@article{แสงวิโรจนพัฒน์_2022, title={ความผิดอาญาเล็กน้อย}, volume={78}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/259624}, abstractNote={<p>            ในระบบกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศสได้มีการแบ่งแยกแนวคิดเกี่ยวกับความผิดอาญาร้ายแรงและความผิดอาญาเล็กน้อยไว้ ซึ่งประเทศไทยได้รับแนวคิดในเรื่องความผิดอาญาเล็กน้อยดังกล่าวมาจากประเทศเยอรมนี เมื่อทำการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัย ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีแนวคิดในการนำความผิดอาญาเล็กน้อยที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคมออกมาจากความผิดอาญาทั่วไป อันเป็นการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๗ วรรคท้าย ที่วางหลักการในเรื่องการบัญญัติความผิดอาญาให้ทำได้เฉพาะในกรณีของความผิดอาญาร้ายแรงเท่านั้น การเข้าใจแนวคิดในเรื่องของความผิดอาญาเล็กน้อย ผู้เขียนมีความเห็นว่าน่าจะช่วยในการทำความเข้าใจความหมายของความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัยได้ดียิ่งขึ้น เมื่อกฎหมายฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ในบทความชิ้นนี้จึงจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของความผิดอาญาเล็กน้อยและหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแยกข้อแตกต่างระหว่างความผิดอาญาร้ายแรงและความผิดอาญาเล็กน้อย โดยใช้แนวคิดของนักกฎหมายเยอรมัน นักกฎหมายฝรั่งเศส ในการนำเสนอเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวคิดดังกล่าวของนักกฎหมายไทยต่อไป โดยผู้เขียนมีความเห็นว่าความผิดอาญาเล็กน้อยอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี กล่าวคือ ในทางรูปแบบ คือ ความผิดทางพินัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยปรับเป็นพินัย ซึ่งเป็นการพิจารณาในส่วนของมาตรการบังคับ ส่วนในทางเนื้อหา คือ การกระทำความผิดที่เป็นเรื่องในทางเทคนิคและขาดความน่าตำหนิในทางศีลธรรม   </p>}, number={2}, journal={นิตยสารบทบัณฑิตย์}, author={แสงวิโรจนพัฒน์ ดร.สุรสิทธิ์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={110–146} }