้ทรงสิทธิธรรม ภาพเหล่านี้มีลักษณะร่วมกันคือ แสดงภาพกษัตริย์ในอุดมคติตามขนบการยอพระเกียรติ แต่เหตุการณ์ที่นำเสนอมีความแตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคติกษัตริย์และมุมมองด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ ส่วนตัวบทเกร็ดประวัติศาสตร์นำเสนอภาพ 2 ภาพ ได้แก่ ภาพชายหนุ่มผู้มีความรักร้อนแรง และภาพผู้สืบสายเลือดแห่งบรมราชจักรีวงศ์ ด้านหนึ่ง ภาพกลุ่มนี้สอดคล้องกับจุดเด่นของเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เน้นเรื่องราวส่วนตัวในราชสำนัก ขณะเดียวกันก็สะท้อนการเน้นคติ “อุภโตสุชาติ” และอิสริยยศเจ้าฟ้า เรื่องเล่าความทรงจำทั้ง 2 ประเภทจึงแสดงความสำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยต่อสังคมไทย และสะท้อนว่าความทรงจำที่มีต่อพระองค์นั้นก็ยึดโยงอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนไทยที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัยด้วย</p> ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล, ทศพล ศรีพุ่ม Copyright (c) 2023 วารสารภาษาและวรรณคดีไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/267956 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700