https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/issue/feed วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30T18:30:12+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ journal-research@western.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพรอบที่ 4 พ.ศ. 2563 – 2567 จัดอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI 2 กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) หมายเลข ISSN 2465-3578 (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2774-0129 (Online) ที่พิมพ์เผยแพร่ บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 3 ท่าน หลากหลายสถาบัน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-Blind Review) </p> <p>Published Rate (อัตราค่าตีพิมพ์) 6,000 บาท</p> https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/272154 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชายุคใหม่ 2024-05-13T09:36:16+07:00 กรกฤช ศรีวิชัย kting15@hotmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชายุคใหม่ โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันของโลกมีความเจริญก้าวหน้า ในหลายๆ ด้าน แต่ก็มีปัญหามากมายเกิดขึ้นตามมา โดยแต่ละปัญหาก็มีความซับซ้อนมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและมีการเตรียมความพร้อมในการบริหารและจัดการสถานศึกษาในรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งจากภายในและภายนอกสถานศึกษาที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ (1) การมีวิสัยทัศน์และความเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง (Vision) (2) ความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ที่หลากหลาย (Knowledge) (3) การมีทักษะในการบริหารสถานศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและแตกต่างตามบริบทและสถานการณ์ (Skills) (4) การมีความรู้และความสามารถในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ (Apply) (5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรภายนอกและรับฟังข้อเสนอแนะจากทีมงาน ผู้ปกครองและนักเรียน (Team Work) หรือเรียกว่า VK-SAT เพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายของความสำเร็จที่ได้ตั้งไว้ โดยให้ครอบคลุมภาระงานของโรงเรียนกวดวิชาใน 6 ด้าน คือ (1) งานวิชาการ (2) งานธุรการและงานทั่วไป (3) งานกิจการนักเรียน (4) งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม (5) งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา และ (6) งานสื่อสารและส่งเสริมการตลาด</p> <p> </p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/272868 Word Retention based on the Picture Word Inductive Model (PWIM) among Thailand’s Twelfth Graders 2024-06-06T14:14:22+07:00 Pipatpong Taipipatkit leang_za@hotmail.com <p>This study investigates the effectiveness of the Picture Word Inductive Model (PWIM) in enhancing vocabulary retention among 40 twelfth-grade students which consist of 23 males and 17 females in a bilingual school in Thailand. The research aimed to address the following questions: (1) Is there a significant improvement in vocabulary retention by the use of pictures based on PWIM? (2) To what extent does the use of pictures based on PWIM facilitate the word retention rate among twelfth-grade students? The participants, aged 16 to 19, were selected using purposive sampling, focusing on students with low grades (1-2), equivalent to grades C and D in English. The tools used in the study were designed to measure different aspects of vocabulary learning and retention. A vocabulary screening test was administered to establish baseline vocabulary knowledge. Following the instructional intervention using PWIM, an immediate post-test was conducted to assess vocabulary acquisition right after the intervention. Finally, a delayed post-test was administered two weeks later to evaluate long-term retention. The results indicated significant vocabulary acquisition immediately following the PWIM intervention, which addresses the first research question. However, for the second research question, the findings showed no statistically significant differences in long-term retention between the immediate and delayed post-test scores. This suggests that while PWIM is effective for immediate vocabulary learning, its impact on long-term retention requires additional reinforcement strategies. The study discusses the implications for educational practice and suggests directions for future research.</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/272815 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพของนักศึกษา ในสาขาด้านศิลปะการประกอบอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-06-06T14:08:22+07:00 กชพร นามะสงค์ kodchaporn.na@dtc.ac.th ประวีณา คาไซ Kodchaporn.na@dtc.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสาขาด้านศิลปะการประกอบอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสาขาด้านศิลปะการประกอบอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางสำหรับสถานประกอบการในการกำหนดนโยบาย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมจากแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด และสัมภาษณ์เชิงลึก (In Dept Interview) ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured interview) การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของงาน มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพมากที่สุด ปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านความสนใจและความสามารถ มีความสัมพันธ์กับการเลือกอาชีพมากที่สุด 2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่าปัจจัยด้านภูมิลำเนาเดิม มีความสัมพันธ์กับ การเลือกอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพียงด้านเดียว 3) แนวทางสำหรับสถานประกอบในการกำหนดยโยบายเพื่อจูงใจมีดังนี้ 1) สถานประกอบการควรมีโครงการสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ 2) สถานประกอบการควรมีการจัดสรรผลตอบแทนและสวัสดิการให้ตรงกับความต้องการของนักศึกษา 3) สถานประกอบการควรเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีการแสดงศักยภาพในการทำงานของตนอย่างเต็มที่ 4) สถานประกอบการควรมี การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคคลภายนอก และควรรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/273656 การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย กรณีศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-07-25T15:50:34+07:00 คุณัณญา ปรินจิตร์ kpiorganization@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยผ่านการศึกษา Eco-system ของอุตสาหกรรมยางพารา รวมถึงการวิเคราะห์แนวทางเพิ่มมูลค่าและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมยาง จากกรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้กระบวนการวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-depth interview) โดยผลการศึกษาพบว่า รัฐควรดำเนินมาตรการดังนี้ 1. แก้ไขโครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมยางพารา 2. มาตรการรวมกลุ่มการผลิตของอุตสาหกรรมยางพารา 3. มาตรการการสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. มาตรการตรวจสอบย้อนกลับ และ มาตรการการใช้ยางภายในประเทศ โดยพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ)ควรรวมกลุ่มคลัสเตอร์บนพื้นฐานการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอุตสาหกรรมนำร่อง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์สนับสนุนการแปรรูปล้อยางกลุ่มผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น และกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จำพวกยางรองเท้าและไม้ยาง ซึ่งหากเกิดการรวมกลุ่มจะทำให้มีมูลค่าการลงทุน 8.8 หมื่นล้านบาท จากการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในที่เกิดจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 6.8 แสนล้านบาท การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 2 แสนล้านบาทส่งผลต่อความต้องการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านตัน สามารถสร้างงานในพื้นที่ 45,000 คน เกษตรกรชาวสวนยางจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 22,000 บาทต่อไร่ รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/274502 การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17(2) ในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-08-19T08:25:59+07:00 ชุลีพร รักษายศ nui_chu_anne@hotmail.com วรรณวิภา เมืองถ้ำ nui_chu_anne@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษ กรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมาย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยอาศัยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ พระราชบัญญัติ รวมทั้งเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษ กรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว มุ่งเน้นให้การบังคับใช้กฎหมายมีความแน่นอน รวดเร็วและเสมอภาค (2) เมื่อเปรียบเทียบกฎหมาย พบว่า ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมายกลาง ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวส่วนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐบัญญัติแห่งสหพันธ์ว่าด้วยการกระทำผิดทางปกครอง เป็น “กฎหมายกลาง”เพื่อใช้ในการพิจารณาและกำหนดโทษสำหรับความผิดที่ไม่ร้ายแรง และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ไม่มีการตรากฎหมายกลางไว้เป็นการเฉพาะ (3) เมื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายพบว่า ประเทศไทยสูญเสียอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ไม่มีบัญชีฐานความผิดและอัตราโทษที่ใช้บังคับให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และถูกจำกัดตัวบุคคลผู้มีอำนาจการ</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/271842 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-04-18T11:03:43+07:00 นฤมล แต้มแก้ว combunwa99@gmail.com ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์ combunwa99@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการบริการด้านขนส่ง (7R) ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ และการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ควรและกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 385 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่ใช้ในการบริการด้านขนส่ง (7R) ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ด้านการขนส่งจำนวนที่ถูกต้องมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาด้านการขนส่งไปยังสถานที่ถูกต้อง รองลงมาด้านการบริการต้นทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม รองลงมาด้านการขนส่งเพื่อลูกค้าที่ถูกต้อง และด้านการขนส่งสภาพที่ถูกต้องมีค่าน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ 7R (7 Rights of Logistics ) ควรปรับปรุงด้านการขนส่งสภาพที่ถูกต้อง กับลูกค้าเป็นลำดับแรก (2) ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุเอกชนมีค่าเฉลี่ย 3.89 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้ามีค่ามากที่สุดรองลงมาด้านความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการและด้านรู้จักและเข้าใจลูกค้า มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด</p> <p> </p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/274411 ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา กรณีคุกคามทางเพศ : ศึกษากรณีการสะกดรอยตาม 2024-08-19T08:23:41+07:00 นัฐพัชร์สร ศิริผล nutphatsorn.sp@gmail.com วรรณวิภา เมืองถ้ำ nutphatsorn.sp@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญา กรณีการคุกคามทางเพศในรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม (2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญา กรณีการคุกคามทางเพศในรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตามในประเทศไทยกับเครือรัฐออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตาม (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดในการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตาม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการจากเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตามมุ่งให้ความสำคัญถึงผลกระทบและการคุ้มครองผู้ถูกคุกคาม (2) กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของประเทศไทยเป็นเพียงความผิดลหุโทษ ส่วนเครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษมีการกำหนดความหมาย ลักษณะ พฤติกรรม และการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายจากการคุกคามทางเพศโดยวิธีการสะกดรอยตาม รวมถึงบทลงโทษของการฝ่าฝืนความคุ้มครองผู้ถูกคุกคามไว้อย่างชัดเจน (3) การยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ให้การคุกคามทางเพศเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ร่างดังกล่าวก็ยังไม่ครอบคลุมปัญหาการคุกคามทางเพศรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม ต่างจากเครือรัฐออสเตรเลียและสหราชอาณาจักรได้มีกฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศรูปการสะกดรอยเฝ้าติดตามเป็นการเฉพาะ(4) เสนอให้มีการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อบังคับใช้ในกรณีการคุกคามทางเพศรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/269420 การตัดสินใจซื้อยาในร้านขายยาแผนปัจจุบัน ของผู้บริโภควัยทำงานในเขต พื้นที่สายไหมกรุงเทพมหานคร 2024-01-16T16:38:59+07:00 บรรจบ ศรีนาคำ banjob.srin@northbkk.ac.th ปัทมา รูปสุวรรณกุล Banjob.Sri@northbkk.ac.th สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล Banjob.Sri@northbkk.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อยาในร้านขายยาแผนปัจจุบันของผู้บริโภควัยทำงานในเขตพื้นที่สายไหม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-Test แล F-test ผลการวิจัยพบว่าการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศที่ต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อในขั้นตระหนักถึงปัญหา จากร้านขายยาของผู้บริโภค วัยทำงานในพื้นที่เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพและ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่พบความแตกต่าง</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/274412 แบบจำลองข้อมูลปัญหาการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว 2024-08-14T16:20:07+07:00 เบญญาดา กระจ่างแจ้ง mp.yanin@gmail.com ญาณิน พัดโสภา benyada@buu.ac.th อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์ benyada@buu.ac.th <p>การศึกษาแบบจำลองข้อมูลปัญหาการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและสร้างแบบจำลองข้อมูลปัญหาการปลูกมันสำปะหลัง ของเกษตรกรในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 2) เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด และ 3) ตัวแทนลานรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาหลักของการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จำแนกได้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการผลิต 2) การตลาด 3) การจัดการ และ 4) การเงิน โดยปัญหาด้านการผลิต เป็นปัญหาสำคัญที่สุดของเกษตรกร โดยสาเหตุหลักมาจากโรคและแมลงศัตรูพืช ที่ส่งผลต่อจำนวนปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังที่ส่งเข้าโรงงานลดลง รองลงมาเป็นปัญหาด้านการตลาด เรื่องราคาผลผลิตในตลาดมีราคาต่ำและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่มีจำนวนน้อย ลำดับต่อไปเป็นปัญหาด้านการจัดการพื้นที่ การปลูกมันสำปะหลังให้เหมาะสม และปัญหาด้านการเงิน ตามลำดับ</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/273129 ผลการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 2024-06-17T10:28:28+07:00 พงศ์พณิช คณะนาม pongpanit.k27@gmail.com นภาภรณ์ ธัญญา pongpanit.k27@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ กลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั้งก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแท่นทัพไทย จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยมีการใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ ในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 1 หน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ ในระดับประถมศึกษาชั้นปที่ 6 3) แบบวัดความพึงพอใจหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรูแบบร่วมมือโดยใชรูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที ค่าความเที่ยงตรง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความยากง่าย ผลการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งพบว่า 1) ค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตแบบสามมิติ หลังจากการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยการใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD มีค่าสูงขึ้นมากกว่าก่อนเรียน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ JIGSAW ร่วมกับ STAD โดยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/272936 ศึกษาสภาพของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบนพื้นที่สูง ในถิ่นทุรกันดารที่มีระดับความยุ่งยากมากที่สุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ 2024-06-11T16:46:36+07:00 พัฒน์อนิญช์ ตระกูลอินคอม phatanin.1981@gmail.com จรัญญา เทพพรบัญชากิจ phatanin.1981@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบนพื้นที่สูง ในถิ่นทุรกันดาร ที่มีระดับความยุ่งยากมากที่สุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาสภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 258 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า1. ผลการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่ามี 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร 3) การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน 4) การอำนวยการ 5) การประสานงาน 6) การรายงาน องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการตามระบบการดูแลช่วยเหลือ ประกอบด้วย 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมพัฒนานักเรียน 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 5) การส่งต่อนักเรียน องค์ประกอบที่ 3 บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำชั้น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สภานักเรียน และผู้ปกครองสภานักเรียน 2. สภาพของการบริหารของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ที่มีระดับความยุ่งยากมากที่สุดของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/274124 การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจอาหารเสริม 2024-08-01T14:52:08+07:00 พิทยุช ญาณพิทักษ์ te_pit@hotmail.com ญาณกร วรากุลรักษ์ te_pit@hotmail.com พรทวี พูลกลาง te_pit@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของธุรกิจอาหารเสริม 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านสื่อออนไลน์ของธุรกิจอาหารเสริม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) จำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ซึ่งเป็นผู้ดูแลภาพรวมการสื่อสารทุกกลุ่ม ผู้จัดการอาวุโส ซึ่งเป็นผู้ดูแลการสื่อสารกลุ่มอาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ ผู้ช่วยผู้จัดการอาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้ดูแลการสื่อสารกลุ่มอาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ ฝ่ายกลยุทธ์และ การวางแผนการตลาดออนไลน์ ซึ่งเป็นผู้วางแผนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบเนื้อหา จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้ที่เคยใช้อาหารเสริมประเภทยา และวิตามินเพื่อสุขภาพ และศึกษาข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของธุรกิจอาหารเสริม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเข้าใจแบรนด์ 2) การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย 3) การสื่อสารที่ชัดเจน และ 4) การเข้าถึงทุกช่องทางที่ผู้บริโภค อยู่ และแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจอาหารเสริม เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งใหม่ที่ผู้บริโภคจะได้รับการสร้างคุณค่าที่มากกว่าการคาดหวังของผู้บริโภค การเพิ่มยอดขายจากปริมาณการซื้อของผู้บริโภค และความหลากหลายของผู้บริโภคในการซื้ออาหารเสริม และการสร้างความภักดีต่อแบรนด์</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/273857 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อโคขุนแดดเดียวเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสินค้าปศุสัตว์อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2024-07-30T12:10:06+07:00 ภัทราพร สมเสมอ pattraporn@rmutl.ac.th ณภัทร ทิพย์ศรี somsamer@gmail.com ธนีนุช เร็วการ somsamer@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) บริบทของการแปรรูปสินค้าวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสินค้าปศุสัตว์อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปโคเนื้อขุนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสินค้าปศุสัตว์อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ดำเนินการในรูปแบบการวิจัยแบบคุณภาพโดยใช้แนวคิดการบริหารจัดการ 5 ด้าน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นกรอบการวิจัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสินค้าปศุสัตว์อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 วิสาหกิจชุมชนฯ ดำเนินงานกลุ่มตามศักยภาพและบริบทที่มีอยู่ทั้งด้านการผลิต การเงิน การตลาด บุคลากร และการมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านการผลิตและการตลาดเป็นประเด็น อันดับต้นที่ควรได้รับการแก้ไข และ 2) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 สมาชิกมีความต้องการพัฒนา 3 ส่วนหลัก คือ (1) การใช้กระบวนการอบแห้งโดยตู้อบแทนการตากแดดซึ่งประหยัดเวลาในการผลิตประมาณ 50% (2) การเพิ่มรูปแบบเนื้อแดดเดียวแบบเส้นที่สามารถเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ และ (3) การพัฒนารสชาติใหม่ (มะแขว่น และหม่าล่า) ที่กลายเป็นทางเลือกใหม่ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การพัฒนาครั้งนี้เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้สมาชิกผลิตสินค้าได้หลากหลายในปริมาณมากขึ้นซึ่งนำไปสู่การสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน</p> <p> </p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/274515 การตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมืองไทย 2024-08-23T11:15:57+07:00 รัฐชฎา ฤาแรง Tapdow2012@gmail.com ศิริพงษ์ โสภา Tapdow2012@gmail.com ณรงค์ กระจ่างพิศ Tapdow2012@gmail.com เกรียงไกร กาญจนคูหา Tapdow2012@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมืองไทยจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันพรรคการเมืองมีการกำหนดนโยบายที่เน้นประชานิยมแบบให้เปล่า เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนเลือกพรรคของตน ซึ่งบางนโยบายหากได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินของประเทศอาจเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้งกฎหมายที่มีในปัจจุบันคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 57 กำหนดให้ พรรคการเมืองต้องจัดส่งนโยบายและข้อมูลงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินการ และผลกระทบของนโยบายต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงหน่วยงานเดียว ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบ ดังนั้นจึงควรกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง จัดส่งนโยบายของพรรคการเมืองให้กระทรวงการคลังตรวจสอบในกรณีที่มีความเห็นว่า นโยบายนั้นมีการใช้เงินเป็นจำนวนมาก และไม่แจ้งที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการอย่างชัดเจน เพื่อดูความเป็นไปได้ของการดำเนินการตามนโยบายหากพรรคการเมืองนั้นได้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาล</p> <p> </p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/272928 ผลการใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการสะท้อนคิด ที่มีต่อสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบรวมพลังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2024-06-11T16:38:10+07:00 วชิระ พิมพ์ปราโมทย์ wachira2408@gmail.com พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ wachira2408@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของการแก้ปัญหาแบบรวมพลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียน และหลังเรียนวิชาเคมี เรื่อง เคมีกับการแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการสะท้อนคิด 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบรวมพลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่ได้เรียนวิชาเคมี เรื่อง เคมีกับการแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการสะท้อนคิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 39 คน โรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการสะท้อนคิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบรวมพลัง แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบรวมพลัง แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาแบบรวมพลัง และแบบบันทึกอนุทินของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบรวมพลังหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทั้ง 3 สมรรถนะย่อย 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละจากการสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบรวมพลังอยู่ในระดับสูง และมีค่าใกล้เคียงกันทุกสมรรถนะย่อย ดังนั้น ในการใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการสะท้อนคิดจะส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบรวมพลังได้เนื่องจากนักเรียนได้ร่วมกันปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเอง ร่วมกันสะท้อนคิดการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/271406 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดแสมดำ 2024-03-25T13:27:31+07:00 ไวทยา ปิยรุ่งโรจน์ waitaya13@hotmail.com กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ Waitaya13@gmail.com สมาพร มณีอ่อน Waitaya13@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดแสมดำ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดแสมดำ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดแสมดำ ทั้งหมด 107 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 21.60 คิดเป็นร้อยละ 72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน มีค่าเท่ากับ 0.63 (&lt;g&gt; = 0.63) อยู่ในระดับปานกลาง หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.68)</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/274350 รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ 2024-08-08T13:57:44+07:00 สันติกรณ์ เขมาภิรมย์ santikonkhamapirom@gmail.com ไพรภ รัตนชูวงศ์ prawet_w@crru.ac.th <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบ การบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ การวิจัยเป็นแบบผสม ซึ่งมีทั้งเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ และปัจจัยด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ และแนวคิดองค์ประกอบรูปแบบมากำหนดเป็นกรอบการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย และครู สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ จำนวน 380 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และวิทยาลัยต้นแบบที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุดคือด้านการวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนรู้ รองลงมาได้แก่ด้านการสร้างกระบวนการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ ด้านการสร้างการเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการดำเนินงานของรูปแบบ 4) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการประเมินพบว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในระดับสูงสุด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้มีศักยภาพในการยกระดับการศึกษาในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคเหนือ โดยการประยุกต์ใช้ รูปแบบนี้ในสถานศึกษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ</p> <p> </p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/271849 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการส่งเสริมช่องทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของผลิตภัณฑ์ขนมไทย ร้านเรือนมารี ขนมไทยวิจิตร ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของลูกค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ 2024-07-26T10:44:04+07:00 สุวรรณ อาจคงหาญ rongrong@aru.ac.th รงรอง แรมสิเยอ rongrong@aru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการส่งเสริมช่องทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของผลิตภัณฑ์ขนมไทย ร้านเรือนมารี ขนมไทยวิจิตร โดยใช้ข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 ถึง มกราคม 2567 จากลูกค้าจำนวน 265 คน และข้อมูลการซื้อสินค้าหน้าร้านจากลูกค้าที่มาจากแพลตฟอร์มออนไลน์จำนวน 3,114 คน ที่มีการโต้ตอบและซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ การเก็บข้อมูลดำเนินการผ่าน Pivot Table โดยข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิจาก Instagram และ Facebook พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (76.23%) และช่องทาง Line Official มีการปิดการขายมากที่สุด (46.79%) ในขณะที่ Facebook เป็นช่องทางที่ลูกค้าเข้าถึงมากที่สุด (73.96%) การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของลูกค้าพบว่า การโปรโมทสินค้าใหม่มีการโต้ตอบสูงสุด (33.51%) ส่วนการซื้อสินค้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน (วันที่ 1-10) และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ อาลัววิจิตร (71.47%) การวิจัยนี้สรุปว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของร้านได้ดี และข้อมูลที่ได้รับจากการโต้ตอบของลูกค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์สามารถนำมาใช้เพื่อวางแผนการตลาดและเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p> </p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/271344 การเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ประเภทบำรุงผิวหน้า ของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร 2024-03-25T13:37:16+07:00 หทัยชนก บุญช่วย hathaichanok.boon@northbkk.ac.th สมยศ อวเกียรติ hathaichanok.boon@northbkk.ac.th สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล hathaichanok.boon@northbkk.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ประเภทบำรุงผิวหน้าของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 2) วิเคราะห์พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ประเภทบำรุงผิวหน้าของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ สตรีที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิตอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (MRA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสตรีในเขตกรุงเทพมหานครด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ประเภทบำรุงผิวหน้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สำหรับด้านสถานภาพ และอาชีพที่แตกต่างกันจะมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ประเภทบำรุงผิวหน้าไม่แตกต่างกัน และ 2) วัตถุประสงค์ในการเปิดรับสื่อออนไลน์เป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ประเภทบำรุงผิวหน้าของสตรีในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/273862 การยกเลิกโทษประหารชีวิต : ศึกษากรณีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จากการวางเพลิง 2024-07-24T09:38:06+07:00 อัญชัญ ยุติธรรม bluepea_kk@hotmail.com วนาภรณ์ พันธุ์พฤกษ์ anchan@vru.ac.th ภูมิ โชคเหมาะ anchan@vru.ac.th สกุนา ทิพย์รัตน์ anchan@vru.ac.th <p>การวิจัยเรื่อง การยกเลิกโทษประหารชีวิต ศึกษากรณีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์จากการวางเพลิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด หลักสิทธิมนุษยชน และการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กับการลงโทษประหารชีวิตตามหลักกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ ของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายการลงโทษประหารชีวิตในกรณีวางเพลิงเผาทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น กับกฎหมายไทย และเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงโทษที่มีความเหมาะสมกับฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์จากการวางเพลิง โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า การบังคับใช้บทลงโทษประหารชีวิตกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 218 นั้นไม่สอดรับกับกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศทางด้านการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งการใช้มาตรการลงโทษที่สูงเกินว่าเหตุย่อมเป็นการไม่สมเหตุสมผลระหว่างความผิดกับบทลงโทษ ด้วยเหตุที่ความผิดในลักษณะนี้ไม่ใช่ความผิดอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดตามหลักสากล จึงต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย การลงโทษประหารชีวิตของไทยให้มีความสอดคล้องกับหลักสากล ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 โดยยกเลิกบทลงโทษประหารชีวิตที่เป็นบทลงโทษสูงสุดในกรณีเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ออก และบัญญัติบทลงโทษสูงสุดเป็นการจำคุกตลอดชีวิต และเพิ่มเติมโทษปรับ เพื่อให้การกำหนดบทลงโทษมีความเหมาะสม และเป็นไปตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/274699 การพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนบ้านคีรีวงจังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-08-28T10:25:58+07:00 จรัสพงศ์ คลังกรณ์ phuwanai.ph@western.ac.th ภูวนัย เพ็ชรไปร่ phuwanai.ph@western.ac.th นิยม พัฒนศรี phuwanai.ph@western.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ศึกษาวิถีชีวิตแบบพี่งตนเองในลักษณะการเกื้อกูลพึ่งพาธรรมชาติ และแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนแบบพึ่งตนเอง ชุมชนบ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวทางการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์วิถีชีวิตชุมชน พื้นที่วิจัย คือชุมชนบ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นโดยธรรมชาติ ผู้นำกลุ่มอาชีพ ประชาชนที่ประสบความสำเร็จการประกอบอาชีพ และกลุ่มนักท่องเที่ยว รวมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านคีรีวง เริ่มมีราษฎรเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2366 โดยการพึ่งตนเองอยู่กับธรรมชาติ การดำรงชีพโดยการพึ่งพาอาศัยป่าธรรมชาติด้วยการเก็บหาของป่าที่มีอยู่เช่น ทุเรียน สะตอ ลางสาด มังคุด เป็นต้น เพื่อปรุงเป็นอาหารดำรงชีวิต และนำมาขายโดยไม่ทำลายธรรมชาติ การไปมาติดต่อใช้การเดินเท้า หาสู่กัน ต่อจากนั้นมีการพัฒนาด้วยการทำสวนผลไม้ลงในพื้นที่ไม่กว้างในลักษณะ “สวนสมรม” ประกอบด้วย สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ สวนลางสาด สวนจำปาดะ เป็นต้น โดยแนวทางการพัฒนาทางราชการได้มาพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้กับชุมชนได้ไปมาติดต่อกับภายนอก และได้ขนส่งผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาด การพัฒนายังไม่หยุดยั้งจนปัจจุบันชุมชนบ้านคีรีวง มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ ไว้รองรับประชาชนภายนอกที่เข้ามาท่องเที่ยว ดูวิถีชีวิตคนในชุมชน</p> <p> </p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024