@article{แย้มประชา_2022, title={การทำความเข้าใจวัฒนธรรมการกำหนดโทษอาญาของผู้พิพากษาไทย}, volume={78}, url={https://so04.tci-thaijo.org/index.php/botbundit/article/view/262002}, abstractNote={<p>                การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาคุณลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมการกำหนดโทษอาญาของผู้พิพากษาไทยและสังเคราะห์ทฤษฎีเพื่อความเข้าใจคุณลักษณะสำคัญนั้น วัตถุแห่งการศึกษาหลักไม่ใช่ประมวลกฎหมายอาญาแต่คือบัญชีมาตรฐานโทษหรือ “ยี่ต๊อก” ซึ่งมีเนื้อหาเป็นความลับไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและบุคคลที่อยู่นอกวงการศาลจะไม่ทราบว่ายี่ต๊อกนี้มีกลไกการบังคับใช้อย่างไร เป้าหมายคือเพื่อทราบว่ายี่ต๊อกทำงานอย่างไรเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างความสม่ำเสมอและความพร้อมรับผิดชอบในการกำหนดโทษอาญา</p> <p>                ผลการศึกษาพบว่าผู้พิพากษาไทยมีความคุ้นเคยกับข้อความคิดในเรื่องความสม่ำเสมอ และความพร้อมรับผิดชอบในการกำหนดโทษอาญา แม้ว่าศาลชั้นต้นแต่ละศาลต่างมียี่ต๊อกคนละฉบับ แต่ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหลายศาลพบว่าความแตกต่างในเนื้อหาของยี่ต๊อกอาจจะมีไม่มากนัก นอกจากผู้พิพากษาจะมีหน้าที่กำหนดโทษอาญาให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดก็จะถูกตรวจสอบโดยศาลชั้นที่สูงกว่าแล้ว โดยนิติประเพณีของศาลยุติธรรม ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นยังต้องปฏิบัติตามยี่ต๊อกในศาลของตนเองและหากจะกำหนดโทษอาญาให้แตกต่างออกไปจะต้องปรึกษาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แม้จะไม่มีกฎหมายฉบับใดกำหนดหน้าที่ของผู้พิพากษาที่ต้องกำหนดโทษอาญาตามยี่ต๊อก แต่ผลการศึกษาพบว่าผู้พิพากษาส่วนใหญ่ดูเหมือนมีความเต็มใจที่จะกำหนดโทษอาญาตามยี่ต๊อก การที่ผู้พิพากษาทุกคนในศาลเดียวกันล้วนกำหนดโทษอาญาตามยี่ต๊อกทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างความสม่ำเสมอของผลการกำหนดโทษอาญาได้ สำหรับข้อความคิดเรื่องความพร้อมรับผิดชอบในการกำหนดโทษอาญา ผู้พิพากษาไทยเข้าใจว่าหมายถึงการให้หลักประกันว่าผู้พิพากษาจะปฏิบัติตามนิติประเพณีและมาตรฐานขั้นสูงทางจริยธรรม</p> <p>                ผลการศึกษาพบคุณลักษณะที่สำคัญสามประการของวัฒนธรรมการกำหนดโทษอาญาของผู้พิพากษาไทย คือ ความคล้อยตามกันในกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดโทษอาญา แนวโน้มที่จะกำหนดโทษอาญาจำคุกเป็นหลัก และการไม่ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีความพร้อมรับผิดชอบต่อสาธารณะในการกำหนดโทษอาญา คุณลักษณะทั้งสามประการสามารถทำความเข้าใจได้โดยอาศัยทฤษฎีที่วางอยู่บนพื้นฐานของข้อความคิดที่สำคัญสองประการคือ โครงสร้างทางตุลาการในระบบผู้พิพากษาอาชีพ และบริบททางการเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย</p>}, number={4}, journal={นิตยสารบทบัณฑิตย์}, author={แย้มประชา ดร.ศุภกิจ}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={68–107} }