วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ <p style="background: white; margin: 0in 0in 7.9pt 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; color: #2c3e50;">วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพรอบที่ </span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; color: #2c3e50;">4 <span lang="TH">พ.ศ. </span>2563 – 2567 <span lang="TH">จัดอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย </span>TCI 2 <span lang="TH">กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</span></span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; color: #2c3e50;"> <span lang="TH">ได้จัดทำเป็น </span>2 <span lang="TH">รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (</span>Print) <span lang="TH">หมายเลข </span>ISSN <span lang="TH">2465</span>-<span lang="TH">3578</span> (Print) <span lang="TH">และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (</span>Online) ISSN <span lang="TH">2774</span>-<span lang="TH">0129</span> (Online) <span lang="TH">ที่พิมพ์เผยแพร่ บทความวิจัย (</span>Research Article) <span lang="TH">และบทความวิชาการ (</span>Academic Article)</span></strong></p> <p style="background: white; margin: 0in 0in 7.9pt 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; color: #2c3e50;">บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; color: #2c3e50;">3 <span lang="TH">ท่าน หลากหลายสถาบัน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (</span>Double-Blind Review) </span></strong></p> <p style="background: white; box-sizing: border-box; font-variant-ligatures: normal; font-variant-caps: normal; orphans: 2; text-align: start; widows: 2; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration-thickness: initial; text-decoration-style: initial; text-decoration-color: initial; word-spacing: 0px; margin: 0in 0in 7.9pt 0in;"><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; color: #2c3e50;">Published Rate (<span lang="TH">อัตราค่าตีพิมพ์) </span></span><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; color: #2c3e50;">6,000 บาท</span></strong></p> <p> </p> มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น th-TH วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2465-3578 การกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงาน: กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268920 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และ 2) เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 22 บริษัท เก็บข้อมูลจากรายการประจำปีและงบการเงินของบริษัท แบบรายไตรมาสตั้งแต่ปี พ.ศ.2560–พ.ศ.2565 การวิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณาได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ โดยการเลือกตัวแปรด้วยการนำเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) การกำกับดูแลกิจการ: ด้วยจำนวนครั้งในการประชุมของคณะกรรมการ (BM) และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ (AC) ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทมีผลต่อการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) โดยจำนวนครั้งในการประชุมของคณะกรรมการและคณะกรรมการ 2) การกำกับดูแลกิจการ: ด้วยจำนวนของคณะกรรมการบริษัท (BS) จำนวนครั้งในการประชุมของคณะกรรมการ (BM) และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ (AC) มีผลต่อการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้แสดงให้ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้ใช้งบการเงินได้เห็นถึงความสำคัญของจำนวนของคณะกรรมการบริษัท การประชุมของคณะกรรมการ และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบต่อการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อความน่าเชื่อถือและการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ</p> กนกวรรณ พิศพันธ์ พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 1 14 กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/267718 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน (2) สร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีรูปแบบผสมผสาน ประชากร คือ ครู ผู้ปกครองและนักเรียนในโรงเรียนกวดวิชาพัฒนาวิชาการเชียงใหม่ แบ่งเป็น 3 ขั้น (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน จากผู้ให้ข้อมูล 156 คน โดยใช้แบบสอบถาม (IOC= 0.60-1.00, α= 0.94-0.97) และแบบสัมภาษณ์ (2) สร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันโดยรวม อยู่ระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด (2) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชา เพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมี 5 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง 50 วิธี (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ ได้ 5 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง 51 วิธี คือ (1) สรรหาและธำรงรักษาบุคลากรอย่างยั่งยืน (2) เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการบนพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ (3) ดูแลนักเรียนและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล (4) พัฒนางานบริการทางการศึกษาเชิงรุก (5) ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดวิชาการแนวใหม่</p> <p> </p> กรกฤช ศรีวิชัย จรัญญา เทพพรบัญชากิจ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 15 28 สมรรถนะดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปาง https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/269099 <p>สมรรถนะดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรด้านการศึกษาที่ต้องนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาระดับสมรรถนะดิจิทัลของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปาง และศึกษาสมรรถนะดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปางที่เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดลำปาง จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะดิจิทัลของบุคลากรด้านการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการรู้ดิจิทัล ด้านการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และด้านการใช้ดิจิทัล 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้านความสามารถด้านการสอน และด้านความสามารถในการวางแผน 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมรรถนะดิจิทัลด้านการรู้ดิจิทัล ด้านการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัลส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> กานต์ภิชชา ธรรมกุล อัศนีย์ ณ น่าน ศศิชา วงศ์ไชย Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 29 38 การจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268438 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ทหารกองประจำการที่ร้องขอเข้ากองประจำการ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 154 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความมีเกียรติและศักดิ์ศรี ด้านความก้าวหน้า ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความมั่นคง และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ตามลำดับ และ 2) การเปรียบเทียบการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พบว่า ทหารกองประจำการที่มีศึกษาสูงสุดก่อนเข้ารับราชการทหาร รายได้ก่อนรับราชการทหาร รายได้ต่อเดือนของบิดามารดาต่างกัน มีการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนทหารกองประจำการที่มีสถานภาพสมรส และอาชีพก่อนรับราชการทหารต่างกัน มีการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ไม่แตกต่างกัน</p> <p> </p> เกียรติขจร บุญคำภา สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล วรรณวิภา ไตลังคะ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 39 50 ผลกระทบจากพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดปทุมธานี https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/267661 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาผลกระทบจากการเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษาฯ 3) เปรียบเทียบความแตกต่าง ด้านประชากรศาสตร์กับผลกระทบจากการเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษาฯ และ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์กับผลกระทบจากการเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษาฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน จากนั้น จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เวลาในการเล่นเกม 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง ในช่วงเวลา 20.01 – 24.00 น. เลือกเล่นเกมประเภทแอคชั่นกับเพื่อน เพื่อความสนุกสนานและความบันเทิง โดยผลกระทบด้านสุขภาพมีผลมากที่สุด และด้านการเงินมีผลน้อยที่สุด ซึ่งผลกระทบจากการเล่นเกมออนไลน์มีความแตกต่างกันตามลักษณะ ด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา สถานที่พัก รายได้ต่อเดือน และ เกรดเฉลี่ยสะสม อีกทั้งผลกระทบจากการเล่นเกมออนไลน์ยังมีความแตกต่างกันตามพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ ได้แก่ ระยะเวลาในการเล่นเกม จำนวนครั้งในการเล่นเกมภายใน 1 สัปดาห์ ช่วงเวลาที่เล่มเกม สถานที่ในการเล่นเกม ค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม บุคคลที่ร่วมเล่นเกม ประเภทของเกมที่เล่น และวัตถุประสงค์ในการเล่นเกม</p> จักรา จั่นคล้าย สมยศ อวเกียรติ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 51 64 การประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ CIPP Model ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268933 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) โดยใช้ CIPP Model ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 141 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัย 5 ชนิด คือ 1) แบบประเมินบริบท 2) แบบประเมินปัจจัยนำเข้า 3) แบบประเมินกระบวนการ 4) แบบประเมินผลผลิต และ 5) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการโดยภาพรวม ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิตโดยภาพรวม ครูอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนและผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ผลการสัมภาษณ์ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ทำให้ได้แนวคิดที่ส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้โดย พัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุม สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมการทำงานร่วมกันของครู ข้อเสนอแนะ โครงการควรมีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รายละเอียดของกิจกรรมและการดำเนินงาน บันทึกการนิเทศ ติดตาม และมีผลผลิตที่ครอบคลุมทุกด้าน</p> <p> </p> เจนจิรา วงศ์ทอง จุรีย์ สร้อยเพชร วราลักษณ์ ศรีกันทา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 65 76 การรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268091 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานและลูกจ้าง ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA Analysis) โดยใช้สถิติค่าเอฟ (F-test) ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการ LSD ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 1) ระดับการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2)ปัจจัยส่วนบุคคลในแต่ละด้านได้แก่ เพศ, อายุ, ตำแหน่งงาน, ระดับการศึกษา และอายุการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน พบว่าการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</p> <p> </p> ชวลิต เปรมอ่อน สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล วรรณวิภา ไตลังคะ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 77 88 อิทธิพลของการมุ่งเน้นทางการตลาดที่มีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจ จำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268283 <p>การวิจัยนี้ได้มุ่งศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่า 1) เพื่อศึกษาระดับของการมุ่งเน้นทางการตลาด ความสามารถทางการแข่งขัน และความอยู่รอด และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถทางการแข่งขันที่เป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างการมุ่งเน้นทางการตลาดสู่ความอยู่รอดของธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ซึ่งการวิจัยนี้ได้มีรูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ที่ดำเนินธุรกิจมามากกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวน 290 ราย ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์มีความคิดเห็นของปัจจัยการมุ่งเน้นการตลาด ความสามารถทางการแข่งขัน และความอยู่รอดของธุรกิจมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกประเด็น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15, 3.88 และ 4.04 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.695, 0.658 และ 0.687 ตามลำดับ และ 2) ผลการทดสอบอิทธิพลคั่นกลาง พบว่า ความสามารถทางการแข่งขันด้านการสร้างความแตกต่าง การเป็นผู้นำด้านต้นทุน และการตอบสนองอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างการมุ่งเน้นทางการตลาดสู่ความอยู่รอดของธุรกิจ โดยมีค่าผลคูณของสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.026, 0.001 และ 0.138 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.164, 0.126 และ 0.293 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) มีอำนาจในการพยากรณ์ร่วมเท่ากับร้อยละ 37.60, 38.60, 29.92 และ 66.50</p> <p> </p> ชัชชญา พาณิชยาหิรัญ ธัญนันท์ บุญอยู่ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 89 102 การใช้กิจกรรมแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ระดับต้นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 3 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/267068 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียน โดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด ประชากรวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพายัพ ที่ลงทะเบียนรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมแผนผังความคิด จำนวน 8 แผน และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนเพิ่มขึ้นหลังจากเรียนโดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> </p> <p> </p> ชีวิน สุขสมณะ พัชยา สุภาใจ มาริ แก้วแดง Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 103 114 รูปแบบการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/269041 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ยืนยันรูปแบบปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานและบูรณาการผลของการวิจัยเข้าด้วยกัน เพื่อความสมบูรณ์และความเชื่อถือของผลการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร รองผู้บริหารและครูผู้สอนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนสถานศึกษา 189 แห่ง จำนวนประชากร 945 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้สอนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 275 คน ผู้วิจัยได้กำหนดการสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ใช้เป็นขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า รูปแบบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดี การพัฒนาบุคลากรคุณภาพ เน้นคุณภาพงานวิชาการ และการจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า รูปแบบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 5 องค์ประกอบ 19 ปัจจัย</p> ณภาภัช ก้องสิริบวรกุล นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 115 126 ปัญหากฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268227 <p>วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี แนวคำพิพากษาศาล ผลงานวิจัย ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับปัญหากฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัญหากฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ 1.แพทย์ 2.พยาบาล 3.เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของรัฐ 4.ประชาชน 5.ทนายความ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์อาจส่งผลต่อทางกฎหมายได้หลายกรณี เริ่มแต่การแจ้งข้อหาไปถึงการพิจารณาวินิจฉัยผลความรับผิดทางอาญาของบุคคล ดังนั้นจึงขอเสนอแนะว่าควรนำข้อเสนอเฉพาะข้อหาหรือฐานความผิดเฉพาะตาม “ประมวลกฎหมายอาญา” ที่แพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจจะถูกฟ้องให้ต้องรับผิดในทางอาญาได้</p> ณัฏฐ์พิชา วโรดมอธิพัฒน์ ณัฐวัตร ตันศิริเสถียร ณัฐนันณ์ สุวรรณมณี เกรียงไกร กาญจนคูหา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 127 136 ผลสัมฤทธิ์การโฆษณาบนกูเกิล เสิร์ช (Google Search Ads) กรณีศึกษา บ้านน้ำแข็งลุงตี๋ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268934 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยประเภทเชิงทดลอง (Experimental Research Method) เพื่อทดสอบประสิทธิผลการโฆษณาบนกูเกิล เสิร์ช (Google Search Ads) กรณีศึกษา บ้านน้ำแข็งลุงตี๋ ซึ่งผู้วิจัยทำการทดสอบด้วยการยิงโฆษณาผ่าน กูเกิล แอดส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Awareness โดยทำการวัด Traffic คนที่ Click เข้ามายังเว็บไซต์และทำการเปรียบเทียบคำค้นหาที่มีความแตกต่างกันที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ระหว่าง Product Keyword, Location Keyword และ Generic Keyword โดยจะวัดผลจากการแสดงผลของโฆษณา(Impression) จำนวนคลิก (Click) อัตราการคลิกต่อผู้ที่เห็นโฆษณา (Click Through Rate) เพื่อดูแนวโน้มของการใช้รูปแบบคำค้นหาที่มีผลต่อกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพื่อช่วยนำไปเป็นข้อเสนอแนะสำหรับธุรกิจให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า การใช้แพลตฟอร์ม Google Ads ในการทดสอบในครั้งนี้สามารถเพิ่มการเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้น และตรงตามกลุ่มเป้าหมายผ่านคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม โดยกลุ่มคีย์เวิร์ดประเภท Product Keyword 1 ที่เป็นการใช้คีย์เวิร์ดในหมวดหมู่สินค้า น้ำแข็ง–ราคาน้ำแข็ง มีผู้ค้นหาเป็นจำนวนมากกว่ากลุ่มคีย์เวิร์ดอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า น้ำแข็ง และ ราคาน้ำแข็ง เป็นกลุ่มคีย์เวิร์ดที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดในธุรกิจบ้านน้ำแข็งลุงตี๋ และคีย์เวิร์ดคำว่า ราคาน้ำแข็ง, น้ำแข็ง, โซดา, ร้าน น้ำแข็ง ใกล้ ฉัน และโรงงาน น้ำแข็ง ใกล้ ฉัน มีปริมาณคนที่สนใจค้นหา และเกิดการคลิกมากกว่าคีย์เวิร์ดอื่น ๆ เป็นโอกาสที่ดีในการใช้คีย์เวิร์ดที่เหมาะสม ในการทำโฆษณาครั้งต่อไป และควรเลือกใช้คีย์เวิร์ดให้เหมาะสมกับธุรกิจ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นและคลิกเข้าชมธุรกิจของเรา เป็นการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี </p> ณิชาภัทร วิจักษณ์กุล มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 137 150 ทัศนคติในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงการรับรู้ความง่ายและการรับรู้ประโยชน์ สู่ความตั้งใจใช้บริการในการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268852 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับของการรับรู้ความง่าย การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และความตั้งใจใช้บริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย (2) เพื่อศึกษาทัศนคติในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ความง่ายสู่ความตั้งใจใช้บริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย (3) เพื่อศึกษาทัศนคติในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ประโยชน์สู่ความตั้งใจใช้บริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย จำนวน 229 ตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างแบบ PLS-SEM ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับของการรับรู้ความง่ายการรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และความตั้งใจใช้บริการมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ทัศนคติเป็นตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ความง่ายสู่ความตั้งใจใช้บริการ มีค่าผลคูณของขอบเขตล่างและขอบเขตบนเท่ากับ 0.494 และ 0.559 (3) ทัศนคติเป็นตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ประโยชน์สู่ความตั้งใจใช้บริการมีค่าผลคูณของขอบเขตล่างและขอบเขตบนเท่ากับ 0.551 และ 0.546</p> <p> </p> ธัชชา สุขเอม สุมาลี รามนัฏ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 151 164 อิทธิพลตัวแปรส่งผ่านด้านสภาวะทางอารมณ์ระหว่างอิทธิพลกลุ่มอ้างอิงกับการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับความเชื่อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/267545 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับความเชื่อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีตัวแปรแฝงจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรสาเหตุคือ อิทธิพลกลุ่มอ้างอิง ตัวแปรส่งผ่านคือ สภาวะทางอารมณ์เชิงบวก และสภาวะทางอารมณ์เชิงลบ และตัวแปรผล คือ การตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับความเชื่อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในรุงเทพมหานครที่ซื้อสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อ จำนวน 580 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นที่ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคระหว่าง 0.938-0.978 ซึ่งมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยสถิติพรรณนาที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย คือ สมการโครงสร้างแบบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM) ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลกลุ่มอ้างอิง สภาวะทางอารมณ์เชิงบวก และสภาวะทางอารมณ์เชิงลบมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ มีค่าเท่ากับ 0.302, 0.280 และ 0.386 ตามลำดับ ส่วนอิทธิพลกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ โดยมีค่าเท่ากับ 0.614 นอกจากนี้อิทธิพลกลุ่มอ้างอิงก็มีอิทธิพลทางตรงต่อสภาวะทางอารมณ์เชิงบวกและสภาวะทางอารมณ์เชิงลบมีค่าเท่ากับ 0.954 และ 0.898 ดังนั้น จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อประชาชนในกรุงเทพมหานครที่ซื้อสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อได้เกิดพฤติกรรมที่เป็นอิทธิพล กลุ่มอ้างอิงและสภาวะทางอารมณ์ในทิศทางบวกจะส่งผลให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า</p> ธัญนันท์ บุญอยู่ วรพหล แสงเทียน Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 165 176 การพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูป จากแมลงในประเทศไทย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/267947 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูปจากแมลงเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารกุ้งของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มกุ้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 7,302 ราย กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์แบบจําลองสมการโครงสร้างขนาดกลุ่มตัวอย่าง 380 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มกุ้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดในปริมณฑล ประกอบด้วย นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 40 ปี และมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการเพาะเลี้ยงฟาร์มกุ้ง เมื่อทำการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างพบว่า การพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูปจากแมลงได้รับอิทธิพลทางตรงมากที่สุดจากการแข่งขันทางการตลาด และได้รับอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดจากนโยบายภาครัฐ และปัจจัยนโยบายภาครัฐมีอิทธิพลโดยรวมต่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูปจากแมลงมากที่สุดผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มกุ้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล</p> <p> </p> นัฏพร ชัยวงค์ สุดา สุวรรณาภิรมย์ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 177 188 การพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/269387 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับของพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊ก รูปแบบการสื่อสาร เนื้อหา การสื่อสาร ภาพลักษณ์องค์กรการพัฒนา และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญภาพลักษณ์องค์กรการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยรูปแบบการสื่อสาร มากที่สุด รองลงมา ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กรการพัฒนา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> บุรินทร์ เหมทัต สุดา สุวรรณาภิรมย์ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 189 200 ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อรูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268569 <p> </p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาหารูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภูสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบลวังชมภู พนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 112 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาหารูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ผู้วิจัยได้สร้างภาพจำลองตามแนวคิดและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้รูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล 4 รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบไทย รูปแบบคลาสสิก รูปแบบโมเดิร์น และรูปแบบธรรมชาติ และ 2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบอาคารสำนักงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.37) โดยมีความคิดเห็นต่อรูปแบบอาคารสำนักงาน รูปแบบคลาสสิกมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.93, σ = 0.013) </p> <p> </p> พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 201 214 ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/269021 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ และ (4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่เป็นผู้สอนวิชาพื้นฐาน ผู้ฝึกสอนกีฬา และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับประสิทธิผลโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและประสิทธิผลโรงเรียนกีฬามีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับปานกลางถึงระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาได้ร้อยละ 84.00 (<em>R</em><sup>2</sup> = .840)</p> <p> </p> มนต์ชัย ปัญญุเบกษา ทินกร พูลพุฒ รวงทอง ถาพันธุ์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 215 228 รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/266668 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก 3) การประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์เนื้อหา และไคว์สแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ภาวะผู้นำทางการบริหาร 3)กระบวนการบริหาร 4) การมีส่วนร่วม และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก POLECAPT : P =การวางแผน, O = การจัดการองค์กร, L =การนำองค์กร, E=การประเมินผล, C =การควบคุม/การสนับสนุน, A =การปรับปรุง/พัฒนา, P=การมีส่วนร่วม, T =ทีมงาน และรูปแบบมีความถูกต้องและเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการทดลองใช้มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> </p> ลัดดาพรรณ จันทร์ปรีดา ทรงยศ แก้วมงคล อุทัยวรรณ สายพัฒนะ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 229 242 ความสัมพันธ์ของสัญญาเช่า ด้านผู้เช่า ต่อมูลค่าตลาด ก่อนและหลังการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า (ฉบับปี พ.ศ. 2562) กรณีศึกษา กลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 50 ตัวแรก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268923 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสัญญาเช่า ด้านผู้เช่า ต่อมูลค่าตลาด ก่อนการปฎิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสัญญาเช่า ด้านผู้เช่าต่อมูลค่าตลาดหลังการปฎิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 50 ตัวแรก จำนวน 132 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงิน ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2560 – 2562 เป็นช่วงก่อนการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า และช่วง พ.ศ. 2563 – 2565 เป็นช่วงหลังการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 รวม 24 ไตรมาส และได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า สินทรัพย์สิทธิการใช้ (ROU) พบความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าตลาดในช่วงหลังการปฏิบัติตาม TFRS 16 มูลค่าตามบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย และกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน พบความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าตลาด ทั้งช่วงก่อน และหลังการปฏิบัติตาม TFRS 16แต่มูลค่าสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม ไม่พบความสัมพันธ์กับมูลค่าตลาด ทั้งช่วงก่อน และหลังการปฏิบัติตาม TFRS 16 ดังนั้นรายงานทางการเงินภายใต้ สัญญาเช่า ด้านผู้เช่า ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ได้สะท้อนความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมมากขึ้น</p> วิยะดา ปิงเมือง พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 243 256 A Comparative Study of Customers Satisfaction towards E-Commerce between Males and Females of Gen Y https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268772 <p>The main objective is to investigate the gender differs based on ease of use, customer attitude, brand image, personal innovation, and customer satisfaction towards e-commerce’s buyer behavior including to find the most influence factor on customer satisfaction towards e- commerce’s buyer behavior of males and females. The 410 respondents were the sample size, which collected the data from customers who have experienced to purchase mobile phone or electronic products from e-commerce online. The quantitative research and online survey were applied for this study. Simple Linear Regression, Multiple Linear Regression, and Independent t- test were designed to test all hypotheses. The results of hypothesis one and two, ease of use was a statistical significant influence on customer attitude based on males and female. The results of hypotheses three and four showed that ease of use and personal innovation were statistical significant influence on customer satisfaction towards e-commerce’s buyer behavior except customer attitude, and brand image were insignificant. Based on the results of hypotheses three and four, the researchers found that personal innovation was the most influence factor on customer satisfaction. The results of hypotheses five, six, seven, eight, and nine to find a different between males and females, the researchers found that both males and female from generation Y, they were not statistical significant different in attitude, brand image, personal innovation, and satisfaction in e-commerce purchasing except ease of use between males and females, which was significant.</p> Minakan Nawin Chaipoopirutana Sirion Kowathanakul Suwanna Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 257 270 แนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค AI https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/267936 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายแนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค AI โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย ซึ่งสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลาย การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์บุคคลเพื่อที่จะคัดเลือกเข้าทำงานในตำแหน่งงานที่เหมาะสม การคำนวณเงินเดือนที่พึงได้จากปริมาณงานหรือตำแหน่งงานการจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์โดยใช้ AI ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับองค์การ เพื่อการเพิ่มศักยภาพในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการยกระดับคุณภาพองค์การให้สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์การสามารถก้าวเข้าสู่ ยุค AI ได้อย่างราบรื่น การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค AI จำเป็นต้องหาแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติ การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ การสร้างวัฒนธรรมองค์การที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลในองค์การ ให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความคล่องตัวสูง</p> กิติพิเชษฐ์ ธูปบูชา สิทธิพร เขาอุ่น สุรพงษ์ วิริยะ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 271 284 ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดกรณีค่าปรับงานล่าช้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่อผู้ว่าจ้างบริษัทเอกชน https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/268728 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางแก้ไข กรณีความรับผิดกรณีค่าปรับงานล่าช้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่อผู้ว่าจ้างบริษัทเอกชน ของบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่อผู้ว่าจ้างบริษัทเอกชน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเกิดความล่าช้า ผู้ว่าจ้างชอบจะให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพื่อแลกกับการไม่โดนค่าปรับ ทั้งนี้มีประเด็นปัญหาที่เกิดความผิดกรณีค่าปรับล่าช้า ได้แก่ 1) ปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือผู้ว่าจ้างในกรณีที่งานล่าช้า 2) ปัญหาเกี่ยวกับอัตราค่าปรับที่สูงเกินไป และ 3) ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการเรียกเก็บค่าปรับกรณีผู้ว่าจ้างไม่ดำเนินการเรียกเก็บค่าปรับภายในระยะเวลาที่เหมาะสม แนวทางในการแก้ปัญหา โดย 1) เพิ่มข้อสัญญาเรื่องการปรับให้ผู้ว่าจ้าง สามารถเรียกร้องได้ มาตรา 215 และมาตรา 222 2) กำหนดอัตราค่าปรับที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ และ 3) กำหนดอัตราค่าปรับที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ มูลค่างานจ้าง ความล่าช้าที่เกิดขึ้น และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ว่าจ้าง</p> <p> </p> บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์ ปารเมศ อักษรดี Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 9 3 285 296